ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,857 รายการ
ชื่อผู้แต่ง ผลิตอาหารสำเร็จรูป,องค์การ
ชื่อเรื่อง ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป (อสร.) อย่างไร
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๗
จำนวนหน้า ๑๐๔ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์สมทบแจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ๑๗ มีนาคม ๒๕๐๗
หนังสือฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป (อสร.) อย่างไร เล่มนี้ คัดมาจากรายงานประจำปีขององค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป (อสร.) แสดงกิจการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๙๙และรายงานการประชุมคณะกรรมการองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป (อสร.) พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งมีข้อความและคำพูดที่เกี่ยวข้องกับจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ควรยกย่องอยู่ด้วย
เลขทะเบียน : นพ.บ.145/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.6 x 57 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 88 (368-372) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.97/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5.3 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 57 (140-153) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : อภิธมฺมตฺถภาวนี (อภิธมฺมตถสงฺคหฎีกา (ฎีกาสังคหะ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.14/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
นาค และนางนาคี ปกติมีร่างเป็นงูใหญ่ แต่มีฤทธิ์นิรมิตรูปกายอื่นได้ ตามตระกูลแห่งนาค ซึ่งแบ่งเป็นนาคนิมิตกายได้ กับนาคนิมิตกายไม่ได้ นาคจำพวกนิมิตกายได้ ยังขึ้นอยู่กับถิ่นที่อาศัย คือ นาคอยู่บก นิมิตกายได้แต่ในบก และนาคอยู่ในน้ำ นิมิตได้แต่ในน้ำ ตระกูลนาคทั้งหลายเมื่อปรารถนาจะหาอาหาร หรือมีเหตุอื่นใด ก็จำแลงรูปเป็นเทพบุตร เทพธิดา บางทีมีเพศเป็นงูเห่าดำ เป็นเพศงู เพศกระแต ตามแต่จะแสวงหาอาหาร นาคแม้มีฤทธิ์เพียงใดก็ตาม แต่ไม่อาจละชาติของตนได้ ย่อมคืนร่างเป็นนาคในวาระทั้ง ๕ คือ ๑) เมื่อตายหรือจุติ ๒) เมื่อเวลาเกิด ๓) เมื่อนอนหลับ ๔) เมื่อเสพเมถุนธรรมกับนาคงู อันเป็นชาติของตน ๕) เมื่อลอกคราบ
ตามคติพระพุทธศาสนา นาคมีทั้งที่เป็นสัมมาทิฐิ และมิจฉาทิฐิ นาคเคยปรากฏเรื่องเป็นต้นบัญญัติพระวินัย เนื่องจากนาคจำแลงเป็นบุรุษมาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อนอนหลับ กายกลับคืนเป็นชาติของตน ทำให้พระสงฆ์ตื่นตกใจ พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติห้ามนาคบวช เนื่องจากมีชาติเป็นดิรัจฉาน ไม่สามารถเข้าถึงสัทธรรมได้
ในมหาสมัยสูตร อันเป็นพระสูตรว่าด้วยการชุมนุมใหญ่ของเทพยดาทั้งปวง เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้งประทับ ณ ป่ามหาวัน ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กล่าวว่านาคฝ่ายสัมมาทิฐิ พร้อมด้วยบริวาร มาร่วมเข้าเฝ้า ๖ เหล่า คือ นาสภะ หมายถึง เหล่านาคผู้อาศัยอยู่ในสระนภสะ เวสาละ นาคที่อยู่ในเมืองเวสาลี กัมพลอัสดร นาคอยู่ยังเชิงเขาพระสุเมรุ ปายาคะ นาคอยู่ที่ท่าปยาคะ ยามุนะ นาคอยู่ในลำน้ำยมุนา และ ธตรฐ นาคเกิดในตระกูลธตรฐ บรรดานาคเหล่านี้ ย่อมพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาในกาลทุกเมื่อ จึงมักปรากฏรูปนาคสร้างประกอบไว้ในศาสนสถานเสมอ
ในงานพุทธศิลป์ มักสร้างรูปนาคผู้มีฤทธิ์ มีพิษร้ายแรง มีอำนาจบันดาลให้ฝนตก เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์ มีความสุขมาก และมีอายุยืนนาน เป็นทวารบาล หรือประดับยังส่วนแห่งอาคาร เพื่อพิทักษ์ปกป้องศาสนาสถาน นำความสุข ความเจริญ ให้แก่พุทธบริษัท โดยทั่วไปสร้างรูปเป็น ๓ ลักษณะ คือ
๑) รูปเป็นงู มีหลายเศียร ตั้งแต่ ๓ เศียร ๕ เศียร ๗ เศียร และ ๙ เศียร เป็นต้น
๒) รูปครึ่งมนุษย์ครึ่งงู เรียกว่า นาคจำแลง หรือ นาคแปลง
๓) รูปมนุษย์ มีพังพานงูแผ่ปกที่คอและเศียร เรียกว่า มนุษยนาค
เรียบเรียงโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
หนังสืออ้างอิง
๑. นิยะดา เหล่าสุนทร. ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สำนวนที่ ๑. กรุงเทพฯ : ลายคำ, ๒๕๕๕.
๒. หอสมุดแห่งชาติ, กรมศิลปากร. จักวาฬทีปนี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๓.นาค และนางนาคี ปกติมีร่างเป็นงูใหญ่ แต่มีฤทธิ์นิรมิตรูปกายอื่นได้ ตามตระกูลแห่งนาค ซึ่งแบ่งเป็นนาคนิมิตกายได้ กับนาคนิมิตกายไม่ได้ นาคจำพวกนิมิตกายได้ ยังขึ้นอยู่กับถิ่นที่อาศัย คือ นาคอยู่บก นิมิตกายได้แต่ในบก และนาคอยู่ในน้ำ นิมิตได้แต่ในน้ำ ตระกูลนาคทั้งหลายเมื่อปรารถนาจะหาอาหาร หรือมีเหตุอื่นใด ก็จำแลงรูปเป็นเทพบุตร เทพธิดา บางทีมีเพศเป็นงูเห่าดำ เป็นเพศงู เพศกระแต ตามแต่จะแสวงหาอาหาร นาคแม้มีฤทธิ์เพียงใดก็ตาม แต่ไม่อาจละชาติของตนได้ ย่อมคืนร่างเป็นนาคในวาระทั้ง ๕ คือ ๑) เมื่อตายหรือจุติ ๒) เมื่อเวลาเกิด ๓) เมื่อนอนหลับ ๔) เมื่อเสพเมถุนธรรมกับนาคงู อันเป็นชาติของตน ๕) เมื่อลอกคราบ
ตามคติพระพุทธศาสนา นาคมีทั้งที่เป็นสัมมาทิฐิ และมิจฉาทิฐิ นาคเคยปรากฏเรื่องเป็นต้นบัญญัติพระวินัย เนื่องจากนาคจำแลงเป็นบุรุษมาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อนอนหลับ กายกลับคืนเป็นชาติของตน ทำให้พระสงฆ์ตื่นตกใจ พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติห้ามนาคบวช เนื่องจากมีชาติเป็นดิรัจฉาน ไม่สามารถเข้าถึงสัทธรรมได้
ในมหาสมัยสูตร อันเป็นพระสูตรว่าด้วยการชุมนุมใหญ่ของเทพยดาทั้งปวง เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้งประทับ ณ ป่ามหาวัน ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กล่าวว่านาคฝ่ายสัมมาทิฐิ พร้อมด้วยบริวาร มาร่วมเข้าเฝ้า ๖ เหล่า คือ นาสภะ หมายถึง เหล่านาคผู้อาศัยอยู่ในสระนภสะ เวสาละ นาคที่อยู่ในเมืองเวสาลี กัมพลอัสดร นาคอยู่ยังเชิงเขาพระสุเมรุ ปายาคะ นาคอยู่ที่ท่าปยาคะ ยามุนะ นาคอยู่ในลำน้ำยมุนา และ ธตรฐ นาคเกิดในตระกูลธตรฐ บรรดานาคเหล่านี้ ย่อมพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาในกาลทุกเมื่อ จึงมักปรากฏรูปนาคสร้างประกอบไว้ในศาสนสถานเสมอ
ในงานพุทธศิลป์ มักสร้างรูปนาคผู้มีฤทธิ์ มีพิษร้ายแรง มีอำนาจบันดาลให้ฝนตก เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์ มีความสุขมาก และมีอายุยืนนาน เป็นทวารบาล หรือประดับยังส่วนแห่งอาคาร เพื่อพิทักษ์ปกป้องศาสนาสถาน นำความสุข ความเจริญ ให้แก่พุทธบริษัท โดยทั่วไปสร้างรูปเป็น ๓ ลักษณะ คือ
๑) รูปเป็นงู มีหลายเศียร ตั้งแต่ ๓ เศียร ๕ เศียร ๗ เศียร และ ๙ เศียร เป็นต้น
๒) รูปครึ่งมนุษย์ครึ่งงู เรียกว่า นาคจำแลง หรือ นาคแปลง
๓) รูปมนุษย์ มีพังพานงูแผ่ปกที่คอและเศียร เรียกว่า มนุษยนาค
เรียบเรียงโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
หนังสืออ้างอิง
๑. นิยะดา เหล่าสุนทร. ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สำนวนที่ ๑. กรุงเทพฯ : ลายคำ, ๒๕๕๕.
๒. หอสมุดแห่งชาติ, กรมศิลปากร. จักวาฬทีปนี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๓.
ชื่อผู้แต่ง : ประวัติชาติไทยเล่ม 2
ชื่อเรื่อง : ประวัติชาติไทย เล่ม 2
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
โรงพิมพ์ : ประจักษ์วิทยา
จำนวนหน้า 670 หน้า
หนังสือเรื่องประวัติชาติไทย เล่ม 2 เขียนถึงประวัติเมืองนครศรีธรรมราช เมืองสุพรรณบุรี กรุงศรีอยุธยา การเกิดจลาจลสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 30 จนถึงอาวสานกรุงเทพทวาราวดี มีการเขียนถึงกษัตริย์ การปกครองการแบ่งส่วนราชการสมัยก่อน ไว้อย่างละเอียด
เอกสาร Knowledge Center เรื่อง "ความคิดไร้ขีดจำกัดปฏิวัติความคิดเพื่อพลิกโฉมองค์กร" จัดทำโดย สำนักงาน ก.พ.ร. เรียบเรียงโดยคุณปานจิต จินดากุล นักพัฒนาระบบราชการ 7
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มโหสถ)สพ.บ. 408-3หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (เตมิยะ-ภูริทัต)
สพ.บ. 411/ค/7
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยล้านนา
หัวเรื่อง พุทธศาสนา นิทานชาดก
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 50 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.8 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมล้านนา-ธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ ๑๙ กันยายน ของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้กำหนดจัดกิจกรรม การเสวนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ MUSEUM STREAMING: Creating for All เป็นเวทีพูดคุยของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ผ่านระบบออนไลน์ ทาง Facebook Fanpage: Office of National Museums, Thailand ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔ ถ่ายทอดสดในเวลา ๑๓.๐๐ น. มุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต่อยอดการดำเนินกิจการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย โดยมีหัวข้อที่สอดคล้องกับสภาพสังคม ดังนี้ วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๔ เสวนาในหัวข้อ Role of Museum During Pandemic โดยนายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๔ เสวนาในหัวข้อ Digital Tools in Museums โดยนางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นางกาญจนา ศรีปัดถา ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ Mr.Toby Lu Sales and Exhibition Manager, River City Bangkok วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔ เสวนาในหัวข้อ Museum without Walls โดย ดร.พธู คูศรีพิทักษ์ สถาบัน วิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล นายจิรภัทร ชนะสิทธิ์ ผู้ก่อตั้งแฟนเพจ เฟสบุ๊ก “พิพิธภัณฑ์ พุ่มพวง ดวงจันทร์” และนายสุทธิพงษ์ สุริยะ ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ นอกจากนี้ ยังจัดมหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทย MUSEUM EXPO 2021: Recover Together Step Forward โดยใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นเวทีสื่อสารกับพิพิธภัณฑ์เครือข่ายและผู้สนใจ ให้สามารถเข้าถึงข้อความ (Message) ที่พิพิธภัณฑ์ต้องการสื่อสาร ในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ได้ อย่างไร้ขีดจำกัด โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทยกว่า ๒๐ แห่ง มาร่วมจัดแสดงและนำเสนองาน แบบออนไลน์ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ทาง www.finearts.go.th/thailandmuseum
ชื่อเรื่อง ฌาปนกิจฺจานิสํสกถา (อานิสงส์เผาศพ)
สพ.บ. 212/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี