ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.332/15ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132  (343-358) ผูก 15 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


                   ศิลปะล้านนา  ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕          เป็นของอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  มาแต่เดิม          ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          ประติมากรรมโลหะรูปพระอินทร์และพระชายา ประทับอยู่บนช้างเอราวัณ มีลักษณะสำคัญคือ พระอินทร์ทรงกรัณฑมงกุฎ กึ่งกลางกระบังหน้าประดับดอกไม้สี่กลีบ พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระกรรณประดับกุณฑล พระวรกายประดับสร้อยสังวาลและทับทรวง พระพาหาทรงพาหุรัด ข้อพระหัตถ์ทรงทองพระกร พระหัตถ์ขวาทรงถือจักร พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระเพลาของพระชายา  ทรงพระภูษายาวจรดข้อพระบาท ชักชายผ้าด้านหน้าสั้น ชายผ้าด้านข้างแยกออกเป็นสองชาย ประทับขัดสมาธิราบ เครื่องทรงและอาภรณ์ของพระอินทร์เป็นรูปแบบการแต่งกายของเทวดาที่จะพบได้ทั่วไปในงานศิลปกรรมล้านนา-สุโขทัย           ส่วนพระชายา ทรงกรัณฑมงกุฎ พระพักตร์กลม พระกรรณประดับกุณฑลแผ่นกลมขนาดใหญ่ ทรงฉลองพระองค์ตัวในเป็นเสื้อป้ายข้างเฉียงซ้ายมาขวา ทับด้วยพระภูษาคลุมสองพระอังสา ชายผ้าพลิ้วไหวไปทางด้านหลัง ทรงคว่ำพระหัตถ์ขวาบนพระเพลาของพระอินทร์ พระนางทรงภูษายาวจรดข้อพระบาท ประทับอยู่ในท่าพับเพียบ ทั้งนี้เครื่องอาภรณ์ของชายาของพระอินทร์ก็มีรูปแบบการแต่งกายคล้ายกับการแต่งกายของสตรีล้านนา ที่นิยมสวมต่างหูขนาดใหญ่ เรียกว่า "ลานหู"  สวมเสื้อป้าย และมีผ้าคลุมไหล่ทั้งสองข้าง คล้ายกับกลุ่มชาติพันธุ์ไต ในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย  เช่นกัน          แม้ว่าประติมากรรมรูปพระอินทร์และพระชายานี้ จะไม่มีประวัติที่มาชัดเจน แต่จากเทคนิคการหล่อที่ใช้ดินผสมแกลบปั้นโกลนหุ่นเช่นเดียวกับศิลปกรรมล้านนา ต่างกับเทคนิคการหล่อในสมัยอยุธยาตอนปลาย-รัตนโกสินทร์ ที่ใช้ดินผสมทราย รวมถึงลักษณะการแต่งกายของประติมากรรม จึงกำหนดได้ว่ารูปพระอินทร์และพระชายานี้สร้างขึ้นในวัฒนธรรมล้านนา          รูปแบบของพระอินทร์ทรงจักร มีปรากฏในอรรถกถาเกฬิสีลชาดก กล่าวถึงพระอินทร์เสด็จมาปรามกษัตริย์ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนแก่ราษฎร์ มิเช่นนั้นกษัตริย์จะต้องถูกสังหารด้วยจักรของพระองค์ ขณะเดียวกันในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้กล่าวว่าพระอิศวรทรงประทานจักรให้แก่พระอินทร์เพื่อใช้ในการรบกับรณพักตร์ หลักฐานด้านศิลปกรรมพระอินทร์ทรงจักรนี้พบมากในสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งในสมุดไทยดำเรื่องตำราเทวรูป (เลขที่ ๖๙) และ พระอินทร์ทรงจักรที่ชั้นเรือนธาตุของพระปรางค์ประธาน วัดอรุณราชวราราม          สำหรับในวัฒนธรรมล้านนา นอกเหนือจากเรื่องราวทางพุทธประวัติที่พระอินทร์มีความเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ใน “ปัญญาสชาดก” ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่รวบรวมขึ้นจากนิทานพื้นบ้านของล้านนา ได้กล่าวถึงพระอินทร์ช่วยเหลือพระโพธิสัตว์ไว้อยู่หลายตอน เช่น สุวัณณสังขชาดก กล่าวถึง พระอินทร์ลงมาตีคลีกับพระสังข์ เพื่อให้พระสังข์ถอดรูปเงาะและช่วยให้ท้าวสามลยอมรับพระสังข์ หรือในคัทธนกุมารชาดก กล่าวถึงพระอินทร์ทรงเป็นบิดาของพระโพธิสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ในตำนานท้องถิ่น เช่น ตำนานพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง ได้กล่าวถึงพระอินทร์แปลงกายเป็นชายชรา มาอาสาแกะสลักก้อนพระผลึกของนางสุชาดาเป็นพระแก้วขึ้นมา   อ้างอิง  ศานติ ภักดีคำ. พระอินทร์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๖.    ศรัณย์ มะกรูดอินทร์. พระอินทร์ในคติพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่พบในงานศิลปกรรมไทย. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศิลปากร, ๒๕๕๙.


ชื่อผู้แต่ง          - ชื่อเรื่อง           อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญรวม ถนัดบัญชี ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๗ จำนวนหน้า      ๑๐๘ หน้า หมายเหตุ        อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายบุญรวม ถนัดบัญชีณ เมรุวัดมกุฎกษัติริยาราม กรุงเทพมหานคร ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๑๗                        หนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมบทความ สารคดี ๕ นาที ประกอบด้วย บทความ ๒๘ ฉบับ มีเนื้อหาเป็นสาระความรู้ทั่วไป เช่น การพิมพ์หนังสือ, การเก็บรักษาอาหาร, การรักษาสุขภาพของโรคผิวหนัง เป็นต้น




          วันนี้ (วันอังคารที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๕) เวลา ๐๙.๐๙ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีบวงสรวงสมโภชพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เพื่อนำออกให้ประชาชนสักการะและสรงน้ำขอพรเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และประชาชนร่วมในพิธี          กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ จัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์เป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคลในปีใหม่ไทย เนื่องด้วยในสมัยโบราณ คนไทยมักไม่นิยมนับอายุตามวันเกิด แต่จะนับตามการเถลิงศักราชใหม่ในช่วงปีใหม่ไทยคือ สงกรานต์ หากปีใดมีความป่วยไข้ หรือทราบว่าถึงเวลาเปลี่ยนทักษา โดยเฉพาะเจ้านายก็จะขึ้นเกยส่งเทวดาเก่ารับเทวดาใหม่ ด้วยเชื่อว่าจะนำพาสิริมงคลมาพร้อมกับศักราชใหม่ จึงได้อัญเชิญพระธาตุในพระกรัณฑ์ ซึ่งเดิมทีประดิษฐานในก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปองค์สำคัญ ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล มาเป็นประธานในพิธี และเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ผู้เป็นเจ้าเรือนชะตามนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย ตามความเชื่อโบราณ มาให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำขอพร ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต อันเป็นวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ของไทย และเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงาม ตลอดจนสืบทอดองค์ความรู้ในอดีตจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งนี้ เทวดานพเคราะห์มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่ นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ถือว่าเป็นเทพที่ปกปักรักษาชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ประกอบด้วย พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพนพเคราะห์ทั้งปวง พระจันทร์ ทรงม้า พระอังคาร ทรงมหิงสา พระพุธ ทรงคชสาร พระพฤหัสบดี ทรงกวาง พระศุกร์ ทรงโค พระเสาร์ ทรงพยัคฆ์ พระราหู ทรงพญาครุฑ และ พระเกตุ ทรงนาค          สำหรับประติมากรรมเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ที่อัญเชิญมาประดิษฐานตามระบบทักษาใน แผนผังอัฐจักรนี้ สร้างขึ้นตามแบบเทวดานพเคราะห์ของไทย แต่งกายคล้ายคลึงกับภาพเทวรูปในสมุดไทยหมวดตำราภาพเทวรูปไสยาศาสตร์ เล่มที่ ๗๐ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระราชโอรสพระองค์ที่ ๑๒ ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ วังหน้าองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดาราวดี พระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งประติมากรรมเทวดานี้มีความคล้ายคลึงกับภาพจิตรกรรมเทพยดาบนบานประตูหน้าต่างด้านในของพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ทรงร่วม ในการควบคุมการก่อสร้างเช่นกัน ความพิเศษของประติมากรรมชุดนี้ คือ สามารถถ่ายทอดรูปแบบของเทวดา นพเคราะห์ให้ออกมาเป็นประติมากรรมแบบลอยตัว แสดงท่าทางและลักษณะได้อย่างสมจริงและมีชีวิตชีวา โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ และลักษณะของเทพแต่ละองค์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ สันนิษฐานว่าน่าจะหล่อขึ้นในราวรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา โดยเปรียบเทียบลักษณะประติมานวิทยากับภาพใน สมุดไทย และรูปสัตว์ที่มีความเหมือนจริงเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากตะวันตก          พุทธศาสนิกชนและประชาชนที่สนใจสามารถร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๔ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดกิจกรรมภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด มีจุดคัดกรองบริเวณทางเข้า - ออก ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ผู้ร่วมกิจกรรมต้องแสดงผลการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างน้อย ๒ เข็ม หรือแสดงผลการตรวจหาเชื้อไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19) สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓, ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒


อยู่ในระหว่างดำเนินการจัดพิมพ์




ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           53/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               46 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๕๒ วันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน           พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน เรียกโดยลำลองว่า "ท่านพระองค์หญิงสี่" หรือ "ท่านพระองค์สี่" เป็นพระธิดาพระองค์ที่ ๕ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในหม่อมเจ้าประสงค์สม ไชยันต์ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๕๒ เมื่อแรกประสูติทรงดำรงสกุลยศเป็นหม่อมเจ้าหญิงจุไรรัตนศิริมาน          ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน ถึงรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๕๓ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน          พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ พระชันษา ๙๐ ปี          พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน ทรงเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ที่สืบสายจากพระบิดา   ภาพ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           37/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 132/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 168/2เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สถานีรถไฟสารภี         สถานีรถไฟสารภี ตั้งอยู่ที่ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างสถานีรถไฟเชียงใหม่กับสถานีรถไฟป่าเส้า จังหวัดลำพูน ปัจจุบันสถานีรถไฟสารภี ให้บริการรถท้องถิ่น เที่ยวขึ้น ขบวน ๔๐๗ นครสวรรค์ - เชียงใหม่ และเที่ยวล่อง ขบวน ๔๐๘ เชียงใหม่ - นครสวรรค์ นอกจากนั้นเป็นรถผ่าน         แต่เดิมสถานีรถไฟสารภี มีชื่อว่าสถานีป่ายางเลิ้ง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นายอำเภอสารภีได้ทำหนังสือติดต่อไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย ขอให้พิจารณาเปลี่ยนชื่อสถานีป่ายางเลิ้ง เป็นสถานีสารภี เนื่องจากชื่อสถานีป่ายางเลิ้งเป็นชื่อที่ไม่เหมาะสมและไม่ตรงกับความเป็นจริง ด้วยคำว่าป่ายางเลิ้งไม่มีชื่อหมู่บ้านและตำบลอยู่ในทำเนียบท้องที่อำเภอสารภี ทำให้ผู้โดยสารรถไฟไม่ได้รับความสะดวกหลายประการ เช่น ผู้โดยสารบางคนต้องการโดยสารรถไฟไปลงที่อำเภอสารภี แต่ไม่ทราบว่าจะลงที่สถานีใด ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อสถานีป่ายางเลิ้งเป็นสถานีสารภี         อย่างไรก็ตาม กรมมหาดไทยได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวว่าสถานีป่ายางเลิ้งตั้งอยู่ในเขตการปกครองท้องที่หมู่บ้าน ตำบล หรือในเขตบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสารภี และให้พิจารณาตามหลักการตั้งชื่อสถานีรถไฟตามที่ตั้งตำบลหมู่บ้านหรือที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ หากสถานีแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสารภี ก็ควรตั้งชื่อว่า “สถานีสารภี” หากไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ก็ควรใช้ชื่อตำบลเรียกชื่อว่า “สถานียางเนิ้ง”          หลังจากจังหวัดเชียงใหม่พิจารณาแล้ว ได้ทำหนังสือแจ้งกรมมหาดไทย เห็นสมควรในการเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟดังกล่าว เป็นสถานีสารภี เนื่องจากสถานีนี้ตั้งอยู่ตำบลยางเนิ้ง อันเป็นตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอสารภี ซึ่งถือว่าเหมาะสมและสามารถอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้โดยสารที่อยู่ห่างไกลได้ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง :๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. เอกสารสำนักงานปกครองจังหวัดเชียงใหม่ หจช ชม ชม ๑.๒.๑/๕๓ เรื่องขอเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟป่ายางเลิ้ง เป็นสถานีสารภี (๑๑ เมษายน ๒๕๐๓ – ๕ มิถุนายน ๒๕๐๔)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           21/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                60 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


Messenger