ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิกถา (ปฐมสมโพธิ์)
สพ.บ. 215/9ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 4 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาอภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 380/5ขประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง ธรรมะ
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคาต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้เรื่อง “ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเตาเผาภาชนะสมัยล้านนาจากกระบวนการทางโบราณคดี”โดย นางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่. ปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจแหล่งเตาเผาเครื่องถ้วยในสมัยล้านนาพบ จำนวน 10 แหล่งเตา ได้แก่ แหล่งเตาสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งเตาเวียงกาหลง (และแหล่งเตาวังเหนือ จ.ลำปาง) แหล่งเตาพาน จังหวัดเชียงราย แหล่งเตาเวียงบัว แหล่งเตาทุ่งเตาไห แหล่งเตาห้างฉัตร แหล่งเตาบ้านแม่ทะ และแหล่งเตาเสริมงาม จังหวัดลำปาง และแหล่งเตาบ่สวก จังหวัดน่าน. ยังมีภาชนะที่พบจากแหล่งโบราณคดีและโบราณสถาน ซึ่งเชื่อว่ามาจากแหล่งเตาที่ยังไม่ได้รับการค้นพบอีก 2 แหล่งเตา คือ แหล่งเตาเชียงแสน ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเชียงแสน และเป็นบริเวณที่มีแหล่งดินที่ใช้ในการผลิตเครื่องถ้วย อันเหมาะสม และอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ โดยอาจจะสัมพันธ์กับแหล่งเตาที่มีผู้ให้ข้อมูลว่าตั้งอยู่ในตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย แหล่งเตาอีกแห่งที่ยังไม่ได้รับการค้นพบ คือ แหล่งเตาหริภุญไชย ซึ่งชิ้นส่วนภาชนะจากแหล่งเตานี้ มักพบทั่วไปในแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมหริภุญไชย และน่าจะมีการผลิตมาตั้งแต่สมัยหริภุญไชยจนถึงสมัยล้านนาในราวพุทธศตวรรษที่ 19-20. แหล่งเตาเผาภาชนะในสมัยล้านนา มีอายุสมัยเฉลี่ยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 - พุทธศตวรรษที่ 23 โดยแหล่งเตาเหล่านี้ มักจะตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลักหรือเมืองสำคัญเป็นระยะทางไม่เกิน 30 กิโลเมตร แหล่งเตาที่ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกัน จะมีระยะห่างระหว่างแหล่งเตาประมาณ 70-75 กิโลเมตร (ยกเว้น แหล่งเตาเวียงกาหลงแหล่งเตาสันกำแพง ซึ่งแม้จะตั้งอยู่คนละแอ่งที่ราบ แต่ก็มีระยะห่างเพียง 73 กิโลเมตร) บริเวณที่ตั้งของเตาเผาจะอยู่ใกล้กับแหล่งทรัพยากรสำคัญ คือ ดินและแหล่งน้ำ จึงมักจะอยู่ในบริเวณหุบเขา ใกล้กับที่ราบ แต่ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย . สภาพของแหล่งโบราณคดีประเภทเตาเผาภาชนะเหล่านี้ จะพบเนินเล็กๆเตี้ยๆ สลับกับที่ราบ คล้ายที่ลอนลูกคลื่น แต่ตำแหน่งของเนินจะอยู่ค่อนข้างใกล้กันมาก หลักฐานที่พบบนผิวดินมักจะเป็นชิ้นส่วนภาชนะที่บิดเบี้ยว (หรือเป็นขยะ ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดระหว่างการเผา) ชิ้นส่วนกี๋ (สิ่งที่ใช้รองภาชนะในเตาเผา) และชิ้นส่วนดินเผาไฟ (คือ ผนังเตา) กระจายอยู่ทั่วบริเวณ. แหล่งโบราณคดีประเภทนี้ จะไม่พบสิ่งก่อสร้างที่เป็นตัวกำหนดหรือบอกขอบเขต หรือเรียกได้ว่าจากหลักฐานทางโบราณคดี ไม่พบสิ่งบ่งชี้ถึงการประกอบกิจกรรมอย่างอื่นนอกจากการผลิตภาชนะ ยกเว้น แหล่งเตาเวียงบัวและแหล่งเตาเวียงกาหลง ที่พบคูน้ำ-คันดิน อันเป็นสิ่งกำหนดขอบเขตชุมชนหรือเมืองโบราณสมัยล้านนาอย่างชัดเจน จึงเป็นเมืองที่มีเตาเผาภาชนะตั้งอยู่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเมืองด้วย. จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีพบว่า แหล่งโบราณคดีและโบราณสถานมักจะพบภาชนะจากแหล่งเตาท้องถิ่นหรือแหล่งเตาที่ตั้งอยู่ใกล้ที่สุดเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ภาชนะจากแหล่งเตาพานและแหล่งเตาสันกำแพงสามารถพบได้ทั่วไปตามแหล่งโบราณคดี/โบราณสถานหลายพื้นที่ข้ามแอ่งที่ราบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แหล่งเตาสองแห่งนี้ เป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยที่สำคัญของอาณาจักร ส่วนเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเวียงกาหลงนั้น ก็พบกระจายตัวหลายพื้นที่และข้ามแอ่งที่ราบเช่นกัน แต่จำนวนที่พบมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบอัตราส่วนกับชิ้นส่วนภาชนะทั้งหมดที่พบในแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่ง จึงอาจกล่าวได้ว่า เครื่องถ้วยเวียงกาหลงเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน แต่น่าจะเป็นสินค้าที่มีราคาแพง สังเกตได้จากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่นับได้ว่ามีความประณีตมากที่สุดในบรรดาแหล่งเตาเผาของล้านนา ทั้งความละเอียดของเนื้อดิน ความหนาของเนื้อภาชนะ การเคลือบที่ทำได้บางมาก แต่สม่ำเสมอตลอดทั้งใบ และฝีมือการเขียนลายของช่างที่ลงฝีแปรงได้อย่างหนักแน่นและคมชัด
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.43/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
คาถาจุนฺทสูกริกสุตฺต (คาถาจุนทสูกริกสูตร)
ชบ.บ.85/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)
ชบ.บ.106ก/1-7ข
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.332/16ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132 (343-358) ผูก 16 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สารคดีเรื่องนี้ถ่ายทำประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๐ หากท่านที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้วนึกภาพไม่ออกว่า ก่อนการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานครั้งใหญ่ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล (ระหว่างพ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๖๔) การจัดแสดงมีรูปลักษณ์อย่างไร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้บริการทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ตามประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ ๔๓ ทั้งนี้ผู้ใช้บริการต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ สำหรับการเปิดให้บริการแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และงดบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มขณะเข้าชมหรือใช้บริการ (ยกเว้นพื้นที่ร้านอาหาร-ร้านกาแฟ) อย่างเคร่งครัด
ชื่อผู้แต่ง เทพกวี, พระ
ชื่อเรื่อง อันตรายของพระสงฆ์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๔
จำนวนหน้า ๕๖ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านเจ้าคุณพระไพจิตรสาราณียกร อดีตเจ้าอาวาสวัดนพวงศาราม จังหวัดปัตตานี ณ เมรุวัดนพวงศาราม ๓ เมษายน ๒๕๑๔
หนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหากล่าวถึงหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ผู้มีหน้าที่สืบทอดพุทธศาสนา ซึ่งมีผลต่อการมีอยู่ของศาสนา และเนื่องจากความหมดศรัทธาของพุทธศาสนิกชนพระสงฆ์จึงถูกลดบทบาทในสังคม ทำให้ศาสนาเสื่อมลง นอกจากนี้ได้ประกอบกับตำรายาแผนโบราณ และคาถาความเชื่อป้องกันโรคภัย
ประกาศคณะกรรมการคัดเลือกฯ เรื่อง กำหนดวัน เวลา สถานที่ และระเบียบเกี่ยวกับการคัดเลือก และแนวทางปฏิบัติการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ครั้งที่ 1/2565 (เพิ่มเติม)
ชื่อผู้แต่ง เปี่ยม บุณยะโชติ
ชื่อเรื่อง ๕ ศาสนา
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์เฟื่องอักษร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๖
จำนวนหน้า ๕๘๒ หน้า
๕ ศาสนา เป็นหนังสือที่รวบรวมศาสนา ได้แก่ พุทธศาสนามหายาน พุทธศาสนาหินยาน คริสต์ศาสนา อิสลามศาสนา โยคะศาสนา เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประมุขของทั้ง ๕ ศาสนา ไว้อย่างละเอียด พร้อมทั้งพระธรรมวินัย เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา นักค้นคว้า นักเทศน์ นักปาฐกและประชาชนทั่วไป พร้อมภาพประกอบ
องค์ความรู้ เรื่อง “กู่ฤาษีหนองเยือง: สถานขจัดทุกข์ทางกาย และทุกข์ทางใจ ของราษฎร ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ แห่งบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์”
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา