ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชรดำเนินกิจกรรมรณรงค์วันไข้เลือดออกอาเซียน (ASEAN dengue day) วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๕ โดยดำเนินการรณรงค์ให้ความรู้เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกผ่านช่องทางออนไลน์ และดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามตรวจสอบ และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณโดยรอบหน่วยงาน เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ชวนครอบครัวทุกรูปแบบ มาร่วมทำกิจกรรมในวันอาทิตย์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐-๑๖.๓๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สนใจร่วมกิจกรรม สมัครได้ที่ QR code หรือ https://bit.ly/3ugGTa5 ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕ หรือจนกว่าจะครบตามจำนวน รับจำนวนจำกัด ๒๐ ครอบครัว (ครอบครัวละ ๓-๔ คน) ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ทาง FB Page: Office of National Museums, Thailand สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ๐๒ ๑๖๔ ๒๕๐๑-๒ ต่อ ๘๐๖๘ กิจกรรมนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่...คุณได้ยาสมุนไพรกลับบ้านทุกคน
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ขอเชิญชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ เรื่อง “๙๐ วัสสา ผืนป่าห่มหล้า ผืนผ้าห่มเมือง” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เนื้อหานิทรรศการเกี่ยวเนื่องในพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมไทย รวมถึงการจัดแสดงลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัด ๕ จังหวัด ประกอบด้วย ลายหงส์ในโคม ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงใหม่, ผ้ายกลายดอกพิกุล ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดลำพูน, ลายเชียงแสนหงส์ดำ ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย, ลายเอื้องแซะ ราชินีกล้วยไม้หอมแห่งเมืองสามหมอก ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน และลายละกอนไส้หมู ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดลำปาง
เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศทางราชการ สำหรับผู้เข้าชมนิทรรศการที่เช็คอินและแชร์โพสต์ จะได้รับของที่ระลึกเป็นต้นไม้มงคล สื่อความหมายดีๆ ท่านละ ๑ ต้น
วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕) เวลา ๑๓.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการแถลงข่าว “ก้าวต่อไป ARCHIVES THAILAND เนื่องในวาระครบรอบ ๗๐ ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ” และเปิดนิทรรศการ “๗๐ ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ” ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เขตดุสิต กรุงเทพฯ
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า งานด้านจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นอีกหนึ่งงานหลักของกรมศิลปากร ในฐานะหน่วยงานที่จัดเก็บรวบรวม รักษา ธำรงไว้ซึ่งเอกสารสำคัญ เอกสารประวัติศาสตร์ของชาติ นำไปสู่การให้บริการเผยแพร่ความรู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการดำเนินงานของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อพัฒนากิจการจดหมายเหตุและการให้บริการมาโดยตลอด ปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุครัฐบาลดิจิทัล สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้ปรับตัวและเตรียมความพร้อมเข้าสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและการให้บริการในรูปแบบรัฐบาลดิจิทัลมาโดยลำดับ ซึ่งการพัฒนางานจดหมายเหตุดังกล่าวถือเป็นก้าวสำคัญทั้งในด้านการสร้างการรับรู้ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดเก็บและบริการเอกสารจดหมายเหตุ ตลอดจนการสร้างเครือข่าย และการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กร และภาคประชาชน ต่อกิจการด้านจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาต่อยอดอย่างยั่งยืนได้ในระดับสากล
สำหรับ นิทรรศการ “๗๐ ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ” มีเนื้อหา ๓ หมวด ได้แก่ หมวดที่ ๑นำเสนอประวัติและพัฒนาการของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ นับแต่การประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๙๕ ตั้งกองจดหมายเหตุแห่งชาติ จนถึงปัจจุบัน การพัฒนาและขยายขอบข่ายการปฏิบัติงานออกไปอย่างกว้างขวาง รวมถึงหอจดหมายเหตุแห่งชาติในส่วนภูมิภาคอีก ๙ แห่ง หมวดที่ ๒ นำเสนอข้อมูลงานจดหมายเหตุชุดสำคัญของหอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศ พร้อมจำลองเอกสารจดหมายเหตุชุดดังกล่าวมาจัดแสดง หมวดที่ ๓ ก้าวต่อไป ARCHIVES THAILAND นำเสนอการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์กับงานจดหมายเหตุ อาทิ การให้บริการสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุผ่านระบบออนไลน์ทั้งทางเว็บไซต์และ Mobile Application การเสนอขึ้นทะเบียนเอกสารเป็นมรดกความทรงจำของประเทศไทยผ่านทางเว็บไซต์ และการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอ่านภาพจดหมายเหตุผ่านโครงการเพิ่มข้อมูลพูนค่าภาพ ทั้งนี้ นิทรรศการฯ เปิดให้ประชาชนเข้าชมจนถึงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน (ยกเว้นเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ชั้น ๑ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ www.nat.go.th หรือ facebook ของกรมศิลปากร และสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หรือโทรศัพท์ ๐ ๒๒๘๒ ๘๔๒๓ ต่อ ๑๔๓, ๑๔๕
จารึกวัดพระบรมธาตุชัยนาท
ภายในวัดพระบรมธาตุวรวิหาร อ.เมืองฯ จ.ชัยนาท ได้ปรากฎร่องรอยของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อยู่ประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งปัจจุบันหลักฐานชิ้นนั้นได้ตั้งตระหง่านอยู่ด้านข้างบันไดทางเข้าพระวิหารวัดพระบรมธาตุวรวิหารนั่นเอง
หลักฐานที่กล่าวข้างต้นมีชื่อเรียกกล่าวตามเอกสารทะเบียนจารึกว่า “จารึกวัดพระบรมธาตุชัยนาท” จารึกวัดพระบรมธาตุชัยนาท จารึกดังกล่าวเป็นจารึกอักษรขอมอยุธยา ภาษาไทย โดยจารึกดังกล่าว มีใจความสำคัญคือกล่าวถึงการซ่อมองค์พระบรมธาตุ และสร้างกำแพงล้อมรอบองค์พระบรมธาตุไว้ด้วย โดยในจารึกมีการระบุศักราชไว้ว่า ปีพุทธศักราช ๒๒๖๐ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙) แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง กรุงศรีอยุธยา
จารึกดังกล่าวสร้างจากหิน มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความกว้าง ๔๐ เซนติเมตร ความสูง ๒๐๖ เซนติเมตร และมีความหนา ๓๗ เซนติเมตร ทะเบียนจารึก ให้ชื่อว่า ชน.๑ ในประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๔ ได้กำหนดให้เป็นหลักที่ ๙๗
ศิลาจารึกหลักนี้ เจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ (ปัจจุบันคือสำนักหอสมุด แห่งชาติ) ได้เดินทางขึ้นไปสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ได้ทำการอัดสําเนาไว้พร้อมกับอ่านจารึกดังกล่าว
มีการปรากฎข้อมูลของจารึกวัดพระบรมธาตุชัยนาท อยู่ในพระราชหัตถเลขา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ที่มีถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินอย่างเป็นทางการเพื่อทรงนมัสการพระพุทธชินราช และทรงหล่อพระพุทธชินราชจำลองที่เมืองพิษณุโลก ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๔ (ร.ศ.๑๒๐) โดยในพระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๔ ดังกล่าว มีข้อความที่กล่าวถึงจารึกวัดพระบรมธาตุชัยนาทว่า “...พระบรมธาตุรูป แปลกแต่เล็ก มีศิลาจารึกอยู่ที่ฐานโพธิ์ แต่เป็นจารึกใหม่ ๆ เป็นอักษรขอมเขียนภาษาไทย ว่าด้วยการเรี่ยไรปฏิสังขรณ์พระธาตุบอกเรือนเงิน ๒ สลึง ๓ สลึง แต่มีที่ควรจะสังเกตอยู่ ๒ แห่ง คือยังเรียกเมืองสรรค์ว่าเมืองแพรกคือแพรกศรีราชา กับกล่าวว่ามีสมเด็จพระรูป เสด็จขึ้นไปในการฉลอง คำนวณดูตกอยู่ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ สมเด็จพระรูปนั้นคงจะเป็นกรมพระเทพามาตย์ พระอรรคมเหษีกลางแผ่นดินพระเพทราชา ซึ่งทรงผนวชเป็นรูปชีอยู่ที่วัดดุสิต นี่เห็นจะเป็นตัวอย่างให้เกิดสมเด็จพระรูปศิริโสภาค มหานาคนารี ขึ้นที่กรุงเทพฯ...”
จะเห็นได้ว่าเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปพบกับจารึกวัดพระบรมธาตุชัยนาท จารึกนี้ยังอยู่บริเวณฐานต้นโพธิ์ภายในวัดซึ่งต่างจากปัจจุบันที่ถูกเคลื่อนย้ายมาประดิษฐานไว้ ณ ข้างบันไดทางขึ้นพระวิหารวัดพระบรมธาตุวรวิหาร
นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร ได้สำรวจโบราณสถานทั่วประเทศที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อสถานการณ์ปริมาณน้ำฝนมากและน้ำล้นตลิ่ง ซึ่งเป็นปัญหาอุทกภัย และรายงานสรุปสถานการณ์ ณ วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ ว่ามีโบราณสถาน จำนวน ๘๒ แห่ง อยู่ในพื้นที่เสี่ยง แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ
๑. เสี่ยงมาก จำนวน ๘ แห่ง ที่โบราณสถานมีน้ำท่วมขังในระดับสูงและมีแนวโน้มว่าจะท่วมเป็นเวลานาน แต่โบราณสถานเหล่านี้ได้รับการบูรณะเสริมความมั่นคงโดยกรมศิลปากรแล้ว เช่น เมืองประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ และปราสาทตามอญ จังหวัดสุรินทร์ ทั้งนี้ มีพื้นที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษและต่อเนื่องคือ นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ป้อมเพชร จ.พระนครศรีอยุธยานายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากรวัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยาวัดเจ้าย่า จ.พระนครศรีอยุธยาวัดเชิงท่า จ.พระนครศรีอยุธยาเวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่
๒. เสี่ยงปานกลาง จำนวน ๓๗ แห่ง ที่โบราณสถานเริ่มมีน้ำท่วมขังแต่ยังอยู่ในระดับต่ำและยังไม่มีแนวโน้มจะท่วมมากขึ้น อีกทั้งเป็นโบราณสถานที่ได้รับการบูรณะเสริมความมั่นคงแล้ว เช่น ปราสาท (อิฐ) บ้านไผ่ จังหวัดสระแก้ว กู่โพนระฆัง จังหวัดร้อยเอ็ด และ กู่ประภาชัย จังหวัดขอนแก่น รวมทั้งโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ซึ่งมีน้ำฝนและน้ำใต้ดินมาจากแม่น้ำมูลที่กำลังเฝ้าระวังเช่นกันกู่ประภาชัย จ.ขอนแก่น
๓. เสี่ยงน้อย จำนวน ๓๗ แห่ง ที่โบราณสถานที่มีน้ำท่วมขังเฉพาะตอนฝนตกและสามารถระบายออกได้อย่างรวดเร็ว เช่น วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี วัดโขลงสุวรรณคีรี (คูบัว) จังหวัดราชบุรี ปราสาทกังแอน จังหวัดสุรินทร์ กู่แก้วสี่ทิศ จังหวัดศรีสะเกษ ปรางค์กู่ จังหวัดร้อยเอ็ด รวมทั้งโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โบราณสถานในเวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่ และโบราณสถานในเมืองโบราณเชียงแสน จังหวัดเชียงราย วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์ปริมาณน้ำฝนมากและน้ำล้นตลิ่งซึ่งเป็นปัญหาอุทกภัย กรมศิลปากร จึงสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดปฏิบัติการเฝ้าระวังโบราณสถานอย่างต่อเนื่อง ส่วนโบราณสถานที่อยู่ในการดูแลของวัด/เอกชน ได้ทำการประสานเครือข่ายภาคประชาชนของกรมศิลปากรเพื่อร่วมกันเฝ้าระวังและจะรายงานสถานการณ์ให้ทราบเป็นระยะต่อไป
หลังจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ได้นำเสนอบทความวิชาการมีชื่อว่า พัฒนาการด้านสาธารณสุขและการจัดตั้งสถานพยาบาลในจังหวัดสงขลา ตอนที่๑ ว่าด้วย ประวัติความเป็นมาในการพัฒนาด้านสาธารณสุขของจังหวัดสงขลา จัดสร้างสถานพยาบาล การบริหาร จัดการ ของโรงพยาบาลสงขลาเพื่อเฉลิมฉลองวาระใต้ร่มพระบารมี ๒๓๘ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ที่อยู่ในสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด - ๑๙ จึงนำเสนอบทความอดีตพระมหากษัตริย์ไทยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีคุณูปการในด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะต่อจังหวัดสงขลานั้นสำหรับอังคารนี้พบกับบทความประวัติและพัฒนาการดำเนินงานด้านสาธารณสุขและการจัดสร้างโรงพยาบาลในจังหวัดสงขลาตอนที่ ๒ โรงพยาบาลประสาท สงขลาดังรายละเอียดบทความในอัลบั้มนี้ เรียบเรียงโดย นางพัชรินทร์ ลั้งแท้กุล นักจดหมายเหตุชำนาญการ หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา สามารถมาศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา ถนนกาญจนวนิช ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๙๐๑๑๐ โทร. ๐ ๗๔๒๑ ๒๕๖๒, ๐ ๗๔๒๑ ๒๔๗๙ โทรสาร ๐ ๗๔๒๑ ๒๑๘๒ E-mail : national.archives.songkhla@gmail.com Website : http://www.finearts.go.th/songkhlaarchives/
กรมศิลปากร ขอเชิญฟังการบรรยายทางวิชาการประกอบนิทรรศการพิเศษ เรื่อง เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย สานตํานานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” (The Endless Epic of Japanese -Thai Ceramic Relationship in the World’s Trade and Culture) ในหัวข้อ Hizen Ceramics and Its Export to Worldwide Markets - Especially in Southeast Asia โดยนายโคจิ โอฮาชิ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์พิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ในวันศุกร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕'๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้สนใจสามารถสแกนคิวร์อาร์โค้ด หรือ กดลิ้ง ที่นี่ เพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ตำนานท้าวปาจิตอรพิมแต่เดิมเป็นชาดกนอกนิบาตเรื่อง “ปาจิตตกุมารชาดก” ใน “ปัญญาสชาดก”จนต่อมากลายมาเป็นนิทานที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในภาคอีสาน และมีความสำคัญต่อการอธิบายชื่อบ้านนามเมืองของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะเมืองพิมาย ซึ่งปรากฏเอกสารในสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310) นั่นคือ ปาจิตกุมารกลอนอ่าน ฉบับกรุงธนบุรี หรือ ตำนานเมืองพิมาย
เมื่อตำนานเชื่อมโยงกับสถานที่และโบราณวัตถุ จากเรื่องเล่านำมาผูกโยงกับสถานที่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นถ้ำเป็ดทอง เขาปลายบัด บ้านนางเหริญ บ้านนางรำ บ้านตำแย บ้านจารย์ตำรา บ้านถนน บ้านสนุ่น บ้านท่าหลวง บ้านสัมฤทธิ์ บ้านปะเต็ล บ้านทุบจาน ตำบลกงรถ อำเภอลำปลายมาศ อำเภอนางรอง และอำเภอพิมาย โดยในอำเภอพิมายนั้น ตำนานท้าวปาจิตนางอรพิม ได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับโบราณสถานเมรุพรหมทัต และปรางค์พรหมทัต นอกจากนี้จากการพบโบราณวัตถุเป็นรูปประติมากรรมสององค์คล้ายรูปบุรุษและสตรี บ้างก็ว่าเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และพระนางชัยราชเทวี บ้างก็ว่าเป็นประติมากรรมเทวบุรุษและเทวสตรี แต่จากการค้นพบประติมากรรมทั้งสอง ตำนานท้าวปาจิตและนางอรพิมถูกหยิบโยงและถูกยกให้เป็นประติมากรรม "ท้าวปาจิต และ นางอรพิม" ของชาวพิมายจนถึงปัจจุบัน
องค์ความรู้เรื่อง เทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทสมัยรัชกาลที่ ๕ ในความทรงจำของมิสแมรี โลวีนา คอร์ต มิชชันนารีชาวอเมริกัน
นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ
นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
ค้นคว้าเรียบเรียง
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 133/1 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 169/1เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 22/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา