ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,822 รายการ
ชื่อเรื่อง ภิกฺขฺปติโมกฺข (ปาติโมกข์)
สพ.บ. 381/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 40 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง การสวดมนต์
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคาต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ เรื่อง “แหล่งฝังศพสมัยก่อนประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำอิงที่เมืองโบราณเวียงลอ จังหวัดพะเยา”โดย นายพลพยุหะ ไชยรส นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่. ก่อนการสร้างเมืองโบราณเวียงลอในพุทธศตวรรษที่ 19 พื้นที่บริเวณดังกล่าวปรากฏการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาก่อนโดยพบแหล่งฝังศพบริเวณใต้ชั้นกำแพงเมืองเวียงลอในชั้นคันดินสันดอนริมแม่น้ำอิงเก่า จากการขุดค้นทางโบราณคดี โครงการขุดค้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เมืองโบราณเวียงลอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 พบหลุมฝังศพจำนวน 6 ตำแหน่ง ในพื้นที่ดังกล่าว ในที่นี้จะกล่าวถึงหลุมขุดค้นที่ 1 เนื่องจากเป็นหลุมที่มีชั้นดินอยู่ระดับเดียวกันกับชั้นดินที่มีการเก็บตะกอนดินไปกำหนดหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ จากการขุดค้น พบร่องรอยการประกอบกิจกรรมการฝังศพในชั้นดินวัฒนธรรมที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นดินก่อนการก่อสร้างกำแพงเมืองเวียงลอ โดยเริ่มปรากฏหลักฐานกระดูกขาและกรามของสัตว์ขนาดใหญ่ ต่อมาพบหลักฐานกลุ่มกองเปลือกหอย 2 ฝา ลักษณะคล้ายหอยน้ำจืดที่ปรากฏในท้องถิ่นปัจจุบัน วางตัวทางด้านทิศตะวันตกของกลุ่มกระดูกสัตว์ ในแนวเดียวกัน และในระดับนี้ได้ปรากฏร่องรอยของขอบหลุมฝังศพรูปสี่เหลี่ยมขนาดกว้างตั้งแต่ 22-45 ซม. วางตัวในแนวตะวันออก – ตะวันตก โดยปรากฏเป็นกลุ่มดินร่วนเหนียวสีน้ำตาลดำมีเศษถ่านและเศษภาชนะดินเผาปะปน . นอกจากนี้ยังพบกลุ่มเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินวางตัวเรียงกันในแนวทิศตะวันออก – ทิศตะวันตก กลุ่มโบราณวัตถุซึ่งประกอบด้วยกระดูกท่อนขา ซึ่งวางตัวในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก ใกล้กับตำแหน่งกลุ่มภาชนะดินเผา นอกจากนั้นใต้กลุ่มภาชนะดินเผาดังกล่าวยังปรากฏเครื่องมือเหล็กไม่ทราบหน้าที่ใช้งาน 1 ชิ้น ถัดจากกลุ่มภาชนะไปทางตะวันออก พบเครื่องมือเหล็กคล้ายมีด 1 ชิ้น ใต้เครื่องมือเหล็กเป็นกลุ่มของห่วงสำริดขนาดต่าง ๆ วางเรียงซ้อนเหลื่อมกันในแนวตะวันออก – ตะวันตก ภายในห่วงพบโครงกระดูกแขนอยู่ในสภาพเริ่มผุสลายอย่างมาก ถัดจากกลุ่มกำไลสำริดไปทางตะวันออก พบเครื่องมือเหล็กอีก 1 ชิ้น ถัดจากเครื่องมือเหล็กชิ้นดังกล่าวไปทางทิศใต้ พบห่วงสำริดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.4 ซม. 1 วง และถัดไปทางด้านทิศใต้พบห่วงสำริดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.1-1.3 ซม.วางซ้อนกันอยู่อีก 2 วง. จากการศึกษาพบว่าโบราณวัตถุทั้งหมดวางตัวเรียงกันในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก จากร่องรอยของชิ้นส่วนกระดูกท่อนแขนที่พบสอดอยู่ในกำไล และกระดูกท่อนขาที่พบอยู่บริเวณด้านตะวันตกของกลุ่มภาชนะดินเผา สันนิษฐานว่าโครงกระดูกนี้ มีการปลงศพ โดยวางตัวในแนวตะวันออก – ตะวันตก หันส่วนศีรษะไปทางทิศตะวันออก โดยกลุ่มเครื่องกำไลสำริดและเครื่องมือเครื่องใช้เหล็กจำนวน 3 ชิ้นที่พบบริเวณส่วนตะวันออกหรือส่วนบนของโครงนั้นพบบริเวณฝั่งเหนือหรือด้านขวาของโครงกระดูก ยกเว้นต่างหู (?) จำนวน 2 ชิ้น ซึ่งพบในตำแหน่งกึ่งกลางค่อนไปทางด้านซ้ายของโครงกระดูก. เนื่องจากสภาพที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีอยู่ใกล้กับแม่น้ำอิงดินจึงมีความชื้นสูงมากทำให้กระดูกเสื่อมสภาพและถูกย่อยสลายไปมากกว่าร้อยละ 80 และหลุมศพถูกรบกวนไปแล้วครั้งหนึ่ง (โครงกระดูกพบเพียงบางอวัยวะเช่นแขนและต้นขา อีกทั้งมีการวางของอุทิศกระจัดกระจาย) ไม่สามารถจำแนกเพศหรืออายุได้ โครงกระดูกที่หลงเหลือบ่งชี้ว่า การฝังศพแบบแนวราบ ของอุทิศเช่นเครื่องประดับจะวางไว้กับตำแหน่งของอวัยวะที่ใช้งานของนั้นๆ เช่น กำไลสำริดใส่ไว้ที่แขน เครื่องมือเหล็กวางไว้ที่แขน เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งวางที่บริเวณปลายเท้า ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาที่มีการทุบให้แตกและเครื่องมือเหล็ก สำหรับเครื่องมือเหล็กไม่มีรูปแบบการวางในทิศทางที่แน่นอน . จากตรวจสอบชั้นดินด้านตัด (Section) พบว่ามีการขุดหลุมฝังลึกประมาณ 60 เซนติเมตร จากพื้นผิวดิน หลุมฝังมีลักษณะสอบเข้าคล้ายรูปตัววี (V shape) ปรากฏร่องรอยการฝังกลบปากหลุมอย่างตื้นๆ ส่วนด้านแปลน (Plan) ในระดับชั้นดิน พบว่าหลุมฝังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความกว้างประมาณ 25 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร สันนิษฐานว่ามิใช่ขนาดและดินฝังกลบหลุมเดิม ร่องร่อยผิดวิสัยดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการขุดรบกวนในสมัยหลัง ชั้นดินดังกล่าวอยู่ในระดับความลึกของชั้นดินและองค์ประกอบดินเทียบเคียงได้กับชั้นดินทางโบราณคดี 3 ในหลุมขุดค้นที่ 13 ที่กำหนดค่าอายุสัมบูรณ์ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อนอยู่ที่ 788±24 ปีมาแล้ว (หรือระหว่าง พ.ศ.1752 - 1800) หรือมีการรบกวนหลุมฝังศพดังกล่าวในราวพุทธศตวรรษที่ 18 – 19 จึงสามารถกำหนดอายุหลุมฝังศพไว้ก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 . ในบริบททางประวัติศาสตร์ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 เกิดบ้านแปงเมืองขึ้นแล้วบนที่ราบพะเยาและลุ่มน้ำอิงดังปรากฏในตำนานพื้นเมืองพะเยาที่ขุนจอมธรรมผู้สถาปนาเมืองพะเยาเรียกประชุมเมืองต่างๆ เพื่อจัดตั้งพันนา ความว่า “...ทั้งหัวเมืองนอกมีต้นว่า เมืองงาว กวาว ชะเอิบ เชียงม่วน สะปง ภาน ควา ออย งิม สะลาว ครอบ เชียงแลง หงาว ลอ เธิง...” หรือในเหตุการณ์ที่ขุนเจืองรวบรวมทัพเพื่อตีเมืองแกวก็มีการเกณฑ์ไพร่พลจากเมืองลอด้วย ความว่า “...ส่วนท้าวก็ตีกลองเชยยะพละเภรี ป่าวริพลเมืองพยาว แล ซะลาว ลอ เธิง กวาว หงาว...” อย่างไรก็ตามบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลานี้เป็นบ้านเมืองที่ยังคงมีความเชื่อเรื่องผีแบบความเชื่อดั้งเดิมดังนั้นจึงยังพบการปลงศพดังข้างต้นอยู่ การค้นพบหลุมฝังศพที่เวียงลอจึงสะท้อนให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนที่มีการรวมตัวกันเป็นบ้านเมืองขนาดเล็กหรือเป็นสังคมหมู่บ้านเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่มีผู้นำ และมีโครงสร้างและชั้นชนทางสังคม มีการติดต่อกับกลุ่มชนหรือเมืองอื่นๆ รวมถึงมีความเชื่อของตนเองที่เชื่อเรื่องผีอันเป็นศาสนาเก่าแก่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 จึ่งเริ่มมีการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเข้ามาในแอ่งที่ราบพะเยา ————————————————
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.43/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ทุกขฺอริยสจฺจ (ทุกขฺอริยสจฺจ)
ชบ.บ.86/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)
ชบ.บ.106ก/1-7ฆ
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.334/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 133 (359-369) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์(8หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๓๔๗ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี
ทรงได้รับการเฉลิมพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงศ์ พงอิศรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร” ทรงผนวชอยู่ในสมณเพศเป็นเวลา ๒๗ ปี จึงเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบราชสันตติวงศ์ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๔ เฉลิมพระปรมาภิไธย ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
รัชสมัยของพระองค์ ทรงครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจล้วนเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และบวรพระพุทธศาสนา ด้วยพระปรีชาอันสุขุมคัมภีรภาพ ทรงทราบในสรรพวิทยาอย่างแตกฉาน มีด้านอักษรศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นอาทิ ทรงดำเนินวิเทโศบายอย่างแยบคาย กับนานาอารยประเทศทั้งหลาย ด้วยการเจริญทางพระราชไมตรี ให้เสรีในด้านพาณิชย์ ก่อเกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในทางรัฐประศาสโนบาย ทรงออกกฎหมาย และประกาศนับร้อยฉบับ เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสังคมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น พระราชทานเสรีภาพแก่ประชาราษฎร ยังประโยชน์สุขและความเจริญเป็นอเนกประการ
ครั้นวันพฤหัสบดีขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ปีมะโรง สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ ได้ ๑๗ พรรษา ๕ เดือน ๒๙ วัน
ภาพ : พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช พร้อมด้วยพระราชโอรสและพระราชธิดา
ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live
รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์
ตอน “ขึ้นเขาพนมรุ้ง ชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ลอดช่องประตู”
วิทยากรโดย นายภาคภูมิ อยู่พูล หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา
นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์https://fb.watch/cJa-bsQros/
วันจันทร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และภาคีเครือข่ายด้านวัฒนธรรม ให้การต้อนรับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งนำชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์งาน ๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ อาทิ หนังสือเก่าหายาก โล่การยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาถิ่นดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย และผู้ใช้ภาษาไทยสร้างสรรค์ดีเด่น การประกวดเพลงเพชรในเพลง การสาธิตอ่านร้อยกรอง เป็นต้น
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน NLT Edutainment ปีที่ 5 ครั้งที่ 5 การเสวนาเรื่อง "ผู้หญิง สิงโต ไพ่ทาโรต์ และวรรณกรรม: กรณีศึกษาไพ่พละกำลัง (Strength)" วิทยากรโดย อ.มิ่ง ปัญหา และ ดร.รวิตะวัน โสภณพนิช คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00-15.00 น. ณ โถงกลาง ชั้น 1 และยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live : National Library of Thailand และ YouTube : National Library of Thailand (หอสมุดแห่งชาติ)
การเดินทางรอบโลก
ตอนประเทศสยาม
เขียนโดย
เลอ กงต์ เดอ โบวัวร์
(Le Comte de BEAUVOIR)
นางวรสุลีศรี ส่งเจริญ
แปลและเรียบเรียง
(ฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม)
กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่
พุทธศักราช ๒๕๖๕