ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,821 รายการ

            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ เชิญพบกับ "วัชรฆัณฏา" กระดิ่งยอดวัชระ              โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ กับ "วัชรฆัณฏา" กระดิ่งยอดวัชระ ขนาดสูง ๑๑.๕ ซม. กว้าง ๕.๗ ซม. ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ รูปทรงระฆัง  มีด้ามจับเป็นปล้องคล้ายลูกมะหวด ยอดเป็นรูปวัชระ ๕ แฉก ตกแต่งเส้นขีดรอบปาก ลูกตุ้มด้านในหายไป พบในจังหวัดสุพรรณบุรี นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับ “วัชระ Vajra” หมายถึง สายฟ้า มีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถทำลายได้ทุกสิ่ง แต่ไม่มีสิ่งใดทำลายวัชระได้ และยังหมายถึง เพชร ได้เช่นกัน ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนา สกุลวัชรยานวัชระอาจเป็นตัวแทนของความกรุณา คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย และความรู้เกี่ยวกับ “ฆัณฎา Ghanda หมายถึง กระดิ่ง เป็นวัตถุที่ให้เสียงสะท้อนก้องไปทั่วทุกทิศ ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนา สกุลวัชรยาน ฆัณฏาอาจเป็นตัวแทนของปัญญา คือ นางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง             ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "วัชรฆัณฏา" กระดิ่งยอดวัชระ ได้ในเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร  ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


          หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ชวนร่วมสัมผัสเสน่ห์เมืองเก่าที่ยังคงเร้าใจ กับ 6 แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี และแหล่งค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่น แนะนำเส้นทางท่องเที่ยว : One Day Trip แหล่งข้อมูลสารสนเทศ บุคคลสำคัญในท้องถิ่น


            กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ตามรอยฝรั่ง เล่าความหลังเมืองพริบพรี (เพชรบุรี)” วิทยากร นางสาวนันทพร บรรลือสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, นางสาวปภัชกร ศรีบุญเรือง นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และนายเชิดพงศ์ สุทธิวงษ์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร            รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗


ชื่อเรื่อง                     ตายเกิด ตายสูญผู้แต่ง                       สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.3123 ต344สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์                    2492ลักษณะวัสดุ               48 หน้า หัวเรื่อง                     ความตายภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเรื่องตายแล้วเกิด หรือตายแล้วสูญ เป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว ดูก่อนจะพุทธกาลอีก ในบัดนี้ก็มีอยู่ และคงจะมีต่อไปอีกในอนาคต เรียกว่าเป็นปัญหาประจำโลกก็ได้ หมายความว่าตายแล้วสูญ บางคนเห็นว่าส่วนรูปกาย คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม หรือเติมอากาศเข้าด้วยเท่านั้น เป็นสำคัญเป็นใหญ่ ถ้าธาตุเหล่านั้นประชุมกันถูกต้องได้ส่วนก็เกิดวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร รวมเป็นนามแลรูป เป็นกายอันนี้ เมื่อธาตุเหล่านั้นสลายแยกจากกันไป วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขารก็ดับไป


         ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องบุคคล          - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)          - ปูนปั้น และดินเผา          - ขนาด กว้าง ๙๓ ซม. ยาว ๘๕ ซม. หนา ๕ ซม.          เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ด้านขวาของภาพเป็นรูปบุคคลทำด้วยปูนปั้น นั่งในท่ามหาราชลีลา ส่วนของศีรษะหักหายไป ด้านซ้ายของภาพเป็นรูปบุคคล ๒ คน ทำด้วยดินเผา ยืนชิดกัน คนที่อยู่ด้านขวาของภาพไว้ผมยาวถึงต้นคอ มือขวาถือสิ่งของคล้ายภาชนะทรงกลม ตอนบนเป็นรูปกรวยคว่ำ คนที่ยืนถัดมากอดอาวุธคล้ายดาบแนบกับอกด้   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40123   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


         พระปรางค์จำลอง          ลักษณะ : พระปรางค์จำลอง ลักษณะเนื้อแกร่ง ผิวสีส้มอมเหลือง ไม่เคลือบ สันนิษฐานว่าผลิตจากแหล่งเตาริมฝั่งแม่น้ำน้อย อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี (กรมศิลปากร, 2552, 126) รูปแบบของโบราณวัตถุชิ้นนี้สามารถนำไปเปรียบเทียบได้กับรูปแบบของเจดีย์ทรงปรางค์สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยนิยมย้อนกลับไปใช้ลักษณะบางประการของศิลปะอยุธยาตอนต้น ทั้งนี้ พระปรางค์จำลองชิ้นนี้มีรูปแบบส่วนเรือนธาตุเช่นเดียวกับกลุ่มเจดีย์ทรงปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่มักทำเป็นย่อมุม โดยที่มีรูปแบบที่มุมทุกมุมมีขนาดเท่ากันหมด และมีจำนวนมุมมากขึ้นกว่าสมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งพระปรางค์ชิ้นนี้ก็มีเรือนธาตุอยู่ในผังย่อมุมไม้ยี่สิบ ตัวเรือนธาตุเตี้ย ผนังเรือนธาตุสอบเข้าหากันเป็นเอกลักษณ์ของสมัยอยุธยาตอนปลาย เรือนธาตุประดับจระนำซุ้มทั้งสี่ด้าน มีลักษณะเป็นซุ้มเรือนแก้วอย่างอยุธยา ประดับลวดลายบริเวณตำแหน่งลายกรุยเชิงด้วยลายกระจังรูปใบโพธิ์กลับหัวลงอย่างอยุธยาปลาย          ส่วนยอดเป็นชั้นซ้อนกันในระบบคอดล่างผายบนซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น และเป็นระเบียบที่นิยมในเจดีย์ทรงปรางค์สมัยอยุธยาตอนปลาย เรือนชั้นซ้อนลดหลั่นกัน 4 ชั้น โดยไม่มีช่องวิมานและซุ้มวิมาน ขณะที่บรรพแถลงเริ่มเล็กลงเป็นแผ่น (ศักดิ์ชัย สายสิงห์, 2560, 561 – 564)          ข้อสังเกตประการหนึ่งคือพระปรางค์จำลองนี้เริ่มจากส่วนเรือนธาตุขึ้นไปจนถึงส่วนยอด อาจสันนิษฐานว่าแต่เดิมอาจมีส่วนฐานรองรับตัวเรือนธาตุที่สามารถถอดประกอบกันก็เป็นได้ เชื่อว่าคติในการสร้างพระปรางค์จำลองนี้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา          ขนาด : สูง 41 เซนติเมตร          ชนิด : ดินเผา          อายุ/สมัย : อยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 22 – 23          ประวัติ/ตำนาน : พบจากบริเวณวัดเชิงท่า (ร้าง) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีเมื่อวันที่ 3 กันยายน พุทธศักราช 2506   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=53013ท   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


ชื่อเรื่อง :  เรื่องพระปฐมเจดีย์ผู้แต่ง : เจ้าพระยาทิพากรวงษ์ปีที่พิมพ์ : ร.ศ.๑๒๘สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยจำนวนหน้า : ๖๘ หน้าเนื้อหา : หนังสือ เรื่องพระปฐมเจดีย์ ผู้เรียบเรียงคือ เจ้าพระยาทิพากรวงษ์ ฉบับหอสมุดวชิรญาณ พิมพ์ครั้งแรก สำหรับจำหน่ายที่พระปฐมเจดีย์ ร.ศ.๑๒๙ หน้าปกประกอบด้วยคาถาเยธมฺมาฯ อักษรคฤนห์ เนื้อหาประกอบด้วย เรื่องพระปฐมเจดีย์ / ตำนานพระปฐมเจดีย์ ฉบับพระยามหาอรรคนิกร แลฉบับนายทอง / ตำนานพระปฐมเจดีย์ ฉบับพระยาราชสัมภารากรแลฉบับตาปะขาวรอด เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๒๑๖๗เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๑๓หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ (ไฟล์ดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์เท่านั้น)


             หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ขอเชิญร่วมกิจกรรมพิเศษเนื่องในประเพณีวันสารทเดือน 10 “ภาพที่ใช่ คอมเมนต์โดนใจ” ชิงรางวัลเป็นหนังสือคอลเลคชันพิเศษ ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ที่ เฟซบุ๊ก เพจ The National Archives of Thailand, Songkhla หอจดหมายเหตุเเห่งชาติฯ สงขลา โดยมีกติกา ดังนี้              1. กดติดตามเฟซบุ๊ก เพจ The National Archives of Thailand, Songkhla หอจดหมายเหตุเเห่งชาติฯ สงขลา               2. กดถูกใจและกดแชร์โพสต์นี้ (ตั้งค่าเป็นสาธารณะ)  https://www.facebook.com/NatAtSongkhla/posts/pfbid02zffYPy5niJ4sCzMASbk6yiFeXztSDzA1GvbQRc1Sw6eDCXv8vzj7gkHKiZUKJ2kpl               3. โพสต์ภาพเก่า หรือภาพปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับประเพณีวันสารทเดือน 10 ใต้คอมเมนต์ของโพสต์นี้ https://www.facebook.com/NatAtSongkhla/posts/pfbid02zffYPy5niJ4sCzMASbk6yiFeXztSDzA1GvbQRc1Sw6eDCXv8vzj7gkHKiZUKJ2kpl พร้อมระบุสถานที่ และบอกเล่าความรู้สึกเกี่ยวกับประเพณีวันสารทเดือน 10              4. ร่วมสนุกกับกิจกรรมได้ตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 4 ตุลาคม 2567 เท่านั้น !!!



พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง เรือพระราชพิธี : www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges เรือพระราชพิธี  : The Royal Barges Of Thailand ราชยานสถิตตรึงตราพยุหยาตราชลมารค : A Legacy of Unforgettable Water-borne Procession        แผ่นดินไทยกอปรด้วยแม่น้ำลำธารน้อยใหญ่ ผูกร้อยชีวิต ชาวประชามาแต่บรรพกาล สืบสานกิจวัตร  และศรัทธาเนิ่นนาน หลักฐานโบราณคดีบ่งบอกวิถีเชี่ยวชาญการใช้แพ - เรือของผู้คน นับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จวบจนประวัติศาสตร์สมัยภาพวาดรูปเรือและชาวเรือบนผนังถ้ำ และผาหินริมฝั่งและบนเกาะแก่งน้อย - ใหญ่ ในภาคใต้ (500 ปีก่อนพุทธกาล) ภาพฝีพายร่วมกัน พายเรือยาวบนกลองมโหระทึก จากภาคตะวันตก  ภาคกลาง และภาคใต้ของไทย  (พุทธศตวรรษ ที่ 1 - 5)  ดินเผารูปเรือและคนบนเรือจากจังหวัดสงขลาในภาคใต้ (พุทธศตวรรษที่ 3 - 5)       ประติมากรรมปูนปั้นรูปคนพายเรือสองคน ซึ่งประดับฐานเจดีย์จุลประโทน นครปฐม ในภาคกลาง (พุทธศตวรรษที่ 12 - 13) และรูปการปรากฏองค์ของพระโพธิสัตว์เบื้องหน้าคนโดยสารสี่คน และ ฝีพายสองคนบนเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปเศียรนาคบนทับหลัง  ชิ้นหนึ่งของปราสาทพิมาย นครราชสีมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พุทธศตวรรษที่ 17) ฯลฯ ที่กล่าวมาทั้งปวงย่อมเป็นประจักษ์พยานภูมิปัญญาในวิถีชีวิตทางน้ำของผู้คนบนแผ่นดินนี้ หลักฐานจากศิลาจารึกและเอกสารบ่งบอกว่าราชอาณาจักรสุโขทัย ในลุ่มน้ำภาคกลางตอนบนซึ่งสถาปนาขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 และดำเนินสืบต่อมาประมาณ 200 ปี ปรากฏการใช้กระบวนเรือหลวงเพื่อต้อนรับพระภิกษุที่จาริกกลับจากเกาะลังกาและมีการประกอบพระราช พิธีบางอย่างที่ใช้เรือหลวง กล่าวได้ว่ามี “เรือพระราชพิธี” นับแต่บัดนั้นในสมัยราชอาณาจักรอยุธยา (พุทธศักราช 1893 ถึง 2310) ปรากฏหลักฐานการดัดแปลงเรือรบ  มาเป็นเรือหลวงเพื่อเป็นพระราชยานการเสด็จฯ ทางน้ำ (พยุหยาตราชลมารค) และใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา        โดยทั่วไปแล้วการใช้เรือหลวงในสมัยราชอาณาจักรอยุธยาเพื่อ "การพยุหยาตราชลมารค" ซึ่งมีความหมายว่าการสัญจรทางน้ำโดยใช้เรือ เป็นพาหนะในภารกิจของพระเจ้าแผ่นดิน   พร้อมด้วยผู้ติดตามเป็นขบวนจำนวนหนึ่งเช่นนี้เป็นไปตามราชประเพณี พระราชพิธีหรือรัฐพิธีสำคัญ 3 กรณี ได้แก่ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทที่สระบุรี และพระราชพิธีเนื่องด้วยพระบรมศพหรือพระศพ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินนั้น     เป็นการเสด็จพระราชดำเนินทางเรือไปยังพระอารามหลวงเพื่อถวาย ผ้าพระกฐินพร้อมเครื่องบริวารพระกฐินในช่วงการออกพรรษาตามขนบ  ประเพณีของพุทธศาสนิกชนฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย หลักฐานเอกสารที่บอกถึงการเสด็จพระราชดำเนินโดยชลมารคเพื่อถวายผ้าพระกฐินที่เก่าแก่ปรากฏในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พุทธศักราช 2173 - 2202) กล่าวว่ามีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือหลวง หรือ “เรือพระที่นั่งกิ่ง” จำนวนมากเพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน        อย่างไรก็ดีเอกสารสมัยกรุงศรีอยุธยาคือ “คำให้การชาวกรุงเก่า” กล่าวว่า ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พุทธศักราช 2153 - 2171) มีรับสั่งให้เอากิ่งดอกเลาประดับเรือพระที่นั่ง ต่อมาภายหลังพนักงานจึงเขียนลายกิ่งไม้ประดับไว้ที่หัวเรือ โปรดเกล้าฯ ให้เรียกเรือชนิดนั้นว่า “เรือพระที่นั่งกิ่ง” ถือเป็นเรือชั้นสูงสุด  พระราชพิธีเสด็จฯ ไปนมัสการพระพุทธบาทที่สระบุรีโดยชลมารค เริ่มขึ้นนับแต่การพบรอยพระพุทธบาท  ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ส่วนพระราชพิธีเนื่องด้วยพระบรมศพหรือพระศพปรากฏหลักฐานว่าในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พุทธศักราช 2231 - 2246) มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดกระบวนเรือพระราชพิธีนำพระบรมศพสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจากเมืองลพบุรีกลับมายังพระนครศรีอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนปลาย กระบวนเรือพระราชพิธีนอกจากใช้ในการแห่พระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและสมเด็จพระราชินีแล้ว  ยังใช้ในการแห่พระอัฐิและพระอังคารของทั้งสองพระองค์อีกด้วย        พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวถึงชื่อเรือหลวง (เรือพระที่นั่งกิ่ง) ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พุทธศักราช 2091 - 2112) เช่น ชัยสุพรรณหงส์ ศรีสุพรรณหงส์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พุทธศักราช 2133 - 2146) เช่น สุพรรณวิมานนาวา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) เช่น อลงกตนาวาศรีสมรรถไชย พระครุฑพาหนะ ชลวิมานกาญจนบวรนาวานพรัตนพิมานกาญจนอลงกตมหานาวาเอกชัยและจิตรพิมานกาญจนมณีศรีสมรรถชัย    ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พุทธศักราช 2231 - 2246) เช่น ไกรสรมุขพิมาน และในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ (พุทธศักราช 2245 - 2252) เช่น มหานาวาท้ายรถ        เมื่อวิเคราะห์ตามความหมายของชื่อเรือหลวง  ซึ่งเป็นพระราชยานข้างต้น กล่าวได้ว่า น่าจะตั้งให้สอดคล้องกับรูปลักษณ์ของเรือ ทั้งการตกแต่งโขนเรือ ที่สลักเป็นรูปหงส์ ครุฑ ราชสีห์ (ไกรสร) พระราชโองการในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงให้ช่างศิลป์วาดภาพเรือพระราชพิธีใน “ริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค” ไว้ที่ผนังพระอุโบสถวัดยมในพระนครศรีอยุธยา นับเป็นคุณูปการที่ทำให้ความรู้เรื่องเรือพระราชพิธีในสมัยอยุธยาเป็นที่ประจักษ์ แม้ว่าภาพเขียนบนผนังนี้จะลบเลือนไปเกือบหมด แต่ได้มีการคัดลอกลงไว้ในสมุดไทยในปีพุทธศักราช 2440 และเก็บรักษาไว้ในหอสมุดแห่งชาติ ที่กรุงเทพมหานคร จากสมุดภาพริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารคนี้ทำให้ทราบถึงรูปลักษณ์ของเรือ ชื่อเรือ ตลอดจนชื่อบุคคลหรือขุนนางที่มีตำแหน่งประจำอยู่ในเรือแต่ละลำ ปรากฏชื่อเรือจำนวน 113 ชื่ออยู่ในสมุดไทยนี้ นับแต่นั้นมา คำว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค (กระบวน = แถวแนวตามแบบแผน พยุห = หมู่, กอง ยาตรา = การเดินทาง ชล = น้ำ มารค = วิถี/ทาง) เป็นที่ทราบกันดีว่า  หมายถึงการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำด้วยเรือพระที่นั่งที่มีเรือตามเสด็จฯ พร้อมพระราชวงศ์ ขุนนาง และข้าราชบริพารเป็นกระบวนยาวไปตามแม่น้ำ        สิ่งที่น่าสนใจยิ่งในภาพสมุดภาพฯ เล่มนี้คือ การจัดริ้วกระบวนเรือ ซึ่งนับได้ว่าเป็นกระบวนเสด็จพยุหยาตราชลมารคครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และได้รับการบันทึกไว้โดยชาวยุโรปเป็นภาพวาดกระบวนเรือพระราชพิธีซึ่งต่อมานำมาลงพิมพ์ไว้ในหนังสือของบาทหลวงตาชาร์ด เรื่อง “การเดินทางไปสู่สยามของบาทหลวงคณะเยซูอิต” (พุทธศักราช 2229) และจากการบันทึกเรื่อง “ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม” (พุทธศักราช 2224 - 2228) ของนิโกลาส์ แชรแวส นักเดินทางชาวฝรั่งเศสที่ติดตามคณะบาทหลวงเข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยาและได้พรรณนาประสบการณ์การเฝ้ามองกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคเคลื่อนคล้อยไปตามลำน้ำ ประกอบด้วยเรือ ไม่น้อยกว่า 250 ลำ ล้วนตกแต่งวิจิตรอลังการ นับเป็นปรากฏการณ์ตรึงตราน่าตื่นตะลึงยิ่งในครั้งนั้น        อย่างไรก็ตามชื่อเรือพระที่นั่ง    และเรือต่างๆ   ในริ้วกระบวนพยุหยาตรา  แต่ครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตามหลักฐานข้างต้น    แตกต่างอยู่มากกับชื่อเรือพระที่นั่งและเรือต่างๆ ที่ปรากฏในริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พุทธศักราช 2325 จนถึงปัจจุบัน) เมื่อตรวจสอบหลักฐานจากวรรณกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงพบว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีกวีแห่งราชสำนักคือพระศรีมโหสถ ได้แต่งบทกวีที่ใช้ในการเห่เรือในการเสด็จพยุหยาตราชลมารค ชื่อ “โคลงนิราศนครสวรรค์” ขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2201 และในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พุทธศักราช 2275 - 2301) ปรากวรรณกรรมกาพย์ห่อโคลงของจินตกวีเอกแห่งสยามผู้มีผลงานตรึงใจ คือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐาสูริยวงษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศบทพระราชนิพนธ์นี้ กล่าวถึงกระบวนเรือในการเสด็จพยุหยาตราชลมารค ความพรรณนาที่ปรากฏในกาพย์ห่อโคลงนับเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญ กล่าวคือ ชื่อเรือพระที่นั่งและเรือหลวงในกระบวนพยุหยาตรา ตลอดจนรูปลักษณ์ของเรือบางลำ เป็นเค้ามูลที่ชวนให้นึกถึงเรือพระที่นั่งและเรือหลวงบางลำ  ที่ปรากฏในปัจจุบันอันมีความพ้องกันในชื่อและรูปลักษณ์        นอกจากนั้น กาพย์บางตอนยังกล่าวถึงการร้องเห่เรือของฝีพายและท่วงทำนองดนตรีที่ให้จังหวะในการพาย เช่น “พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา” และ “ดนตรีมี่อึงอล ก้องกาหลพลแห่โหม โห่ฮึกครึกครื้นโครม โสมนัสชื่นรื่นเริงพล” กาพย์ห่อโคลงของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศฯให้อิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างสรรค์งานนิพนธ์ที่ใช้ในการเห่เรือหรือบทชมกระบวนเรือในช่วงเวลาต่อมาจวบจนปัจจุบัน  ในสมัยรัตนโกสินทร์ ปรากฏกวีนิพนธ์จำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนพยุหยาตราชลมารค รวมถึงบทนิพนธ์ที่ใช้ในการเห่เรือ เช่น (1) ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง โดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน) (พุทธศักราช 2340) (2) ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคแลทางชลมารค โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พุทธศักราช 2387) (3) โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ (พุทธศักราช 2418 - 2428) (4) กาพย์เห่เรือ โดยพระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ(พุทธศักราช 2475) (5) กาพย์เห่เรือฉลอง 25 พุทธศตวรรษ โดยนายหรีด เรืองฤทธิ์ (พุทธศักราช 2500) (6) กาพย์เห่เรือกระบวนพยุหยาตราอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตร โดยท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา (พุทธศักราช 2525) (7) กาพย์แห่เรือชมพระราชพิธีเสด็จทางชลมารค โดยนายภิญโญ ศรีจำลอง (พุทธศักราช 2525) (8) กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยคุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ (พุทธศักราช 2531) และ (9) กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ โดยนาวาเอกทองย้อย  แสงสินชัย (พุทธศักราช 2555) เรือพระที่นั่งสร้างด้วยไม้ แบ่งได้เป็นสองประเภทได้แก่ เรือทอง และ เรือไม้เรือไม้ เป็นเรือที่สร้างขึ้นจากไม้ที่ใช้สร้างเรือทั่วไป สำหรับใช้เป็นเรือพระที่นั่งในการเสด็จฯส่วนพระองค์หรือใช้สอยในพระราชภารกิจทั่วไป ขณะที่ เรือทอง สร้างขึ้นจากไม้ที่คัดเลือกเป็นพิเศษและแกะสลักลวดลายตกแต่งลงรักปิดทอง เรือทองจึงใช้ในพระราชภารกิจที่สำคัญ หรือราชการสำคัญ เช่น งานพระราชพิธี หรือรัฐพิธี เป็นต้นว่า เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน นับจากรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี (พุทธศักราช 2310 - 2324) จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พุทธศักราช 2468 - 2477) ริ้วกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคเคลื่อนไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาปรากฏสู่สายตาประชาชนไม่มากนัก  ส่วนใหญ่กระบวนเรือพยุหยาตราใช้ในพระราชพิธี หรือ รัฐพิธี ดังต่อไปนี้   (1) พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ปรากฏในพุทธศักราช 2325, 2326, 2344, 2394, 2410 และทุกปีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พุทธศักราช 2411 - 2453)   (2) พระราชพิธีแห่พระพุทธรูปที่อัญเชิญจากพระอารามแห่งหนึ่งไปประดิษฐาน ณ พระอาราม อีกแห่งหนึ่ง ใน   รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พุทธศักราช 2310)   (3) พระราชพิธีแห่พระสารีริกธาตุ หรือแห่พระพุทธรูปสำคัญที่อัญเชิญมาจากต่างแดน ในรัชสมัย พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2334) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (พุทธศักราช 2361) และ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2370)   (4) เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2328) รัชกาลที่ 4 (พุทธศักราช 2394) รัชกาลที่ 5 (พุทธศักราช 2416) รัชกาลที่ 6 (พุทธศักราช 2454) และรัชกาลที่ 7 (พุทธศักราช 2468)   (5) พระราชพิธีเนื่องในพระบรมศพและพระศพ กล่าวคือ นำพระบรมศพหรือพระศพลงสู่เรือพระที่นั่งแห่ไปยังพระเมรุมาศเพื่อถวายพระ เพลิง และนำพระอัฐิและพระสรีรังคาร (กระดูกและเถ้า) ลงสู่เรือแห่ไปสู่ปากน้ำเพื่อลอยพระอัฐิและพระสรีรังคาร เช่น พระบรมศพ ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระศพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้าในรัชกาลที่ 1) พระศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในรัชกาลที่ 4)   (6) พระราชพิธีรับพระราชอาคันตุกะ เช่น การรับพระยาทวาย เจ้าเมืองทวายในดินแดนมอญ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2334)   (7) พระราชพิธีลอยพระประทีป ปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เมื่อพุทธศักราช 2326 และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394) โปรดเกล้าฯ ให้นำพระประทีปและให้จัดทำกระทงหลวงขนาดใหญ่ ลงเรือและนำไปลอยกลางแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมๆ กับการลอยกระทงของราษฎรตามประเพณีวันลอยกระทงแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อพระราชพิธีสำคัญอันเนื่องด้วยเรือพระราชพิธี กล่าวคือ ในสมัยกรุงธนบุรีและ      กรุงรัตนโกสินทร์ริ้วกระบวนพยุหยาตราปรากฏอยู่  ณ แม่น้ำเจ้าพระยาเสมอ จวบจนปัจจุบันพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตทรงตระหนักถึงความสำคัญของเรือพระราชพิธีที่เป็นสัญลักษณ์แห่งจารีตประเพณีแห่งรัฐ ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือหลวงหรือเรือพระที่นั่งเพื่อเป็นเกียรติยศในรัชกาลของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) โปรดเกล้าฯ ให้ช่างสร้างเรือหลวงชื่อ เรือสุวรรณหงส์ เพื่อเป็นพระราชพาหนะและสำหรับการแห่พระพุทธรูปทางน้ำ ส่วนเรือที่มีโขนเรือรูปสัตว์ในตำนานปรัมปรา (หลายคนมักเรียกสัตว์หิมพานต์ อันที่จริงแล้วมิใช่อยู่ในหิมพานต์ทั้งหมด) บางลำก็สร้างขึ้นในรัชสมัยนี้  ส่วนเรืออนันตนาคราชนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2391) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และมีบันทึกว่าในรัชกาลนี้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือขึ้น 24 ลำเพื่อใช้เป็นเรือพระที่นั่งหรือใช้ในพระราชภารกิจ อย่างไรก็ดีในเอกสารบางฉบับปรากฏชื่อเรือหลวงหรือเรือพระราชพิธี        ที่มีอยู่ในรัชกาลนี้ถึง 56 ลำ และบอกรูปลักษณ์ของเรือพร้อมทั้งขนาดเรือแต่ละลำไว้ด้วย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พุทธศักราช 2394 - 2411) โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและตกแต่งเรือหลวงลำเก่าๆ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือใหม่ขึ้นอีก 7 ลำ การจัดริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีในสมัยนี้กล่าวได้ว่ามีการจัดริ้วกระบวน 2 อย่าง คือ กระบวนเรือพยุหยาตราใหญ่ชลมารค และ กระบวนพยุหยาตราน้อยชลมารค        ในกรณีที่เป็นริ้วกระบวนพยุหยาตราใหญ่ชลมารค ประกอบด้วยเรือจำนวน 268 ลำ มีพลประจำเรือจำนวน 10,000 คน ประกอบด้วย นายเรือ นายท้าย ฝีพาย คนถือธงท้าย พลสัญญาณ คนถือฉัตรและ/หรือถือบังสูรย์ พัดโบก พระกลด คนขานยาวหรือคนเห่เรือ ส่วนริ้วกระบวนพยุหยาตราน้อยชลมารค มีริ้วขบวนที่มีเรือและพลประจำเรือน้อยกว่า เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 (พุทธศักราช 2411 - 2453) พระองค์โปรดการเสด็จฯ ทางน้ำเพื่อสอดส่องทุกข์สุขของราษฎรพร้อมด้วยข้าราชบริพารผู้ตามเสด็จฯ เป็นกระบวนเรือหลายลำ และเมื่อราษฎรได้ทราบก็จะพายเรือมาเฝ้าแหนชื่นชมพระบารมีอย่างเนืองแน่นเสมอ  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 (พุทธศักราช 2353 - 2468) จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับริ้วกระบวนเรือพยุหยาตราแต่โบราณ ทรงพบว่าการจัดกระบวนเรือทั้งสองอย่างคือกระบวนเรือพยุหยาตราใหญ่ชลมารค และ กระบวนพยุหยาตราน้อยชลมารคนั้น มีการจัดกระบวนในแต่ละคราวแตกต่างกันไปอยู่บ้าง มิได้เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงขอพระบรมราชานุญาตวางระเบียบริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีเสียใหม่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเห็นชอบและพระราชทานพระราชานุญาตให้ถือเป็นระเบียบปฏิบัติและได้ดำเนินการจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราตามแบบนี้ตลอดรัชกาลและจนถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พุทธศักราช 2468) ก็ยึดถือการจัดริ้วกระบวนตามแบบนี้เช่นกัน  อย่างไรก็ดีในพุทธศักราช 2475 เมื่อมีพระราชพิธีฉลองกรุงครบรอบ 150 ปี (ของกรุงเทพมหานคร) และเฉลิมฉลองราชวงศ์จักรีในคราวเดียวกันนั้น กระบวนพยุหยาตราชลมารคกลับไปใช้การจัดริ้วกระบวนตามแบบอย่างที่เคยใช้ในสมัย รัชกาลที่ 4 หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขในพุทธศักราช 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติในพุทธศักราช 2477  พระราชพิธีเสด็จฯถวายผ้าพระกฐินประจำปีโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคขาดหายไป  ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พุทธศักราช 2582 - 2488) เรือพระราชพิธีถูกระเบิดสงครามจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานคร ทำลายเสียหายไปมากครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะซ่อมแซมเรือพระราชพิธีเพื่อนำมาใช้ในพระราชพิธีเสด็จพยุหยาตราชลมารคในวาระต่างๆ ตามแบบครั้งโบราณเพื่อฟื้นฟูราชประเพณีโบราณให้กลับฟื้นคืน        ปัจจุบันการจัดริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีในการเสด็จพยุหยาตราชลมารคเป็นไปในแนวทางการจัดกระบวนทัพเรือโบราณตามที่ปรากฏหลักฐานสมัยกรุงศรีอยุธยาที่สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีประกอบด้วยเรือ 52 ลำ จัดเรียงกันเป็นริ้วกระบวน 5 ริ้ว โดยตอนกลางของริ้วกระบวนที่ 3 หรือริ้วกระบวนกลาง ประกอบด้วย  เรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ อเนกชาติภุชงค์ นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 สุพรรณหงส์ อนันตนาคราชเรียงตามลำดับจากหลังไปหน้ากระบวน ระหว่างเรือสุพรรณหงส์ และเรืออนันตนาคราช คั่นด้วยเรือเล็กๆ ลำหนึ่งเรียก เรือแตงโม หรือ เรือกลองใน (หมายถึงในกระบวน) เป็นเรือสำหรับผู้บัญชาการกระบวนเรือฯ หน้าริ้วกระบวนนี้มี เรืออีเหลือง ซึ่งถือเป็น เรือกลองนอก มีปี่ชวาและกลองแขกสำหรับบรรเลงนำหน้า ตามด้วย เรือตำรวจ ๒ ลำ ส่วนท้ายริ้วกระบวนมีเรือตำรวจ 1 ลำ ตามติด ปิดท้ายกระบวนด้วย เรือแซง ลำเล็กๆ ส่วนกลางของริ้วกระบวนแถวที่ 2 และ 4 หรือริ้วกระบวนที่ขนาบกระบวนเรือพระที่นั่ง ประกอบด้วยเรือ 8 ลำ นับจากหลังไปหน้ากระบวนตามลำดับดังนี้ เรือเอกชัยเหินหาว เรือเอกชัยหลาวทอง เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรืออสุรวายุภักษ์  และ เรืออสุรปักษี หน้ากระบวนเรือเหล่านี้มีเรือนำ 1 คู่ คือ เรือเสือทะยานชล และ เรือเสือคำรณสินธุ์  และเรือ 2 คู่นำหน้าริ้วกระบวนทั้งหมด คือ เรือทองขวานฟ้า และ เรือทองบ้าบิ่น ริ้วกระบวนนอกสุดหรือริ้วกระบวนที่ 1 และที่ 5 ประกอบด้วยเรือเล็กๆ 22 ลำ เรียกว่า เรือดั้งและเรือเล็กๆ อีก 6 ลำ เรียก เรือแซง   ริ้วกระบวนเรือพยุหยาตราทั้ง 5 ริ้วนี้มีความยาวประมาณ 1,280 เมตร ความกว้าง 90 เมตร เรือทุกลำมีฝีพายและผู้ทำหน้าที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นฝีพาย นายเรือ นายท้าย คนถือธง พลสัญญาณ คนถือฉัตร/บังสูรย์/พัดโบก/กลด และคนเห่เรือเป็นกำลังพลประจำเรือ รวม 2,211 นาย ล้วนแต่เป็นเจ้าหน้าที่จากกองทัพเรือไทยทั้งสิ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ริ้วกระบวนเรือฯ เคลื่อนไปตามลำน้ำเจ้าพระยาในพระราชพิธีและรัฐพิธีสำคัญ เนื่องในวโรกาสต่างๆ ดังนี้   (1) งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พุทธศักราช 2500 (ริ้วกระบวนพยุหยาตราใหญ่)   (2) พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร พุทธศักราช 2502 2504 2505 2507 2508 และ 2510 (ริ้วกระบวนพยุหยาตราน้อย)   (3) งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 (ริ้วกระบวนพยุหยาตราใหญ่)   (4) พิธีแห่พระพุทธสิหิงค์จากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ไปตามลำน้ำเจ้าพระยาเพื่อ ความเป็นสิริมงคลในประเพณีวันสงกรานต์ พุทธศักราช 2525  (ริ้วกระบวนพยุหยาตราน้อย)   (5) พิธีแห่พระพุทธนวราชบพิตรซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่กรุงเทพมหานคร พุทธศักราช 2525 (ริ้วกระบวนพยุหยาตราใหญ่)   (6) พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร พุทธศักราช 2530 2539 2542 2550 และ 2555 (ริ้วกระบวนพยุหยาตราใหญ่)   (7) พระราชานุญาตให้จัดการแสดงกระบวนเรือฯ เพื่อเป็นอภินันทนาการแก่ผู้นำเอเปค 20 ประเทศที่มาประชุม ณ กรุงเทพมหานคร พุทธศักราช 2546 (ริ้วกระบวนพยุหยาตราใหญ่)   (8) พระราชานุญาตให้จัดการแสดงกระบวนเรือฯ เพื่อการทอดพระเนตรของพระราชอาคันตุกะ จากประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ๒๕ ประเทศที่เสด็จฯ มาร่วมในพระราชพิธีมหามงคลการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2549 (ริ้วกระบวนพยุหยาตราใหญ่)                 ปัจจุบันเรือพระราชพิธี  ทั้ง 52 ลำ เก็บรักษาไว้   ณ สถานที่ 3 แห่ง  ได้แก่   (1) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ซึ่งเดิมเป็นอู่เรือเก่าปรับปรุงขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมื่อ พุทธศักราช 2517  จัดแสดงเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ประกอบด้วยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9  เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ พร้อมทั้งเรือที่มีโขนเรือ 4 ลำ ประกอบด้วย  เรือเอกชัยเหินหาว  เรือครุฑเหินเห็จ  เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรืออสุรวายุภักษ์   (2) อู่เรือหลวงที่ท่าวาสุกรี   ข้างหอสมุดแห่งชาติ มีเรือ 6 ลำประกอบด้วย เรือเอกชัยหลาวทอง  เรือครุฑเตร็จไตรจักร  เรือพาลีรั้งทวีป  เรือสุครีพครองเมือง   เรือกระบี่ราญรอนราพณ์   และเรืออสุรปักษี   (3) แผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก เป็นอู่เรือของกองทัพเรือ มีเรือเสือทะยานชล เรือเสือคำรณสินธุ์  เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น  เรือดั้ง  เรือแซง  เรือแตงโม  เรืออีเหลือง  ทุกลำเก็บรักษาไว้ที่นี่      พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ตั้งอยู่เลขที่ 80/1 ริมคลองบางกอกน้อย แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เปิดให้เข้าชมในเวลา 09.00 - 17.00 นาฬิกา ทุกวัน ยกเว้นวันหยุดขึ้นปีใหม่และวันหยุดสงกรานต์






อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 30 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด


รายงานบัญชีงบทดลองและเอกสารประกอบงบทดลอง สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒)


Messenger