ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.459/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 72 หน้า ; 5 x 54 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 160 (174-182) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : มูลลกัจจาย--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.604/3 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 193 (399-407) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : อภิธัมมา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ที่มา : https://datasipmu.finearts.go.th/academic/76
เหรียญ “ประชาธิปไตยสร้างชาติ ๒๔๘๓”เหรียญที่ระลึกในงานแสดงเศรษฐกรรม พ.ศ. ๒๔๘๓ เหรียญ “ประชาธิปไตยสร้างชาติ ๒๔๘๓” เป็นเหรียญกลม ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูป อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมข้อความ “๒๔๘๓” และ “ประชาธิปไตยสร้างชาติ” ด้านหลังมีข้อความว่า “ที่ระลึกในงานแสดงเศรษฐกรรม พ.ศ.๒๔๘๓ ให้ไว้แก่คณะกรมการจังหวัดน่าน” ล้อมรอบด้วยพวงมาลัยลอเรล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ และยังมีความหมายเกี่ยวข้องกับความเป็นอมตะ ความบริสุทธิ์ของพิธีกรรม ความเจริญรุ่งเรือง และสุขภาพ. ขนาดของเหรียญ เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕.๕ เซนติเมตร หนา ๐.๒ เซนติเมตร เดิมเป็นของคณะกรมการจังหวัดน่าน มอบให้. รูปแบบของเหรียญสันนิษฐานว่าได้ต้นแบบมาจาก “เหรียญสร้างชาติ” ที่สร้างเพื่อฉลองวันชาติ และพร้อมกับการทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งกระทำขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ เป็นรูปใบเสมา มีห่วง ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อยู่เหนือพื้นธงชาติ ด้านหลังเขียนข้อความว่า “สร้างชาติ” หน่วยงานที่ออกแบบเหรียญคือกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร จัดทำขึ้นเพื่อแจกข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ นักเรียน โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนเทศบาล สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล. งานแสดงเศรษฐกรรม สันนิษฐานว่า คือ งานการแสดงกสิกรรมและพาณิชยการ ซึ่งได้พัฒนามาเป็นงานเกษตรแห่งชาติในปัจจุบัน หรืออาจจะเป็น งานแสดงเศรษฐกรรมในงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๘๓. เหรียญ “ประชาธิปไตยสร้างชาติ ๒๔๘๓” เหรียญที่ระลึกในงานแสดงเศรษฐกรรม พ.ศ. ๒๔๘๓ สันนิษฐษนว่าสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกใน “งานฉลองรัฐธรรมนูญ” ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นยุครุ่งเรืองของ งานฉลองรัฐธรรมนูญ งานรื่นเริงปีใหม่ และ งานฉลองวันชาติ อันเป็นปีเดียวกับที่มีการเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยงานฉลองรัฐธรรมนูญจัดขึ้นอย่างใหญ่กินพื้นที่ตั้งแต่บริเวณสวนสัตว์เขาดินวนา ตลอดจนลานพระราชวังดุสิตไปจรดสวนอัมพร. วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ คือ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรรู้จัก และเข้าใจความหมายของการปกครองระบอบประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญ รวมถึงหลัก ๖ ประการของคณะราษฎร เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ของคนไทย เป็นช่วงที่มีงานรัฐพิธี และมีเทศกาลเฉลิมฉลองขนาดใหญ่เป็นเวลาหลายวัน บรรยากาศภายในงานมีการจัดกิจกรรมและการแสดงต่างๆ มากมาย ทั้งของหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ พร้อมของภาคเอกชน . สำหรับปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ถือว่าประเทศไทยได้ปกครองระบอบรัฐธรรมนูญจนมาบรรจบครบรอบปีที่ ๘ รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีนาม หลวงพิบูลสงคราม จึงจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นภายใน ณ บริเวณเขาดินวนา สวนอัมพร และสนามเสือป่า มีทั้งสิ้น ๗ วัน ได้แก่ วันที่ ๘-๑๔ ธันวาคม ขณะงานเฉลิมฉลองภายนอกจะอยู่บริเวณท้องสนามหลวง มีทั้งสิ้น ๕ วัน ได้แก่ วันที่ ๘ - ๑๒ ธันวาคม ความพิเศษของงานฉลองรัฐธรรมนูญ ประจำปี พ.ศ. ๒๔๘๓ นั่นคือ งานแสดงบางส่วนจะจัดต่อเนื่องไปจวบจนงานฉลองวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเพิ่งจะเปลี่ยนจากวันที่ ๑ เมษายนมาเป็น ๑ มกราคมในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นปฐมฤกษ์ เฉกเช่น งานแสดงเศรษฐกรรมและกสิกรรม. โครงการงานแสดง “กองเศรษฐกรรม” งานฉลองรัฐธรรมนูญ ๒๔๘๓ ประกอบไปด้วยแผนกต่างๆ ดังนี้ แผนกเกษตรและการประมง แผนกเจ้าท่า แผนกชลประทาน แผนกตลาดนัด แผนกป่าไม้ แผนกราชทัณฑ์ แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกสหกรณ์ แผนกส่งเสริมการค้าและท่องเที่ยว แผนกหอการค้าไทย แผนกอุตสาหกรรม และแผนกอาชีวศึกษา โดยมีนายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี หัวหน้ากองเศรษฐกรรม โดยกระทรวงเศรษฐการ คือ กระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเอกสารอ้างอิง กองเศรษฐกรรม. บันทึกความก้าวหน้าของหน่วยราชการที่มาร่วมแสดงในกองเศรษฐกรรม งานฉลองรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : กองเศรษฐกรรม. ๒๔๘๓. ศรัญญู เทพสงเคราะห์. งานรื่นเริงของพลเมืองในระบอบใหม่ เพื่อชาติและรัฐธรรมนูญ. เข้าถึงได้โดย https://pridi.or.th/th/content/2022/07/1164 อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ. ท่านผู้หญิงประดิษฐ์มนูธรรมกับการประกวดเคหสถานในงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2483. สถาบันปรีดี พนมยงค์. เข้าถึงได้โดย https://pridi.or.th/th/content/2022/12/1372
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขอเชิญชวนทุกท่านไปเก็บภาพความสวยงามและแปลกตาของซุ้มต้นลีลาวดีที่เรียงรายสองข้างโน้มกิ่งโค้งเข้าหากันเป็นอุโมงค์ ด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดเชคอิน หรือไฮไลท์เมื่อนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองน่านต้องมาให้ได้สักครั้ง โดยบรรยากาศในแต่ละฤดูก็จะแตกต่างกันไป ในเดือนมีนาคมนี้ "ซุ้มลีลาวดี" กำลังออกดอกสีชมพูสดใสต้อนรับฤดูร้อน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เปิดให้บริการทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์-อังคาร) ค่าธรรมเนียม ชาวไทย ๒๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท เด็ก/นักเรียน/นักศึกษา ผู้สูงอายุ พระภิกษุสงฆ์ และนักบวชทางศาสนา เข้าชมฟรี ไม่เสียค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ซุ้มลีลาวดี และพื้นที่ด้านนอกอาคารจัดแสดง เปิดให้บริการทุกวัน เวลา ๐๖.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
องค์ความรู้ เรื่อง เส้นทางและโบราณสถานสำคัญในอดีต ที่ยังคงเหลือความทรงจำ
ผู้เรียบเรียง : นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์
เรื่อง “28 เมษายน วันราชาภิเษกสมรส รัชกาลที่ 9”
วันที่ 28 เมษายน เป็นวันคล้ายวันราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นับเป็นอีกวันหนึ่ง ที่สำคัญยิ่ง ที่ทั้งสองพระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีราชา ภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493 อันเป็นครั้งแรกของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ที่ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
ย้อนหลังไปเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ระหว่างที่ประทับอยู่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้รับบาดเจ็บที่พระเนตร เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ทรงได้รับการถวายการรักษาที่โรงพยาบาลในเมืองโลซานน์ มีหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ที่ทรงพบก่อนหน้านั้นถวายการพยาบาลอยู่ด้วย
ต่อมาได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (ขณะนั้นคือ พันเอก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน) กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ณ เมืองโลซานน์
และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ทั้งยังทรงให้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยอีกด้วย ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ทรงลงพระปรมาภิไธยในสมุดทะเบียนสมรสเป็นพระองค์แรก และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ได้ลงนามในสมุดเป็นบุคคลที่สองในฐานะคู่สมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะนั้นเจ้าสาวยังมีอายุเพียง 17 ปีเศษ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองก่อนตามกฎหมาย ดังนั้นหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร พระบิดาของเจ้าสาวจึงต้องลงพระนาม แสดงความยินยอมและรับรู้ในการจดทะเบียนสมรสครั้งนี้ด้วย
ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์แก่สมเด็จพระราชินีในโอกาสนี้ด้วย
นอกจากนี้ในงานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้เข้าร่วมพิธีจะได้รับพระราชทานของที่ระลึก คือ หีบเงินเล็ก ซึ่งบนฝาหีบประดับด้วยอักษรพระบรมนามาภิไธย ภอ และพระนามาภิไธย สก
นับแต่นั้นเป็นต้นมา พระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่ออาณาประชาราษฎร์ ก็ได้ถ่ายทอดมายังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และทรงงานร่วมกันต่อเนื่องมามิได้ขาด
อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ. วันสำคัญ : พัชรการพิมพ์. 2541. สโมสรไลออนส์ เมืองเอก กรุงเทพฯ. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ (1984). 2539.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
วัสดุ : จักสาน ลงรักปิดทอง ประดับกระจก
ขนาด : สูงพร้อมฐาน ๙๓ เซนติเมตร ตักกว้าง ๕๙ เซนติเมตร
อายุ/สมัย : ศิลปะพม่า พุทธศตวรรษที่ ๒๓
ประวัติ : รับมาจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2535
พระพุทธรูปที่สร้างจากเครื่องจักสาน แล้วทำการลงรักปิดทองให้เกิดเป็นลวดลาย เป็นเทคนิคเฉพาะของช่างพม่า (ไทใหญ่)
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=53012
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th