ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,821 รายการ



  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์   จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี  อนุสรณ์ โดยความร่วมมือระหว่างบรรดาลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี  เพื่อรำลึกถึงเกียรติคุณของท่านในฐานะผู้ให้กำเนิดการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2527 ซึ่งตรงกับวาระวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 92 ปี ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี โดยฯพณฯ ชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นให้เกียรติมาเป็นประธาน  จากนั้นจึงมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบและบริหารจัดการ จนกระทั่งได้รับการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ เมื่อพ.ศ.2530 ปัจจุบัน สังกัดสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ในเครือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป  ภายในจัดแสดงนิทรรศการถาวร โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ห้องชั้นนอก (บริเวณประตูทางเข้า) จัดแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ของบรรดาลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด  เช่น นายเฟื้อ หริพิทักษ์ นายประยูร อุลุชาฎะ นายชลูด นิ่มเสมอ นายจำรัส เกียรติก้อง นายเขียน ยิ้มศิริ นายสวัสดิ์ ตันติสุข นายทวี นันทขว้าง เป็นต้น ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานศิลปกรรมในยุคเริ่มแรกของศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย ซึ่งดำเนินรอยตามแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะตามหลักวิชาการที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้วางรากฐาน             ส่วนที่สอง ห้องชั้นใน จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งประกอบไปด้วย โต๊ะทำงาน เก้าอี้ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องมือปั้น ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว โดยจำลองบรรยากาศโต๊ะทำงานดั้งเดิมเช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังมีชีวิตอยู่ ตลอดจนแบบร่างอนุสาวรีย์และประติมากรรมชิ้นสำคัญ เช่น แบบร่างพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 แบบร่างพระศรีศากยทศพลญาณ พระประธานพุทธมณฑล และต้นแบบพระเศียรรัชกาลที่ 8 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหนังสือหายากซึ่งเป็นหนังสือที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี  ใช้สำหรับค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะตะวันตก ให้บริการแก่ผู้มาเยี่ยมชมภายในห้องจัดแสดง ภาพนิทรรศการ:



          เผยแพร่ความรู้ให้เด็กไทยในปัจจุบันได้เข้าถึงพื้นฐาน วัฒนธรรมประเพณี ความคิดและความเชื่อของคนไทยในอดีต เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้คิดช่วยกันจรรโลงลักษณะของความเป็นคนไทยที่มี ลักษณะโดดเด่น เพียบพร้อมไปด้วยความมีน้ำใจไมตรีให้อยู่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยตลอดไป


วันศุกร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกกาญจนบุรี ได้จัดโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรม "อ่านสนุก ปลุกการเรียนรู้" โดยมี นายบวรศักดิ์ วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวเปิดงาน งาน ในช่วงเช้าจะมีการบรรยาย หัวข้อ "ห้องสมุดมีชีวิต ชีวิตมีห้องสมุด" โดย อาจารย์วารุณี ลำยอง ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนวัดนวลนรดิศ เป็นผู้บรรยาย และกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หัวข้อ "การอ่าน...สร้างสรรค์บันดาลใจ" โดยคณะวิทยากรจาก สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ งานในช่วงบ่าย มีกิจกรรมการโต้วาที หัวข้อ "อ่านจากหนังสือหรืออ่านจากอินเทอร์เน็ต อย่างไหนเด็ดกว่ากัน" โดยนักเรียนจากโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ และโรงเรียนวิสุทธรังษี ในโซนด้านล่างยังมีหน่วยงานราชการต่างๆได้มาร่วมจัดกิจกรรมตามซุ้มต่างๆ โดยมี เจ้าหน้าที่จากสำนักหอสมุดแห่งชาติ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า, อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ มีทั้งนำนิทรรศการความรู้ความเป็นมา ณ สถานที่นั้นๆมาจัดแสดงให้ได้รับชม กิจกรรมEnglish is fun และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย


          ปราสาทพนมรุ้ง ศาสนสถานเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ที่มีประวัติพัฒนาการในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๘ โดยกำหนดอายุสมัยจากศิลาจารึกและรูปแบบศิลปกรรมที่แบ่งออกได้ถึง ๔ ระยะ และอาจกล่าวได้ว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ถือเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของการสร้างศาสนสถานบนเขาพนมรุ้ง เพราะมีการสถาปนาปราสาทประธานและอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบแผนผังที่แสดงถึงการจำลองเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะมาไว้บนโลกมนุษย์อย่างชัดเจน           “นเรนทราทิตย์” คือพระนามที่ปรากฏในจารึกช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ว่าพระองค์คือผู้สร้างปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งที่ผ่านมายังไม่พบว่าปรากฏพระนามนี้อยู่ในจารึกหลักใด นอกจากจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง           พระนาม “นเรนทราทิตย์” มาจากคำว่า นเรนทร + อาทิตย์ คำว่า “นเรนทร” หมายถึง พระราชา ส่วนคำว่า “อาทิตย์” ก็คือ พระอาทิตย์ รวมกันแล้วจึงหมายถึง พระราชาแห่งดวงอาทิตย์ หรือผู้ยิ่งใหญ่ประดุจดั่งดวงอาทิตย์ และเป็นที่น่าสังเกตว่าความหมายที่เกี่ยวเนื่องกับพระอาทิตย์นี้ยังปรากฏในพระนามของกษัตริย์ในวัฒนธรรมเขมรโบราณด้วย เช่น พระเจ้าสุริยวรมัน พระเจ้าอุทัยทิตยวรมัน เป็นต้น           ความในจารึกพนมรุ้งหลักที่ ๗, ๘ และ ๙ กล่าวว่า นเรนทราทิตย์เป็นโอรสของพระนางภูปตินทรลักษมี เป็นผู้มีสติปัญญาหลักแหลม มีความสามารถในการรบ ได้เข้าร่วมรบกับกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ในการรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น นเรนทราทิตย์คงได้รับความดีความชอบเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเมืองแห่งดินแดน “มหิธรปุระ” ----- พระองค์ทรงสร้างปราสาทประธาน ประดิษฐานรูปเคารพ สร้างงานศิลปกรรมที่ปรากฏเป็นลวดลายสลักต่าง ๆ เช่น หน้าบันและทับหลัง ที่ล้วนแสดงให้เห็นว่ามีความประสงค์ที่จะสร้างเป็นเทวาลัยแห่งพระศิวะ มีศิวลึงค์เป็นองค์ประธาน และยังมีการนับถือเทพองค์อื่น ๆ ซึ่งอยู่ในสถานะเทพชั้นรอง นอกจากนี้ข้อความในจารึกยังกล่าวว่า “นเรนทราทิตย์ได้สร้างปราสาทแห่งนี้เพื่อประดิษฐานรูปเคารพของตนเอง เพื่อเตรียมไว้สำหรับการเข้าไปรวมกับเทพที่ทรงนับถือหลังจากสิ้นพระชนม์”            พระองค์ทรงทำนุบำรุงศาสนา อุปถัมภ์พราหมณ์ ดาบส โยคี เช่น ทรงสร้างสระน้ำ สร้างทางเดินแด่พระดาบสให้ทอดไปตามสันเขาเพื่อข้ามน้ำ ถวายทรัพย์ ข้าทาส ที่ดิน และเครื่องบวงสรวงทุกวันแด่เทวาลัย ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอันแรงกล้า ในลัทธิไศวนิกาย แบบปศุปตะ พระองค์จึงออกบวชถือองค์เป็นนักพรตจวบจนวาระสุดท้าย โอรสของพระองค์คือ “หิรัณยะ” เป็นผู้ให้จารึกเรื่องราวเพื่อสรรเสริญเกียรติคุณของพระบิดา และได้ให้ช่างหล่อรูปของนเรนทราทิตย์ด้วยทองคำ          นอกจากเนื้อความในจารึกแล้ว ยังปรากฏภาพสลักสำคัญอยู่บนทับหลังประตูชั้นที่สองมุขด้านทิศใต้ของปราสาทประธาน ที่สันนิษฐานกันว่าเป็นภาพ “พิธีอภิเษกนเรนทราทิตย์” ตรงกลางเป็นรูปบุคคลฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์ แวดล้อมด้วยเหล่าข้าราชบริพาร อาจหมายถึงพิธีอภิเษกนเรนทราทิตย์เป็นฤาษีหลังจากเสด็จจากเมืองพระนคร เพื่อมาบำเพ็ญพรต ณ เขาพนมรุ้งตามความในศิลาจารึกพนมรุ้ง ๗ (หรือ K ๓๘๔) ที่กล่าวว่า “พระองค์ผู้ปราศจากมลทิน...ไปแล้วกับหมู่คนผู้เป็นชาวนคร” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงวิเคราะห์ว่า “นคร” ในที่นี้คงหมายถึง เมืองพระนครอันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรโบราณ เนื่องจากศิลาจารึกซึ่งค้นพบในประเทศกัมพูชาหลายหลักเรียกเมืองพระนครว่า “นคร”           ปัจจุบัน เรื่องราวของนเรนทราทิตย์ ผู้สร้างปราสาทพนมรุ้ง ได้รับการถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของการแสดง แสง สี เสียง เนื่องในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ซึ่งจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ----------------------------------------- ผู้เรียบเรียง: นางสาวสุรีรัตน์ ทองภู นักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เอกสารอ้างอิง: กรมศิลปากร, ปราสาทพนมรุ้ง, ๒๕๕๑. กรมศิลปากร, อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ, ๒๕๕๗. ชะเอม แก้วคล้าย, จารึกปราสาทหินพนมรุ้งที่พบใหม่ จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง ๘, ๒๕๓๐. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง, ๒๕๒๑. หม่อมราชวงศ์สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ปราสาทเขาพนมรุ้งศาสนบรรพตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย, ๒๕๓๖.



รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศกัมพูชา ๑. ชื่อโครงการ  Dissemination Seminar The Living Angkor Road Project (LARP) a Khmer-Thai Joint Research Project (2005-2015) ๒. วัตถุประสงค์ของคณะเดินทาง             ๒.๑ ร่วมประชุมนำเสนอผลการศึกษาวิจัยเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในด้าน Cultural Relationship in Southern and Central Thailand through Archaeological Study ๓. กำหนดเวลา             ๑-๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ๔. สถานที่             ศูนย์การประชุมนานาชาติ องค์การอัปสรา จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ๕. หน่วยงานผู้จัด Angkor International Research and Documentation Center (AICRD), Department of Communication (DOC), Thailand Research Fund (TRF) and CRMA-Research Center  ๖. หน่วยงานสนับสนุน           ไม่มี ๗. กิจกรรม                 ๗.๑ บรรยายทางวิชาการ ๘. คณะผู้แทนไทย             ๘.๑ นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี กรมศิลปากร ๙. สรุปสาระของกิจกรรม           บรรยายตามเนื้อหาตามกรอบและภาพนำเสนอตามเอกสารที่แนบ ๑๐. ข้อเสนอแนะ           ไม่มี


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            ไทยอีสานหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพื้นเมือง                                    นิทานพื้นเมืองประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    62 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


สาระสังเขป               :     ชีวประวัติของบุคคลสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 2 5 ท่าน ได้แก่ ฮิตเลอร์ เชอร์ชิลล์ ทิโมเชงโก แม๊คอาเธอร์ และไฮเซนเฮาว์ผู้แต่ง                       :      ทำรง ปานสิงห์, พ.ต.โรงพิมพ์                   :      อุดมปีที่พิมพ์                   :      2492ภาษา                       :      ไทยรูปแบบ                     :      PDFเลขทะเบียน              :      น.33บ.2160จบ(ร)เลขหมู่                      :      923.2                                       ว857ย



เลขทะเบียน : นพ.บ.45/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 4.4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 27 (267-281) ผูก 8หัวเรื่อง :  ธรรมบท --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานพิธีเปิดนิทรรศการ "๖๑ ปี การเสด็จเยือนพสกนิกรชาวนครราชสีมา" โดยนายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา ได้บรรยายประวัติและความสำคัญของชุดพระราชอาสน์ เมื่อวันอังคารที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ ลานแฟชั่นฮอลล์ ชั้น ๑ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา


  ชื่อผู้แต่ง                 ชุ่ม  จันโท ชื่อเรื่อง                  ตำราวิชาไสยศาสตร์ ครั้งที่พิมพ์              - สถานที่พิมพ์            - สำนักพิมพ์               - ปีที่พิมพ์                  - จำนวนหน้า            ๓๙    หน้า หมายเหตุ                -                                   ตำราวิชาไสยศาสตร์ และ คาถาอาคม นับเป็นอีกศาสตร์หนึ่งในหลายๆ ศาสตร์ที่ได้ศึกษาถ่ายทอดกันมานานนับร้อยปี พันปี เป็นศาสตร์ที่ลึกลับ มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีผู้ให้ความเชื่อถือไม่น้อยกว่าศาสตร์อื่น ๆ เช่น หัตถศาสตร์(ลายมือ) เวชศาสตร์(ยาสมุนไพร) โหราศาสตร์(ดูดวง) ฯลฯ


เรื่องที่ 389 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดบุญญวาสวิหาร ต.ท่าใหม่ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532 เป็นคัมภีร์อักษรขอมทั้งผูก ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาบาลี-ไทย ตัวอักษรหนังสือเป็นเส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ มีทั้งหมด 14 ผูก หอสมุดแห่งชาติฯมีผูก 1-7,1ก-7กเนื้อหาเกี่ยวกับพระธรรมเทศนา เป็นคัมภีร์เรื่องอภิธัมมาสังคิณีเป็นพระอภิธรรมลำดับที่ 1 ใน 7 คัมภีร์ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 ตอนด้วยกันคือ 1 มาติกา เป็นที่รวมธรรมะหัวข้อหลัก โดยอภิธัมมมาติกามี 122 หัวข้อ และสุตตันตมาติกามี 42 หัวข้อ โดยในอภิธัมมมาติกาแบ่งหัวข้อธรรมเป็นกลุ่มละ3 ชนิด เช่นกลุ่มสนิทัสสนติกะ ประกอบด้วย 2 จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายเรื่องการเกิดของจิตอย่างละเอียด 3 รูปกัณฑ์ อธิบายเรื่องรูปอย่างละเอียด 4 นิกเขปกัณฑ์ อธิบายหัวข้อธรรมในมาติกาขนาดยาวปานกลาง 5 อัตถุธารกัณฑ อธิบายหัวข้อธรรมในมาติกาอย่างย่อ คล้ายบทสรุปของคัมภีร์ทั้งหมดเลขทะเบียน จบ.บ.389/1-7:1ก-7ก


Messenger