ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,850 รายการ
โครงการจัดการความรู้พื้นฐานการประพันธ์ร้อยกรองไทย
กรมศิลปากร โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “พื้นฐานการประพันธ์ร้อยกรองไทย”(การประพันธ์โคลง) ในวันพุธที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖. ๓๐ น. ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ “ร้อยกรอง” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนาน จำแนกด้วยฉันทลักษณ์ออกเป็น ๕ ชนิด คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ทุกชนิดมีแบบแผน ข้อบังคับ และรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน กวีมีการนำรูปแบบฉันทลักษณ์ต่างๆ มาประพันธ์เป็นเรื่องราวหลากหลายรูปแบบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หลายเรื่องเป็นวรรณคดีสำคัญของชาติ ผู้ที่จะเข้าใจและเข้าถึงภาษาและวรรณคดีของชาติจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับร้อยกรองไทยแบบต่างๆ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ จึงจัดโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับร้อยกรองไทยประเภทโคลง แก่ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ศึกษาด้านภาษาและวรรณกรรมไทยมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของวรรณกรรมร้อยกรองประเภทโคลงมากยิ่งขึ้น การอบรมประกอบด้วยการอภิปรายเรื่อง “โคลงภาคเหนือและโคลงอีสาน” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภณ สมจิตศรีปัญญา ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง “โคลงภาคกลาง” โดยนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ “ภาคปฏิบัติการการแต่งคำประพันธ์ :โคลง” โดยนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลักษณ์ ศรีป่าซาง นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ และนายวัฒนะ บุญจับ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมฯได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ โทร. ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๒๑ ต่อ ๕๑๔ – ๕๑๖ ภายในวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓
๑.ชุมพรวันนี้
๒.สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในชุมพร กล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชุมพรปัจจุบันโดยชนกลุ่มดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้ประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทต่างๆซึ่งเหลือให้เห็นในรูปของโบราณวัตถุเช่นเครื่องมือหินและภาชนะดินเผาเป็นต้นนอกจากนี้ยังมีภาพเขียนสีตามริมเพิงผาวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นของกลุ่มชนใน
สังคมแบบดั้งเดิมที่ดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์หลังจากนั้นในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายมีการพัฒนาไปจนถึงระดับที่รู้จักการนำโลหะมาใช้ในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักเป็นแหล่งอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในสังคมและกลุ่มชนในช่วงต้นประวัติศาสตร์
๓.พัฒนาการแรกเริ่มประวัติศาสตร์
กล่าวถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาในชุมชนโบราณเช่นชุมชนโบราณเขาสามแก้วชุมชนโบราณบริเวณลำน้ำตะเภาลำน้ำชุมพรรวมไปจนถึงลำน้ำหลังสวนในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้สันนิษฐานว่าชุมพรเป็นเมืองในเส้นทางข้ามคาบสมุทรเชื่อมต่อเส้นทางการค้าระหว่างซีกโลกตะวันออกและซีกโลกตะวันตกช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕-๑๐พบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงการมีความสัมพันธ์กับดินแดนโพ้นทะเลอาทิลูกปัดประเภทต่างๆที่ใช้วัสดุจากถิ่นและลูกปัดที่มีตัวอักษรปัลลวะหรือโบราณวัตถุที่ได้รับอิทธิพลจากแหล่งชุมชนโบราณอื่นๆเช่นกลองมโหระทึกเป็นต้น
๔.ประวัติศาสตร์ในชุมพร กล่าวถึงบทบาทของชุมพรในสมัยประวัติศาสตร์ไทยเริ่มตั้งแต่มีชื่อเป็นเมือง๑๒นักษัตรในตำนานพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชจากตำนานนี้จึงเชื่อได้ว่ามีเมืองชุมพรก่อนปีพ.ศ.๑๗๑๙และในพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงเมืองชุมพรอีกว่าครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้นตีเมืองแถบลาวเหนือได้กวาดต้อนครัวลาวมาไว้ยังเมืองปะทิวและเมืองชุมพรและยังมีชื่อเมืองชุมพรต่อมาในประวัติศาสตร์ไทย จนถึงปัจจุบันอย่างไรก็ตามแม้จะเป็นเมืองมาแต่โบราณแต่เมืองชุมพรก็ไม่สามรถค้นพบหลักฐานที่แสดงถึงถิ่นที่ตั้งเมืองได้ย่างชัดเจนว่าเป็นที่ใดกันแน่
๕.ชุมพรกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ และวีรกรรมของยุวชนทหาร เป็นการจัดแสดงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ที่ก่อให้เกิดวีรกรรมของยุวชนทหารที่ทำการปกป้องการรุกล้ำอธิปไตยจากกองทัพญี่ปุ่นในการยกพลขึ้นบกที่จังหวัดชุมพรในช่วงเช้าของวันที่๘ธันวาคมพ.ศ.๒๔๘๔
๖.ชุมพรกับการเป็นเมืองในเส้นทางผ่านของพายุไต้ฝุ่นเกย์ จัดแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับการเกิดพายุไต้ฝุ่นในจังหวัดชุมพรโดยสร้างฉากจำลองเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นเกย์เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถรับรู้เสมือนร่วมอยู่ในเหตุการณ์วันที่๔พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๓๒
๗.ธรรมชาติวิทยาและมรดกดีเด่นของจังหวัดชุมพร กล่าวถึงมรดกดีเด่นในชุมพรทั้งทางธรรมชาติทั้งทางธรรมชาติและทางศิลปวัฒนธรรมซึ่งส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น
๘.พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ท่านและคุณูปการที่มีต่อแผ่นดินไทยและจังหวัดชุมพร
วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. คณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนบ้านนาสะโน อำเภอนาตาล จ.มุกดาหาร และโรงเรียนบ้านนาจาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ ได้เข้าเยี่ยมชมทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เพื่อประกอบการเรียนการสอน นักเรียนมีความสนใจประวัติความเป็นมาของจังหวัดอุบลราชธานีเป็นอย่างมาก โดยมี นางมินา ลาภสาร เป็นผู้นำชมให้กับคณะอาจารย์และนักเรียน
หนังสือมูลบรรพกิจฉบับนี้ พระยาศรีสุนทรโวหาร น้อย ต้นสกุลอาจารยางกูร แต่เมื่อยังเป็นหลวงสารประเสริฐ ปลัดกรมพระอาลักษณ์ แต่งขึ้นสำหรับใช้เป็นแบบสอนหนังสือไทยในโรงเรียนหลวง เมื่อราว พ.ศ. 2414 เมื่อแต่งแล้วได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์หลวงในพระบรมมหาราชวัง จำนวน 2,000 ฉบับ สำหรับเป็นแบบเรียนให้กุลบุตร กุลธิดา ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยในสมัยนั้น
ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางพิมพ์รวี วัฒนวรางกูร ตรวจงานในพื้นที่จังหวัดพะเยา ระหว่าวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะะเยา
วันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2561 หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า จัดโครงการห้องสมุดสัญจร ประจำปีงบประมาณ 2561 ในช่วงเช้า ณ โรงเรียนบ้านหนองหว้า ต.ช่องด่าน อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี
วัดท่าแค ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สิ่งสำคัญ : หอไตรประวัติและความสำคัญ : วัดท่าแค สร้างขึ้น พ.ศ. ๒๓๕๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลัง วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้ผูกพันธสีมา วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ หอไตร ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม : หอพระไตรปิฎกวัดท่าแค เป็นอาคารไม้ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสชั้นเดียวสมัยรัตนโกสินทร์ ใต้ถุนยกสูงโล่ง หลังคาทำเป็นจัตุรมุขซ้อนลดหลั่นกัน ๓ ชั้น หน้าจั่วประดับไม้ฉลุรองรับหลังคา มุงด้วยกระเบื้องว่าว ปูนปั้นทับสันเป็นบางส่วน และหลังคาปีกนกเทลาดต่อเนื่องกันโดยตลอดประดับหลังคา ปั้นลม และเชิงชายด้วยเสาไม้กลึง และลายฉลุเครือเถา พื้นอาคารชั้นบนปูไม้กระดานตีชนตลอดแนว ฝาผนังห้องเก็บพระไตรปิฎกทำเป็นประตูบานเฟี้ยมตลอดแนว ส่วนล่างของบานประตูเป็นไม้แกะสลักภาพต้นไม้ กระถางแจกันดอกไม้และรูปสัตว์ ส่วนบนของบานประตูกรุด้วยกระจก ช่องลมทำฉลุไม้โดยรอบ ภายในห้องด้านทิศตะวันตกยกพื้น ทำเป็นตู้เก็บพระไตรปิฎก ประดับด้วยไม้แกะสลัก และกระจกสีที่ระเบียงด้านทิศตะวันออกทำเป็นช่องบันไดขึ้น - ลง ตัวอาคารประกอบด้วยเสาไม้กลมที่ระเบียงมีราวระเบียงและลูกกรงไม้โดยรอบ เสาระหว่างระเบียงประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุ สภาพปัจจุบัน : โบราณสถานได้รับการบูรณะแล้ว เมื่อปีงบประมาณ ๒๕๖๒ "การขึ้นทะเบียน" ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๙๐ วันที่ ๑๖ กรกฏาคม ๒๕๓๕ ที่มาของข้อมูล : ทะเบียนโบราณสถานในเขตสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี
รายงานการเดินทางไปราชการ
เนื่องในงานเทศกาลรามายณะ
ณ เมืองเดลลี ชัยปุระ และพาราณสี ประเทศอินเดีย
ระหว่างวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ – ๗ มีนาคม ๒๕๕๘
..................................................
๑. ชื่อโครงการ เทศกาลรามายณะ
๒.วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อเผยแพร่การแสดงโขนซึ่งเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทย และเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
ประจำชาติให้เป็นที่รู้จักและชื่นชอบในหมู่ประเทศอาเซียน และประเทศที่มีวรรณกรรม เรื่อง รามายณะ
๒.๒ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมโดยใช้วรรณกรรมเรื่อง รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงสายใยและความรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงประเทศ ๒๕ กุมภาพันธ์ – ๗ มีนาคม ๒๕๕๘ ที่มีมรดกทางวรรณกรรม เรื่อง รามายณะ โดยมีจุดกำเนิดวรรณกรรมและมรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่ประเทศอินเดีย
๒.๓ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนา และอารยธรรมระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเซียใต้และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
๓. กำหนดเวลา
ระหว่างวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ – ๗ มีนาคม ๒๕๕๘
๔. สถานที่
๔.๑ Ficci Auditoruim เมืองเดลลี
๔.๒ Press Club เมืองชัยปุระ
๔.๓ Shri Nagari Natak Manclli Banaras เมืองพาราณสี
๕. หน่วยงานผู้จัด
สภาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอินเดีย (ICCR : Indian Council for Cultural Relations)
๖. หน่วยงานสนับสนุน
๖.๑ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม
๖.๒ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
๗. กิจกรรม
วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558
16.00 น.
18.00 น.
20.00 น.
(เวลาท้องถิ่น) 22.30 น.
00.30 น.
- คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร
- เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เคาร์เตอร์ B17 เช็คอิน Group และผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง
- เดินทางออกจากประเทศไทย โดยสายการบินไทย TG 315
- เดินทางถึงสนามบินนานาชาติอินทิรา คานธี ประเทศอินเดีย (ใช้เวลาเดินทาง
ประมาณ 4 ชั่วโมง)
-เข้าพัก ณ โรงแรม FOREST GREEN HOTEL (24 Siri Fort Rd. Sadiq Nagar,
South Delhi , Delhi 110049 Tel. +91 11 4524 2424
วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558
08.00 น.
10.00 น.
10.30 น.
14.00 น.
15.00 น.
18.00 น.
21.00 น.
- อาหารเช้า
- ออกจากโรงแรมที่พัก เพื่อไปซ้อมการแสดง
- ซ้อมการแสดงฟินาเล่ ร่วมกับนักแสดงอินเดีย ที่ หอประชุมของ ICCR
- รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก
- พักผ่อนตามอัธยาศัย
- ชมการแสดงเทศกาลรามายณะ ของประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย
ณ Ficci Auditorium ICCR , Delhi
-รับประทานอาหารค่ำ ณ โรงแรมที่พัก
วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2558
08.00 น.
10.00 น.
10.30 น.
14.00 น.
15.00 น.
18.30 น.
23.00 น.
- อาหารเช้า
- ออกจากโรงแรมที่พัก เพื่อไปซ้อมการแสดง
- ซ้อมการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา ณ Ficci Auditorium ICCR , Delhi
- รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก
- เดินทางออกจากโรงแรมที่พักไปยัง Ficci Auditorium ICCR , Delhi เพื่อ
เตรียมการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา
- การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา ณ Ficci Auditorium ICCR , Delhi
-รับประทานอาหารค่ำ ณ โรงแรมที่พัก
วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558
06.00 น.
07.00 น.
13.00 น.
14.00 น.
15.00 น.
18.00 น.
22.00 น.
- อาหารเช้า
- ออกจากโรงแรมที่พัก เพื่อเดินทางไปเมืองชัยปุระ
- เดินทางถึงโรงแรม Lords Hotel
- รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก
- เดินทางออกจากโรงแรมที่พักไปยังหอประชุม Press Club เพื่อเตรียมการแสดง
โขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา
- การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา ณ หอประชุม Press Club
-รับประทานอาหารค่ำ ณ โรงแรมที่พัก
วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2558
08.00 น.
10.00 น.
15.00 น.
16.00 น.
20.00 น.
- อาหารเช้า
- ออกจากโรงแรมที่พัก ไปทัศนศึกษารอบเมืองชัยปุระ และซื้อของที่ระลึก
- รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก
- พักผ่อนตามอัธยาศัย
-รับประทานอาหารค่ำ ณ โรงแรมที่พัก
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2558
07.00 น.
08.00 น.
15.00 น.
16.00 น.
20.00 น.
- อาหารเช้า
- ออกจากโรงแรมที่พัก เดินทางกลับเดลลี
- รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก FOREST GREEN HOTEL
- พักผ่อนตามอัธยาศัย
-รับประทานอาหารค่ำ ณ โรงแรมที่พัก
วันอังคารที่ 3 มีนาคม 2558
08.00 น.
10.00 น.
14.00 น.
15.00 น.
16.00 น.
18.00 น.
20.00 น.
21.00 น.
22.00 น.
- อาหารเช้า
- พักผ่อนตามอัธยาศัย
- รับประทานอาหารกลางวัน
- ออกเดินทางจากโรงแรมที่พัก ไปสนามบินภายในประเทศ เมืองเดลลี
- Check in และเตรียมสัมมภาระสำหรับการเดินทางไปเมืองพาราณสี
- ออกเดินทางด้วยสายการบินภายในประเทศ เที่ยวบิน SG 2179
- ถึงสนามบินภายในประเทศ เมืองพาราณสี
- เดินทางถึงโรงแรมที่พัก The HHI Hotel เมืองพาราณสี
- รับประทานอาหารค่ำ และพักผ่อนตามอัธยาศัย
วันพุธที่ 4 มีนาคม 2558
06.00 น.
09.00 น.
11.00 น.
14.00 น.
16.00 น.
17.00 น.
20.00 น.
22.00 น.
23.00 น.
- เดินทางออกจากโรงแรมที่พัก เพื่อชมทัศนียภาพตลอดแม่น้ำคงคา
- รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก
- เดินทางออกจากโรงแรมที่พัก เพื่อเตรียมการแสดง ณ Shri Nagari Natak Manclli Banaras ซึ่งเป็นโรงละครที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย อายุกว่า 100 ปี
- รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก
- ออกเดินทางจากโรงแรมที่พักไปยัง Shri Nagari Natak Manclli Banaras
- เตรียมการแสดง
- การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด ลักสีดา
- เดินทางกลับโรงแรมที่พัก
- รับประทานอาหารค่ำ และพักผ่อนตามอัธยาศัย
วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2558
08.00 น.
09.00 น.
14.00 น.
16.00 น.
17.00 น.
19.30 น.
21.00 น.
22.00 น.
- รับประทานอาหารเช้า
- ทัศนศึกษาและซื้อของที่ระลึก
- รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก และพักผ่อนตามอัธยาศัย
- ออกเดินทางจากโรงแรมที่พักไปยังสนามบินภายในประเทศ เมืองพาราณสี
- เดินทางถึงสนามบินเมืองพาราณสี
- ออกเดินทางด้วยเครื่องบินภายในประเทศ เที่ยวบิน SG 2180
- เดินทางถึงสนามบินภายในประเทศ เมืองเดลลี
- เดินทางถึงที่พัก โรงแรม FOREST GREEN HOTEL รับประทานอาหารค่ำ
และพักผ่อนตามอัธยาศัย
วันศุกร์ที่6 มีนาคม 2558
08.00 น.
09.00 น.
14.00 น.
15.00 น.
19.00 น.
21.00 น.
- รับประทานอาหารเช้า
- ทัศนศึกษาและซื้อของที่ระลึก
- รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมที่พัก
- พักผ่อนตามอัธยาศัย
- เดินทางออกจากโรงแรม FOREST GREEN HOTEL
- เดินทางถึงสนามบินนานาชาติอินทิรา คานธี เพื่อ Check in และเตรียมสัมภาระ
วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2558
00.15 น.
05.40 น.
07.00 น.
09.00 น.
- ออกเดินทางจากประเทศอินเดีย โดยสายการบินไทย TG 315 (ใช้เวลาเดินทาง
4 ชั่วโมง)
- เดินทางถึงสนามบินนานาชาติ สุวรรณภูมิ
- เดินทางออกจากสุวรรณภูมิ
- เดินทางถึงสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยสัวสดิภาพ
๘. คณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยข้าราชการ ของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จำนวน ๑๕ คน
๘.๑ นายสุรัตน์ เอี่ยมสอาด นาฏศิลปินอาวุโส / หัวหน้าคณะเดินทาง
๘.๒ นายเจตน์ ศรีอ่ำอ่วม นาฏศิลปินอาวุโส
๘.๓ นายศิริพงษ์ ทวีทรัพย์ นาฏศิลปินชำนาญงาน
๘.๔ นายธรรมนูญ แรงไม่ลด นาฏศิลปินชำนาญงาน
๘.๕ นายปรัชญา ชัยเทศ นาฏศิลปินชำนาญงาน
๘.๖ นายภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล นาฏศิลปินชำนาญงาน
๘.๗ นางสาวเสาวรักษ์ ยมะคุปต์ นาฏศิลปินชำนาญงาน
๘.๘ นายบุญสร้าง เรืองนนท์ นาฏดุริยางคศิลปินอาวุโส
๘.๙ นายอนุชา บริพันธ์ นาฏดุริยางคศิลปินอาวุโส
๘.๑๐นายสุราช ใหญ่สูงเนิน นาฏดุริยางคศิลปินชำนาญงาน
๘.๑๑นายภูธิชย์ พึ่งสัตย์ นาฏดุริยางคศิลปินชำนาญงาน
๘.๑๒นายประยงค์ ทองคำ นาฏดุริยางคศิลปินชำนาญงาน
๘.๑๓นายกิตติคุณ อยู่เจริญ คีตศิลปินปฏิบัติงาน
๘.๑๔นางสาวภมรรัตน์ โพธิ์สัตย์ คีตศิลปินปฏิบัติงาน
๘.๑๕นางสาวพิมพ์รัตน์ นะวะศิริ นาฏศิลปินชำนาญงาน/เลขานุการคณะเดินทาง
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย ร่วมมือกับสภาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอินเดีย ประเทศอินเดีย (ICCR : Indian Council for Cultural Relations) ในการจัดงานเทศกาลรามายณะ ณ เมืองเดลลี เมืองชัยปุระ และเมืองพาราณสี ระหว่างวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ – ๗ มีนาคม ๒๕๕๘ เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศเอเชียที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมรามายณะ ให้เป็นที่รู้จัก ชื่นชอบ อย่างกว้างขวางในกลุ่มชนประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศเอเชียผ่านการแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์นานาชาติของประเทศต่างๆ โดยทางสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงเพื่อมาเผยแพร่ในเทศกาลรามายณะ ดังนี้
ชุดการแสดงนาฏศิลป์ไทย
· โขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา
๑๐.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
๑. ควรมีการจัดงานเทศกาลรามายณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมในเรื่องของรามายณะ รวมถึงเป็นการขยายความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมของไทย ระหว่างประชาชนไทยกับประชาชนของประเทศเป้าหมาย
๒.การจัดงานครั้งนี้ เป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของกระทรวงวัฒนธรรมเช่น กลุ่มนาฏศิลป์ สำนักการสังคีตกับ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรมหรือกับเครือข่าย ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งของฝ่ายไทยและประเทศเป้าหมาย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันจะส่งผลประโยชน์ต่อประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การเมืองต่อไป
๓. ส่งเสริมความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่และเป็นที่แพร่หลายท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมโลก
๔.การดำเนินงานการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างประเทศควรคำนึงถึงการจัดทำงบประมาณในด้านเบี้ยเลี้ยงเดินทาง เนื่องจากบางประเทศที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการแสดงนั้น มีความแตกต่างในเรื่องของวัฒนธรรมการกินและการดำรงชีพ ทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อคณะนาฏศิลป์ที่เดินทางไปเผยแพร่วัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงการขนส่งสัมภาระทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือในด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกต่อการขนย้ายและการจัดเก็บอีกด้วย
๕. ควรมีผู้ประสานการแสดงเดินทางและการจัดการแสดงของประเทศไทยเดินทางร่วมด้วย เพื่อช่วยเหลือ แนะนำ และอำนวยความสะดวกในการทำงาน
ชื่อเรื่อง : สูจิบัตร พิธีบวงสรวง เทพยดา บูรพกษัตริย์ล้านนา และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพิธีบายศรีทูนพระขวัญ งานสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
ผู้แต่ง : คณะทำงานจัดทำสูจิบัตรฯ
ปีที่พิมพ์ : 2539
สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่
สำนักพิมพ์ : กลางเวียงการพิมพ์
งานสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เนื้อหาในหนังสือมีกำหนดการพิธีทักษิณานุประทาน ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ วันพฤหัสที่ 11 เมษายน 2539 มีพิธีบายศรีทูนพระขวัญ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีคำกราบบังคมถวายรายงานแด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีรายนามกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ คำบวงสรวงบูชา คำทูนพระขวัญ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตำนานพระบรมธาตุเจ้าศรีจอมทอง วัดเชียงมั่น พิธีทักษิณานุประทาน พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีสืบชะตา เจ้าไชยสุริยวงศ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่ ข้อมูลของศาสตราจารย์เกียรติคุณ มณี พยอมยงค์ รายนามผู้ร่วมขบวนเจ้านายฝ่ายเหนือ และคณะกรรมการ
ผู้แต่ง : รำไพพรรณี พระบรมราชนีนาถ สมเด็จพระนางเจ้าโรงพิมพ์ : กรุงเทพบรรณาคารปีที่พิมพ์ : 2481ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.34บ.6167จบ(ร)เลขหมู่ : ห 959.3 ร468ป