ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,866 รายการ

มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)  ชบ.บ.106ก/1-8ข  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.338/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 133  (359-369) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : เอกนิปาต--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๒๐ กันยายน ๒๓๙๖ วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๓๙๖ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี)           พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดารวม ๓ พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ และสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักพระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ทรงได้รับการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ ภาษาเขมรจากหลวงราชาภิรมย์ ทรงได้การศึกษาการยิงปืนไฟจากพระยาอภัยเพลิงศร          เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๔ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ วันที่ ๔ มกราคม ๒๔๐๘ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๐๙) โปรดให้โสกันต์สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ แล้วทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายหลังจากการผนวช โปรดให้ตั้งพิธีเลื่อนสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๑๐ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๑๑) โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า         วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา ๑๘ สิงหาคม ๒๔๑๑  พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา โดยในขณะนั้น มีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะมีพระชนมพรรษครบ ๒๐ พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๑ โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว         เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษาแล้ว เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๑๖ จึงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร หลังจากทรงลาสิกขาแล้ว ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๑๖ โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา   ภาพ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




ชื่อเรื่อง                     นิทานพื้นบ้านเมืองสุพรรณบุรีผู้แต่ง                       สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรีประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   คติชนวิทยา นิทานพื้นเมืองเลขหมู่                     398.2 น597สถานที่พิมพ์               สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรีปีที่พิมพ์                    2531ลักษณะวัสดุ               40 หน้า : ภาพประกอบ, ; 29 ซม.หัวเรื่อง                     นิทานพื้นบ้าน                              สุพรรณบุรี – นิทานพื้นบ้านภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          นิทานพื้นบ้านของเมืองสุพรรณบุรี มีมากมายและได้มีผู้เขียนรวบรวมเขียนไว้หลายรูปแบบด้วยกัน คณะผู้จัดทำได้รวบรวมเค้าโครงเรื่องจากการบอกเล่าของบุคคลในท้องถิ่นต่างๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี และจากเอกสารผลงานของนักศึกษาาวิชาเอกภาษาไทย ปีการศึกษา 2524 ของภาควิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูกาญจนบุรี แล้วนำมาปรับปรุงในด้านภาษาและเนื้อเรื่องให้เหมาะสมสำหรับเด็กประถมศึกษา


[พระสี่อิริยาบถ].สุโขทัยนิยมสร้างวิหารหรือมณฑปไว้ภายในวัด เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ก็มีบางแห่งที่มีการสร้างมณฑปที่มีแกนกลางขนาดใหญ่ เพื่อใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปที่ล้อมรอบแกนกลางมณฑปนี้ ซึ่งมณฑปที่กล่าวถึงนี้จะใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถยืน เดิน นั่ง และนอน ทั้งนี้พระพุทธรูปที่กล่าวมานั้นอาจประดิษฐานอยู่ในมณฑปเดียวกันทั้งหมด หรือประดิษฐานเป็นกลุ่มอาคารใกล้เคียงกัน โดยเมืองสุโขทัยพบที่วัดพระพายหลวง วัดเชตุพน และพบที่วัดพระสี่อิริยาบถเมืองกำแพงเพชร ซึ่งการสร้างพระสี่อิริยาบถนี้ถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสุโขทัย โดยคติการสร้างนี้อาจเพื่อแสดงเรื่องราวตอนต่างๆ ในพุทธประวัติ หรืออาจสร้างมาจากพระสูตรในพระพระพุทธศาสนา คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้สติพิจารณาดูกายในอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง และนอน หรือมีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นการสร้างเพื่อแสดงถึงอิริยาบถยืน เดิน นั่ง และนอนของพระพุทธเจ้า ขณะทรงสำราญพระอิริยาบถอยู่ในพระอาราม. ณ ที่วัดพระพายหลวงนั้นได้พบกลุ่มอาคารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปทางด้านทิศตะวันออกของวัด ลักษณะเป็นกลุ่มอาคารที่ประกอบด้วยมณฑปที่มีแกนกลางขนาดใหญ่ก่ออิฐ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืน 5 องค์ และพระพุทธรูปลีลา 1 องค์ ล้อมรอบแกนกลาง ถัดมาทางด้านทิศตะวันออกของมณฑปเป็นวิหารพระนอน และทางด้านทิศเหนือเป็นวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง สันนิษฐานว่ากลุ่มอาคารเหล่านี้สร้างขึ้นหลังสุดของวัดพระพายหลวง ทั้งนี้จากองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมดังที่กล่าวมาจึงมีผู้สันนิษฐานว่าที่วัดพระพายหลวงแห่งนี้เป็นแห่งแรกที่เริ่มสร้างพระพุทธรูปหลายปางไว้รวมกัน.  วัดเชตุพนเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ ปรากฏมณฑปที่มีแกนกลางล้อมรอบด้วยพระสี่อิริยาบทเป็นประธานของวัด ซึ่งพระพุทธรูปที่ประดิษฐานภายในมณฑปประกอบไปด้วยพระพุทธรูปอิริยาบถเดินทางด้านทิศตะวันออก แสดงอิริยาบถยืนด้านทิศตะวันตก แสดงอิริยาบถนั่งด้านทิศเหนือ และแสดงอิริยาบถนอนด้านทิศใต้ สันนิษฐานว่าวัดเชตุพนแห่งนี้น่าจะพัฒนาการต่อมาจากการสร้างกลุ่มอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนและนอนของวัดพระพายหลวง. ในส่วนของวัดพระสี่อิริยาบถเมืองกำแพงเพชรนั้น เป็นวัดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ภายในวัดปรากฏมณฑปขนาดใหญ่ทำหน้าที่เป็นประธานของวัด ลักษณะเป็นมณฑปแกนกลางรับน้ำหนัก ซึ่งลักษณะผนังของแกนกลางทั้งสี่ด้านก่อเว้าคล้ายโอบพระพุทธรูปในแต่ละด้าน ผนังด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปลีลา ด้านทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถนอน ด้านทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถนั่ง และด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถยืน จากองค์ประกอบและรูปแบบที่ลงตัวของสถาปัตยกรรม ทำให้สันนิษฐานว่าวัดพระสี่อิริยาบถนี้น่าจะสร้างหลังวัดเชตุพน เมืองสุโขทัยเล็กน้อย .การสร้างกลุ่มพระพุทธรูปหลายอิริยาบถหรือพระพุทธรูปสี่อิริยาบถนี้ สันนิษฐานว่าได้รับรูปแบบการสร้างกลุ่มอาคารลักษณะนี้มาจากลังกา พบที่คัลวิหาร เมืองโปลนนารุวะ ซึ่งเป็นกลุ่มประติมากรรมพระพุทธรูปที่สลักจากหน้าผาหินขนาดใหญ่ 4 องค์ ประกอบไปด้วย พระพุทธรูปประทับนั่งภายในถ้ำ พระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ พระพุทธรูปยืนตริภังค์ และพระพุทธรูปนอน .อ้างอิง- กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สุโขทัย : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, 2561.- พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. “พระสี่อิริยาบถ.” ศิลปวัฒนธรรม. 16,11 (กันยายน 2538) : 118-121.- ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. “กลุ่มพระพุทธรูปสี่อิริยาบถในศิลปะสุโขทัย : ความหมายทางพระพุทธศาสนาบางประการ.” เมืองโบราณ. 13,3 (กรกฎาคม-กันยายน 2530) : 57-61.- รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. “ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และศิลปะศรีลังกา.” (เอกสารคำสอนรายวิชา 310212 Sri Lanka Art ฉบับปีการศึกษา 2554)(อัดสำเนา).- ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2561.- ศิริปุณย์ ดิสริยะกุล. “การศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมวัดพระสี่อิริยาบถ จังหวัดกำแพงเพชร” วิทยานิพนธ์ระดับศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.- สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. พิมพ์ครั้งที่ 3. สุโขทัย : กรมศิลปากร, 2553.


         สำนักการสังคีต  กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชมการแสดงทางวัฒนธรรม “มหกรรม นาฏะ ดนตรี คีตการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ในวันพุธที่  ๒๗ กรกฎาคม  ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ  โรงละครแห่งชาติ รายการแสดง ประกอบด้วย ๑. การแสดงคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ ๒. การบรรเลงวงออร์เคสตรา จากตับพรหมาสตร์ ประกอบการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศรพรหมาสตร์             ชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถรับบัตรชมการแสดงตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ (เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.) และรับบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th (เปิดด้วยโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ อาทิ Safari, Google Chrome, Firefox, Internet Explorer) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


เรื่อง วันพระราชทานธงชาติไทย ธงไทย เริ่มใช้ในสมัยใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด ปรากฏแต่เพียงว่าในสมัยโบราณเมื่อถึงเวลาจัดทัพไปสงครามจะใช้ธงสีต่างๆ เป็นเครื่องหมายประจำกองทัพ หนังสือจดหมายเหตุของฝรั่งเศสกล่าวว่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีเรือรบของฝรั่งเศส ชื่อ “เลอร์ไวตูร์” ได้เดินเรือมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาและจะทำการยิงสลุตให้แก่ชาติไทยตามประเพณีของชาวยุโรป แต่ในขณะนั้นไทยเรายังไม่มีธงชาติ จึงนำเอาธงชาติฮอลิดดา (ฮอลันดา) ชักขึ้นที่ป้อมแทน ปรากฏว่าฝรั่งเศสไม่ยอมยิงสลุตให้เหตุเพราะเคยเป็นอริกับฮอลิดดามาก่อน บังเอิญในขณะนั้นผ้าสีแดงเป็นผ้าที่หาง่าย ทางป้อมจึงนำเอาผ้าสีแดงมาทำเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วชักขึ้น นับแต่นั้นมาไทยจึงยึดเอาธงสีแดงเป็นธงประจำชาติ อีกทั้งจดหมายเหตุ เรื่อง ทูตไทยไปลังกาทวีปในสมัยพระเจ้าบรมโกษฐ ตอนปลายกรุงศรีอยุธยา ก็กล่าวถึงในทำนองเดียวกันว่า ไทยใช้ธงแดงเป็นธงประจำชาติ พระราชบัญญัติธงฉบับแรกของประเทศไทย เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๓๔ (รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐) กำหนดธงต่างๆ ถึง ๑๓ ชนิด และได้กำหนดธงชาติไทยไว้เป็นที่แน่นอน เรียกว่า “ธงชาติสยาม” มีลักษณะเป็นรูปช้างเผือกบนพื้นสีแดงล้วน ใช้สำหรับเรือกำปั่นและเรือของพ่อค้า ส่วนเรือหลวงนั้น ใช้ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น ที่มุมธงด้านบนมีจักร สำหรับชักท้ายเรือพระที่นั่ง พระราชบัญญัติธงได้รับการแก้ไขอีกหลายครั้งจนกระทั่งในสมัยพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นว่าธงทุกอย่างควรมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับยุคสมัย ประกอบกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ไทยได้เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายพันธมิตร พระองค์ทรงดำรัสว่า การประกาศสงครามครั้งนี้นับเป็นความเจริญก้าวหน้าขั้นหนึ่งของประเทศ สมควรที่จะมีสิ่งเตือนใจในภายภาคหน้า สิ่งนั้น คือ ธงชาติ และทรงเห็นว่าลักษณะธงที่แก้ไขแล้วนั้นยังสง่างามไม่เพียงพอ จึงทรงพระราชดำริเปลี่ยนธงช้างเป็นธงแถบสี ได้ทรงเลือกสีที่มีความหมายด้านความสามัคคีและมีความสง่างาม ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเรียกว่า พระราชบัญญัติธงพุทธศักราช ๒๔๖๐ แก้ไขธงชาติสยามใหม่ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง ๑ ส่วน ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ของขนาดธง อยู่ตรงกลาง มีแถบสีขาวกว้าง ๑ ส่วน ซึ่งแบ่งเป็น ๖ ของขนาดกว้าง ข้างละแถบ แล้วแถบสีแดงเท่ากับแถบสีขาว ให้เรียกธงอย่างนี้ว่า “ธงไตรรงค์” ที่มา: เจียร สิทธิศุข, ประวัติธงชาติไทยและระเบียบการชักธงชาติ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ, ๒๕๒๖.


          วันพุธที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ “Bridge of Colors” สะพานแห่งสีสัน เนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๗ ปี วันชาติของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีนายระห์หมัด บูดีมัน (H.E. Mr. Rachmat Budiman) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร และนางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เข้าร่วมในพิธี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ             กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการ “Bridge of Colors” สะพานแห่งสีสัน เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบวันชาติของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ครบรอบ ๗๗ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ และเป็นสะพานเชื่อมสายสัมพันธ์ระหว่างไทยและอินโดนีเซียเข้าไว้ด้วยกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ผ่านความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรม โดยนิทรรศการในครั้งนี้ถ่ายทอดความหมายของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ผ่านภาพวาดที่หลากหลายทั้งทางด้านสุนทรียศาสตร์ การใช้สีสัน แนวความคิดการถ่ายทอดภาพและเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่างกันของศิลปินชาวอินโดนีเซีย ๑๑ ท่าน           ประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ นับตั้งแต่นั้นมาเป็นเวลา ๗๒ ปีแล้ว แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน ได้มีการแลกเปลี่ยน การส่งเสริม และการสานสัมพันธ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมนั้น ทั้งสองประเทศต่างมีวัฒนธรรมร่วมกัน ดังจะเห็นได้จากศิลปะ วรรณกรรม นาฏยศิลป์ แตกต่างเพียงบริบทแวดล้อมทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศเท่านั้น การสร้างความรับรู้และเข้าใจในความหลากหลายผ่านผลงานศิลปะ นับเป็นวิธีการสื่อสารทางการทูตรูปแบบหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาใช้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของชาติ โลกศิลปะที่ไร้พรมแดนสามารถหล่อหลอมให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกรับรู้ร่วมกันได้อย่างน่ามหัศจรรย์ และตกผลึกกลายเป็นความตระหนักรู้ถึงคุณค่า และ “อัตลักษณ์” แห่งวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละท้องที่ สร้างพลังแห่งศรัทธาและสายสัมพันธ์ที่เชื่อมผู้คนเข้าไว้ด้วยกันผ่านงานศิลปะ           นิทรรศการพิเศษ “Bridge of Colors” จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๕ - ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน ๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. หยุดวันจันทร์และอังคาร ค่าเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท 


ก่อนจะเข้าสู่บทความแอดมิน วีรวัฒน์ขอให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ "นิราศ" ก่อนครับนิราศ...คือ เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือโคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลงนิราศ...มักถูกพบ เเละเก็บรักษาไว้ในเเหล่งเรียนรู้ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น ห้องสมุด หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุ นักสะสมหนังสือ นักสะสมวรรณกรรมท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นนิราศ...ถูกโต้เเย้งว่าจะเก็บไว้หอสมุดหรือหอจดหมายเหตุนิราศ...ถ้าเป็นต้นฉบับ เป็นลายมือเขียน รับมอบมาโดยตรง จะถูกเก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุนิราศ...ที่เป็นหนังสือ จัดพิมพ์ ทำซ้ำ สำเนา หรือพิมพ์เป็นหนังสืองานศพ จะถูกจัดเก็บในหอสมุดแห่งชาติ ฉบับพิมพ์ใหม่จะอยู่ในหมวดวรรณกรรมให้บริการในห้องหนังสือทั่วไป แต่ถ้าเป็นฉบับพิมพ์เก่า จะอยู่ใน ส่วนของหนังสือท้องถิ่น หนังสืองานศพ หนังสือหายากนิราศ...ถ้าถูกจัดเก็บสะสมโดยบุคคลเเละถูกส่งมอบต่อ ติดมาพร้อมเอกสารจดหมายเหตุที่บุคคลนั้นมอบให้ หรือประสงค์ให้กับหอจดหมายเหตุหรืออาจติดปะปนหนังสือราชการซึ่งผู้ปฏิบัติงานนั้นสะสมไว้ จะคัดเเยกเเละถูกเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ ใน ประเภท หนังสือหายากนิราศ...เป็น สารสนเทศ เพื่อการเผยแพร่ จัดเป็นสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกับ นวนิยาย หรือวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ เเต่ก็สามารถใช้ข้อมูล วันเวลา สถานที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้นิราศ...ที่ถูกจัดเก็บในหอจดหมายเหตุส่วนบุคคลนิราศก็จะกลายเป็นมรดกของบุคคลนั้น ที่เอามาเก็บในหอจดหมายเหตุเพื่อแสดงอัตลักษณ์ ว่า เขาผู้นั้น เป็นคนที่ชอบสะสม หนังสือนิราศ หรือวรรณกรรมต่าง ๆ เช่น นิราศทุ่งหวัง นิราศเทพา พบได้จากการสะสมของนายจรัส จันทร์พรหมรัตน์ หัวหน้างานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา ที่ได้เเบ่งปันข้อมูลในทางกลับกัน ถ้านิราศนั้น คนสะสมหรืออาจารย์จรัส เป็นคนเขียนเป็นต้นฉบับ ก็กลายเป็นงานของเขา นิราศจะกลายเป็นจดหมายเหตุ ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม (CUTURAL HERITAGE)ซึ่งเอกสารจดหมายเหตุ (ARCHIVES) มาจาก เอกสารราชการ (RECORDS) + มรดกทางวัฒนธรรม (CUTURAL HERITAGE)นิราศ...ในความเห็นแอดมิน สามารถตีความได้กับการบันทึกเหตุการณ์สำคัญในขณะนั้น เพราะปรากฎ วัน เวลา สถานที่ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ต่างเพียงเเค่ใช้ลีลาการเรียบเรียง โดยใช้ร้อยกรอง เช่นกลอน โคลง เเทนการใช้ร้อยเเก้วเรียบเรียงโดยการบันทึกเหตุการณ์นิราศ...สามารถนำข้อมูลมาเติมเต็มข้อมูลชั้นต้นทางประวัติศาสตร์ หรือเอกสารจดหมายเหตุได้ ถ้านิราศนั้นเขียนในสมัยบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้นๆ เช่น นิราศทุ่งหวัง ประพันธ์โดยกระจ่าง แสงจันทร์ (ก. แสงจันทร์) ครูผู้ถวายพระอักษรพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ก็สามารถนำนิราศมาเติมเต็มเอกสารจดหมายเหตุในสมัยนั้นที่ขาดหายหรือไม่ได้กล่าวถึงในเอกสารราชการนั้นได้นิราศ...จึงไม่เป็นเพียงเเค่วรรณกรรมที่เขียนถึงคนรัก หรือเรื่องเชิงสังวาสดังเช่น นิราศทุ่งหวังนี้ ให้ประโยชน์ในการบันทึกเรื่องราวระหว่างการเดินทางลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เรื่องราวท้องถิ่นดังพระประสงค์ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์สนจิตคิดแต่ถ้อย ระยะทางไม่ประสงค์ถึงนาง แน่งน้อยนักอ่านอย่าอางขนาง โอษฐ์ขนาบ นาพ่อผิวผิดคำถ้อย ขัดข้อง ขออภัยสรุปว่า เราจะพบนิราศเก็บรักษาในห้องสมุดมากกว่าเเหล่งอื่นใด และพบอยู่ในนักสะสมที่มีหอจดหมายเหตุส่วนบุคคล จนกว่าท่านนั้นจะส่งมอบหรือประสงค์มอบให้กับหอจดหมายเหตุเพื่อใช้เติมเติมเอกสารจดหเป็นจดหมายเหตุ หรือท่านนั้น เป็นเครือข่ายงานจดหมายเหตุกับหอจดหมายเหตุนั้น ๆดังที่นายวีรยุทธ พุทธธรรมรงค์ นักจดหมายเหตุนำเสนอ บทความ เรื่อง จากสุนทรภู่ ถึง กระจ่าง แสงจันทร์ ๑๐๐ ปี นิราศเทพา และนิราศทุ่งหวังที่ได้ข้อมูลจากนายจรัส จันทร์พรหมรัตน์หัวหน้างานจดหมายเหตุเเละพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา (นักสะสม) เเละนายวุฒิชัย เพชรสุวรรณ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ อบจ. สงขลา เก็บข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ตามรอยการเสด็จ ซึ่งทั้งสองเป็นเครือข่ายงานจดหมายเหตุ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลาติดตามได้จากบทความนี้ใน แผ่นภาพบทความที่เเนบในอัลบั้มนี้ 


         กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการประกอบนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก”  ในหัวข้อ “แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย - อยุธยา จากผลการสืบค้นศึกษาทางโบราณคดี” โดยวิทยากร นางสาวสิรินทร์ ย้วยใยดี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานชาติ กาญจนาภิเษก นายธงชัย สาโท นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นางสาววิไลวรรณ อยู่ทองจุ้ย นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา และนางสาวธนินทร นิธิอาชากุล ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ในวันเสาร์ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.  ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            ผู้สนใจสามารถสแกนคิวร์อาร์โค้ด หรือ กดลิ้ง ที่นี่ เพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ - ๒ ต่อ ๔๐๔๘



ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           38/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              40 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 133/3เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 169/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger