ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,821 รายการ
ธนิต อยู่โพธิ์. พระพุทธรูปศิลาขาว สมัยทวารวดี. พระนคร : กรมศิลปากร, 2510.
หนังสือพระพุทธรูปศิลาขาว สมัยทวารวดีเล่มนี้ กล่าวถึงพระพุทธรูปศิลาขาวสมัยทวารวดี ณ วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ปางประทานปฐมเทศนา นักปราชญ์ทางโบราณคดียกย่องว่า พระพุทธองค์นี้มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมาก เพราะเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี มีอายุกว่าพันปีมาแล้ว
ผู้แต่ง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 6
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ : ศิวพร
ปีที่่พิมพ์ : 2510
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสัมฤทธิ์ สุขประยูร
ตำนานพระพุทธเจดีย์
ตำนานพระพุทธเจดีย์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับว่าด้วยมูลเหตุที่เกิดพระพุทธเจดีย์ ว่าด้วยประวัติพุทธเจดีย์ สมัยแรกพระพุทธศาสนาเป็นประธานของประเทศว่าด้วยมูลเหตุที่เกิดสร้างพระพุทธรูป ว่าด้วยพระพุทธเจดีย์สมัยคุปตะ ว่าด้วยพุทธเจดีย์ของพวกมหายาน ว่าด้วยพุทธเจดีย์ในนานาประเทศ ว่าด้วยพระพุทธศาสนาในประเทศสยาม และว่าด้วยพุทธเจดีย์ในสยามประเทศ
เล่าเรื่องประติมานวิทยา: วัชรหุงการมุทรา/วัชรหูงการมุทร(Vajrahuṅkāramudrā/Vajrahūkāramudrā) มุทรา (mudrā) คือ การทำเครื่องหมายด้วยมือและนิ้วมือทั้งสิบนิ้ว หรือนิ้วใดนิ้วหนึ่ง ในลักษณะต่าง ๆ โดยแสดงด้วยมือข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ซึ่งสื่อความหมายตามบัญญัติ ใช้เป็นท่าทางการแสดงสัญลักษณ์ทางพิธีกรรมทั้งในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู มีบัญญัติไว้เป็นจำนวนมากหลายร้อยภาค มุทราแต่ละท่าจะแฝงนัยความหมายทางจิตวิญญาณที่แตกต่างกันไปตามประติมานวิทยา และการฝึกจิตที่พบในศาสนาแบบอินเดีย วัชรหุงการ (Vajrahuṅkāra) หรือ วัชรหูงการ (Vajrahūkāra) เป็นท่ามือแห่งพยางค์ “หูม” (hūṁ) ในพุทธศาสนาลัทธิตันตระ แสดงโดยไขว้ข้อมือทั้งสองระหว่างอก มือขวาถือวัชระ (vajra) มือขวาถือกระดิ่ง (ฆัณฎา-ghaṇṭā) นานครั้ง ๆ จึงปรากฏว่าถือสัญลักษณ์อื่น มือทั้งสองหันเข้าด้านใน หากหันฝ่ามือออก เรียกว่า ไตรโลกยวิชัยมุทรา (trilokyavijayamudrā) มุทรานี้เป็นสัญลักษณ์ของการตรัสรู้ การหลุดพ้นจากกิเลส นอกจากนี้ยังกล่าวว่า หมายถึงการผสานรวมกันเข้าระหว่างปรัชญา (prajñā) และอุปาย (upāya) เป็นลักษณะของสมันตภัทร (Samantabhadra) สัมวระ (Samvara) ไตรโลกยวิชัย (Trailokyavijaya) วัชรธร (Vajradhara) วัชรหุงการ (Vajrahuṅkāra) และยิดัม (yi-dam) ภาพประกอบ 1. ลายเส้นแสดงวัชรหุงการมุทรา ภาพโดยนางกิริยา ชยะกุล สิทธิวัง นักวิชาการช่างศิลป์ กองโบราณคดี ภาพประกอบ 2. พระวัชรธร 4 กร 2กรหน้าแสดงวัชรหุงการมุทรา ศิลปะทิเบต พุทธศตวรรษที่ 20-21 ภาพจาก Asian Art Museum --------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล: นางเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาพลายเส้น: นางกิริยา ชยะกุล สิทธิวัง นักวิชาการช่างศิลป์ กองโบราณคดีอ้างอิงจาก 1. Liebert, Gosta. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976.
ชื่อเรื่อง : คัมภีร์ลลิตวิสตระ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน
ชื่อผู้แต่ง :
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 722 หน้า
สาระสังเขป : ลลิตวิสตระ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มหานิทาน เป็นหนังสือทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ว่าด้วยเรื่องพระพุทธประวัติ ชีวประวัติ และงานของพระพุทธเจ้า ตามเนื้อเรื่องระบุว่าเป็นพระธรรมเทศนาที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธ โดยมีพระอานนท์เป็นผู้ที่นำพระธรรมเทศนานี้มาเผยแพร่ เนื้อหาแบ่งออกเป็น 27 บท เดิมเป็นภาษาสันสกฤต และได้นำมาแปลเป็นภาษาไทยโดย แสง มนวิทูร
ชื่อหนังสือ พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
องค์ความรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ภูเก็ตที่คุณอาจไม่เคยรู้ ตอน การสำรวจเกาะโดยชาวตะวันตกช่วงกลางศึกถลาง จัดทำข้อมูลโดย : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
ด้วยตระหนักในความสำคัญของเหตุการณ์ที่สทควรจดบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุความทรงจำของประเทศ กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จดบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี และจัดพิมพ์เป็นกนังสือจดหมายเหตุประเทศไทยประจำปี เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน อันถือเป็นการสร้างสรรค์และสืบสานองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของประเทศเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าสืบไป
ชื่อเรื่อง ปฐมสมโพธิ (ปฐมสมโพธิเผด็จ)สพ.บ. 140/28ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 66 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง พระพุทธเจ้า พุทธศาสนา วรรณกรรมพุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดศรีบัวบาน อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อผู้แต่ง พระธรรมวโรดม (เซ่ง)
ชื่อเรื่อง บทสวดมนต์แปลและแบบไหว้พระสวดมนต์ของศิษย์วัด สำนักวัดราชาธิวาสวิหาร
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ ธนะการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๓
จำนวนหน้า ๘๒ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์แจกเนื่องในงานบำเพ็ญกุศลอัฐิ นายเนื่อง สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ๒๒ เมษานา พ.ศ. ๒๕๐๓ ณ วัดภูผาภิมุข จังหวัดพัทลุง
หนังสือบทสวดมนต์แปลและแบบไหว้พระสวดมนต์ของศิษย์วัด สำนักวัดราชาธิวาสวิหาร เล่มนี้ พิมพ์เพื่อให้ศิษย์ในวัดและคนภายนอกใช้สวด เพื่อรักษาต้นฉบับเดิมของวัดราชาธิวาสวิหาร และใช้สวดต่อทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็น เวลาละ ๑ บท