ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
บันทึกการเดินทางของคณะทูตสหรัฐอเมริกา
สู่ราชสำนักบูรพาทิศ โคจินจีน สยาม และมัสกัต
(เฉพาะตอนประเทศสยาม)
ในเรือรบพีค็อกของสหรัฐอเมริกา
กัปตันเดวิด ไกซิงเกอร์ ผู้บังคับการเรือ
ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๕ - ๒๓๗๗
(ค.ศ. ๑๘๓๒ – ๑๘๓๔)
โดย
เอ็ดมันด์ โรเบิร์ตส์
(Edmund Roberts)
นางสาวปภัชกร ศรีบุญเรือง
แปลและเรียบเรียง
กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่
พุทธศักราช ๒๕๖๕
จี้ทองคำเลียนแบบเหรียญโรมัน จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
แผ่นทองคำทรงกลมแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๘ เซนติเมตร ด้านหน้าตรงกึ่งกลางเป็นรูปบุคคลนูนต่ำ หันด้านข้างเห็นเฉพาะส่วนศีรษะถึงหน้าอกด้านขวา รูปบุคคลมีจมูกโด่ง ผมเป็นลอน โดยรอบตกแต่งด้วยลายจุดกลมหรือลายเม็ดประคำ ๒ ชั้นซ้อนกัน ด้านหลังเป็นรอยยุบและนูนตรงข้ามกับรูปด้านหน้า แสดงให้เห็นเทคนิคการผลิตที่อาจเกิดจากการดุนลายก็เป็นได้ ส่วนบนเหนือศีรษะรูปบุคคลมีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่พบงอลงมา สันนิษฐานว่าแต่เดิมอาจเป็นห่วงสำหรับร้อยกับเชือกหรือสายสร้อยสำหรับสวมใส่
เมื่อเปรียบเทียบลวดลายบนจี้กับเหรียญโรมัน ตัวอย่างเช่น เหรียญจักรพรรดิวิคโตรินุส (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๙) จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง พบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือตรงกึ่งกลางมีรูปบุคคลหันด้านข้างขวา เห็นเฉพาะศีรษะและหน้าอก ส่วนลายจุดกลมบริเวณศีรษะทั้งทางด้านหน้าและด้านหลัง น่าจะปรับเปลี่ยนมาจากแถวตัวอักษรภาษาละตินซึ่งระบุพระนามของจักรพรรดิที่ล้อมรอบอยู่ริมขอบเหรียญ ส่วนการทำแถบลายจุดกลมล้อมรอบริมขอบอีกแถบหนึ่งก็พบในเหรียญโรมันเช่นกัน
จี้ที่ทำเลียนแบบเหรียญโรมันยังพบที่แหล่งโบราณคดีคลองท่อมหรือควนลูกปัด จังหวัดกระบี่ เมืองออกแอว ประเทศเวียดนาม รวมถึงพบที่รัฐอานธรประเทศ ในประเทศอินเดียด้วย พบทั้งแบบที่มีภาพด้านหน้าเพียงด้านเดียว และแบบที่มีภาพสองด้านเลียนแบบเหรียญโรมันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บางชิ้นสามารถระบุได้ว่ามีต้นแบบจากเหรียญโรมันของจักรพรรดิองค์ใด เนื่องจากมีตัวอักษรภาษาละตินระบุพระนามค่อนข้างชัดเจน จี้จำนวนหนึ่งมีห่วงขดลวดทรงกระบอกสำหรับร้อยสายสร้อยติดอยู่ด้วย
สันนิษฐานว่าจี้ทองคำนี้เป็นของที่นำเข้ามาโดยพ่อค้าชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อแลกเปลี่ยนกับคนพื้นถิ่น ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย - สมัยทวารวดี หรือบางชิ้นอาจผลิตขึ้นในดินแดนไทยก็เป็นได้ เนื่องจากพบหลักฐานแม่พิมพ์จี้เลียนแบบเหรียญโรมันที่แหล่งโบราณคดีคลองท่อม บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยด้วย
--------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
Brigitte Borell. The Power of Images – Coin Portraits of Roman Emperors on Jewelry Pendants in Early Southeast Asia. [Online]. Retrieved 14 May 2022, from: https://www.academia.edu/12682533/The_Power_of_Images_Coin_Portraits_of_Roma n_Emperors_on_Jewellery_Pendants_in_Early_Southeast_Asia.
Brigitte Borell, Bérénice Bellina and Boonyarit Chaisuwan. Contacts between the Upper Thai - Malay Peninsula and the Mediterranean World. [Online]. Retrieved 14 May 2022, from: https://www.academia.edu/5625563/Contacts_between_the_Upper_Thai_Malay _Peninsula_and_the_Mediterranean_World.
--------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง https://www.facebook.com/Uthongmuseum/posts/pfbid09cN9jGbmJ11DBJWJU82KC8SmDPsunyJU51PF84J97YAVEKW9LiXb3sPZYwdA7ss2l
จากสถานการณ์น้ำในคลองบางกอกน้อยที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา กรมศิลปากร ได้ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยระหว่างวันที่ 5 - 13 ตุลาคมนี้ น้ำทะเลจะหนุนสูง ประกอบกับมีมรสุม และการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นสูง ส่งผลกระทบต่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย จึงเตรียมมาตรการรับมือเพื่อปกป้องเรือพระราชพิธีและวัตถุจัดแสดง ตามแผนบริหารความเสี่ยงจากเหตุอุทกภัยที่สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและกรมอู่ทหารเรือร่วมกันจัดทำไว้เมื่อปีที่ผ่านมา โดยเริ่มจากประสานอู่ทหารเรือธนบุรี เข้าร่วมตรวจสอบสภาพหมอนรองรับเรือพระราชพิธีทุกคานทุกลำและดำเนินการแก้ไขให้มีความมั่นคงแข็งแรง จากนั้นยกคานเรือพระราชพิธีขึ้นในระดับสูงสุด ผูกรัดเรือพระราชพิธีทุกลำ และเปิดวาล์วเรือพระที่นั่งเพื่อลดผลกระทบจากน้ำต่อโครงสร้างของเรือ แล้วจัดเก็บวัตถุจัดแสดงให้อยู่ในพื้นที่สูง เสริมความมั่นคงแข็งแรงให้กับโบราณวัตถุที่มีความเปราะบาง และจัดทำสะพานทางเดินชั่วคราวสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานระหว่างน้ำขึ้นท่วมทางเดิน สำหรับระดับน้ำล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ระดับน้ำท่วมในช่วงน้ำขึ้นสูงสุด 74 เซนติเมตรจากทางเดินปกติ
ทั้งนี้ กรมศิลปากร ได้ปิดการให้บริการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ชั่วคราวระหว่างวันที่ 4-16 ตุลาคม 2565 ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมเรือพระราชพิธี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 0 2424 0004
การทำลายเอกสารหรือหนังสือราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๖๖ - ๗๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๔เอกสารของหน่วยงานที่ครบอายุการจัดเก็บตามตารางกำหนดอายุการเก็บเอกสารขององค์กรและหมดความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาไว้ก็ควรทำลายด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามวิธีปฏิบัติที่หน่วยงานกำหนด การทำลายต้องมีหลักเกณฑ์มีการควบคุมกันอย่างรัดกุมนับตั้งแต่เริ่มขนย้ายไปจนถึงทำลายแล้วเสร็จ เพราะอาจเกิดความเสียหายตามมา อาทิ เอกสารสำคัญถูกทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๖๖ - ๗๐ กำหนดว่าภายใน ๖๐ วัน หลังจากสิ้นปีปฏิทิน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บหนังสือ สำรวจหนังสือที่ครบกำหนดอายุการเก็บในปีนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เก็บไว้เองหรือฝากเก็บไว้ที่***กองหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร แล้วจัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการทำลาย ***หนังสือสำหรับขั้นตอนการทำลายหนังสือราชการนั้นสามารถ ดูได้ในแผ่นภาพอินโฟกราฟฟิค .ในรูปหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลานั้น ได้รับมอบหมายให้ดูแล พิจารณาขอทำลาย เเละขอสงวนเอกสารราชการของหน่วยงานราชการในพื้นที่ ๖ จังหวัด ได้แก่ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา เเละสตูลนางสาวเพ็ญทิพย์ ชุมเทพ นักจดหมายเหตุเรียบเรียงนายวีรวัฒน์ เหลาธนู นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ ทำภาพอินโฟกราฟฟิก***หนังสือ คือ หนังสือราชการ หรือเอกสารราชการ***กองหอจดหมายเหตุแห่งชาติ คือสำนักหอจดหมายเหตุในปัจจุบันเรียกชื่อนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๔๕สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมฝ่ายบบริหารเอกสารหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลาโทร ๐ ๗๔๒๑ ๒๔๗๙ ต่อ ๑๐๒ โทรสาร ๐ ๗๔๒๑ ๒๑๘๒
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 53/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๒๘ วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๓ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๒๘
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๓๐ สิริพระชันษา ๒ ปี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดงานพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สิ่งก่อสร้างเป็นไม้จริง ด้วยมีพระราชประสงค์ว่าเมื่อเสร็จการแล้วจะพระราชทานแก่โรงพยาบาล เมื่อเสร็จการพระเมรุแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระเมรุไปสร้างเรือนคนไข้ได้จำนวน ๔ หลัง ภายในโรงพยาบาล และพระราชทานเครื่องเรือน เครื่องใช้ทั้งปวงให้แก่โรงพยาบาลวังหลัง พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลวังหลังใหม่ว่า "โรงพยาบาลศิริราช"
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ
ภาพ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 37/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 132/4เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 168/4
เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 21/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 46 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 56/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 82 หน้า : กว้าง 5.3 ซม. ยาว 57.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ภาพ ‘หญิงสาว’ และ ‘ชายหนุ่ม’ ของ สมโภชน์ อุปอินทร์
100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรีศิลปแห่งนวสมัย
สมโภชน์ อุปอินทร์ (พ.ศ. 2477 – 2557) เป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่มีความโดดเด่นในด้านการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแนวคิวบิสม์ (Cubism Art) สมโภชน์เรียนจบจากสาขาประติมากรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่กลับมีความสนใจในงานจิตรกรรมมากกว่า ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิลปินแห่งชาติ ผู้เป็นภรรยาของสมโภชน์เคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ครอบครัวของสมโภชน์ไม่ได้ร่ำรวย จึงไม่มีเงินพอสำหรับซื้อสีมาเขียนภาพ ทำให้สมโภชน์ต้องเลือกเรียนสาขาประติมากรรมแทน เนื่องจากใช้ทุนทรัพย์น้อยกว่า แต่ก็มิได้ทำให้ความชื่นชอบและความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมของสมโภชน์ลดลง สมโภชน์และศิลปินหลายคนในยุคนั้นนิยมนำวัสดุที่หาได้ง่ายและมีราคาถูกอย่างแผ่นกระดานอัด (Masonite Board) มาใช้ในการเขียนภาพเช่นเดียวกันกับผืนผ้าใบ พ.ศ. 2502 ขณะยังเป็นนักศึกษา สมโภชน์เขียนภาพ ‘หญิงสาว’ ด้วยสีน้ำมันบนแผ่นกระดานอัด สมโภชน์ใช้เส้นและระนาบของสีที่มีรูปทรงเรขาคณิตตัดกันไปมา สร้างสรรค์เป็นรูปหญิงสาวแนวคิวบิสม์ได้อย่างลงตัว สีและฝีแปรงที่ปรากฏบนภาพเขียนชวนให้นึกถึงผลงานของ ฌอร์ช บราก (Georges Braque) ศิลปินชาวฝรั่งเศสที่เป็นดั่งบิดาผู้ให้กำเนิดศิลปะแนวคิวบิสม์
ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของผลงานชิ้นนี้ก็คือ ข้างหลังภาพ ‘หญิงสาว’ มีภาพ ‘ชายหนุ่ม’ (ภาพอยู่ในคอมเมนต์) ซึ่งเป็นผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่สมโภชน์เขียนไว้ด้านหลัง ภาพ ‘ชายหนุ่ม’ กำลังทำเครื่องจักสานเขียนด้วยสีน้ำมันในรูปแบบเหมือนจริง ไม่ปรากฏปีที่วาด แต่สันนิษฐานว่าเป็นผลงานที่เขียนขึ้นในขณะที่ยังเป็นนักศึกษา ภาพเขียนชิ้นนี้ก็ได้แสดงให้เห็นถึงความแม่นยำในการเขียนภาพคนของสมโภชน์ ที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเรื่องกายวิภาคของมนุษย์เป็นอย่างดี
ภาพ ‘หญิงสาว’ ของ สมโภชน์ อุปอินทร์ จัดแสดงอยู่ในนิทรรศการพิเศษ “100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย” ระหว่างวันที่ 18 มกราคม – 9 เมษายน 2566 ณ อาคารนิทรรศการ 4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เปิดให้เข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สมโภชน์ อุปอินทร์ ได้ที่
https://www.facebook.com/.../a.242467477.../2475606092570732
ชื่อผู้แต่ง สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง วารสารคหเศรษฐศาสตร์ (ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๐๓)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ธนบุรี
สำนักพิมพ์ โรงเรียนช่างพิมพ์เพชรรัตน์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๓
จำนวนหน้า ๗๕ หน้า
รายละเอียด
วารสารวิชาการสำหรับชาวคหกรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวคิดทางคหกรรมศาสตร์และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภายในเล่มประกอบด้วย ๗ บทความ เช่น การทดลองเตาแสงอาทิตย์,วิชาโภชนาการปัจจุบัน, เคล็ดลับที่ทำให้ชีวิตสมรสสดชื่นรื่นรมย์ ฯลฯ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญทุกท่านร่วมรับฟังการบรรยายทางวิชาการ
โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ เรื่อง "รูปและรอบพระพุทธบาท : เกร็ดความรู้และข้อสังเกตในปัจจุบัน" โดย ดร. นันทนา ชุติวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประติมานวิทยา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่ง โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓, ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ (เปิดทำการวันพุธ ถึง วันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.)
เลขทะเบียน : นพ.บ.460/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4.5 x 50 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 160 (174-182) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : กถินเภทวินิจฉัย--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม