ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,849 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           22/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                34 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           6/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              32 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


    ลูกเต๋า : การละเล่นโบราณ ? ในวัฒนธรรมทวารวดี ที่เมืองอู่ทอง     บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการขุดพบลูกเต๋าโบราณทำจากดินเผา กระดูกสัตว์ และงาช้าง  มีรูปทรง ๒ ลักษณะ ได้แก่ ลูกเต๋าทรงลูกบาศก์ (สี่เหลี่ยมจัตุรัส) ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับลูกเต๋าในปัจจุบัน คือ เป็นลูกเต๋าที่มี ๖ ด้าน แต่ละด้านมีรอยขูดขีดลึกลงไปเป็นจุดกลม ๑ ถึง ๖ จุด  และรูปทรงอีกแบบหนึ่งมีลักษณะเป็นแท่งยาวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี ๔ ด้าน แต่ละด้านสลักเป็นจุดวงกลมล้อมรอบด้วยเส้นวงกลมหลายเส้น ด้านละ ๑, ๒, ๓ และ ๔ จุด ตามลำดับ     ลูกเต๋าโบราณทั้งสองแบบ ได้พบแพร่หลายในหลายพื้นที่ ทั้งในดินแดนตะวันออกกลาง (อาณาจักรเปอร์เชีย) ยุโรป รวมทั้งดินแดนชมพูทวีป (อินเดียตอนเหนือและพื้นที่ด้านตะวันตก)      จากการค้นพบลูกเต๋าตามแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ ทำให้สันนิษฐานว่า ลูกเต๋าเป็นอุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการละเล่น กีฬา หรือการพนัน  ในอินเดียได้พบลูกเต๋าทรงลูกบาศก์ ตั้งแต่อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุหรือในวัฒนธรรมยุคทองแดง อายุ ๔,๕๐๐ – ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว (๓,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล)  ในบางแห่งขุดพบลูกเต๋าร่วมกับแผ่นดินเผาที่มีการตีเส้นตาราง สันนิษฐานว่าใช้เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการละเล่นหรือกีฬาของคนสมัยโบราณ และอาจเป็นต้นเค้าของกีฬาหมากรุกในปัจจุบัน  ในอินเดียได้พบลูกเต๋าแพร่หลายมากในชั้นวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์โมริยะ-ศุงคะ (สมัยเหล็กตอนปลาย) ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓-๗ (ประมาณ ๑,๙๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว) ต่อเนื่องมาถึงสมัยคุปตะ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ (ประมาณ ๑,๖๐๐ - ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว)     ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ยังพบลูกเต๋าที่แหล่งโบราณคดีเนินมะกอก อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี และที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค ในพื้นที่อำเภอเมืองฯ จังหวัดลพบุรี กำหนดอายุช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๐ หรือเมื่อ ๑,๖๐๐ – ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว)     การค้นพบลูกเต๋าที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จึงเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ถึงการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชาวอินเดียในช่วงก่อนสมัยทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ แสดงถึงความสำคัญในฐานะเมืองท่าค้าขายช่วงเวลานั้น   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. เนินมะกอก : รายงานเบื้องต้นเฉพาะเรื่องชั้นดินและหลักฐานโบราณคดีบางประเภท. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๒. กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี :  การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย, ๒๕๔๒. Alex Fox.  Ancient Roman Board Game found in Norwegian Burial Mound: researchers unearthed a four-sided dice and 18 circular tokens. [Online.] Available from https://www.smithsonianmag.com/.../ancient-roman-board.../ Shahid Naeem. An Ancient Indus Die. [Online.] Available from https://www.harappa.com/blog/ancient-indus-die [June 15th, 2015] Shahr-e-Sukhteh: the Burnt City. [Online.] Available from http://turquoisedomes.com/2020/01/24/shahr-e-sukhteh/ [January 24, 2020.]


ชื่อเรื่อง : วรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : ศึกษาภัรฑ์พาณิชย์ จำนวนหน้า : 1,328 หน้า สาระสังเขป : เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้ เริ่มต้นด้วยประวัติสุนทรภู่ ตั้งแต่ก่อนรับราชการ ตอนรับราชการ ตอนออกบวช ตอนตกยาก ตอนสิ้นเคราะห์ ว่าด้วยหนังสือที่สุนทรภู่แต่ง ว่าด้วยเกียรติคุณของสุนทรภู่ บันทึกเรื่องผู้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง อธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ทั้งหมด 64 ตอน มีนิทานเรื่องพระอภัยมณีต่อจากคำกลอน


ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี เรื่อง วันมาฆบูชา วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์"แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก ซึ่งหลักคำสอนนี้ถือเป็นหลักใหญ่แห่งพระพุทธศาสนา เนื้อหาว่าด้วย "ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"


เลขทะเบียน : นพ.บ.465/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 52 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 160  (174-182) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : จันทฆาต--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.604/9                   ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 193  (399-407) ผูก 9 (2566)หัวเรื่อง : อภิธัมมา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน” วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้มีมติเห็นชอบคำจำกัดความคำว่ามรดกไทย คือ "มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่างๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา" คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น "วันอนุรักษ์มรดกไทย" ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจ ความสำนึกรัก และหวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นราชสักการะแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในฐานะมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการโดยมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการฯ อธิบดีกรมศิลปากรเป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนรวม 28 คน ได้มีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย เนื่องจากงบประมาณของรัฐมีไม่เพียงพอ การจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทยได้ดำเนินการผ่านมาแล้วหลายปี โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัด หน่วยงานเอกชน หน่วยงานของรัฐบาลและประชาชนในการจัดกิจกรรมวันอนุรักษ์มรดกไทยในช่วง สัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย 2 - 8 เมษายน ของทุกปี บางจังหวัด บางหน่วยงานก็จัดกิจกรรมสนับสนุนตลอดทั้งปี ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2535 เป็นต้นมา คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดงานใหม่โดยให้มีทิศทางในการจัดงานแน่นอน คือการกำหนดหัวเรื่องของการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งในปีพุทธศักราช 2535 คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทยได้กำหนดให้เป็นปีอนุรักษ์การดนตรีไทย ปีพุทธศักราช 2536 เป็นปีอนุรักษ์การช่างศิลป์ไทย การจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ ทัศนศึกษาโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนา กิจกรรมเสริมสร้างและสนับสนุนให้เกิดทัศนคติที่จะยังประโยชน์ต่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย ได้การรณรงค์ให้มีการพัฒนา บูรณะและทำความสะอาดโบราณสถานศาสนสถาน ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมอื่น ๆ พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม กรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ดำเนินการจัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ อันเนื่องด้วยการอนุรักษ์มรดกไทยให้แพร่หลายกว้างขวาง และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัวในการร่วมกันดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ การจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นกิจกรรมหลักที่กรมศิลปากรและหน่วยงานในสังกัดดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


ชื่อเรื่อง                    เลขที่1มัด1 ตำราไสยศาสตร์ประเภทวัสดุ/มีเดีย        สมุดไทยISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ตำราไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ               กว้าง 12 ซม. ยาว 37 ซม. : 158; หน้า : มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    ตำราไสยศาสตร์                          ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัตินายวีระศักดิ์ เข็มเงินมอบให้หอสมุดฯ 


ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/56


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เรื่อง “เทิดไท้ภูวไนย ถวายใจสดุดี” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย           ขอเชิญผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เทิดไท้ภูวไนย ถวายใจสดุดี” จัดแสดงระหว่างวันที่ ๑ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย  เปิดวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖. ๐๐ น. ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๕๖๔ ๑๕๗๑, ๐ ๕๕๖๔ ๓๗๖๖  




         กาน้ำเปลือกไข่นกกระจอกเทศ          เดิมเป็นทรัพย์สินของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์ (ต้นราชสกุลสวัสดิวัฒน์) ตกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รับมาจากกระทรวงการคลัง เมื่อ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๘๒ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ได้ส่งเก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓          ตัวกาน้ำทำจากเปลือกไข่นกกระจอกเทศ ประกอบเข้ากับทองแดงหล่อเป็นเชิง หู ฝา และพวย ตกแต่งเป็นลายเถาไม้ ฝาทำเป็นลายดอกไม้พร้อมก้านดอกประดับโซ่คล้องกับหูกาน้ำ มีหูปละพวยโค้งสูง งานประณีตศิลป์ชิ้นนี้งดงาม หายาก มีมูลค่าสูง โดยสั่งนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อการสะสมของชนชั้นสูง ที่นิยมมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ ๕ โดยเฉพาะสิ่งของจากวัตถุเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยา          ปัจจุบันจัดแสดงในนิทรรศการ  “Museum Unveiling” เรื่องลึกเบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ไทย ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ถึงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ไทยในอดีตที่เก็บสะสมโบราณวัตถุหายาก          ในพุทธศักราช ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย “มิวเซียมหลวง”จากในพระบรมมหาราชวังมายังพระราชวังบวรสถานมงคล “มิวเซียมหลวงที่วังหน้า” ในยุคนั้นจัดเป็นพิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป การจัดแสดงวัตถุจึงเป็นการรวบรวมวัตถุจากทุกสาขาวิชา อาทิ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ และวัตถุทางธรรมชาติวิทยา เพื่อนำเสนอของแปลก ของหายาก เครื่องราชบรรณาการ และศิลปวัตถุอันมีค่า ตอบสนองคำว่า “พิพิธภัณฑ์” ซึ่งแปลว่า นานาวัตถุ          ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๖๙ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงปรับปรุงการจึงแสดงพิพิธภัณฑสถาน เป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทโบราณคดีและศิลปะ จึงมีการเคลื่อนย้ายและจัดส่งโบราณวัตถุศิลปวัตถุส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับโบราณคดีไปยังสถานที่ต่างๆ เช่น สัตว์ชำแหละเนื้ออาบน้ำยาส่งไปโรงเรียนเพาะช่าง ตัวอย่างแร่ธาตุส่งให้กรมโลหะกิจ และตัวอย่างสินค้าพื้นเมืองส่งไปให้กรมพาณิชย์ เป็นต้น          ส่วนโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่ไม่สามารถจำแนกให้หน่วยงานอื่นๆ ได้เก็บรวบรวมไว้ในคลังพิพิธภัณฑสถาน ทั้งนี้ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ ของสะสมของชนชั้นสูงส่วนหนึ่ง ได้ตกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินและใช้ในการจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติด้วย     อ้างอิง ยุทธนาวรากร แสงอร่าม. “ดุริยางค์แห่งราชสำนัก : นิทรรศการรำลึก ๑๔๐ ปี พิพิธภัณฑ์ไทย”. ศิลปากร. ๕๗ ๔ (กันยายน-ตุลาคม) ๒๕๕๗.  กรมสิลปากร, วัธนธัมไทย เรื่องของไนพิพิธภันทแห่งชาติ. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันท, ๒๔๘๖.



Messenger