ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 19 นี้ มีจดหมายเหตุ 3 เรื่องด้วยกันคือ
1.จดหมายเหตุหอสาตราคม เริ่มบันทึกเหตุการณ์ในปีวอก พ.ศ.2403 สมัยรัชกาลที่4 เป็นบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจในวโรกาสต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2.จดหมายเหตุเสด็จหว้ากอ ปีมะโรง พ.ศ.2411 บันทึกเหตุการณ์เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงคำนวณการเกิด สุริยุปราคา ใน พ.ศ.2411 และการเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง เพื่อทอดพระเนตรการเกิดสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
3.จดหมายเหตุของเซอร์แฮรีออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ ไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามในรัชกาลก่อน ที่ตำบลหัววาน เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2411
เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ หอจดหมายแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา ร่วมจัดแสดงนิทรรศเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เรื่อง "๖๓ พรรษา พระมหากรุณาธิคุณ" เนื่องในงาน ธรรมยาตรา รักษาศีล ๕ "๕ วัน ๕ พระธาตุ ๕๐ ปีอำเภอจุน" ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ณ วัดพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่อง : ครัวในบ้านอาหารทำเอง by Easy Cooking
ผู้เขียน : สาวิตตรี สระทองเทียน สำนักพิมพ์ : อมรินทร์ Cuisine อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง ปีพิมพ์ : ๒๕๕๙ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๑๘-๑๕๒๕-๗ เลขเรียกหนังสือ : ๖๔๑.๕ ส๖๘๖ค ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : "กินอะไร" คำนี้เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยคงเคยได้ยินและพูดกันแทบทุกวัน นับว่าเป็นคำถามยอดฮิต และก็เชื่อว่าหลายๆ คน จะได้รับคำตอบกลับมาว่า "กินอะไรก็ได้" เจอแบบนี้เข้าไปรับรองมีคำถามในใจต่อแน่ๆ ว่า "กินอะไรก็ได้" ก็ จะ "กินอะไรล่ะ" จนบางครั้งอาจนำมาซึ่งปัญหาและทะเลาะกันเลยทั้งในครอบครัว กลุ่มเพื่อน หรือคนรักก็ว่าได้ หนังสือ "ครัวในบ้านอาหารทำเอง by Easy Cooking" นี้ ได้รวบรวมเมนูอาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเพจ Easy Cooking ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเพจอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเข้าใจง่ายดูไม่ยุ่งยากเกินความสามารถของมือใหม่ที่หัดเข้าครัวทำอาหาร พร้อมเผยเคล็ดลับในการทำอาหารเมนูต่างๆ ที่สามารถทำได้ตามจริงแบบไม่ผิดหวัง ทุกเมนูใช้อุปกรณ์น้อย ทำง่าย จำนวนกว่า ๔๐ เมนู เช่น ไก่ทอดน้ำปลาไฮโซ ไก่กรอบซอสมะขาม ซี่โครงหมูตุ๋นเต้าเจี้ยว หมูสามชั้นผัดพริกเกลือ ทอดมันข้าวโพด เนื้อผัดนำ้พริกคุณยาย น้ำพริกหยำ (น้ำพริกโจร) กุ้งคั่วเกลือแบบโบราณ โรลผักกาดขาวน้ำจิ้มซีฟู้ด แซลมอนยำตะไคร้ แพนเค้กกล้วยหอมสูตรไร้แป้ง คอร์นชีส เป็นต้น ซึ่งมีการนำเสนอทั้งชื่อเมนูที่ได้ยินแล้วชวนชิม ส่วนผสม และวิธีทำอย่างกระชับชัดเจนลงมือทำตามได้ง่ายๆ รวมทั้งภาพประกอบที่สวยงามชวนน่ารับประทาน นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับสำหรับมือใหม่หัดเข้าครัว แบบฉบับ Easy Cooking ด้วย เช่น ทอดปลาอย่างไรไม่ให้ติดกระทะ ลดการกระเด็นของน้ำมันในเมนูของทอด ลดการอมน้ำมันในเมนูทอด ต้มหรือแกงอย่างไรไม่ให้เค็มเกินไป เคล็ดลับหมักหมูให้อร่อยแบบง่ายๆ เป็นต้น จัดว่าหนังสือเล่มนี้เป็นอีกหนึ่งคู่มือสำหรับการทำอาหารแบบง่ายๆ รับประทานกันในบ้านหรือกลุ่มเพื่อนที่แม้แต่มือใหม่ก็ลงมือทำได้ ซึ่งคนที่รักการทำอาหารไม่ควรพลาดและควรมี คู่ครัวไว้ทำอาหารทานเองที่บ้านแบบสบายๆ กับครอบครัวด้วยเช่นกัน
วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561 นางสาวระเบียบ หงส์พันธ์ หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี และเจ้าหน้าที่ ได้เข้าร่วมงานแผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 "วันสร้างเมืองกาญจนบุรี" ครบรอบ 187 ปี โดยมี นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานพิธีเปิด นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวรายงาน และนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวถึงแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานกำแพงเมืองกาญจนบุรี มีการแสดงแสง สี เสียง เทิดพระเกียรติฯ ณ ลานริมกำแพงเมืองกาญจนบุรี ฝั่งด้านหลังโรงงานกระดาษ(เก่า)
พระพุทธเจ้าสูงสุดทางการแพทย์และโอสถ ในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน พระนามหมายถึง บรมครูแห่งโอสถ (รักษาโรค) ผู้มีรัศมีดุจไพฑูรย์ (มณีสีน้ำเงิน-lapis lazuli) พระนามอื่น ๆ คือ เภษัชราชา (Bheṣajarāja) ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต (Bhaiṣajyaguruvaiḍūryaprabhātathāgata) ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชา (Bhaiṣajyaguruvaiḍūryaprabhārāja) ผู้ปลดเปลื้องมนุษย์จากโรคภัยไข้เจ็บและความทุกข์ทรมานต่าง ๆ หากได้สดับนามของพระองค์ และน้อมจิตบูชาอย่างถูกต้อง หรือเพียงสัมผัสรูปของพระองค์ ก็อาจหายจากโรคทางกายและทางใจ กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นเภสัชกรผู้เยียวยาจิตวิญญาณของมนุษย์ให้หลุดพ้นอวิชชา มิจฉาทิฐิ ไปสู่โพธิมรรคและนิพพาน ด้วยพระมหาปณิธานที่ทรงตั้งไว้ระหว่างบำเพ็ญบารมี 12 ประการ ภาพที่ 1. พระไภษัชยคุรุ ศิลปะพม่า แบบเชียงรุ้ง พุทธศตวรรษที่ 23 - 24 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภาพที่ 2. บันแถลง (องค์ประกอบเครื่องบนหลังคาอาคารประเภทปราสาทหรือปรางค์) ศิลา ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18 - 19 สลักภาพพระไภษัชยคุรุ ปางสมาธิ ถือหม้อน้ำหรือตลับยา ในพระหัตถ์ สื่อความหมายว่าสถานแห่งนั้นอยู่ภายใต้ความความคุ้มครองของพระองค์ เก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย ประวัติของพระองค์กล่าวไว้ต่าง ๆ กัน บ้างก็ว่าพระองค์เป็นพระมานุษิพุทธเจ้า (Manuṣi Buddha) บ้างก็ว่าทรงเป็นพระโพธิสัตว์ (Bodhisattva) คัมภีร์บางแห่งกล่าวว่าพระองค์คือ พระโพธิสัตว์ไวโรจนะ (Vairocana) ดินแดน (พุทธเกษตร) ของพระองค์อยู่เบื้องทิศตะวันออก มีชื่อว่า “ศุทธิไวฑูรย์” หรือ “ไวฑูรนิรภาส” ตรงกันข้ามกับแดนสุขาวดี พุทธเกษตรทางทิศตะวันตกของพุทธเจ้าพระอมิตาภะ (Amitābha) ทรงมีพระโพธิสัตว์คู่บารมี 2 พระองค์ คือ พระสุริยประภาโพธิสัตว์ (Sūryaprabha) และ จันทรประภาโพธิสัตว์ (Candraprabha) พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าที่ได้รับการนับถือมากที่สุด 1 ใน 3 องค์ของฝ่ายมหายาน ซึ่งประกอบด้วยพระศากยมุนี (Śākayamunī) พระไภษัชยคุรุ และพระอมิตาภะ กระทั่งนับถือเป็นพระพุทธเจ้าแห่งทิศตะวันออกแทนพระพุทธเจ้าอักโษภยะ (Akṣobhaya) ภาพที่ 3. พระไภษัชยคุรุ ทรงเครื่อง ปางสมาธิ ถือหม้อน้ำหรือตลับยาในพระหัตถ์ ศิลปะเขมรในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 18 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี รูปเคารพโดยทั่วไปของพระไภษัชยคุรุ มีลักษณะดังพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือครองจีวรแบบนักบวช พร้อมด้วยมหาปุริสลักษณะ วรรณะสีน้ำเงินหรือสีทอง ประทับขัดสมาธิเพชรบนบัลลังก์สิงห์ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ธยานมุทรา dhayanamudrā) ถือบาตร (patra) บรรจุโอสถ พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชงฆ์ (วรทมุทรา Varadamudrā) ถือยาสมุนไพร หรือขวดบรรจุยา โอสถที่บรรจุในบาตรหรือถือในพระหัตถ์ บ้างว่าเป็นกิ่ง อรุรา (arura ไม่มีนามทางวิทยาศาสตร์อันเป็นที่รู้จัก) บ้างว่าเป็นกิ่งสมอ (myrobalan) บ้างก็ว่าเป็นมะขามป้อม (อามลกะ- āmalaka, phyllanthus emblica) บางครั้งรูปเคารพของพระองค์ขนาบด้วยพระโพธิสัตว์สุริยประภาและพระโพธิสัตว์จันทรประภา และแวดล้อมด้วยมหายักษ์เสนาบดี 12 ตน ผู้พิทักษ์มหาปณิธานของพระองค์ คือ กุมภิระ (Kumbhira) วัชระ (Vajra) มิหิระ (Mihira) อัณฑีระ (Aṇḍīra) อนิล (Anila) ศัณฑิละ (Śaṇḍila) อินทระ (Indra) ปัชระ (Pajra) มโหรคะ (Mahoraga) กินนระ (Kinnara) จตุระ (Catura) และวิกราละ (Vikarāla) ภาพที่ 4. พระไภษัชยคุรุ ในลักษณะพระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก พระหัตถ์แสดงปางสมาธิ ถือหม้อน้ำหรือตลับยาในพระหัตถ์ ศิลปะเขมรในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 18 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้อมูล : นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหนังสืออ้างอิง 1. ผาสุข อินทราวุธ, พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2543. 2. วิศวภัทร มณีปัทมเกตุ, แปล. พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร. กรุงเทพฯ: บริษัทเคล็ดไทย, 2544. 3. Gösta Lieber. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976. 4. Trilok Chandra Majupuria and Rohit Kumar Majuria. Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism [Including Tibetan Deities]. Lashkar (Gwalior) : M. Devi, 2014.
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา
1.ชื่อโครงการ/กิจกรรม
สังเกตการณ์การขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดี La-ang Spean ณ จังหวัดพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา
2.วัตถุประสงค์
ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล-ประสบการณ์การศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติสาสตร์
3.กำหนดเวลา
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม พ.ศ.2558
4.สถานที่
แหล่งโบราณคดี La-ang Spean จังหวัดพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา
5.หน่วยงานผู้จัด
Cultural Heritage, Cambodia by Mr.Heng Sophady, Duputy Director.
6.หน่วยงานสนับสนุน
Prehistoric Frence-Combidia mission,CRN.
7.กิจกรรม
ร่วมสังเกตการณ์ ขุดค้นทางโบราณคดีและสำรวจพื้นที่ ณ แหล่งโบราณคดี La-ang Spean
8.คณะผู้แทนไทย
นายชินณวุฒิ วิลยาลัย นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี
9.สรุปสาระของกิจกรรม
9.1 สังเกตการณ์การขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดี La-ang Spean ณ จังหวัดพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา ในปีนี้(พ.ศ.2558)เป็นปีที่ 7 โดยมี Mr.Heng Sophady และ Dr.Hubert Forestier เป็นผู้อำนวยการร่วม ภายใต้ Prehistoric Frence-Combidia mission.และได้รับความร่วมมือจาก APSARA(Authority for the Protection and Management of Angkor and the Region of Siem Reap.) ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมขุดค้นทางโบราณคดี นอกจากนี้ยังมีการฝึกขุดค้นทางโบราณคดีให้แก่นักศึกษาจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยพนมเปญ ตลอดการขุดค้นในครั้งนี้
9.2 ขุดค้นทางโบราณคดี
แหล่งโบราณคดี La-ang Spean (อ่านว่า ละ อาง สะเปียน, ละอาง แปลว่า ถ้ำ, สะเปียน แปลว่า สะพาน มีความหมายว่า ถ้ำที่มีสะพาน ในถ้ำนี้มีสะพานหินที่เกิดจากเพดานถ้ำพังทลายลงแต่ยังเหลือเพดานบางส่วนที่ยังเชื่อมตอจากผนังฝั่งหนึ่งของถ้ำไปยังอีกฝั่ง มีลักษณะคล้ายสะพาน) จากการขุดค้นมาตั้งแต่ ค.ศ.2009 พบว่ามีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยหินโดยพบกลุ่มเครื่องมือหินที่เรียกว่า Hoabinhian กำหนดอายุได้ 9,000 ปีมาแล้ว และพบหลักฐานการฝังศพของมนุษย์ในสมัยหินใหม่ กำหนดอายุได้ประมาณ 3,000-3,500 ปีมาแล้ว
9.3 สำรวจพื้นที่แหล่ง
บนภูเขาลูกนี้(Thalc Trang Mountain) ยังมีหนึ่งถ้ำที่พบหลักฐานทางโบราณคดีเช่นเดียวกับ La-ang Spean คือ ถ้ำ Som Bac Borei พบกลุ่มเครื่องมือหินที่เรียกว่า Hoabinhian กระจายทั่วไป(เนื่องจากพื้นดินถูกขุดขี้ค้างคาวและนำออกไปจากถ้ำ)และชิ้นส่วนภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่
10.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
จากการเดินทางไปราชการในครั้งนี้ทำให้กระผมได้รับประสบการณ์โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ ชั้นดิน หรือื่นๆที่ได้สัมผัสด้วยตนเอง บรรยากาศในการทำงาน ลักษณะทางธรรมชาติของชาวขะแมร์ ลักษณะทางธรรมชาติของการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานจากหลายชาติ ความเป็นกันเองของชาวเอเชียที่แม้จะพูดกันคนละภาษาก็ยังแสดงความพยายามในการทำความรู้จัก สร้างความคุ้นเคย หรืออื่นๆ ทั้งหมดนี้เป็นการ Leaning by doing ที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากการอ่านเอกสารเพียงอย่างเดียว
กระผมขอเสนอให้กรมศิลปากรสนับสนุนกิจกรรมในลักษณะนี้ต่อไปเพื่อในอนาคตนักวิชาการของกรมศิลปากรจะมีโอกาสสั่งสมประสบการณ์เพื่อนำมาพัฒนางานของตนเองของทีมงานและส่งต่อประสบการณ์ไปยังนักวิชาการท่านอื่นๆต่อไปซึ่งจะก่อให้เกิดการSharing and Together อย่างไม่สิ้นสุด
................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
(นายชินณวุฒิ วิลยาลัย)
สาระสังเขป : เรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในยุคสมัยของหลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จอานันทมหิดลผู้แต่ง : ดำริห์ ปัทมะศิริโรงพิมพ์ : รัชดารมภ์ปีที่พิมพ์ : 2493ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.33บ1754 จบ (ร)เลขหมู่ : 923.1593 อ 516 น
เลขทะเบียน : นพ.บ.25/14ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 14หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.45/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 27 (267-281) ผูก 7หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ
ชื่อเรื่อง บทละครพูด เรื่อง นินทาสโมสร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๐
จำนวนหน้า ๙๕ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาพิรุฬห์พิทยาพรรณ(สวน พุกกะเวส)
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่มากด้วยกัน มีทั้งที่เป็นความเรียง บทประพันธ์ และบทละครพูดต่าง ๆ รวมถึง เรื่อง นินทาสโมสร
เรื่องที่ 388 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดลาด ต.น้ำพุ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532 เป็นคัมภีร์อักษรขอมทั้งผูก ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาบาลี-ไทย ตัวอักษรหนังสือเป็นเส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ มีทั้งหมด 11 ผูก หอสมุดแห่งชาติฯมีผูก 1-5,6,6ก-6ค,7,7ก เนื้อหาเกี่ยวกับพระธรรมเทศนา เป็นคัมภีร์เรื่องอภิธัมมาสังคิณีเป็นพระอภิธรรมลำดับที่ 1 ใน 7 คัมภีร์ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 ตอนด้วยกันคือ 1 มาติกา เป็นที่รวมธรรมะหัวข้อหลัก โดยอภิธัมมมาติกามี 122 หัวข้อ และสุตตันตมาติกามี 42 หัวข้อ โดยในอภิธัมมมาติกาแบ่งหัวข้อธรรมเป็นกลุ่มละ3 ชนิด เช่นกลุ่มสนิทัสสนติกะ ประกอบด้วย 2 จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายเรื่องการเกิดของจิตอย่างละเอียด 3 รูปกัณฑ์ อธิบายเรื่องรูปอย่างละเอียด 4 นิกเขปกัณฑ์ อธิบายหัวข้อธรรมในมาติกาขนาดยาวปานกลาง 5 อัตถุธารกัณฑ อธิบายหัวข้อธรรมในมาติกาอย่างย่อ คล้ายบทสรุปของคัมภีร์ทั้งหมดเลขทะเบียน จบ.บ.388/1-5,6:6ก-6ค,7:7ก
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ