ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,822 รายการ

ชื่อผู้แต่ง         พระธรรมวโรดม (เซ่ง) ชื่อเรื่อง          บทสวดมนต์แปลและแบบไหว้พระสวดมนต์ของศิษย์วัด สำนักวัดราชาธิวาสวิหาร ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      ธนะการพิมพ์ ปีที่พิมพ์         ๒๕๐๓ จำนวนหน้า     ๘๒ หน้า หมายเหตุ       พิมพ์แจกเนื่องในงานบำเพ็ญกุศลอัฐิ นายเนื่อง สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ๒๒ เมษานา พ.ศ. ๒๕๐๓ ณ วัดภูผาภิมุข จังหวัดพัทลุง                    หนังสือบทสวดมนต์แปลและแบบไหว้พระสวดมนต์ของศิษย์วัด สำนักวัดราชาธิวาสวิหาร เล่มนี้ พิมพ์เพื่อให้ศิษย์ในวัดและคนภายนอกใช้สวด เพื่อรักษาต้นฉบับเดิมของวัดราชาธิวาสวิหาร และใช้สวดต่อทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็น เวลาละ ๑ บท  


เลขทะเบียน : นพ.บ.144/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 87 (362-367) ผูก 13 (2564)หัวเรื่อง : ติโลกวินิจฺฉย (พระไตรโลกวินิจฉัย)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


      แผ่นดินเผาภาพบุคคลฟ้อนรำ       แผ่นดินเผาประติมากรรมนูนต่ำ ทำเป็นรูปบุคคล (บุรุษ) ยืนเอียงสะโพก ขาซ้ายเหยียดตรง ขาขวางอ ปลายเท้าแยกออกทางด้านข้าง แขนขวายกงอขึ้นจีบเป็นวงชิดใบหู และแขนซ้ายเหยียดโค้งพาดกลางลำตัวมือจีบเป็นวงชี้ลงเบื้องล่าง ซึ่งท่าทางดังกล่าวคล้ายกับท่ารำ ที่เรียกว่า “กริหัสตะกะ” (ท่างวงช้าง) หรือ “ลลิตะ” (ท่าเยื้องกราย)        ภาพบุคคลดินเผาชิ้นนี้ ประดับตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับหลายชิ้น ศีรษะสวมศิราภรณ์ (เครื่องประดับศีรษะ) เป็นกระบังหน้าที่ประกอบด้วยตาบสามเหลี่ยมคล้ายใบไม้ ๓ ตาบ มีร่องรอยตาบสามเหลี่ยมซ้อนอยู่อีกหนึ่งชั้นด้านหลัง บริเวณต้นแขนทั้งสองข้างสวมพาหุรัดรูปตาบสามเหลี่ยมคล้ายกับที่ศิราภรณ์ นอกจากนี้ยังสวมตุ้มหูและสร้อยคอ ที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องประดับที่พบได้ทั่วไปในประติมากรรมที่พบจากเมืองโบราณสมัยทวารดี นุ่งผ้าโจงกระเบนสั้นเหนือเข่า ที่ด้านหน้ามีชายผ้ารูปหางปลา ๒ ชั้น         การประดับตาบสามเหลี่ยมเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะปาละของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) และส่งอิทธิพลให้กับดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ร่วมสมัยกันอย่างกว้างขวาง เช่น พุกาม ชวา และจาม เป็นต้น ภาพบุคคลฟ้อนรำชิ้นนี้ จึงอาจจะได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรม มาจากศิลปะปาละโดยตรง หรืออาจรับผ่านดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะปาละอีกทอดหนึ่ง ก็เป็นได้        อย่างไรก็ตามภาพบุคคลฟ้อนรำชิ้นนี้มีการลดทอนรายละเอียดของตาบรูปสามเหลี่ยมตามแบบศิลปะปาละลงอย่างมาก จนเหลือเพียงลักษณะของการใช้เครื่องมือปลายแหลมกรีดให้เป็นเครื่องประดับรูปสามเหลี่ยมเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าคงสร้างด้วยฝีมือช่างท้องถิ่น เมื่อพิจารณารูปแบบศิราภรณ์รูปตาบสามเหลี่ยมแล้ว ภาพบุคคลชิ้นนี้จึงน่าจะสร้างขึ้นหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา        การแสดงออกถึงฝีมือช่างท้องถิ่นทวารวดีในภาพบุคคลชิ้นนี้ ยังปรากฏบนลักษณะใบหน้าที่มีคิ้วต่อเป็นปีกกา ริมฝีปากหนาแบะ ตาโปน และจมูกใหญ่ ยังแสดงให้ถึงรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดีอย่างแท้จริงเช่นกัน นอกจากนี้ชายผ้านุ่งที่เป็นรูปหางปลา ๒ ชายซ้อนกันยังชวนให้นึกถึงศิลปะเขมร ซึ่งร่วมสมัยกับทวารวดีตอนปลาย โดยเริ่มเข้ามาบทบาทในศิลปะทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ การกำหนดอายุจากชายผ้านุ่งจึงสอดคล้องกับการกำหนดอายุจากเครื่องประดับศิราภรณ์ข้างต้น ดังนั้นภาพบุคคลชิ้นนี้จึงควรสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖ (ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว)   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕. เชษฐ์ ติงสัญชลี. บทบาทของศิลปะอินเดียต่อเครื่องแต่งกายประติมากรรมบุคคลในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๒.  พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,     ๒๕๖๒. สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙.


          เมื่อมีการแบ่งปัตตานีออกเป็น ๗ เมืองคือ ปัตตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก รามันห์ ระแงะ ยะลา ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๒ แล้ว ได้มีการแต่งตั้ง “พระยาเมือง” สำหรับปกครองเมืองต่างๆ ในครั้งนั้นนิดะห์หรือนิอาดัส ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสายบุรี ตั้งวังอยู่ที่บือแนกาเต็ง ตำบลบ้านยือรีงา(ยี่งอ)ริมแดนต่อพรมแดนเมืองระแงะ ซึ่งในปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณตลาดยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส วังแห่งนี้ใช้เป็นที่ว่าราชการเมืองต่อมาทั้งในสมัยพระยาสายบุรี(นิละไบ หรือนิรามาย หรือตนกู ยาลารุดดิน) เจ้าเมืองสายบุรีคนที่ ๒ และพระยาสายบุรี (นิกัลซิห์ หรือตนกูอับดุลกอเดร์) เจ้าเมืองสายบุรีคนที่ ๓           ครั้นถึงราว พ.ศ.๒๔๑๔ พระยาสุริยสุนทรบวรภักดีศรีมหารายาปัตตมอับดุลวิบูลย์ขอบเขตรประเทศมลายูวิเศษวังษา(นิแปะหรือตนกูอับดุลมูตอลิบ) เจ้าเมืองสายบุรีคนสุดท้าย ได้ย้ายที่ว่าราชการเมืองมายังเชิงเขาสลินดงบายู ในเขตตำบลตะลุบัน และได้สร้างวังเจ้าเมืองสายบุรีขึ้นใหม่ในพ.ศ.๒๔๒๘ โดยใช้สถาปนิกชาวชวาและช่างท้องถิ่นใช้เวลาก่อสร้าง ๑ ปี           กล่าวกันว่าลักษณะของวังแห่งนี้เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงลีมะห์(ปั้นหยา)มุงด้วยกระเบื้องดินเผา และมีการสร้างกำแพงด้วยหินล้อมรอบเขตวังเอาไว้ ปัจจุบันตัวอาคารภายในวังพระยาสายบุรีที่ยี่งอได้พังทลายลงจนหมดแล้ว และคงเหลือเพียงร่องรอยกำแพงวังที่ก่อด้วยหิน แต่ยังมีชิ้นส่วนของบานประตู ไม้ฝา และแผ่นหินขั้นบันได จัดแสดงให้ชมได้ที่ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ในบริเวณใกล้ที่ทำการเทศบาลตำบลยี่งอ -------------------------------------------------------ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ-------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ  กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา-------------------------------------------------------


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.14/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ผสมผสาน ชื่อผู้แต่ง : พิทยาลงกรณ์, กรมหมื่น ปีที่พิมพ์ : 2502 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ผดุงศึกษา จำนวนหน้า : 400 หน้า สาระสังเขป : เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมเรื่องราวต่างๆที่กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2483 ประกอบด้วย การใช้รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส อุปถัมภ์ศิลปะ กฎหมายเป็นกลางของ ส.ป.ร ภัยสามชนิด การเปรียบเทียบประชาธิปัตย์อดีตกับปัจจุบัน เป็นต้น


     พระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ      พบจากเมืองโบราณอู่ทอง      ศิลปะศรีวิชัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว)      จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง      ประติมากรรมสำริดรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  สูงประมาณ ๒๓.๕ เซนติเมตร เกล้าพระเกศาทรงสูงทรงชฎามงกุฎ มีพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ ซึ่งหมายถึง พระธยานิพุทธเจ้าอมิตาภะ ประทับอยู่ที่ด้านหน้ามวยผม พระหัตถ์ขวาทรงถืออักษมาลา (ลูกประคำ) พระหัตถ์ซ้ายทรงถือปัทม (ดอกบัว) และกลศ (หม้อน้ำ) มีสายยัชโญปวีตพาดที่พระอังสาซ้าย นุ่งผ้าโธตียาว ประทับยืนบนฐานทรงกลม จากรูปแบบศิลปกรรมแบบศรีวิชัย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) นอกจากนี้ ที่เมืองโบราณอู่ทอง ยังพบส่วนเศียรพระโพธิสัตว์อีก  ๒ ชิ้น และยังมีการพบประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ในเมืองโบราณวัฒนธรรมทวารวดีอีกหลายแห่ง เช่น เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น       พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเป็นพระธยานิโพธิสัตว์องค์หนึ่งในพุทธศาสนานิกายมหายาน กำเนิดจากพระธยานิพุทธอมิตาภะ พระองค์ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวาง เนื่องจากทรงเป็นผู้คุ้มครองพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน (ภัทรกัลป์) รูปเคารพของพระองค์มักแต่งองค์อย่างนักบวช กล่าวกันว่าทรงมีรูปแบบถึง ๑๐๘ และมีหลายพระนาม เช่น อวโลกิเตศวร ปัทมปาณิ โลเกศวร โลกนาถ มหากรุณา เป็นต้น เชื่อว่าอาภรณ์เครื่องประดับอันงดงามของพระองค์บ่งถึงสภาวะแห่งความงาม ความสุขอันอุดม พระมหากรุณาของพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์อำนาจ นำผู้คนที่กราบไหว้บูชาพระองค์ไปสู่สวรรค์ หรือนิพพานพร้อมพระองค์       ถึงแม้ว่าพุทธศาสนานิกายเถรวาทจะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในวัฒนธรรมทวารวดี แต่การพบรูปพระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในเมืองโบราณอู่ทอง และมีรูปแบบศิลปกรรมแบบศรีวิชัย ที่เจริญรุ่งเรืองบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ แสดงถึงความเชื่อในพุทธศาสนานิกายมหายานที่แพร่หลายเข้ามาในวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชุมชนชาวพุทธนิกายมหายานจากรัฐศรีวิชัย อนึ่ง ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ดังกล่าวมีขนาดเล็ก  จึงอาจเป็นการนำติดตัวของผู้ที่เดินทางมาจากดินแดนแถบคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย เข้ามายังเมืองโบราณอู่ทองในช่วงเวลาดังกล่าว ก็เป็นได้        เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๐. นันทนา ชุติวงศ์. “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร – ที่สุดแห่งมหากรุณาบารมี”, เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ วิชชาแห่งบูรพา พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓. ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย,๒๕๔๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.  


           กรมศิลปากรได้เปิดห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งดำเนินงานบูรณะพร้อมการจัดแสดงห้องต่างๆ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓ ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบบนผืนแผ่นดินไทย หลัง พ.ศ. ๑๘๐๐ เป็นต้นมา อันเป็นช่วงเวลาของการก่อกำเนิดบ้านเมืองขนาดใหญ่ระดับรัฐ หรืออาณาจักรในแต่ละภูมิภาค โดยจัดแสดงโบราณวัตถุรวม ๙๑๘ รายการ แบ่งเป็น            -ห้องล้านนา นำเสนอเรื่องราวอาณาจักรที่ พญามังราย สถาปนาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ โดยมีศูนย์กลาง อยู่ที่เมืองเชียงใหม่ โบราณวัตถุสำคัญ อาทิ ศิลปโบราณวัตถุประเภทเครื่องพุทธบูชา ที่พบจากวัดร้างในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และหลวงพ่อนาก พระพุทธรูปซึ่งพระยายุธิษฐิระ เจ้าเมืองพะเยาเป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๙          -ห้องสุโขทัย จัดแสดงความรุ่งเรืองของรัฐขนาดใหญ่นามว่า สุโขทัย แห่งราชวงศ์พระร่วง ซึ่งสถาปนา เมื่อ พ.ศ. ๑๗๙๒ โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่จัดแสดงในห้องนี้คือ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ สมัยพ่อขุนรามคำแหง          -ห้องกรุงศรีอยุธยา นับจากการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ ปรากฏโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เป็นประจักษ์พยานสำคัญถึงความรุ่งเรืองมั่นคงทางการเมืองการปกครอง ความเจริญทางเศรษฐกิจ และความรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา เป็นรากฐานให้กับศิลปกรรมรัตนโกสินทร์ซึ่งพัฒนาต่อมาเป็นศิลปะประจำชาติไทยในปัจจุบัน โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ อาทิ ธรรมาสน์สังเค็ด วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี และตู้พระธรรมวัดเซิงหวาย ซึ่งมีลวดลายรดน้ำปิดทองประณีตงดงามเป็นเลิศ           -ห้องกรุงธนบุรี – รัตนโกสินทร์ตอนต้น โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ อาทิ พระแท่นของสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช พระเก้าอี้พับของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งทรงใช้ในยามราชการสงคราม ฉากลับแลลายกำมะลอเรื่องอิเหนา เป็นต้น          -ห้องกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงตระหนัก ถึงความสำคัญของการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาชาติ จึงทรงส่งราชทูตไปยังราชสำนักชาติมหาอำนาจตะวันตก ทรงวางรากฐานในการยอมรับศิลปวิทยาการสมัยใหม่ และนำมาพัฒนาให้สังคมไทยมีความทันสมัยเช่นสากล จากการติดต่อกับต่างชาติตะวันตกโดยเฉพาะยุโรป อเมริกา การสร้างสรรค์งานศิลปกรรมจึงมีอิทธิพลตะวันตกเพิ่มขึ้นโดยลำดับ ทั้งนี้ สถาบันศาสนาและพระมหากษัตริย์ นอกจากเป็นศูนย์รวมจิตใจคนไทย ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีของชาติ ที่เป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยไว้ได้จนถึงปัจจุบัน โบราณวัตถุสำคัญที่จัดแสดงในห้องนี้ อาทิ ลูกโลกและรถไฟจำลอง สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ พระโธรน พระราชอาสน์สำหรับประทับให้ข้าราชการยืนเข้าเฝ้า ซึ่งสร้างขึ้นเป็นองค์แรกใน พ.ศ. ๒๔๑๖          ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมโฉมใหม่ของห้องนิทรรศการถาวรภายในอาคารประภาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้ทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร





ชื่อเรื่อง                         มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (วิธูรบัณฑิต)สพ.บ.                           407-5หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    66 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                        นิสัยพุทธา (นิไสพุทธา)     สพ.บ.                           409/1 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ภาษา                           บาลี/ไทยอีสาน หัวเรื่อง                         พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ                   52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.8 ซม.  บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี    




Messenger