ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,866 รายการ
ชื่อผู้แต่ง : ประวัติชาติไทยเล่ม 2
ชื่อเรื่อง : ประวัติชาติไทย เล่ม 2
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
โรงพิมพ์ : ประจักษ์วิทยา
จำนวนหน้า 670 หน้า
หนังสือเรื่องประวัติชาติไทย เล่ม 2 เขียนถึงประวัติเมืองนครศรีธรรมราช เมืองสุพรรณบุรี กรุงศรีอยุธยา การเกิดจลาจลสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 30 จนถึงอาวสานกรุงเทพทวาราวดี มีการเขียนถึงกษัตริย์ การปกครองการแบ่งส่วนราชการสมัยก่อน ไว้อย่างละเอียด
เอกสาร Knowledge Center เรื่อง "ความคิดไร้ขีดจำกัดปฏิวัติความคิดเพื่อพลิกโฉมองค์กร" จัดทำโดย สำนักงาน ก.พ.ร. เรียบเรียงโดยคุณปานจิต จินดากุล นักพัฒนาระบบราชการ 7
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มโหสถ)สพ.บ. 408-3หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (เตมิยะ-ภูริทัต)
สพ.บ. 411/ค/7
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยล้านนา
หัวเรื่อง พุทธศาสนา นิทานชาดก
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 50 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.8 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมล้านนา-ธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ ๑๙ กันยายน ของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้กำหนดจัดกิจกรรม การเสวนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ MUSEUM STREAMING: Creating for All เป็นเวทีพูดคุยของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ผ่านระบบออนไลน์ ทาง Facebook Fanpage: Office of National Museums, Thailand ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔ ถ่ายทอดสดในเวลา ๑๓.๐๐ น. มุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต่อยอดการดำเนินกิจการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย โดยมีหัวข้อที่สอดคล้องกับสภาพสังคม ดังนี้ วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๔ เสวนาในหัวข้อ Role of Museum During Pandemic โดยนายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๔ เสวนาในหัวข้อ Digital Tools in Museums โดยนางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นางกาญจนา ศรีปัดถา ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ Mr.Toby Lu Sales and Exhibition Manager, River City Bangkok วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔ เสวนาในหัวข้อ Museum without Walls โดย ดร.พธู คูศรีพิทักษ์ สถาบัน วิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล นายจิรภัทร ชนะสิทธิ์ ผู้ก่อตั้งแฟนเพจ เฟสบุ๊ก “พิพิธภัณฑ์ พุ่มพวง ดวงจันทร์” และนายสุทธิพงษ์ สุริยะ ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ นอกจากนี้ ยังจัดมหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทย MUSEUM EXPO 2021: Recover Together Step Forward โดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นเวทีสื่อสารกับพิพิธภัณฑ์เครือข่ายและผู้สนใจ ให้สามารถเข้าถึงข้อความ (Message) ที่พิพิธภัณฑ์ต้องการสื่อสาร ในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ได้ อย่างไร้ขีดจำกัด โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทยกว่า ๒๐ แห่ง มาร่วมจัดแสดงและนำเสนองาน แบบออนไลน์ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทาง www.finearts.go.th/thailandmuseum
ชื่อเรื่อง ฌาปนกิจฺจานิสํสกถา (อานิสงส์เผาศพ)
สพ.บ. 212/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง บทสวดพาหุํ (พาหุํ )
สพ.บ. 326/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--บทสวดมนต์
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่#ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง. ดอกไม้ เป็นสิ่งที่มีความสวยงาม กลิ่นหอม มีความบริสุทธิ์และควรค่าแก่การบูชา ดังนั้นคนในสมัยโบราณจึงนำเอาดอกไม้มาเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องสักการะสูงสุด และที่สำคัญคติความเชื่อของชาวล้านนา ที่เชื่อกันว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่มีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ ดังนั้นจึงพึงได้รับอานิสงส์จากการอุทิศตนถวายเป็นพุทธบูชาด้วย. ในวันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับดอกไม้ที่ใช้เป็นเครื่องสักการะในพุทธศาสนาอีกประเภทหนึ่ง คือ “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” ค่ะ ตามมานะคะ"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""/// ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง คืออะไร?? ///. “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” เป็นการจำลองรูปลักษณะของดอกไม้จริงให้กลายเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ด้วยทองและเงิน เพื่อความคงทนสำหรับสักการบูชาศาสนสถานหรือศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา. “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป เช่น ล้านนา เรียกว่า “ดอกไม้เงินดอกไม้คำ” ทางมลายู เรียกว่า “บุหงามาสดานเประ” (Bunga Mas DanPerak) เป็นต้น. ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ “ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง” ไว้ว่า “เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นคู่ ซึ่งเมืองขึ้นส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินทุกๆ ๓ ปี” หรือ “เครื่องสักการะที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายพระเจ้าแผ่นดินเมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับพระราชทานตั้งยศ” โดยจะนิยามใน ๒ ประเด็นหลัก คือ เป็นเครื่องบรรณาการ และ สื่อกลางในการเลื่อนชั้นและตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น/// ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง : เครื่องสักการบูชาตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ///. ปรากฏหลักฐานแรกสุดจากการขุดค้นทางโบราณคดีในเมืองตักกสิลา (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน) ในสถูปซึ่งมีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๖ พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นอูบหรือผอบประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุดอกไม้ประดิษฐ์ที่ใช้วัตถุดิบเป็นทองคำและเงิน เนื่องจากมีมูลค่าและคุณค่าสูง ประกอบกับคงทนถาวรกว่าแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ. ทั้งนี้เมืองตักกสิลาและบริเวณอื่นๆของอินเดียหลายแห่งเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาและระบบเครือข่ายทางการค้า ส่งผลให้คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาจากตักกสิลาส่งอิทธิพลแนวคิดดังกล่าว เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเส้นทางการค้า โดยเริ่มจากบริเวณคาบสมุทรมลายูก่อนเผยแพร่เข้าไปทางภาคใต้ของไทย กับอีกเส้นทางหนึ่งคือจากอินเดียเข้าสู่พม่า ล้านนา และเข้ามาสู่สยาม. ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในวโรกาสเจริญพระชนพรรษาครบ ๓๒ พรรษา เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ โดยอัญเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานบนบุษบกทองคำ และใช้ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ล้อมบุษบก นอกจากนี้คนในอดีตนิยมถวายต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ เสด็จยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงถวายต้นไม้ทองต้นไม้เงินเป็นพุทธบูชาแด่องค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร/// ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง : เครื่องราชบรรณาการจากหัวเมืองประเทศราช ///. ในสมัยรัตนโกสินทร์ หัวเมืองประเทศราชของไทย เช่น เมืองหล่ม เมืองหลวงพระบาง เมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เขมร ชนกลุ่มต่างๆทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ(กะเหรี่ยง) มลายู (ไทรบุรี ปัตตานี กลันตัน และตรังกานู) จะต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง หรือ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการมายังกรุงเทพฯ ทุกๆ ๓ ปี หรือทุกปี ที่เป็นทั้งเงินทองหรือผลิตผลในท้องถิ่นมากน้อยไม่มีกฎเกณฑ์กำหนด หรืออาจเป็นสิ่งของที่กรุงเทพฯแจ้งความต้องการไป เพื่อแสดงความสวามิภักดิ์และการยอมเป็นเมืองขึ้นไทย . โดยขนาดของต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ที่ส่งมาถวาย จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และฐานะความมั่งคั่งของแต่ละรัฐ ดังนั้น ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง หรือ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง เหล่านี้ จึงเปรียบเสมือนเครื่องหมายความจงรักภักดีต่อประเทศราชเหล่านั้น/// ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง : สื่อกลางในการเลื่อนชั้นหรือบรรดาศักดิ์ของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนัก ///. ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง เป็นสิ่งที่เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับการสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมสูงขึ้น ทูลเกล้าฯถวายพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและแสดงการยอมรับในพระราชอำนาจ โดยเป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ แล้ว เช่น ขุนนางที่ได้รับบรรดาศักดิ์สูงขึ้นเป็นเจ้าพระยาจะต้องนำพุ่มไม้เงิน พุ่มไม้ทอง ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย หลังจากที่ได้มีพระบรมราชโองการแล้ว พุ่มไม้เงินพุ่มไม้ทองคู่นี้จะนำมาใส่แจกัน อาจเป็นแจกันแก้วเจียรนัยหรือแจกันเคลือบ แล้วแต่ฐานะของผู้ที่ได้บรรดาศักดิ์. จะเห็นได้ว่า “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” นอกจากจะใช้เป็นเครื่องพุทธบูชา ไว้สักการบูชาเนื่องในพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ใช้เพื่อเป็นของขวัญของกำนัล เชื่อมสัมพันธไมตรีก่อนจะถูกกำหนดให้เป็นเครื่องบรรณาการจากเมืองเจ้าของประเทศราช หลังจากนั้นเจ้าเมืองประเทศราชได้นำไปใช้ในการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนักเพื่อแสดงการยอมรับพระราชอำนาจอีกด้วย""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""ที่มา : - เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง. (2561) ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง - ดอกไม้บรรณาการ: จากสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพสู่ภาพตัวแทนอำนาจการปกครอง. วารสารไทยศึกษา ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม หน้า 29-60. - สมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี. (2556). ต้นไม้ทองต้นไม้เงินสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม. - สินชัย กระบวนแสง และวรรณิสิริ นุ่นสุข. (2545). การศึกษาคติในการบูชาพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช: กรณีดอกไม้เงินดอกไม้ทอง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช."""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""". พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้นำตัวอย่างดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ที่จัดแสดงอยู่ ณ ห้องโบราณวัตถุที่พบในฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มาให้ทุกท่านได้ชมกันค่ะ. ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองทั้ง 4 รายการนี้ แม้จะเป็นสิ่งของที่มีขนาดเล็ก แต่ก็แสดงถึงความศรัทธาและฝีมือของช่างในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีค่ะ แล้วพบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้านะคะ""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) e-mail : cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.44/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)
ชบ.บ.88ก/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)