ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,857 รายการ

วันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2561 หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า จัดโครงการห้องสมุดสัญจร ประจำปีงบประมาณ 2561 ในช่วงเช้า ณ โรงเรียนบ้านหนองหว้า ต.ช่องด่าน อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี



วัดท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สิ่งสำคัญ : หอไตรประวัติและความสำคัญ : วัดท่าแค สร้างขึ้น พ.ศ. ๒๓๕๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลัง วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้ผูกพันธสีมา วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ หอไตร ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม : หอพระไตรปิฎกวัดท่าแค เป็นอาคารไม้ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสชั้นเดียวสมัยรัตนโกสินทร์ ใต้ถุนยกสูงโล่ง หลังคาทำเป็นจัตุรมุขซ้อนลดหลั่นกัน ๓ ชั้น หน้าจั่วประดับไม้ฉลุรองรับหลังคา มุงด้วยกระเบื้องว่าว ปูนปั้นทับสันเป็นบางส่วน และหลังคาปีกนกเทลาดต่อเนื่องกันโดยตลอดประดับหลังคา ปั้นลม และเชิงชายด้วยเสาไม้กลึง และลายฉลุเครือเถา พื้นอาคารชั้นบนปูไม้กระดานตีชนตลอดแนว ฝาผนังห้องเก็บพระไตรปิฎกทำเป็นประตูบานเฟี้ยมตลอดแนว ส่วนล่างของบานประตูเป็นไม้แกะสลักภาพต้นไม้ กระถางแจกันดอกไม้และรูปสัตว์ ส่วนบนของบานประตูกรุด้วยกระจก ช่องลมทำฉลุไม้โดยรอบ ภายในห้องด้านทิศตะวันตกยกพื้น ทำเป็นตู้เก็บพระไตรปิฎก ประดับด้วยไม้แกะสลัก และกระจกสีที่ระเบียงด้านทิศตะวันออกทำเป็นช่องบันไดขึ้น - ลง ตัวอาคารประกอบด้วยเสาไม้กลมที่ระเบียงมีราวระเบียงและลูกกรงไม้โดยรอบ เสาระหว่างระเบียงประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุ สภาพปัจจุบัน : โบราณสถานได้รับการบูรณะแล้ว เมื่อปีงบประมาณ ๒๕๖๒ "การขึ้นทะเบียน" ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๙๐ วันที่ ๑๖ กรกฏาคม ๒๕๓๕ ที่มาของข้อมูล : ทะเบียนโบราณสถานในเขตสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี



รายงานการเดินทางไปราชการ  เนื่องในงานเทศกาลรามายณะ  ณ เมืองเดลลี  ชัยปุระ  และพาราณสี  ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ – ๗ มีนาคม ๒๕๕๘ .................................................. ๑. ชื่อโครงการ            เทศกาลรามายณะ   ๒.วัตถุประสงค์             ๒.๑ เพื่อเผยแพร่การแสดงโขนซึ่งเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทย  และเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประจำชาติให้เป็นที่รู้จักและชื่นชอบในหมู่ประเทศอาเซียน และประเทศที่มีวรรณกรรม เรื่อง รามายณะ             ๒.๒ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมโดยใช้วรรณกรรมเรื่อง รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงสายใยและความรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงประเทศ ๒๕ กุมภาพันธ์ – ๗ มีนาคม ๒๕๕๘ ที่มีมรดกทางวรรณกรรม เรื่อง รามายณะ โดยมีจุดกำเนิดวรรณกรรมและมรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่ประเทศอินเดีย             ๒.๓ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจด้านวัฒนธรรม  ประวัติศาสตร์   ศาสนา  และอารยธรรมระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้   ๓. กำหนดเวลา           ระหว่างวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ – ๗ มีนาคม ๒๕๕๘   ๔. สถานที่           ๔.๑ Ficci  Auditoruim เมืองเดลลี           ๔.๒ Press  Club  เมืองชัยปุระ           ๔.๓ Shri  Nagari  Natak  Manclli  Banaras  เมืองพาราณสี   ๕. หน่วยงานผู้จัด           สภาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอินเดีย (ICCR : Indian  Council  for  Cultural  Relations)           ๖. หน่วยงานสนับสนุน           ๖.๑ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม           ๖.๒ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม           ๗. กิจกรรม   วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์  2558 16.00 น. 18.00 น.   20.00 น. (เวลาท้องถิ่น)   22.30 น.   00.30 น.      - คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร          - เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เคาร์เตอร์ B17  เช็คอิน Group และผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง           - เดินทางออกจากประเทศไทย โดยสายการบินไทย TG 315      - เดินทางถึงสนามบินนานาชาติอินทิรา คานธี ประเทศอินเดีย (ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 4 ชั่วโมง) -เข้าพัก ณ โรงแรม FOREST GREEN HOTEL (24 Siri Fort Rd.  Sadiq Nagar, South Delhi , Delhi 110049  Tel. +91 11 4524 2424 วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์  2558 08.00 น. 10.00 น. 10.30 น. 14.00 น. 15.00 น.                   18.00 น.   21.00 น.      - อาหารเช้า      - ออกจากโรงแรมที่พัก เพื่อไปซ้อมการแสดง      - ซ้อมการแสดงฟินาเล่ ร่วมกับนักแสดงอินเดีย  ที่ หอประชุมของ ICCR      - รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก      - พักผ่อนตามอัธยาศัย      - ชมการแสดงเทศกาลรามายณะ ของประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ณ Ficci  Auditorium ICCR , Delhi      -รับประทานอาหารค่ำ ณ โรงแรมที่พัก วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2558 08.00 น. 10.00 น. 10.30 น.   14.00 น. 15.00 น.                                     18.30 น.   23.00 น.      - อาหารเช้า      - ออกจากโรงแรมที่พัก เพื่อไปซ้อมการแสดง      - ซ้อมการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา ณ Ficci  Auditorium ICCR , Delhi      - รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก      - เดินทางออกจากโรงแรมที่พักไปยัง Ficci  Auditorium ICCR , Delhi เพื่อ เตรียมการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา     - การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์  ตอน ลักสีดา ณ Ficci  Auditorium ICCR , Delhi      -รับประทานอาหารค่ำ ณ โรงแรมที่พัก         วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 06.00 น. 07.00 น. 13.00 น. 14.00 น. 15.00 น.                                     18.00 น. 22.00 น.      - อาหารเช้า      - ออกจากโรงแรมที่พัก เพื่อเดินทางไปเมืองชัยปุระ      - เดินทางถึงโรงแรม Lords Hotel      - รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก      - เดินทางออกจากโรงแรมที่พักไปยังหอประชุม Press  Club เพื่อเตรียมการแสดง โขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา     - การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์  ตอน ลักสีดา ณ หอประชุม Press  Club      -รับประทานอาหารค่ำ ณ โรงแรมที่พัก   วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2558 08.00 น. 10.00 น. 15.00 น. 16.00 น.                   20.00 น.      - อาหารเช้า      - ออกจากโรงแรมที่พัก ไปทัศนศึกษารอบเมืองชัยปุระ และซื้อของที่ระลึก      - รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก      - พักผ่อนตามอัธยาศัย      -รับประทานอาหารค่ำ ณ โรงแรมที่พัก   วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2558 07.00 น. 08.00 น. 15.00 น. 16.00 น.                   20.00 น.      - อาหารเช้า      - ออกจากโรงแรมที่พัก เดินทางกลับเดลลี      - รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก FOREST GREEN HOTEL      - พักผ่อนตามอัธยาศัย      -รับประทานอาหารค่ำ ณ โรงแรมที่พัก   วันอังคารที่ 3 มีนาคม 2558 08.00 น. 10.00 น. 14.00 น. 15.00 น. 16.00 น. 18.00 น.                   20.00 น. 21.00 น. 22.00 น.      - อาหารเช้า      - พักผ่อนตามอัธยาศัย      - รับประทานอาหารกลางวัน      - ออกเดินทางจากโรงแรมที่พัก ไปสนามบินภายในประเทศ เมืองเดลลี      - Check in และเตรียมสัมมภาระสำหรับการเดินทางไปเมืองพาราณสี      - ออกเดินทางด้วยสายการบินภายในประเทศ เที่ยวบิน SG 2179      - ถึงสนามบินภายในประเทศ  เมืองพาราณสี      - เดินทางถึงโรงแรมที่พัก The HHI Hotel เมืองพาราณสี      - รับประทานอาหารค่ำ  และพักผ่อนตามอัธยาศัย       วันพุธที่ 4 มีนาคม 2558 06.00 น. 09.00 น. 11.00 น.   14.00 น. 16.00 น. 17.00 น.                   20.00 น. 22.00 น. 23.00 น.      - เดินทางออกจากโรงแรมที่พัก เพื่อชมทัศนียภาพตลอดแม่น้ำคงคา      - รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก      - เดินทางออกจากโรงแรมที่พัก เพื่อเตรียมการแสดง ณ Shri  Nagari  Natak  Manclli  Banaras  ซึ่งเป็นโรงละครที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย อายุกว่า 100 ปี      - รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก      - ออกเดินทางจากโรงแรมที่พักไปยัง Shri  Nagari  Natak  Manclli  Banaras       - เตรียมการแสดง      - การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์  ชุด ลักสีดา      - เดินทางกลับโรงแรมที่พัก      - รับประทานอาหารค่ำ  และพักผ่อนตามอัธยาศัย วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2558 08.00 น. 09.00 น. 14.00 น. 16.00 น. 17.00 น.                   19.30 น. 21.00 น. 22.00 น.      - รับประทานอาหารเช้า      - ทัศนศึกษาและซื้อของที่ระลึก      - รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก และพักผ่อนตามอัธยาศัย      - ออกเดินทางจากโรงแรมที่พักไปยังสนามบินภายในประเทศ เมืองพาราณสี      - เดินทางถึงสนามบินเมืองพาราณสี      - ออกเดินทางด้วยเครื่องบินภายในประเทศ  เที่ยวบิน SG 2180      - เดินทางถึงสนามบินภายในประเทศ เมืองเดลลี      - เดินทางถึงที่พัก โรงแรม FOREST GREEN HOTEL รับประทานอาหารค่ำ และพักผ่อนตามอัธยาศัย วันศุกร์ที่6 มีนาคม 2558 08.00 น. 09.00 น. 14.00 น. 15.00 น. 19.00 น. 21.00 น.      - รับประทานอาหารเช้า      - ทัศนศึกษาและซื้อของที่ระลึก      - รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก      - พักผ่อนตามอัธยาศัย      - เดินทางออกจากโรงแรม FOREST GREEN HOTEL      - เดินทางถึงสนามบินนานาชาติอินทิรา  คานธี เพื่อ Check in และเตรียมสัมภาระ วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2558 00.15 น.   05.40 น. 07.00 น. 09.00 น.      - ออกเดินทางจากประเทศอินเดีย โดยสายการบินไทย TG 315 (ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง)      - เดินทางถึงสนามบินนานาชาติ สุวรรณภูมิ      - เดินทางออกจากสุวรรณภูมิ      - เดินทางถึงสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยสัวสดิภาพ       ๘. คณะผู้แทนไทย  ประกอบด้วยข้าราชการ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร  จำนวน ๑๕ คน                    ๘.๑ นายสุรัตน์  เอี่ยมสอาด                  นาฏศิลปินอาวุโส / หัวหน้าคณะเดินทาง                    ๘.๒ นายเจตน์  ศรีอ่ำอ่วม                    นาฏศิลปินอาวุโส                    ๘.๓ นายศิริพงษ์  ทวีทรัพย์                  นาฏศิลปินชำนาญงาน                    ๘.๔ นายธรรมนูญ  แรงไม่ลด                นาฏศิลปินชำนาญงาน                    ๘.๕ นายปรัชญา  ชัยเทศ                    นาฏศิลปินชำนาญงาน                    ๘.๖ นายภีระเมศร์  ทิพย์ประชาบาล        นาฏศิลปินชำนาญงาน                    ๘.๗ นางสาวเสาวรักษ์  ยมะคุปต์            นาฏศิลปินชำนาญงาน                    ๘.๘ นายบุญสร้าง  เรืองนนท์                นาฏดุริยางคศิลปินอาวุโส                    ๘.๙ นายอนุชา  บริพันธ์                     นาฏดุริยางคศิลปินอาวุโส                    ๘.๑๐นายสุราช  ใหญ่สูงเนิน                 นาฏดุริยางคศิลปินชำนาญงาน                    ๘.๑๑นายภูธิชย์  พึ่งสัตย์                     นาฏดุริยางคศิลปินชำนาญงาน                    ๘.๑๒นายประยงค์  ทองคำ                   นาฏดุริยางคศิลปินชำนาญงาน                    ๘.๑๓นายกิตติคุณ  อยู่เจริญ                 คีตศิลปินปฏิบัติงาน                    ๘.๑๔นางสาวภมรรัตน์  โพธิ์สัตย์             คีตศิลปินปฏิบัติงาน                    ๘.๑๕นางสาวพิมพ์รัตน์  นะวะศิริ            นาฏศิลปินชำนาญงาน/เลขานุการคณะเดินทาง   ๙. สรุปสาระของกิจกรรม                   สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย ร่วมมือกับสภาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอินเดีย ประเทศอินเดีย (ICCR : Indian  Council  for  Cultural  Relations) ในการจัดงานเทศกาลรามายณะ ณ เมืองเดลลี  เมืองชัยปุระ และเมืองพาราณสี ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ – ๗ มีนาคม ๒๕๕๘  เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศเอเชียที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมรามายณะ ให้เป็นที่รู้จัก ชื่นชอบ อย่างกว้างขวางในกลุ่มชนประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศเอเชียผ่านการแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์นานาชาติของประเทศต่างๆ  โดยทางสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงเพื่อมาเผยแพร่ในเทศกาลรามายณะ ดังนี้ ชุดการแสดงนาฏศิลป์ไทย                                                ·       โขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา   ๑๐.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม ๑. ควรมีการจัดงานเทศกาลรามายณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมในเรื่องของรามายณะ  รวมถึงเป็นการขยายความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมของไทย ระหว่างประชาชนไทยกับประชาชนของประเทศเป้าหมาย            ๒.การจัดงานครั้งนี้ เป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของกระทรวงวัฒนธรรมเช่น กลุ่มนาฏศิลป์ สำนักการสังคีตกับ  สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรมหรือกับเครือข่าย ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งของฝ่ายไทยและประเทศเป้าหมาย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันจะส่งผลประโยชน์ต่อประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การเมืองต่อไป            ๓. ส่งเสริมความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่และเป็นที่แพร่หลายท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมโลก            ๔.การดำเนินงานการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างประเทศควรคำนึงถึงการจัดทำงบประมาณในด้านเบี้ยเลี้ยงเดินทาง เนื่องจากบางประเทศที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการแสดงนั้น มีความแตกต่างในเรื่องของวัฒนธรรมการกินและการดำรงชีพ  ทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อคณะนาฏศิลป์ที่เดินทางไปเผยแพร่วัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงการขนส่งสัมภาระทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือในด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกต่อการขนย้ายและการจัดเก็บอีกด้วย            ๕. ควรมีผู้ประสานการแสดงเดินทางและการจัดการแสดงของประเทศไทยเดินทางร่วมด้วย เพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกในการทำงาน


ชื่อเรื่อง : สูจิบัตร พิธีบวงสรวง เทพยดา บูรพกษัตริย์ล้านนา และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพิธีบายศรีทูนพระขวัญ งานสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ผู้แต่ง : คณะทำงานจัดทำสูจิบัตรฯ ปีที่พิมพ์ : 2539 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : กลางเวียงการพิมพ์           งานสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เนื้อหาในหนังสือมีกำหนดการพิธีทักษิณานุประทาน ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ วันพฤหัสที่ 11 เมษายน 2539 มีพิธีบายศรีทูนพระขวัญ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีคำกราบบังคมถวายรายงานแด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีรายนามกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ คำบวงสรวงบูชา คำทูนพระขวัญ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตำนานพระบรมธาตุเจ้าศรีจอมทอง วัดเชียงมั่น พิธีทักษิณานุประทาน พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีสืบชะตา เจ้าไชยสุริยวงศ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่ ข้อมูลของศาสตราจารย์เกียรติคุณ มณี พยอมยงค์ รายนามผู้ร่วมขบวนเจ้านายฝ่ายเหนือ และคณะกรรมการ


ผู้แต่ง               :  รำไพพรรณี พระบรมราชนีนาถ สมเด็จพระนางเจ้าโรงพิมพ์           :  กรุงเทพบรรณาคารปีที่พิมพ์           :  2481ภาษา               :  ไทยรูปแบบ             :  PDFเลขทะเบียน      :  น.34บ.6167จบ(ร)เลขหมู่             :  ห                                   959.3                         ร468ป



เลขทะเบียน : นพ.บ.45/14ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 4.4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 27 (267-281) ผูก 13หัวเรื่อง :  ธรรมบท --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ



 พร้อมพร  พุ่มพวง.  เทศกาล ถือศีลกินเจ.  จันทร์ยิ้ม.  (12) : 18 ; กันยายน. 2559.              ภายในเล่มอันดับแรกกล่าวถึง การถือศีลกินเจ สำหรับคนที่สามารถปฏิบัติได้จะต้องถือศีล 5 และสำหรับคนที่เคร่งมากๆ จะต้องถือศีล 8 การกินเจในเทศกาลกินเจนั้น คือจะเน้นไปในเรื่องของการงดทานเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดที่มีกลิ่นฉุน สำหรับพิธีทางศาสนาอันดับแรก จะต้องทำพิธีอัญเชิญเทพเจ้าในวันกินเจวันแรก ประโยชน์ที่ได้รับจากการกินเจ เช่น ร่างกายสามารถขับถ่ายของเสียออกได้หมด ทำให้ไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ภายใน และประโยชน์อีกด้านคือ ด้านจิตใจ เหมือนได้บุญเพราะไม่ฆ่าสัตว์ 


รวมเรื่องเมืองนครราชสีมา. พระนคร: ประจักษ์วิทยา, 2511.           จัดพิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางบุญเหลือ พลราษฎร์บำรุง (บุญเหลือ อุเทนสุต) ณ เมรุสมานมิตร วัดแจ้งใน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 7 เมษายน 2511 เนื้อหาในเล่มประกอบด้วยเรื่องต่างๆ 4 เรื่องดังนี้          w เมืองนครราชสีมา จากเรื่องเที่ยวตามทางรถไฟพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตัดตอนเฉพาะที่เกี่ยวกับเมืองนครราชสีมา          w จดหมายเมืองนครราชสีมา  ของนายปรีดา  ศรีชลาลัย ได้รวบรวมจากสมุดไทยดำ และกระดาษเพลา ในหอสมุดแห่งชาติ          w การสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา ซึ่งเป็นทางรถไฟหลวงสายแรกของประเทศไทย          w เรื่องกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ทรงจัดราชการ ณ เมืองนครราชสีมา ร.ศ.110-111 (พ.ศ. 2434-2435)  กล่าวถึง การจัดระเบียบการปกครองในเมืองนครราชสีมาและเมืองหลวงพระบางตลอดจนการปราบปรามโจรผู้ร้าย915.933ร157บ 



Messenger