ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ชื่อผู้แต่ง โฆษณาการ, กรม
ชื่อเรื่อง ประมวลรัฐนิยมและระเบียบวัฒนธรรมแห่งชาติ
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พานิชศุภผล
ปีที่พิมพ์ ๒๔๘๔
จำนวนหน้า ๗๔ หน้า
หมายเหตุ -
หนังสือประมวลรัฐนิยมและระเบียบวัฒนธรรมแห่งชาติ เล่มนี้ ได้กล่าวถึงสุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวแก่รัฐนิยม แถลงการณ์ ประกาศรัฐนิยมให้ใช้ทำนองและเนื้อร้องเพลงชาติและพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๓ และคำชักชวนของรัฐบาล
เลขทะเบียน : นพ.บ.144/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 87 (362-367) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : ติโลกวินิจฺฉย (พระไตรโลกวินิจฉัย)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พระพุทธรูปปางสมาธิ
พบจากโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง
พระพุทธรูปปางสมาธิ พบจากโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพุทธรูปปางสมาธิสำริด พระรัศมีเป็นลูกแก้ว อุษณีษะเป็นกะเปาะสูง เม็ดพระศกใหญ่ พระกรรณยาว พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนา พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรเรียบห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา จีวรบางแนบพระวรกาย ชายสังฆาฏิซ้อนบนพระอังสาซ้ายปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ เห็นขอบสบงเป็นเส้นโค้งบริเวณบั้นพระองค์ พระหัตถ์ซ้ายวางทับพระหัตถ์ขวาประสานกันบนพระเพลาในท่าสมาธิ นั่งขัดสมาธิราบ โดยพระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย เห็นฝ่าพระบาทขวา ปรากฏชายผ้าพับซ้อนด้านหน้าพระเพลาใต้ข้อพระบาทขวา
พระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้ มีรูปแบบของชายสังฆาฏิที่ซ้อนบนพระอังสาซ้าย และชายผ้าพับซ้อนด้านหน้าพระเพลา คล้ายคลึงกันกับที่ปรากฏบนพระพิมพ์ดินเผาปางสมาธิ ซึ่งขุดพบจากโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ แห่งนี้ และโบราณสถานแห่งอื่น ๆ ในเมืองโบราณอู่ทอง ได้แก่ โบราณสถานหมายเลข ๕ และโบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ ทั้งนี้ลักษณะชายผ้าที่ห้อยลงมาด้านหน้าพระเพลา อาจคลี่คลายมาจากชายผ้าของพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร ศิลปะอินเดียแบบปาละ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ หรือประมาณ ๙๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) โดยถือเป็นรูปแบบเฉพาะ ที่นิยมและปรากฏในพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งพบเป็นจำนวนมากในพื้นที่เมืองโบราณอู่ทอง
พระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้พบร่วมกับโบราณวัตถุอื่น ๆ ได้แก่ ภาชนะดินเผา แผ่นตะกั่วรูปพระโพธิสัตว์ แผ่นตะกั่วรูปสตรี พระพิมพ์ดินเผาปิดทองคำเปลว และพระพิมพ์ดินเผามีจารึกระบุนามผู้สร้าง ซึ่งสามารถกำหนดอายุจากจารึกและรูปแบบศิลปกรรมได้ว่า มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ดังนั้นพระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้จึงควรกำหนดอายุในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปาละดังที่กล่าวถึงข้างต้น
เอกสารอ้างอิง
ปรัชญา รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขา ศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.14/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ประเพณีเรื่องแต่งงานบ่าวสาวของไทย
ชื่อผู้แต่ง : อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), พระยา
ปีที่พิมพ์ : 2501
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : รุ่งเรืองธรรม
จำนวนหน้า : 244 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือประเพณีเรื่องแต่งงานบ่าวสาวของไทย ได้กล่าวถึงระเบียบ ประเพณีการแต่งงานของไทย ประกอบด้วย ลักษณะวิธีแต่งงาน ขันหมากหมั้น ฤกษ์และวันเดือนเกี่ยวกับการแต่งงาน การเคลื่อนขบวนขันหมาก วิธีไหว้ผี พิธีซัดน้ำ พิธีเกี่ยวก้อย เป็นต้น และภาคผนวกกล่าวถึง ขนมที่ใช้ในพิธีแต่งงาน พิธีปูที่นอน คำหยอกบ่าวหยอกสาว แนวคำกล่าวของผู้เป็นเถ้าแก่ และแนวคำสอนให้โอวาทแก่บ่าวสาว
พระพุทธรูปยืนตริภังค์ปางแสดงธรรม
พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง
พระพุทธรูปยืนตริภังค์ปางแสดงธรรม พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม อุษณีษะเป็นกะเปาะสูง เม็ดพระศกใหญ่ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรโปน เหลือบลงต่ำ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา อมยิ้มเล็กน้อย พระกรรณยาวเซาะเป็นร่อง พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรเรียบ จีวรบางแนบพระวรกาย เห็นขอบสบงบริเวณบั้นพระองค์ พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายหักหายไปสันนิษฐานว่าอาจยึดชายจีวรในระดับบั้นพระองค์ ยืนตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก) ทั้งนี้การยืนตริภังค์ของพระพุทธรูป แสดงถึงอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ แต่ลักษณะพระพักตร์เป็นแบบทวารวดีแล้ว จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)
พระพุทธรูปยืนตริภังค์ พบจำนวนไม่มากนักในสมัยทวารวดี โดยพบในกลุ่มพระพุทธรูปแสดงวรมุทรา (ปางประทานพร) สลักด้วยหินขนาดใหญ่ กลุ่มพระพุทธรูปสำริด และพระพิมพ์อีกจำนวนหนึ่ง พระพุทธรูปยืนตริภังค์ ศิลปะทวารวดี มักจะครองจีวรห่มเฉียง และแสดงวิตรรกมุราด้วยพระหัตถ์ขวา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายยึดชายจีวรในระดับบั้นพระองค์หรือปล่อยลงข้างพระวรกาย เป็นลักษณะการแสดงพระหัตถ์ที่ไม่สมมาตร ต่างจากกลุ่มพระพุทธรูปยืนสมภังค์ (ยืนตรง) มักจะครองจีวรห่มคลุม แสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่นิยมในพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยทวารวดี ซึ่งพบเป็นจำนวนมากกว่าพระพุทธรูปยืนตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก)
นอกจากพระพุทธรูปยืนตริภังค์องค์นี้แล้ว ที่เมืองโบราณอู่ทองยังพบพระพุทธรูปยืนตริภังค์อีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดยืนตริภังค์ จากเจดีย์หมายเลข ๒ และ ๑๓ รวมทั้งยังพบพระพิมพ์ดินเผาภาพพระพุทธรูปยืนตริภังค์จากเจดีย์หมายเลข ๒ และ ๓ อีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
เรื่อง ไข้เลือดออก ( Dengue Hemorrhagic fever )
ในขณะที่ตอนนี้ผู้คนกำลังให้ความสำคัญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้น เราอาจจะลืมไปว่ายังมีโรคระบาดที่รุนแรงอย่างไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และมักจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝน
โดยกรมควบคุมโรคออกมาเตือนการเกิดโรคไข้เลือดออกเป็นอีกหนึ่งโรคที่มาแรงสำหรับปี 2020 นี้ โดยตั้งแต่ต้นปี 1 มกราคมเป็นต้นมา มีผู้ป่วยทั่วประเทศแล้วมากกว่า 8,746 ราย และเสียชีวิตไปแล้วถึง 6 ราย ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่พบอัตราป่วยมากสุด คือ เด็กๆ อายุระหว่าง 5-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี และอายุแรกเกิดถึง 4 ปี ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า เด็กเล็กนั้น มีความเสี่ยงในการติดโรคอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็ก เรามารู้จักกับโรคนี้ทั้งระยะของโรค อาการ และการรักษาป้องกัน
- โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง (Dengue) โดยมียุงลายที่เป็นพาหะนำโรค เชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายคนโดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด จากนั้นยุงลายก็จะแพร่เชื้อให้กับคนอื่นๆ ต่อไป (ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร) ซึ่งเมื่อได้รับเชื้อเข้าร่างกายและ จะมีอาการ ไข้ขึ้นสูงหลายวัน, ปวดศีรษะ คล้ายอาการของไข้หวัด แต่จะมีอาการร่วมเป็นอาการปวดกระบอกตา, ปวดกล้ามเนื้อ, เมื่อยเนื้อตัว, ท้องอืด, มีผื่นแดงขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใบหน้า ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอาการเฉพาะของ โรคไข้เลือดออก
ระยะของโรคไข้เลือดออก แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะหลักๆ ได้แก่
- ระยะไข้ ระยะนี้ไข้สูง 39-40 °C นานเกิน 4-5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัว ปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร ท้องอืด เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และอาจจะชัก ใบหน้าแดงในระยะนี้ได้
- ระยะวิกฤต ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ฝ่ามือ ฝ่าเท้าเย็นขึ้น ปัสสาวะน้อย มีอาการท้องอืด ระยะอาจจะเกิดอาการอันตรายอย่างอาการช็อกได้
- ระยะฟื้นตัว หลังจากผ่านช่วงวิกฤตมาแล้ว ผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็ว ปัสสาวะบ่อยขึ้น ปวดหัวลดลง อยากอาหาร ซึ่งหากผู้ป่วยเกิดอาการช็อก แล้วได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะกลับมาเป็นปกติภายใน 2-3 วัน
การรักษาโรคไข้เลือดออกนั้น ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเบื้องต้นให้งดกินยาประเภทแอสไพรินและยาต้านการอักเสบ ให้ดื่มน้ำผลไม้หรือเกลือแร่เสริม และดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ส่วนวิธีป้องกัน เนื่องจากโรคนี้มีพาหะนำโรคเป็นยุงลาย เราจึงต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สวมใส่เสื้อแขนยาวขายาว และทายากันยุงสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการถูกแมลง ถูกยุงลายกัด
ในสมัยก่อนได้มีการรักษาโรคต่างๆด้วยสมุนไพรและการบริหารร่างกาย อย่างเช่น หนังสือหายากเล่มหนึ่ง ได้บันทึกเกี่ยวกับโครงภาพฤๅษีดัดตนและตำรายาอายุวัฒนะ เพื่อเป็นตัวอย่างการรักษาด้วยการบริหารร่างกายประกอบกับการรับประทานยาทำให้ไข้และสามารถรักษาได้หายจริงในสมัยเริ่มตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นที่ศิริราชพยาบาล จึงได้บักทึกไว้ในหนังสือหายากจารึกวัดพระเชตุพน ตอน โคลงภาพฤๅษีดัดตนและตำรายาอายุวัฒนะ
ข้อมูลอ้างอิง
ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : กรมควบคุมโรคติดต่อ, 2536.
เลขหมู่ 616.157 ก169ร
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2546.
เลขหมู่ 616.157 ส846ร
จารึกวัดพระเชตุพน ตอน โคลงภาพฤาษีดัดตน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2534
เลขหมู่ 615.822 ค319ก
ข้อมูลสถิติ
กรมควบคุมโรคติดต่อ
ผู้เรียบเรียง นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
ราชอาณาจักรแห่งกาสาวพัสตร์The Kingdom of the Yellow Robe
รวมเรื่องสั้นเกี่ยวกับพิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
และวิถีชีวิตของชาวสยาม
โดย
ERNEST YOUNG
นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ
แปลและเรียบเรียง
กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่
พุทธศักราช ๒๕๖๔
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : ลูกดิ่ง เครื่องมือช่าง สร้างปราสาทพนมรุ้ง
ปราสาทหิน ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่มหัศจรรย์สำหรับคนยุคปัจจุบันอย่างเราท่าน จะระลึกนึกตามไปถึง ว่าคนโบราณนั้นสร้างปราสาทหินขึ้นมาได้อย่างไร หินก้อนใหญ่น้ำหนักมากชักลากมาด้วยวิธีใด นำขึ้นไปเรียงบนยอดปราสาทสูงได้อย่างไร ใช้เครื่องมืออะไรแกะสลักลวดลายลงบนหินที่แข็งแกร่ง มีวัสดุอุปกรณ์ใดในการคิดคำณวนออกแบบแผนผังได้อย่างมหัศจรรย์ ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีสมัยนั้น ยังไม่มีเครื่องยนต์กลไกหรือระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย เฉกเช่นทุกวันนี้
จากการศึกษาที่ผ่านมา ได้เผยให้เห็นถึงร่องรอยและหลักฐาน ตลอดจนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีของคนโบราณในการก่อสร้างปราสาทหิน ตามหลักกลศาสตร์ดั้งเดิม เช่น คานดีด คานงัด รอก แรงโน้มถ่วง จุดศูนย์ถ่วง การใช้ดวงอาทิตย์และดาราศาสตร์ช่วยในการวางผังอาคาร และที่สำคัญคือความมุมานะอุตสาหะภายใต้ความเชื่อความศรัทธาทางศาสนาอย่างแรงกล้า
ที่ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ก็ได้ปรากฏร่องรอยหลักฐานดังกล่าวมานี้ และมีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ ใคร่จะนำเสนอไว้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานสำคัญของ เครื่องมืองานช่างก่อสร้างโบราณ นั่นก็คือ ลูกดิ่ง
ดิ่ง หรือ ลูกดิ่ง (plumb) คือ เครื่องมือช่างสำหรับการอ้างอิงแนวดิ่ง มีลักษณะเป็นตุ้มน้ำหนัก ทรงกรวยหงาย ด้านบนมีห่วงผูกเชือก ใช้ตรวจสอบแนวดิ่งของสิ่งก่อสร้าง เช่น เสา กำแพง ว่าตั้งตรงหรือไม่ หรือบ้างก็ใช้วัดระดับความลึกของน้ำในสระ
เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ได้ตรวจสอบพบลูกดิ่งดินเผา และลูกดิ่งหิน เก็บรักษา ณ สำนักงานอุทยานฯ มาแต่เดิม กระทั่ง ๑ ปี ผ่านไป (เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔) นายวิเชียร อริยเดช อดีตนายช่างที่เคยร่วมงานบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง ได้มาเล่าให้ฟังว่า เมื่อปี ๒๕๑๘ ตนเองได้เคยขุดพบลูกดิ่งดินเผาและลูกดิ่งหิน ที่สระน้ำใกล้ปราสาทพนมรุ้ง (สระน้ำหมายเลข ๕) โดยลูกดิ่งที่เป็นดินเผานั้นมีสภาพสมบูรณ์ และลูกดิ่งที่ทำจากหินส่วนล่างจะแตกชำรุด จึงได้นำลูกดิ่งที่เก็บรักษาไว้ออกมาให้นายวิเชียรดูและยืนยันได้ว่าคือลูกดิ่งที่พบเมื่อปี ๒๕๑๘ นั่นเอง
ในการนี้ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ได้บันทึกข้อมูลประวัติของลูกดิ่งดังกล่าวทั้ง ๒ ชิ้น และมีลูกดิ่งที่พบเพิ่มเติมอีก ๑ ชิ้น รวมเป็น ๓ รายการ ส่งมอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เพื่อเก็บรักษาอย่างเป็นระบบ เป็นแหล่งอ้างอิงศึกษาค้นคว้าสำหรับผู้ที่สนใจต่อไป ดังนี้
#ลูกดิ่งพนมรุ้ง_รายการที่๑ ทำจากดินเผา ขนาดกว้าง ๔.๗ เซนติเมตร ยาว ๙.๑ เซนติเมตร น้ำหนัก ๑๑๐ กรัม ตกแต่งส่วนบนเป็นเส้นลวดซ้อนกันหลายเส้น สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีรอยบิ่นเล็กน้อย พบที่ สระน้ำโบราณหมายเลข ๕ ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
#ลูกดิ่งพนมรุ้ง_รายการที่๒ ทำจากหิน ขนาดกว้าง ๔.๑ เซนติเมตร ยาว ๗.๓ เซนติเมตร น้ำหนัก ๑๒๗ กรัม ตกแต่งส่วนบนขีดเป็นลายฟันปลา สภาพชำรุด ส่วนล่างหักหาย พบที่ สระน้ำโบราณหมายเลข ๕ ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
#ลูกดิ่งพนมรุ้ง_รายการที่๓ ทำจากดินเผา ขนาดกว้าง ๔.๐ เซนติเมตร ยาว ๕.๕ เซนติเมตร น้ำหนัก ๕๗ กรัม ผิวเรียบไม่มีลวดลายตกแต่ง สภาพชำรุดที่ส่วนบนและส่วนล่าง ประวัติ เก็บรักษา ณ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง มาแต่เดิม
อนึ่งนอกจากปราสาทพนมรุ้งแล้ว ที่ปราสาทแห่งอื่นๆ ก็เคยค้นพบลูกดิ่งด้วย เช่นที่ ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทหนองหงส์ อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
สันนิษฐานว่า ลูกดิ่ง ดังกล่าวน่าจะเป็นเครื่องมือช่าง ใช้ตรวจสอบแนวดิ่ง ในงานก่อสร้างปราสาทหิน นับเป็นอีกหนึ่งหลักฐานทางโบราณคดีสำคัญที่ช่วยให้เราเห็นภาพบรรยากาศของงานช่างและการก่อสร้างในสมัยโบราณ ที่ยังคงรักษารูปทรงของวัตถุและวิธีการใช้งานจากอดีตสู่ปัจจุบัน
เรียบเรียงโดย : นายภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
อ้างอิง:
ทนงศักดิ์ หาญวงษ์. รายงานการขุดแต่งศึกษาโบราณสถานปราสาทหนองหงส์ ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. เสนอ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๙ นครราชสีมา, ๒๕๔๕.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖.
วิเชียร อริยเดช, อายุ ๗๖ ปี ข้าราชการบำนาญกรมศิลปากร อดีตนายช่างศิลปกรรม ๖, สัมภาษณ์เมื่อ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔.
https://th.wikipedia.org/wiki/ลูกดิ่ง_(เครื่องมือ) เข้าถึงเมื่อ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๔.
ขอขอบคุณ: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เอื้อเฟื้อภาพลูกดิ่ง ที่เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (วิธูรบัณฑิต)สพ.บ. 407-4หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มโหสถ)
สพ.บ. 408/9
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยอีสาน
หัวเรื่อง พุทธศาสนา นิทานชาดก
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.8 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี