ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,851 รายการ


          อภยมุทรา หรือ อภยหัสตะ คือ ท่ามือยกขึ้นในระดับไหล่ ยื่นออกมาข้างหน้า หันฝ่ามือออก นิ้วทั้งห้าเหยียดตรงขึ้น เป็นท่าขจัดความหวาดกลัว เพราะแสดงการขับไล่สิ่งชั่วร้าย และป้องกันอันตรายของเทพเจ้าต่อผู้สักการบูชา ท่ามือดังกล่าวนี้ แสดงด้วยมือข้างขวา แทบไม่ปรากฏเลยในมือข้างซ้าย บางครั้งแสดงด้วยมือทั้งสองข้าง จัดเป็นมุทราทั่วไปของเทพและทิพยบุคคลต่าง ๆ ในทุกศาสนาของอินเดีย เทพเจ้าส่วนใหญ่แสดงมุทราดังกล่าวนี้           อาจเป็นไปได้ว่ากำเนิดของมุทรานี้เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง บางครั้งพบในศิลปะโรมัน รวมถึงในศิลปะคริสเตียน ในประเทศอินเดียจัดเป็นมุทราในยุคต้น ๆ นิยมทำในศิลปะคันธารราฐเนื่องในพุทธศาสนา แสดงในพระพุทธรูปปางแสดงธรรม ภายหลังแสดงในปางปราบช้างนาฬาคีรี ต่อมามีพัฒนาการทางความหมายหมายถึงการปกป้องคุ้มครอง เป็นลักษณะเฉพาะของรูปเคารพในพุทธศาสนาบางองค์ เช่น พระอโมฆสิทธิ (Amoghasiddhi) พระทีปังกร (Dipaṅkara) พระกนกมุนี (Kanakamuni) อโมฆปาศ (Amoghapāśa) อารยชางคุลี (Āryajāṅgulī) นามสังคีติ (Nāmasaṅgīti) ปัทมปาณิ (Padmapaṇi) ศิขิน (Śikhin) สิตาตปัตรา (Sitātapatrā) สุปริกีรติตนามศรี (Suparikīrtitanāmaśrī) อุษณีสวิชยา (Uṣṇīsavijayā) และอื่น ๆ            ในศาสนาฮินดู เป็นลักษณะของพระวิษณุ (Viṣṇu) ผู้ปกป้องระบบจักรวาล (อนันตาศายน-Anantāśayana) และพระศิวะนาฏราช (Śiva Nāṭarāja) ในท่าอนันทตาณฑวะ (Ānandatāṇḍava) และท่าเต้นรำอื่น ๆ มีความหมายถึงการปกป้องรักษาจักรวาล ในความหมายที่แคบลง เทพ และเทวีต่าง ๆ แสดงมุทรานี้ เพื่อแสดงการปกป้อง และแสดงความสง่างาม           อภยมุทรา เรียกอีกว่า อภยนททมุทรา (Abhyandada-mudrā) อภยประทานมุทรา (Abhyapratāna-mudrā) อภีติมุทรา (Abhīti-mudrā) ศานติทมุทรา (Śāntida-mudrā) และ วิศวาภยมุทรา (Viśvabhya-mudrā) บางครั้งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ ปตากามุทรา (Patākā-mudrā) หรือ “มือรูปธง” ------------------------------------------ผู้เรียบเรียง เด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ------------------------------------------หนังสืออ้างอิง1. Gupte, Ramesh Shankar. Iconography of the Hindus, Buddhists and Jains. Bombay : D.B. Taraporevala, 1980. 2. Liebert, Gosta. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976. 3. Stutley , Margaret. The illustrated dictionary of Hindu iconography. London : Routledae & Kegan Paul, 1985. 4. Trilok Chandra Majupuria and Rohit Kumar Majuria. Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism [Including Tibetan Deities]. Lashkar (Gwalior): M. Devi, 2004.


         “หยาดน้ำเพื่อชีวิต” ในโครงการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ โดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) จัดสร้างภาพยนตร์สั้นโดยผู้กำกับและศิลปินรุ่นใหม่ ๑๑ คน สะท้อนความคิดและแรงบันดาลใจเกี่ยวกับแนวพระราชดำริต่าง ๆ เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานศูนย์ศึกษาแห่งแรกที่เขาหินซ้อนจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ประชาชนครบรอบ ๓๐ ปี เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๒



           “ธัตตูระ” เป็นนามภาษาสันสกฤตของลำโพง พืชอันเป็นพิษ มีฤทธิ์ทางจิตประสาท ใช้เป็นยาพิษ หรือยากล่อมประสาทในพิธีกรรมแต่โบราณ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำองค์พระศิวะ (Śiva) และรุทร (Rudra) เทพแห่งการลำลายล้าง            ศิวะปุราณะ (Śiva Purāṇa) กล่าวว่าดอกธัตตูระใช้เพื่อการบูชาพระศิวะสำหรับผู้ปรารถนาบุตรชาย วามนะปุราณะ (Vāmana Purāṇa) แสดงกำเนิดของธัตตูระว่า ปรากฏจากพระอุระของพระศิวะเมื่อทรงกลืนพิษ (หลาหละ-Halāhala) อันเกิดจากการกวนน้ำอมฤตของเหล่าอสูรและเทวดา เพื่อความผาสุกของโลก ธัตตูระจึงเป็นที่โปรดปรานของพระศิวะ ระหว่างพิธีศิวะบูชาจะใช้ดอก ใบ และผล ธัตตูระเป็นเครื่องบูชา ทั้งนี้มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ให้พระศิวะทรงขจัดพิษจากอัตตา ความอิจฉา ริษยา ศัตรู คู่แข่ง อารมณ์ในแง่ลบ ธรรมชาติที่ชั่วร้าย ฯลฯ เพื่อความบริสุทธิ์และการขจัดบาปทั้งปวงให้สิ้นไปจากผู้บูชา            บางแห่งกล่าวกันว่าธัตตูระเกิดจากเสกสรรค์ของวสันต์ (Vasanta) เทพแห่งฤดูใบไม้ผลิ ผู้เป็นมิตรกับกามะ (Kāma) เทพแห่งความรัก เทพวสันต์ได้เนรมิตธัตตูระผลิดอกเบ่งบานกระจายไป เพื่อตกแต่งสถานที่ให้งดงาม ตามความปรารถนาของกามเทพ เพื่อให้พระศิวะเกิดความลุ่มหลง และรับพระนางปารวตี (Pārvatī) เป็นชายา ในปางกามานตกะมูรติ (Kāmāntakamūrti) หรือพระศิวะปางทำลายพระกามเทพ           ทางประติมานวิทยา ดอกธัตตูระมักประดับบนศีรษะข้างหนึ่งของพระศิวะในบางปาง เช่น จันทรเศขรมูรติ (Candraśekharamūrti) ทักษิณามูรติ (Dakṣiṇāmūrti) คชาสุรมูรติ (Gajāsuramūrti) กังกาละมูรติ (Kaṅkālamūrti) และนาฏราช (Nāṭarāja) ----------------------------------------------ผู้เรียบเรียง นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ----------------------------------------------หนังสืออ้างอิง 1. Gosta Liebert, Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism (Leiden: E.J. Brill, 1976), 76. 2. Margaret Stutley, The illustrated dictionary of Hindu iconography (London : Routledae & Kegan Paul, 1985), 39. 3. “Dhattura, Dhattūra: 13 definitions”. Wisdom Library. August 24, 2020. Web. Retrieved September 14, 2020. From https://www.wisdomlib.org/definition/dhattura 4. “Datura". Wikipedia, the free encyclopedia. Wikimedia Foundation. September 3, 2020. Web. Retrieved September 14, 2020. From https://en.wikipedia.org/wiki/Datura. 5. 8 Divine Flowers Which Are Favorites Of Hindu Gods (Online). Available : https://www.floweraura.com/blog/8-divine-flowers-which-are-favorites-hindu-gods [September 14, 2020]



ชื่อเรื่อง                           พิมพาภิลาป(นิทานพิมพาพิลาป)สพ.บ.                                  103/13กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           32 หน้า กว้าง 5.2 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์                                     บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข   ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


โบราณคดีในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้


ชื่อผู้แต่ง      พระธรรมสาตร(ศุข) ชื่อเรื่อง        คำกลอนสุภาษิต พาลีสอนน้องและพิเภกสอนเบญกาย ครั้งที่พิมพ์    - สถานที่พิมพ์  พระนคร สำนักพิมพ์    โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์        ๒๔๘๐ จำนวนหน้า    ๕๒ หน้า หมายเหตุ      พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในการปลงศพ นางอิ่ม ชื่นสมทรง วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๔๘๐ ณะวัดประยุรวงศาวาส                      หนังสือคำกลอนสุภาษิตเรื่องพาลีสอนน้องและพิเภกสอนเบญกาย เล่มนี้ เป็นหนังสือที่แปลกและเป็นคติที่ดีเกี่ยวด้วยเรื่องพี่สอนน้อง บิดาสอนบุตร ซี่งผู้ประพันธ์ได้เขียนเป็นคำกลอนสุภาษิตเป็นร้อยกรอง 


ชื่อผู้แต่ง         ผลิตอาหารสำเร็จรูป,องค์การ ชื่อเรื่อง          ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป (อสร.) อย่างไร ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์คุรุสภา ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๗ จำนวนหน้า      ๑๐๔ หน้า หมายเหตุ        พิมพ์สมทบแจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ๑๗ มีนาคม ๒๕๐๗                     หนังสือฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป (อสร.) อย่างไร เล่มนี้ คัดมาจากรายงานประจำปีขององค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป (อสร.) แสดงกิจการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๙๙และรายงานการประชุมคณะกรรมการองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป (อสร.) พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งมีข้อความและคำพูดที่เกี่ยวข้องกับจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ควรยกย่องอยู่ด้วย  


เลขทะเบียน : นพ.บ.145/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4.6 x 57 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 88 (368-372) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.97/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 5.3 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 57 (140-153) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : อภิธมฺมตฺถภาวนี (อภิธมฺมตถสงฺคหฎีกา (ฎีกาสังคหะ)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.14/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



      นาค และนางนาคี ปกติมีร่างเป็นงูใหญ่ แต่มีฤทธิ์นิรมิตรูปกายอื่นได้ ตามตระกูลแห่งนาค ซึ่งแบ่งเป็นนาคนิมิตกายได้ กับนาคนิมิตกายไม่ได้ นาคจำพวกนิมิตกายได้ ยังขึ้นอยู่กับถิ่นที่อาศัย คือ นาคอยู่บก นิมิตกายได้แต่ในบก และนาคอยู่ในน้ำ นิมิตได้แต่ในน้ำ ตระกูลนาคทั้งหลายเมื่อปรารถนาจะหาอาหาร หรือมีเหตุอื่นใด ก็จำแลงรูปเป็นเทพบุตร เทพธิดา บางทีมีเพศเป็นงูเห่าดำ เป็นเพศงู เพศกระแต ตามแต่จะแสวงหาอาหาร นาคแม้มีฤทธิ์เพียงใดก็ตาม แต่ไม่อาจละชาติของตนได้ ย่อมคืนร่างเป็นนาคในวาระทั้ง ๕ คือ ๑) เมื่อตายหรือจุติ ๒) เมื่อเวลาเกิด ๓) เมื่อนอนหลับ ๔) เมื่อเสพเมถุนธรรมกับนาคงู อันเป็นชาติของตน ๕) เมื่อลอกคราบ       ตามคติพระพุทธศาสนา นาคมีทั้งที่เป็นสัมมาทิฐิ และมิจฉาทิฐิ นาคเคยปรากฏเรื่องเป็นต้นบัญญัติพระวินัย เนื่องจากนาคจำแลงเป็นบุรุษมาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อนอนหลับ กายกลับคืนเป็นชาติของตน ทำให้พระสงฆ์ตื่นตกใจ พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติห้ามนาคบวช เนื่องจากมีชาติเป็นดิรัจฉาน ไม่สามารถเข้าถึงสัทธรรมได้     ในมหาสมัยสูตร อันเป็นพระสูตรว่าด้วยการชุมนุมใหญ่ของเทพยดาทั้งปวง เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้งประทับ ณ ป่ามหาวัน ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กล่าวว่านาคฝ่ายสัมมาทิฐิ พร้อมด้วยบริวาร มาร่วมเข้าเฝ้า ๖ เหล่า คือ นาสภะ หมายถึง เหล่านาคผู้อาศัยอยู่ในสระนภสะ เวสาละ นาคที่อยู่ในเมืองเวสาลี กัมพลอัสดร นาคอยู่ยังเชิงเขาพระสุเมรุ ปายาคะ นาคอยู่ที่ท่าปยาคะ ยามุนะ นาคอยู่ในลำน้ำยมุนา และ ธตรฐ นาคเกิดในตระกูลธตรฐ บรรดานาคเหล่านี้ ย่อมพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาในกาลทุกเมื่อ จึงมักปรากฏรูปนาคสร้างประกอบไว้ในศาสนสถานเสมอ      ในงานพุทธศิลป์ มักสร้างรูปนาคผู้มีฤทธิ์ มีพิษร้ายแรง มีอำนาจบันดาลให้ฝนตก เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์ มีความสุขมาก และมีอายุยืนนาน เป็นทวารบาล หรือประดับยังส่วนแห่งอาคาร เพื่อพิทักษ์ปกป้องศาสนาสถาน นำความสุข ความเจริญ ให้แก่พุทธบริษัท โดยทั่วไปสร้างรูปเป็น ๓ ลักษณะ คือ  ๑) รูปเป็นงู มีหลายเศียร ตั้งแต่ ๓ เศียร ๕ เศียร ๗ เศียร และ ๙ เศียร เป็นต้น ๒) รูปครึ่งมนุษย์ครึ่งงู เรียกว่า นาคจำแลง หรือ นาคแปลง ๓) รูปมนุษย์ มีพังพานงูแผ่ปกที่คอและเศียร เรียกว่า มนุษยนาค   เรียบเรียงโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร หนังสืออ้างอิง ๑. นิยะดา เหล่าสุนทร. ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สำนวนที่ ๑. กรุงเทพฯ : ลายคำ, ๒๕๕๕. ๒. หอสมุดแห่งชาติ, กรมศิลปากร. จักวาฬทีปนี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๓.นาค และนางนาคี ปกติมีร่างเป็นงูใหญ่ แต่มีฤทธิ์นิรมิตรูปกายอื่นได้ ตามตระกูลแห่งนาค ซึ่งแบ่งเป็นนาคนิมิตกายได้ กับนาคนิมิตกายไม่ได้ นาคจำพวกนิมิตกายได้ ยังขึ้นอยู่กับถิ่นที่อาศัย คือ นาคอยู่บก นิมิตกายได้แต่ในบก และนาคอยู่ในน้ำ นิมิตได้แต่ในน้ำ ตระกูลนาคทั้งหลายเมื่อปรารถนาจะหาอาหาร หรือมีเหตุอื่นใด ก็จำแลงรูปเป็นเทพบุตร เทพธิดา บางทีมีเพศเป็นงูเห่าดำ เป็นเพศงู เพศกระแต ตามแต่จะแสวงหาอาหาร นาคแม้มีฤทธิ์เพียงใดก็ตาม แต่ไม่อาจละชาติของตนได้ ย่อมคืนร่างเป็นนาคในวาระทั้ง ๕ คือ ๑) เมื่อตายหรือจุติ ๒) เมื่อเวลาเกิด ๓) เมื่อนอนหลับ ๔) เมื่อเสพเมถุนธรรมกับนาคงู อันเป็นชาติของตน ๕) เมื่อลอกคราบ       ตามคติพระพุทธศาสนา นาคมีทั้งที่เป็นสัมมาทิฐิ และมิจฉาทิฐิ นาคเคยปรากฏเรื่องเป็นต้นบัญญัติพระวินัย เนื่องจากนาคจำแลงเป็นบุรุษมาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อนอนหลับ กายกลับคืนเป็นชาติของตน ทำให้พระสงฆ์ตื่นตกใจ พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติห้ามนาคบวช เนื่องจากมีชาติเป็นดิรัจฉาน ไม่สามารถเข้าถึงสัทธรรมได้     ในมหาสมัยสูตร อันเป็นพระสูตรว่าด้วยการชุมนุมใหญ่ของเทพยดาทั้งปวง เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้งประทับ ณ ป่ามหาวัน ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กล่าวว่านาคฝ่ายสัมมาทิฐิ พร้อมด้วยบริวาร มาร่วมเข้าเฝ้า ๖ เหล่า คือ นาสภะ หมายถึง เหล่านาคผู้อาศัยอยู่ในสระนภสะ เวสาละ นาคที่อยู่ในเมืองเวสาลี กัมพลอัสดร นาคอยู่ยังเชิงเขาพระสุเมรุ ปายาคะ นาคอยู่ที่ท่าปยาคะ ยามุนะ นาคอยู่ในลำน้ำยมุนา และ ธตรฐ นาคเกิดในตระกูลธตรฐ บรรดานาคเหล่านี้ ย่อมพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาในกาลทุกเมื่อ จึงมักปรากฏรูปนาคสร้างประกอบไว้ในศาสนสถานเสมอ      ในงานพุทธศิลป์ มักสร้างรูปนาคผู้มีฤทธิ์ มีพิษร้ายแรง มีอำนาจบันดาลให้ฝนตก เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์ มีความสุขมาก และมีอายุยืนนาน เป็นทวารบาล หรือประดับยังส่วนแห่งอาคาร เพื่อพิทักษ์ปกป้องศาสนาสถาน นำความสุข ความเจริญ ให้แก่พุทธบริษัท โดยทั่วไปสร้างรูปเป็น ๓ ลักษณะ คือ  ๑) รูปเป็นงู มีหลายเศียร ตั้งแต่ ๓ เศียร ๕ เศียร ๗ เศียร และ ๙ เศียร เป็นต้น ๒) รูปครึ่งมนุษย์ครึ่งงู เรียกว่า นาคจำแลง หรือ นาคแปลง ๓) รูปมนุษย์ มีพังพานงูแผ่ปกที่คอและเศียร เรียกว่า มนุษยนาค   เรียบเรียงโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร หนังสืออ้างอิง ๑. นิยะดา เหล่าสุนทร. ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สำนวนที่ ๑. กรุงเทพฯ : ลายคำ, ๒๕๕๕. ๒. หอสมุดแห่งชาติ, กรมศิลปากร. จักวาฬทีปนี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๓.


Messenger