ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 30 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
ชื่อเรื่อง : พูดเรื่องบวกเรียกโชคดี พูดเรื่องดีเรียกความสุข
ผู้เขียน : อุเอะนิชิ อะคิระ
สำนักพิมพ์ : อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
ปีพิมพ์ : ๒๕๖๑
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๑๘-๒๒๐๑-๙
เลขเรียกหนังสือ : ๑๕๘.๑ อ๔๖๓พ
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑
สาระสังเขป : "คำพูดเปลี่ยนชะตาชีวิตคนได้" นับว่าเป็นคำกล่าวที่ไม่ได้เกินจริง เพราะคำพูดคือ สิ่งสะท้อนอยู่ในใจและมีพลังแฝงในตัวเอง หากสังเกตคนที่มีความสุข ความสำเร็จในชีวิต นอกจากความสามารถ ความอดทน และความพยายาม สิ่งสำคัญที่คนเหล่านี้มีอีกอย่างคือ คำพูดที่ดี "พูดเรื่องบวกเรียกโชคดี พูดเรื่องดีเรียกความสุข" แปลจากงานเขียนญี่ปุ่นเรื่อง Kom wo yobikomu kotoba no shukan โดย อุเอะนิชิ อะคิระ กล่าวถึงคำพูดในเชิงบวกที่สำคัญอันจะช่วยดึงดูดความโชคดีเข้าหาตัว ประกอบด้วย ๑) ถ้าพูดแต่สิ่งดีๆ ก็จะมีแต่เรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้น เปลี่ยนชีวิตด้วยถ้อยคำเชิงบวก เช่น ยิ่งบ่น ตนเองยิ่งไม่มีที่อยู่ คำพูดจะย้อนกลับสู่ตนเอง คนที่มักนินทาว่าร้ายคนอื่นย่อมไม่เป็นที่รัก เป็นต้น ๒) นิสัยแห่งการใช้คำพูดที่ช่วยให้คลายกังวล ความั่นใจจะพรั่งพรูออกมานับจากวันนี้ เช่น ลองพูดถึงข้อดีของตนเอง เลิกใช้ถ้อยคำหลอกลวงตนเอง ขอบคุณสิ่งที่ตนเองมีอยู่ตอนนี้ เป็นต้น ๓) นิสัยแห่งการใช้คำพูดที่ดึงดูดพลังงาน ใช้คำพูดดีๆ สร้างอนาคตที่สดใส เช่น หากเปลี่ยนคำพูด จิตใต้สำนึกจะพลอยเปลี่ยนไปด้วย แบ่งปันความฝันและความหวังกับผู้อื่น ใช้คำพูดเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน เป็นต้น ๔) นิสัยแห่งการใช้คำพูดที่ทำให้สัมพันธภาพรอบตัวราบรื่น ทำให้การพบปะกับผู้คนสนุกขึ้น เช่น เริ่มบทสนทนาด้วยคำพูดเชิงบวก ยอมรับคำชมจากผู้อื่นแต่โดยดี เมื่ออยากบ่นเต็มทน เป็นต้น ๕) นิสัยแห่งการใช้คำพูดที่สื่อความคิดออกไปได้อย่างแม่นยำ ถ้าคุณเปลี่ยน อีกฝ่ายก็เปลี่ยน เช่น ปฏิเสธคนอย่างไรไม่โดนเกลียด ใส่ความจริงใจลงไปในคำขอโทษ ถ้าคุณเปลี่ยน อีกฝ่ายก็เปลี่ยน เป็นต้น ๖) นิสัยแห่งการใช้คำพูดที่จะทำให้ความรักสมหวัง คุยกับคนที่ชอบได้คล่องปรื๋อด้วยคำพูดแบบนี้ เช่น การพบรักเริ่มจากถ้อยคำที่อยู่ในใจ ยิ่งต่อหน้าคนที่ชอบ ยิ่งต้องใช้คำพูดเชิงบวก ใช้ถ้อยคำปลอบโยนตนเองเมื่ออกหัก และ ๗) นิสัยแห่งการใช้คำพูดเพื่อพลิกชีวิตนับแต่วันนี้ เปลี่ยนใจให้แข็งแรง เช่น ใช้คำว่า เชิญ เพื่อเสียสละ ใช้คำว่า ขอบคุณ เพื่อเป็นที่รักของผู้อื่น เชื่ออย่างแรงกล้าว่า ต้องทำได้แน่ๆ เป็นต้น ในโลกปัจจุบันที่การสื่อสารของคนมีความหลากหลายขึ้น ถึงเวลาเปลี่ยนคำพูดด้านลบมาเป็นด้านบวก เพราะคำพูดในทุกวันคือจุดเริ่มต้นของความสุข ความสำเร็จ และความโชคดีที่แท้จริง
วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2561 นางสาวระเบียบ หงส์พันธ์ หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี และเจ้าหน้าที่ ได้เข้าร่วมโครงการรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช 2561 ได้มีการทำความสะอาด ณ โบราณสถานกำแพงเก่าเมืองกาญจนบุรี โดยสำนักวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับกรมศิลปากร
เมื่อวันพุธที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๓ นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี พร้อมด้วย นางสาวเชาวนี เหล็กกล้า หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี และนางสาวสิริภา เจริญเขต ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ลงพื้นที่ตรวจสอบกลองมโหระทึก ซึ่งได้รับแจ้งจากนางโสภิตา บัวทิพย์ พนักงานบริษัท วนิชชัยก่อสร้าง ๑๙๗๙ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๓ ว่าพบกลองมโหระทึกที่บ้านหนองบง หมู่ ๙ ตำบลบ้านเหล่า อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ในที่นาของนางชม สิงห์ศร จากการขุดดินเพื่อทำถนนสี่เลน จากการตรวจสอบพบกลองมโหระทึกลึกจากผิวดินประมาณ ๑ เมตร ในลักษณะคว่ำอยู่ เป็นกลองมโหระทึกแบบเฮเกอร์ I หน้ากลองขนาด ๙๕ เซนติเมตร สูง ๗๐ เซนติเมตร ประติมากรรมรูปกบขนาดยาว ๕ เซนติเมตร หูกลองขนาด ๑๐×๑๙ เซนติเมตร จึงได้เข้าพบนายสมพงษ์ คุ้มสุวรรณ นายอำเภอคำชะอี เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการค้นพบ การเก็บรักษาโบราณวัตถุและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งนี้ยังได้ชี้แจงต่อสื่อมวลชนและประชาชนในพื้นที่ เพื่อดำเนินการตามระเบียบต่อไป และขณะนี้ได้นำมาเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศอินเดีย-เนปาล
๑. ชื่อโครงการ : โครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘
๒. วัตถุประสงค์ :
๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นการน้อมฯ รับสนองต่อพระราชปณิธานที่ทรงมีพระเมตตาในการสถาปนาจัดตั้งกองทุนเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนาตามพระราชประสงค์
๒. เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยกองทุนส่งเสริมการ เผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๖ (๒) เพื่อใช้ดอกผลของเงินทุนในการบริหารจัดการส่งเสริมให้พระสงฆ์และพุทธบริษัทไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล เพื่อประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๓. เพื่อเปิดโอกาสให้พระภิกษุผู้ประกอบคุณงามความดีได้ไปจาริกแสวงบุญ และเรียนรู้พระพุทธศาสนาจากประสบการณ์จริงในดินแดนพุทธภูมิ สร้างความมั่นใจในศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาถ่ายทอดสู่เด็ก เยาวชน และประชาชน
๔. เพื่อเป็นรางวัลชีวิต และเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับพุทธบริษัทผู้เสียสละอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและประกอบคุณงามความดีเพื่อแผ่นดิน
๓. กำหนดเวลา : ๑๑-๑๘ มีนาคม ๒๕๕๘
๔. สถานที่ : ประเทศอินเดีย-เนปาล
๕. หน่วยงานผู้จัด : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
๖. หน่วยงานสนับสนุน : กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
๗. กิจกรรม : ศึกษาดูงาน ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล
๘. คณะผู้แทนไทย : ๑๒๐ คน โดยมีผู้แทนจากกรมศิลปากร ดังนี้
๑. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
นางสาลินี ชุ่มวรรณ นักจดหมายเหตุชำนาญการพิเศษ
๒. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
นางสาวอัจฉรา แข็งสาริกิจ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ
๙. สรุปสาระของกิจกรรม :
คณะผู้เดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
ตลอดระยะเวลา ๗ วัน เปรียบเสมือนเป็นการเดินตามรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งยังสัมผัสได้ถึงพลังแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ โดยเฉพาะพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงสร้างหลายสิ่งอย่างเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปแห่งนี้
ไม่ว่าจะเป็นพระมหาเจดีย์พุทธคยา ซึ่งแต่เดิมพระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้สร้างเป็นวิหารขนาดเล็ก ต่อมากษัตริย์แห่งราชวงศ์กุษาณะโปรดให้ขยายเป็นเจดีย์ซ้อนทับ จนสมัยราชวงศ์ปาละได้บูรณะปฏิสังขรณ์และขยายให้ใหญ่และสูงกว่าเดิม
ขณะที่เดินขึ้นเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ เพื่อนมัสการพระคันธกุฎีของพระพุทธองค์ หลายคนอาจคิดว่าต้องใหญ่โตหรือหรูหรา แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงพื้นที่สี่เหลี่ยมขนาดพอดีตัว ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวก เป็นเพียงสถานที่อันเงียบสงบ เหมาะแก่การเจริญภาวนา ตรงนี้เองที่ชี้ให้เราเห็นว่า ศาสนาพุทธของแต่ละประเทศมีความเชื่อหรือการปฏิบัติที่แตกต่างกัน แต่พระพุทธเจ้ายังคงเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกคนไว้ด้วยกันโดยไม่มีความแตกแยก
เพียง ๗ วัน กับโครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ แม้จะเป็นเวลาเพียงน้อยนิด แต่ก็เป็นเสมือนก้าวแรกของการหยั่งลึกแห่งศรัทธาที่ผ่านการเรียนรู้และสัมผัสด้วยตาตนเอง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์จริงที่สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต และเพิ่มขวัญและกำลังใจที่จะประกอบคุณงามความดีต่อไป
สาระสังเขป : การไปดูงานของผู้แต่งในยุโรป และประเทศอังกฤษ ได้แก่ ฮอลแลนด์ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี่ผู้แต่ง : ทวี เจริญพิทักษ์โรงพิมพ์ : บริษัทสหอุปกรณ์การพิมพ์ปีที่พิมพ์ : 2494ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : บ199241เลขหมู่ : 914 ท184ข
เลขทะเบียน : นพ.บ.25/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 13หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.45/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 27 (267-281) ผูก 6หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
การชี้แจงกรอบแนวทางและรับฟังความคิดเห็น การกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเมืองพิมาย โดย นายขจร มุกมีค่า รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการชี้แจง เมื่อวันพุธที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ บริเวณลานเมรุพรหมทัต อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อผู้แต่ง มหินทรศักดิ์ธำรง,เจ้าพระยา
ชื่อเรื่อง ชานพระศรี
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๓
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๓
จำนวนหน้า ๘๙ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพร้อยตรี หม่อมเจ้า เผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์
ชานพระศรี เป็นหนังสือประเภทสุภาษิต ซึ่งเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำพระราชดัรัสที่ตรัสเล่าไว้ได้ แล้วนำเรื่องมาเขียนตามเค้าพระราชดำรัส ฉะนั้น ท่านจึงใช้ชื่อเรื่องว่า ชานพระศรี
อนุสรณ์การก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดหลักร้อย. นครราชสีมา: วิมลมาลย์, 2508.294.3135อ231