ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,866 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           22/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                32 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           6/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              32 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง        สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย ชื่อเรื่อง         วารสารคหเศรษฐศาสตร์  (ปีที่ ๑๐  ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๐๙) ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ปีที่พิมพ์         ๒๕๐๙ จำนวนหน้า     ๕๔ หน้า รายละเอียด                    วารสารวิชาการสำหรับชาวคหกรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวคิดทางคหกรรมศาสตร์และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภายในเล่มประกอบด้วย ๙ บทความ เช่น วิวัฒนาการของวิชาโภชนาการในญี่ปุ่น, การประหยัดและป้องกันการสูญเปล่า, การลดความอ้วน, ความต้องการอาหารของเด็ก ฯลฯ


เรื่อง แกะรอยแผ่นดินไหว ลมหายใจแห่งรอยเลื่อน รชฏ มีตุวงศ์. แกะรอยแผ่นดินไหว ลมหายใจแห่งรอยเลื่อน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2557. ห้องหนังสือทั่วไป 1 เลขเรียกหนังสือ 551.22 ร122ก เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ทั่วโลกต่างตื่นตระหนกกับการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศตุรกีและซีเรีย โดยมีขนาด 7.8 ตามมาตราริกเตอร์ สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 33,000 คน และผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นปริศนาที่ไม่มีใครสามารถคาดการณ์การเกิดเหตุได้อย่างแม่นยำ แม้แต่ประเทศไทยที่อยู่ในเขตความเสี่ยงภัยต่ำก็ยังพบข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวอยู่หลายแห่ง แกะรอยแผ่นดินไหว ลมหายใจแห่งรอยเลื่อน เล่มนี้ ผู้เขียนพาเราไปพบกับ การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยซึ่งนับเป็นภัยธรรมชาติที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่ต่างจากภัยแล้ง น้ำท่วม ภัยหนาว พายุ หรือดินถล่ม เพียงแต่หลายคนยังมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว หากลองย้อนรอยประวัติศาสตร์จะพบว่าภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ บางครั้งไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินแต่ก็สร้างความตื่นตระหนกและหวาดกลัวได้ไม่น้อย และในบางครั้งก็ก่อให้เกิดความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินค่าได้ ดังเช่นเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย มาตรการป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหวจึงถูกกำหนดขึ้น เช่น การกำหนดพื้นที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวแบ่งตามระดับความเสี่ยง การกำหนดมาตรฐานการออกแบบอาคารให้มีความต้านทานแผ่นดินไหวที่เหมาะสม เป็นต้น เพราะการเกิดแผ่นดินไหวไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่ารอยเลื่อนใดหรือบริเวณใดของเปลือกโลกจะเกิดการขยับตัว และหากขยับตัวแล้วจะมีความลึกหรือความรุนแรงมากน้อยเพียงใด รอยเลื่อนดังกล่าวเรียกว่า รอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) หมายถึง รอยเลื่อนที่มีประวัติการเลื่อนตัวอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงเวลา 11,000 ปี ประเทศไทยปรากฏรอยเลื่อนเหล่านี้ทั้งสิ้น 14 กลุ่มใหญ่ พาดผ่านพื้นที่ 21 จังหวัด ผู้เขียนนำเสนอเรื่องราวการสำรวจร่องรอยของการเกิดแผ่นดินไหวและถ่ายทอดข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ สร้างความตระหนักให้เกิดกับคนในสังคม เพื่อที่จะรับมือกับภัยแผ่นดินไหวได้อย่างสมดุลและปลอดภัย ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรี (วันอังคาร – วันเสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.)


เลขทะเบียน : นพ.บ.466/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 10 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 160  (174-182) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ฉลองเสียหญ้าวัด--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.605/1                  ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 194  (408-415) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พระธัมมสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน” วันข้าราชการพลเรือน ตรงกับวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี เนื่องจากสำนักงาน ก.พ. ไดนำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ขอให้กำหนดวันที่ 1 เมษายนของทุกปี เป็นวันข้าราชการพลเรือน เพราะเป็นวันที่ตรงกับวันประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก คือ วันที่ 1 เมษายน 2472 และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางรากฐานระเบียบข้าราชการพลเรือนทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. 2522 เป็นปีที่องค์การกลางบริหารบุคคลต่างๆของรัฐ และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนได้หารือกันที่จะให้มีการจัดงานเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ในที่สุดจึงได้ร่วมกันจัดงาน “สัปดาห์การบริหารงานบุคคล” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 1-7 เมษายน ปีเดียวกันนั้นเอง จากการจัดงานดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่องค์การบริหารบุคคลต่างๆของรัฐ และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะมีวันข้าราชการพลเรือน และควรถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็น “วันข้าราชการพลเรือน” เหตุผลที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันที่ได้มีการประกาศใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 และยังเป็นเครื่องแสดงกคเวทิคุณสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นผู้ทรงวางรากฐานระเบียบข้าราชการพลเรือนสมัยใหม่ขึ้นมา ในการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน มีการแสดงนิทรรศการผลงานของส่วนราชการต่างๆ และมีการยกย่องเชิดชู ข้าราชการพลเรือนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น โดยในปี พ.ศ. 2524 ได้จัดให้มีโครงการคัดเลือกข้าราชการตัวอย่างที่ทำงานให้ประชาชนชื่นใจ ต่อมาไดเ้ปลี่ยนชื่อเป็น โครงการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น โดยคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา และได้จัดพิธีมอบเกียรติบัตรแก่ข้าราชการดีเด่นในงานวันข้าราชการพลเรือนของทุกๆ ปีจนถึงปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน มีดังนี้ 1. เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของข้าราชการในการเป็นผู้ให้บริการ เสียสละ และอุทิศเวลา เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม 2. เพื่อให้ข้าราชการได้ตระหนักถึงเกียรติ หน้าที่ สามัคคี ซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของข้าราชการ อันจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ ทัศนคติ ของประชาชนที่มีต่อข้าราชการให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น 3. เพื่อเผยแพร่ผลงานใหม่ๆของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชน 4. เพื่อยกย่องส่งเสริมข้าราชการที่มีความประพฤติและผลปฏิบัติงานดีเด่น เผยแพร่เกียรติคุณของข้าราชการดีเด่นให้ปรากฏ อันจะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้ข้าราชการกระทำความดีตลอดไป 5. เพื่อให้วันข้าราชการพลเรือน (1 เมษายน) เป็นวันที่มีความหมายอยู่ในความทรงจำและเป็นที่ยอมรับของข้าราชการและประชาชน โดยทั่วไป ในส่วนของจังหวัดจันทบุรี นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้เป็นประธานในพิธีมอบประกาศเกียรติคุณยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการ ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นจังหวัดจันทบุรี ประจำปี พ.ศ. 2565จากข้าราชการที่ส่งผลงานเข้าพิจารณา 8 ราย และผู้ที่ได้รับรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น จังหวัดจันทบุรี ประจำปี 2565 ( ครุฑทองคำ ) จำนวน 3 ราย ได้แก่ ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น และระดับสูง 1 นายแพทย์ธีรพงศ์ ตุนาค ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2.นายศุภณัฏฐ์ ปรานต์ชนิษฎา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านช่องกะพัด ต.แก่งหางแมว อ.แก่งหางแมว ตำแหน่งประเภทวิชาการ/ระดับชำนาญการพิเศษ/ระดับชำนาญการประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ระดับทักษะพิเศษ ได้แก่ พันตำรวจโทหญิง ธรรม์มยุรา สุรัติสุพพัต รองผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดจันทบุรี อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


          เอกสารว่าด้วยวิธีร่างแบบยอดบุษบกหรือมณฑปนี้เป็นเอกสารประกอบการสอนวิชาสถาปัตยกรรมไทยของอาจารย์อมร ศรีพจนารถ นายช่างศิลปกรรม ระดับ ๙ ของกรมศิลปากรขณะที่ท่านยังเป็นอาจารย์สอนศิลปะไทยอยู่ ณ โรงเรียนช่างศิลป์ กรุงเทพฯ (วิทยาลัยช่างศิลป์ในปัจจุบัน) และเมื่อท่านย้ายมาบรรจุเป็นข้าราชการในกองหัตถศิลป กรมศิลปากร ได้นำความรู้เรื่องศิลปะไทยหลายสาขาที่ท่านเคยสอนมาเผยแพร่แก่ข้าราชการใหม่ที่เข้ามาปฏิบัติงานในกองหัตถศิลป ซึ่งยังขาดความรู้และประสบการณ์งานด้านนี้ให้เกิดความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติจนสามารถเป็นนายช่างด้านศิลปะไทยที่ดีมีความสามารถต่อไป การมีโอกาสได้ศึกษาความรู้จากท่านอาจารย์จึงเห็นว่าเอกสารฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ท่านเคยแนะนำสั่งสอนไว้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจศึกษา           เอกสารวิธีร่างยอดบุษบกหรือมณฑปได้อธิบายการเขียนไว้เป็นหลักพอประมาณแต่ขนาดและสัดส่วนต่าง ๆ ของยอดบุษบกหรือมณฑปในแต่ละอาคาร สามารถปรับใช้ได้ขึ้นอยู่กับขนาด การใช้สอย และพื้นที่ตั้งของอาคาร ผู้ศึกษาจะต้องฝึกเขียน เพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถ และศึกษารูปแบบอาคารลักษณะนี้เพิ่มขึ้นซึ่งจะได้ประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างยิ่ง           ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/53


         พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ขอเชิญชวนรับฟังการเสวนาออนไลน์ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ เรื่อง “พรหมบุรีมีเรื่องเล่า อัตลักษณ์ชุมชนคนลาวเวียง” ในวันเสาร์ ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. วิทยากรโดย พระครูปริยัติกิจจานุกิล เจ้าอาวาสวัดจินดามณี คุณสนอง โพธิ์วัน และคุณเพชรรินทร์ พรชัยประสิทธิ์ ดำเนินรายการโดยนางสาวชวรัตน์ อุลิศ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ          ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี




          เขี้ยววาฬและการออกเรือล่า           คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้นำโบราณวัตถุศิลปวัตถุหายากมาจัดแสดงในนิทรรศการ “Museum Unveiling” เรื่องลึกเบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ไทย ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ กันยายน ๒๕๖๖ คือ           เขี้ยววาฬสเปิร์ม (วาฬหัวทุย) แกะสลักเป็นภาพเรือล่าวาฬในมหาสมุทร มีข้อความว่า “Crew of Pacific killing a Sperm Whale”  อีกด้านหนึ่งแกะสลักภาพการตัดชิ้นส่วนของวาฬหัวทุย ใต้ภาพมีข้อความว่า “Ship Pacific cutting a Sperm Whale” เป็นศิลปะของกะลาสีเรียกว่าสคริมซอว์ (Scrimsham) เป็นที่นิยมในหมู่นักล่าวาฬ ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย            วาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่เคยถูกล่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร บางกลุ่มชนถือว่าเป็นกิจกรรมสำหรับบุคคลที่มีกำลังและอายุเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จนกลายเป็นฤดูกาลหรือเทศกาลประจำปี อาทิ เทศกาลนาลุคกาทัคของชาวอินูเปียต           ในช่วงศตวรรษที่ ๗ ของญี่ปุ่น ปรากฏหลักฐานบันทึก “โคจิกิ” กล่าวถึง จักรพรรดิจิมมุที่ทรงเสวยเนื้อปลาวาฬ และคำว่า "อิซานาโทริ“ คือ วัฒนธรรมการฆ่าวาฬด้วยดาบ และใช้อวนดักจับ ทั้งนี้สหรัฐอเมริกา แคนาดา นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์ ก็มีการล่าวาฬเพื่อการบริโภค โดยใช้ประโยชน์จากไขมันและกระดูกส่วนต่างๆ ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบการล่าในศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ด้วยการออกเรือเป็นกลุ่มและใช้อาวุธประเภทหอก ต่อมาได้เปลี่ยนมารูปแบบการล่ามาเป็นการใช้อาวุธปืน            การล่าวาฬในเชิงพาณิชย์ได้รับความนิยมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยเป็นช่วงการขาดแคลนอาหาร จึงมีความพยายามแสวงหาอาหารรูปแบบใหม่ และมีการดัดแปลงเรือสำหรับรองรับการล่าวาฬด้วย ภายหลังการจัดตั้งองค์กร International Whaling Commission (IWC) ขึ้น มีการออกกฎหมายและควบคุมตามอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการล่าวาฬ ซึ่งจำกัดจำนวนการล่าวาฬสำหรับใช้ในการวิจัยและทางวิทยาศาสตร์มากกว่าการบริโภค           นอกจากกระดูกวาฬที่ใช้ในการศึกษาธรรมชาติวิทยาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแล้ว “เขี้ยววาฬ” ก็นับเป็นสมบัติล้ำค่าหายากของนักสะสม มีความเชื่อว่าสามารถคุ้มครองนักเดินเรือให้แคล้วคลาดปลอดภัย หากนำมาแกะสลักจะมีคุณค่าเทียบเท่ากับเขายูนิคอร์น ทั้งนี้เขี้ยวแต่ละซี่ของวาฬหัวทุยอาจมีน้ำหนักมากถึง ๑ กิโลกรัม และอาจมีความยาวถึง ๒๐ เซ็นติเมตร           บางชุมชนของญี่ปุ่นยังมีการตั้งศาลวาฬหรือคุจิระให้สักการะในฐานะเทพเจ้า คล้ายคลึงกับศาลเจ้าจีนในไทยที่มีการเก็บสะสมปากปลาฉนาก กระดองเต่า กะโหลกฉลาม ซึ่งให้ความเคารพในฐานะ "เจ้าพ่อน้ำ" เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังประจำศาสนสถาน           หากท่านสนใจของสะสมหายาก "ของแปลก" ที่เคยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ยังคงมีอีกหนึ่งวัน แอดมินแอบกระซิบว่ามีหนังสือ "คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" แจกในงานด้วยนะ     อ้างอิง การล่าวาฬ วัฒนธรรมการค้า และการต่อสู้เชิงอนุรักษ์. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/1aKUw วิเคราะห์ และเข้าใจวัฒนธรรม กิน-ล่าวาฬของญี่ปุ่น .เข้าถึงเมื่อ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_208323 วาฬหัวทุยยักษ์. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://whalewatch.co.nz/th_TH/thai/about-whales/


ชื่อเรื่อง                     ชานพระศรีผู้แต่ง                       เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยาเลขหมู่                      398.9 ม254ชอสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์มหาดไทยปีที่พิมพ์                    2502ลักษณะวัสดุ               104 หน้าหัวเรื่อง                     สุภาษิต        ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกชานพระศรี เป็นหนังสือประเภทสุภาษิต มีบานแพนก สุภาษิต 4 เรื่อง


         พิพิธ(สาระ)ภัณฑ์ ตอน ขวานหินขัดรูปจงอยปากนก: หลักฐานการติดต่อของผู้คนจากใต้สู่เหนือ          ขวานหินขัด (polished stone axe) หมายถึง เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยการนำหินจากธรรมชาติมากะเทาะ โกลนให้เป็นรูปร่าง และขัดฝนผิวจนเรียบ ใช้สำหรับแล่ สับ ตัด ฟัน ผ่า ขุด เป็นอาวุธในการล่าสัตว์ และเป็นของอุทิศในหลุมฝังศพ โดยการเข้าด้ามไม้หรือไม่เข้าด้ามก็ได้ หลายพื้นที่เรียกขวานหินขัดว่า “ขวานฟ้า” เนื่องจากมีความเชื่อว่าตกลงมาจากฟ้าขณะที่ฟ้าผ่า ในภาคเหนือเรียกขวานหินขัดแบบมีบ่าว่า ขวานฟ้า และเรียกขวานหินขัดแบบไม่มีบ่าว่า เสียมตุ่น          ขวานหินขัดมีรูปแบบที่หลากหลายโดยแบ่งตามลักษณะส่วนคม ดังนี้           1) ขวานหินขัดแบบ axe มีลักษณะส่วนคมลาดเท่ากัน ประกอบด้วยรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ เช่น รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู รูปทรงสามเหลี่ยม และรูปทรงมีบ่า          2) ขวานหินขัดแบบ adze  มีลักษณะส่วนคมลาดด้านเดียว และ คมลาดสองด้านไม่เท่ากัน ประกอบด้วยรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ เช่น รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู รูปทรงสามเหลี่ยม รูปทรงมีบ่า และรูปทรงพิเศษแบบจงอยปากนก          ขวานหินขัดรูปจงอยปากนก มีลักษณะรูปทรงห้าเหลี่ยม แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่           1) มีลักษณะรูปทรงห้าเหลี่ยม ส่วนปลายมีการลับคมทั้งด้านซ้ายและขวามาบรรจบกันตรงกลางเป็นเส้นแบ่งคมชัดเจน มีลักษณะคล้ายจงอยปากนก เมื่อมองจากมุมมองด้านบนเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ          2) ส่วนคมมีลักษณะคล้ายจงอยปากนก แต่เส้นแบ่งคมตรงกลางหายไป          3) มีลักษณะรูปทรงห้าเหลี่ยม ส่วนคมทั้งด้านซ้ายและขวาลาดเอียงไปตามแนวยาวของตัวขวาน ส่วนคมไม่ได้เป็นสันมุมเหมือนแบบที่ 1 และมีสันยาวบริเวณตัวขวาน          พบหลักฐานของขวานหินขัดรูปจงอยปากนกในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศไทย ดังนี้           จังหวัดยะลา พบที่แหล่งโบราณคดีถ้ำหินปูน อำเภอเบตง จำนวน 1 ชิ้น และอำเภอบันนังสตา จำนวน 2 ชิ้น           จังหวัดปัตตานี ไม่ทราบที่มา จำนวน 4 ชิ้น           จังหวัดสงขลา พบที่บ้านพลีควาย อำเภอสทิงพระ จำนวน 1 ชิ้น ถ้ำหงัง อำเภอสะบ้าย้อย จำนวน 1 ชิ้น และไม่ทราบที่มา จำนวน 1 ชิ้น          จังหวัดสตูล พบที่แหล่งโบราณคดีเพิงผาปาโต๊ะโระ อำเภอควนโดน ฝังร่วมกับโครงกระดูก กำหนดอายุ 3,000 ปีมาแล้ว จำนวน 1 ชิ้น           จังหวัดพัทลุง พบที่แหล่งโบราณคดีโคกโพธิ์ อำเภอเมืองพัทลุง จำนวน 2 ชิ้น โกลน จำนวน 1 ชิ้น และถ้ำเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จำนวน 1 ชิ้น          จังหวัดตรัง พบที่แหล่งโบราณคดีถ้ำซาไก อำเภอปะเหลียน จำนวน 2 ชิ้น และถ้ำหินปูน อำเภอเมืองตรัง จำนวน 1 ชิ้น          จังหวัดพังงา พบที่แหล่งโบราณคดีแหลมป้อม อำเภอตะกั่วป่า จำนวน 1 ชิ้น และแหล่งโบราณคดี  บ้านช้างเชื่อ อำเภอปะกง จำนวน 1 ชิ้น          จังหวัดนครศรีธรรมราช พบที่แหล่งโบราณคดีคลองเขาแก้ว อำเภอลานสกา จำนวน 1 ชิ้น และที่เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช จำนวน 1 ชิ้น          จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบที่บ้านนา คลองท่าใหญ่ อำเภอไชยา จำนวน 1 ชิ้น บ้านในมุย และบ้านบางเคียน อำเภอบ้านตาขุน จำนวน 2 ชิ้น และพบที่ที่ดินของนายเสวก บุญรัตน์ อำเภอเวียงสระ จำนวน  1 ชิ้น          จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบจากการสำรวจที่แหล่งโบราณคดีหุบผึ้ง อำเภอหัวหิน จำนวน 3 ชิ้น          จังหวัดราชบุรี พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านนาขุนแสน อำเภอสวนผึ้ง จำนวน 1 ชิ้น และพบจาการสำรวจ ที่เก็บรักษาโดยชาวบ้าน จำนวน 2 ชิ้น          เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ไม่ทราบที่มา จำนวน 2 ชิ้น          แหล่งโบราณคดีบ้านนาขุนแสน ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบจนถึงลอนลูกคลื่นลอนลาด ลาดลงสู่ห้วยคลุมลำน้ำสาขาของแม่น้ำภาชี ปัจจุบันเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ผลจาการศึกษาของชาติชาย ร่มสนธิ์ และคณะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในโครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์กับการใช้โลหะในบริเวณจังหวัดราชบุรี และบริเวณใกล้เคียง พบขวานหินขัดรูปจงอยปากนกจากการขุดค้นทางโบราณคดี จำนวน 1 ชิ้น โดยพบร่วมกับขวานหินขัดรูปทรงต่าง ๆ เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดหิน และถ่าน การกำหนดอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14 มีอายุระหว่าง 2,140±420 ปีมาแล้ว และที่เก็บรักษาโดยชาวบ้าน จำนวน 2 ชิ้น          ขวานหินขัดรูปจงอยปากนกที่พบจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านนาขุนแสน มีขนาดกว้าง 7 เซนติเมตร ยาว 21 เซนติเมตร หนา 3 เซนติเมตร มีลักษณะรูปทรงห้าเหลี่ยม ส่วนปลายคมมีการลับคมทั้งด้านซ้ายและขวามาบรรจบกันตรงกลางเป็นเส้นแบ่งคมชัดเจน มีลักษณะคล้ายจงอยปากนก ทำจากหินควอทซ์ไซต์ (quartzite) ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ห้องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี          และที่เก็บรักษาโดยชาวบ้าน ชิ้นที่ 1 มีขนาดกว้าง 5.7 เซนติเมตร ยาว 23 เซนติเมตร หนา 3 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายกับขวานหินขัดรูปจงอยปากนกที่พบจากการขุดค้น ชิ้นที่ 2 มีขนาดกว้าง 3.7 เซนติเมตร ยาว 11 เซนติเมตร หนา 2.5 เซนติเมตร มีส่วนคมทั้งด้านซ้ายและขวาลาดเอียงไปตามแนวยาวของตัวขวาน ส่วนคมไม่ได้เป็นสันมุมเหมือนแบบแรก และมีสันยาวตลอดตัวขวาน          ด้วยลักษณะส่วนคมที่คล้ายจงอยปากนกที่ต่างไปจากขวานหินขัดทั่วไป นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าขวานหินขัดจงอยปากนก มีหน้าที่ใช้งานในหลายบทบาท 1) หน้าที่ใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องเข้าด้ามไม้ เนื่องจากขนาดที่ยาว และมีน้ำหนักถ่วงพอเหมาะ จึงใช้เป็นเครื่องมือขุด เช่น ขุดดิน พรวนดิน ขุดหาพืชมีหัวในดิน (เผือกและมัน) และหน่อไม้ 2) หน้าที่ใช้งานในพิธีกรรมการฝังศพ โดยพบฝังร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์ เช่น ที่แหล่งโบราณคดีเพิงผาโต๊ะโระ จังหวัดสตูล และแหล่งโบราณคดีถ้ำซาไก จังหวัดตรัง (ไม่มีร่องรอยใช้งาน) 3) หน้าที่ในการเป็นวัตถุแลกเปลี่ยน หรือเป็นของขวัญ เป็นหลักฐานของการเคลื่อนย้ายและติดต่อของกลุ่มคนจากหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแผ่นดินใหญ่ โดยพบขวานหินขัดรูปจงอยปากนกกระจายตัวบริเวณหมู่เกาะ ได้แก่ อินโดนีเซีย เซเลเบส ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และปรากฏบนแผ่นดินใหญ่ที่มาเลเซีย ภาคใต้ และภาคตะวันตกของประเทศไทย พบขึ้นมาถึงจังหวัดราชบุรี (ในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ อาจจะยังไม่พบบก็เป็นได้) การพบขวานหินขัดรูปจงอยปากนกในปริมาณที่ไม่มากนักและการมีรูปแบบพิเศษต่างจากขวานหินขัดแบบสามัญ และการพบร่วมกับโครงกระดูกและไม่มีร่องรอยใช้งาน จึงสรุปได้ว่าขวานหินขัดรูปจงอยปากนกนั้นผลิตขึ้นพิเศษเพื่อใช้แลกเปลี่ยน เพื่อใช้เป็นของอุทิศฝังร่วมกับศพเพื่อแสดงสถานะทางสังคมก็เป็นได้


            กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ขอเชิญชมนิทรรศการ เรื่อง “ตามรอยพระศาสดาและพุทธสถานในอินเดีย” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี จัดแสดงตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗              นิทรรศการ “ตามรอยพระศาสดาและพุทธสถานในอินเดีย” The Buddhist Exhibition “Buddha Carika – in Footsteps of Buddha” จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมประชาสัมพันธ์การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ประดิษฐาน ณ จังหวัดอุบลราชธานี ตามความร่วมมือของรัฐบาลไทยและอินเดีย และเป็นความร่วมมือทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตเชิงพระพุทธศาสนา (Buddhism Diplomacy) ระหว่างจังหวัดอุบลราชธานี และ สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาเมืองคู่มิตรระหว่างกันต่อไป โดยจัดแสดงภาพถ่ายบอกเล่าเรื่องราวพระพุทธประวัติจากโบราณสถานในอินเดีย พร้อมรับหนังสือนิทานชาดกที่ระลึกสำหรับเด็กและเยาวชนฟรี              ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการนี้ได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) 


Messenger