ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ




         การดำเนินงานโบราณคดีที่ปราสาทเขาโล้น นอกจากจะทำให้พบโบราณสถานที่ถูกดินทับถมไว้แล้ว ยังทำให้พบชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมทำจากหินทราย เช่น บริเวณปราสาท ๓ หลังบนฐานไพที พบยอดปราสาททรงกลม ใช้ประดับบนชั้นซ้อนชั้นสุดท้ายของปราสาทเพื่อรองรับนภศูล แถวกลีบบัวเหนือทับหลัง เป็นแถวกลีบบัวที่เคยประดับเหนือทับหลังบริเวณ ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน ปราสาทจำลองและบรรพแถลง ใช้วางประดับบริเวณกึ่งกลางและบริเวณมุมของชั้นซ้อนแต่ละชั้น           บริเวณบรรณาลัยและโคปุระทั้งสามด้าน พบชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรม เช่น ปลายกรอบหน้าบัน สลักลวดลายเป็นรูปมกรอ้าปากชูงวงประกอบลายกระหนก แถวกลีบบัวประดับบริเวณเชิงชายของหลังคา เสาลูกมะหวดทรงกลม ใช้ประดับบริเวณกรอบหน้าต่าง บราลีลักษณะทรงกรวยแหลม ใช้ประดับบริเวณ สันหลังคา           ส่วนภาชนะดินเผาพบภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีเขียวและสีน้ำตาลที่ผลิตจากแหล่งเตาในจังหวัดบุรีรัมย์ และเครื่องถ้วยจีนเนื้อกระเบื้องเคลือบสีขาว สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ           จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรม โบราณวัตถุ รูปแบบของทับหลัง เสาประดับกรอบประตูจากภาพถ่ายเก่า และการกำหนดอายุตัวอย่างอิฐ ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescence dating : TL) ล้วนให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันทำให้สันนิษฐานว่าปราสาทเขาโล้นน่าจะสร้างขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นปราสาทในศิลปะเขมรแบบบาปวนตอนต้น สอดคล้องกับการพบจารึกบริเวณกรอบประตูที่ระบุศักราชตรงกับพุทธศักราช ๑๕๕๙ ภาพ ๑. ยอดปราสาท ภาพ ๒. แถวกลีบบัวเหนือทับหลัง ภาพ ๓. และ ๔. ปราสาทจำลอง ๕. บรรพแถลงรูปบุคคล ภาพ ๖. และ ๗. ปลายกรอบหน้าบันรูปมกรชูงวง ภาพ ๘. แถวกลีบบัวประดับเชิงชาย ภาพ ๙. เสาลูกมะหวด ภาพ ๑๐. บราลี-----------------------------------------ผู้เขียน : นายสิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์ (นักโบราณคดีชำนาญการ) สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี-----------------------------------------



ชื่อเรื่อง                           ปฐมสมโพธิ (ปฐมสมโพธิเผด็จ)สพ.บ.                                  140/16ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           60 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พระพุทธเจ้า                                           พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดศรีบัวบาน อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


นางสาวเปรมา สัตยาวุฒิพงศ์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มประวัติศาสตร์ ค้นคว้าเรียบเรียง


ภาพ : เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ที่มา : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร)           เจ้าดารารัศมี พระราชชายา เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในด้านการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านศิลปะการแสดงพื้นเมืองต่าง ๆ ดังจะสังเกตได้จาก เมื่อพระองค์ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับไปประทับที่เชียงใหม่เป็นการถาวร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระองค์ได้เริ่มทรงงานอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนางานด้านศิลปะการแสดงพื้นเมือง โดยโปรดให้ครูละครของพระองค์ประดิษฐ์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองชุดต่าง ๆ ทั้งแบบล้านนาและแบบราชสำนักขึ้นหลายชุด หนึ่งในการแสดงชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ตามพระดำริ ของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ซึ่งเป็นแสดงที่มีความสวยงามด้วยลีลาท่ารำและเครื่องแต่งกาย มีความไพเราะของท่วงทำนองเพลงและยังนิยมนำออกแสดงจนถึงปัจจุบัน คือ การแสดงชุด “ฟ้อนม่านมุยเซียงตา” ภาพ: การแสดงชุด “ฟ้อนม่านมุยเซียงตา” เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๖๙ (ที่มา : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร)           การแสดงชุด “ฟ้อนม่านมุยเซียงตา” หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า “ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา” นี้ เป็นการแสดงชุดหนึ่งที่เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ทรงตั้งพระทัยที่จะประดิษฐ์ฟ้อนขึ้นใหม่ให้แปลกไปจากฟ้อนที่เคยมีอยู่ จึงรับสั่งให้หาตัวระบำของพม่ามารำถวาย โดยทรงคิดว่าหากท่ารำของพม่าสวยงามเหมาะสมจะทรงดัดแปลงแล้วนำมาผสมกับท่ารำของไทยให้เป็นรำพม่าแปลงขึ้นใหม่ชุดหนึ่ง ครั้นทอดพระเนตรตัวระบำของพม่าที่มา รำถวายแล้ว จึงมีพระวินิจฉัยว่าท่ารำที่เป็นของผู้ชายนั้นมิค่อยน่าดูมากนัก จึงรับสั่งให้หญิงชาวมอญ ชื่อ เม้ยเจ่งตา มาแสดงท่าระบำพม่าที่เคยแสดงในเขตพระราชฐานของกษัตริย์พม่าให้ทอดพระเนตร ปรากฏว่าเป็นที่พอพระทัยอย่างยิ่ง จึงทรงดัดแปลงท่าฟ้อนดังกล่าวร่วมกับครูฟ้อนชาวพม่า ชื่อ สล่าโมโหย่ หรือโกโมโหย่ กลายเป็นฟ้อนชุดใหม่ที่มีลีลาการฟ้อนทั้งแบบใช้มือเปล่าและการฟ้อนโดยเอาแพรยาวที่คล้องคอของผู้แสดงมาถือประกอบในการฟ้อน มีการใช้สัดส่วนของมือและขาแบบการแสดงนาฏศิลป์ของพม่า ในบางช่วงบางตอน นอกจากนี้ยังมีการนำท่ารำแบบแผนของไทยภาคกลางมาสอดแทรกอยู่ในการแสดง ชุดนี้ด้วย ดังที่ นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้อธิบายถึงท่ารำในการแสดงชุดนี้ ไว้ว่า           ยังมีท่ารำที่เป็นท่าแบบแผนของไทยภาคกลางปนอยู่ไม่น้อย ที่เห็นอย่างได้ชัดเจน เช่น ท่ากวางเดินดง, สอดสร้อยมาลา, หลงใหลได้สิ้น, รำยั่ว, และท่ายูงฟ้อนหาง เป็นต้น (มนตรี ตราโมท, ๒๔๙๑: ๒๖)           ส่วนท่ารำในบางช่วงที่วงปี่พาทย์ยังคงบรรเลงอยู่แต่ทว่าผู้แสดงกลับยืนหยุดนิ่งคล้ายกับหุ่นหรือตุ๊กตา แล้วอีกสักครู่ผู้แสดงฟ้อนต่อไปนั้น นับว่าเป็นการหยิบยืมเทคนิคลีลาท่าทางการแสดงนาฏศิลป์แบบพม่า มาประยุกต์ใช้ได้อย่างสวยงามและลงตัว ทำให้ลีลาท่าฟ้อนในการแสดงชุดนี้มีกลิ่นอายทั้งลีลาท่ารำแบบพม่าและลีลาท่ารำแบบไทยภาคเหนือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างยิ่ง           ทำนองเพลงที่วงปี่พาทย์นำมาใช้บรรเลงประกอบการแสดงในชุดนี้ มีทั้งหมด ๓ สำเนียง ได้แก่ สำเนียงแบบไทยภาคกลาง สำเนียงแบบไทยภาคเหนือและสำเนียงแบบพม่า นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้อธิบายถึงทำนองเพลงในการแสดงชุดนี้ ไว้ว่า           เพลงต้นทีเดียวเป็นสำเนียงพม่ามาก แต่พอถัดมาถึงเพลงที่ ๒ เป็นเพลงจำพวกออกสองไม้ มีสำเนียงเป็นไทยเหนือ อย่างที่เรียกว่า ล่องน่าน อยู่เป็นพื้น เพลงต่อ ๆ ไป ก็คละระคนกัน โดยมีประโยคไทยภาคกลางเป็นหลัก มีไทยเหนือ และพม่าเป็นเครื่องประดับ ยิ่งกว่านั้น ซ้ำยังมีทำนองมอญแทรกอยู่อีกด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเราได้ยิน ได้ฟังรวม ๆ ไปแล้ว จึงทำให้เข้าใจว่าเป็นเพลงพม่าไปได้ แต่ถ้าจะฟังโดยสังเกตเพลงในตอน ๒ และเพลงเร็วแล้ว จะเห็นว่ามีสำเนียงไทย ภาคกลางอยู่มากมายและอย่างชัดเจนทีเดียว (มนตรี ตราโมท, ๒๔๙๑: ๒๗)           จากข้อมูลดังกล่าวจึงสามารถวิเคราะห์ได้ว่า สำเนียงเพลงที่ใช้ประกอบในการแสดงชุดฟ้อน ม่านมุยเซียงตานี้ เป็นเพลงที่มีสำเนียงเพลงแบบไทยภาคกลางปรากฏมากกว่าสำเนียงอื่น ๆ ซึ่งสอดคล้อง กับข้อมูลที่ชาวพม่าเรียกทำนองเพลงนี้ว่า “ฟ้อนโยเดีย” (อยุธยา) จึงสันนิษฐานว่าเพลงที่ประกอบการแสดงชุดนี้ อาจเป็นเพลงของไทยที่ตกไปอยู่ในประเทศพม่าตั้งแต่ครั้งกรุงเก่าแต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปเพลงดังกล่าว จึงได้กลายสำเนียงเป็นไปอย่างพม่า ครั้นคนไทยภาคเหนือพบทำนองเพลงนี้ซึ่งบรรเลงอยู่ในประเทศพม่าเข้า จึงรับเข้ามาบรรเลงและเชื่อว่าเพลงนี้เป็นทำนองอย่างพม่า เลยพากันเรียกชื่อเพลงนี้ว่า “ฟ้อนม่าน” (พม่า) นั่นเอง           สำหรับเครื่องแต่งกายในการแสดงชุดนี้ ผู้แสดงจะแต่งกายแบบฟ้อนม่านของเดิมซึ่งมีความสวยงามอย่างยิ่งตามแบบหญิงสาวชาวพม่า ดังที่ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ผู้ซึ่งเคยทอดพระเนตรการแสดงฟ้อนม่าน ที่เจ้าหลวงแก้วนวรัตน์จัดแสดงประทานรับขวัญ เมื่อครั้งตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขึ้นไปเมืองเชียงใหม่เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๔ ไว้ว่า           ผู้ฟ้อนเป็นหญิงสาวแต่งตัวแบบพม่า นุ่งซิ่นยาวถึงพื้น ใส่เสื้อเอวสั้นมีลวดอ่อนงอนขึ้นไปจากเอวเล็กน้อยและแขนเสื้อยาวถึงข้อมือ มีแพรห่มสีต่าง ๆ คล้องคอทิ้งยาวลงมาถึงเข่า เกล้ามวยบนกลางหัวและปล่อยชายผมลงมาข้าง ๆ บนบ่า มีดอกไม้สดใส่รอบมวยเป็นพวงมาลัยและอุบะยาวห้อยลงมากับชายผม (หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล, ๒๔๙๑: ๒๓) ภาพ : เครื่องแต่งกายชุด “ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา” สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จัดแสดงเนื่องในงานเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ขัตติยราชนารีศรีนครเชียงใหม่” วันอาทิตย์ ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ที่มา : พัชรพล เหล่าดี)           การแสดงชุดฟ้อนม่านมุยเซียงตาที่สร้างขึ้นตามพระดำริของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา นี้ นำออกแสดงครั้งแรกในงานฉลองตำหนัก เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ที่สร้างขึ้นใหม่บนดอยสุเทพ ใช้วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่บรรเลงประกอบการฟ้อน ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ เสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ ในพุทธศักราช ๒๔๖๙ ได้เสด็จมาเสวยพระกระยาหารค่ำ เจ้าดารารัศมี พระราชชายา จึงได้จัดการแสดงชุดฟ้อนม่านมุย เซียงตา สนองพระเดชพระคุณให้ทอดพระเนตรอีกครั้ง สำหรับมูลเหตุที่ทำให้การแสดงชุดฟ้อนม่านมุย เซียงตา ลงมาแสดงถึงในแถบภาคกลางและนิยมแสดงมาจนถึงปัจจุบันนั้น เห็นจะมาจากเมื่อคราวงานสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลก ช้างเผือกในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระราชวังสวนดุสิต เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๐ ซึ่งในงานนี้มีการละเล่นและมีมหรสพสมโภชต่าง ๆ รวมถึงมีโรงฟ้อนไทยเหนือซึ่งฟ้อนโดยช่างฟ้อนชาวเชียงใหม่ ของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาและได้นำการแสดงชุดฟ้อนม่านมุยเซียงตาลงไปแสดงในงานสมโภช ฯ ครั้งนั้นด้วย แต่นั้นมาการแสดงชุดฟ้อนม่านมุยเซียงตาจึงเป็นที่นิยมและแพร่หลายออกไปในงานต่าง ๆ แถบภาคกลาง โดยมีศิลปินของไทยภาคกลางเป็นผู้นำไปบรรเลงและแสดง           ฟ้อนม่านมุยเซียงตา นับได้ว่าเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่มีความงดงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตามรูปแบบการฟ้อนในราชสำนักของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่ควรค่าแก่อนุรักษ์และเผยแพร่ให้คงอยู่สืบไป กล่าวได้ว่า เจ้าดารารัศมี พระราชชายานั้น ทรงเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่มีคุณูปการต่อการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองล้านนาเป็นอย่างยิ่ง ผลงานนาฏศิลป์ที่สร้างขึ้นตามพระดำริที่เกิดขึ้นทุกชุด ล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านนาฏศิลป์ของพระองค์ท่านและนับเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนและคนไทยในแถบภาคเหนือให้เกิดความรัก ความหวงแหนและความภาคภูมิใจในการแสดงวัฒนธรรมพื้นถิ่นล้านนาอันเป็นถิ่นกำเนิดของตนเอง ซึ่งมีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์งดงามอ่อนหวานตามแบบฉบับล้านนาได้ดีมากยิ่งขึ้น ------------------------------------------------------เรียบเรียงเทิดพระเกียรติคุณเนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ๙ ธันวาคม ๒๕๖๓ : ธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ สำนักการสังคีต ------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิงพูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ฟ้อนม่าน. วารสารศิลปากร ปีที่ ๒ เล่ม ๑ (มิถุนายน ๒๔๙๑) : ๒๒-๒๕. มนตรี ตราโมท. ฟ้อนมุยเซียงตา. วารสารศิลปากร ปีที่ ๒ เล่ม ๑ (มิถุนายน ๒๔๙๑) : ๒๖-๒๘.



เลขทะเบียน : นพ.บ.113/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  32 หน้า ; 5.4 x 55.3 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 63 (192-196) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : อานิสงส์ 8 หมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (ฉลอง 8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.143/15ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 86 (346-361) ผูก 15 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺปฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


พระพุทธรูปปางมารวิชัย แบบศิลปะ/อายุสมัย อยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ ประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ประทาน เมื่อ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๙๗          พระพุทธรูปมารวิชัย หรือพระพุทธรูปชนะมาร หล่อด้วยสำริด ประทับขัดสมาธิเพชร พระบาททั้งสองไขว้กัน และเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฝ่าพระบาทเรียบเสมอกัน พระรัศมีเป็นเปลว พระศกขมวดเป็นก้นหอย มีเส้นขอบไรพระศก พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระเนตรเรียว ฝังมุกและนิล พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็กหยักเป็นคลื่น พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายผ้าสังฆาฏิสั้นเป็นรูปหางปลาอยู่เหนือพระถัน ประทับเหนือฐานสามเหลี่ยม หน้าพระเพลามีชายจีวรคลี่เป็นแฉกคล้ายรูปพัด           จากรูปแบบศิลปกรรมสามารถกำหนดอายุว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ พระพุทธรูปศิลปะอยุธยากลุ่มนี้ สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลทางจากศิลปะสุโขทัยและล้านนา กล่าวคือ มีรัศมีเป็นเปลว แบบพระพุทธรูปสุโขทัย มีพระวรกายที่อวบอ้วน มีชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ขัดสมาธิเพชร และที่หน้าพระเพลามีชายจีวรคลี่เป็นรูปพัดแบบพระพุทธรูปล้านนา ในขณะเดียวกันมีลักษณะที่แสดงรูปแบบของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา คือ มีเส้นขอบพระเนตรกับพระขนงป้ายเป็นแผ่นวงโค้ง มีเส้นขอบไรพระศก และพระโอษฐ์หยักเป็นคลื่น ผสมผสานจนเกิดเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา โดยสามารถศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลาง ที่พบในพระอุระและพระพาหาของพระมงคลบพิตร ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านั้น ล้วนสร้างขึ้นก่อนถูกนำมาบรรจุในพระอุระและพระพาหาขององค์พระมงคลบพิตรในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ การพบรูปแบบพระพุทธรูปแบบศิลปกรรมสุโขทัยและล้านนา ปรากฏในพระพุทธรูปสมัยอยุธยาองค์นี้ เป็นหลักฐานสำคัญว่าช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ อยุธยามีความสัมพันธ์กับหัวเมืองทางเหนือ ได้แก่ สุโขทัยและล้านนา           สำหรับคติการสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย แสดงพุทธประวัติเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงสามารถชนะพระยามารที่ยกพลมาผจญพระองค์ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแสดงสัญลักษณ์โดยวางพระหัตถ์ขวาเหนือพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงสู่พระธรณีเป็นกิริยาเรียกพระแม่ธรณีขึ้นมาเป็นพยานในพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมา พระแม่ธรณีจึงปรากฏกายขึ้นและบีบน้ำที่ทรงรดสรงในการบำเพ็ญทานในอดีตชาติ อันนับประมาณมิได้ จนท่วมทัพของพรยามารพ่ายแพ้ไป การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ เหนือกว่าชัยชนะทั้งปวงของพระองค์ โดยนัย การบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ จึงบูชาเพื่อชัยชนะทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลกคือชัยชนะเหนือศัตรู ทางธรรมคือชัยชนะเหนือกิเลสทั้งปวง-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง-----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๔. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปสำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔.


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.13/1-6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 49 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 78 (ต่อ-)79) ปราบเงี้ยว ตอนที่ 2 จดหมายเหตุวันวลิต (ฉบับสมบูรณ์)ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 276 หน้าสาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 49 ปราบเงี้ยว นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบหนังสือราชการโต้ตอบกันระหว่างผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปราบกฏบเงี้ยวในช่วง ร.ศ. 121 หรือปี พ.ศ.2445 และจดหมายเหตุวันวลิตกล่าวถึงความเป็นไปตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และการจลาจลซึ่งเกิดขึ้นในกรุงศรีอยุธยา จนถึงเมื่อครั้งพระเจ้าปราสาททองได้ครองราชสมบัติ


     ประติมากรรมดินเผารูปราชยลักษมี       พบจากเมืองโบราณอู่ทอง       จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง      ประติมากรรมดินเผารูปราชยลักษมี สูงประมาณ ๙.๕ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปพระลักษมี เกล้าพระศก ทรงกุณฑลทรงกลม พระกรขวาโอบลำตัวสิงห์ที่หมอบอยู่ด้านข้าง สิงห์มีแผงคอม้วนคล้ายลายกระหนก ตาโปน จมูกใหญ่ แยกเขี้ยวยิงฟันคล้ายประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ ที่พบในเมืองโบราณอู่ทอง ด้านหลังประติมากรรมรูปราชยลักษมี ตกแต่งด้วยลวดลายคล้ายเปลวไฟซ้อนกัน รองรับด้วยฐานทรงกลมตกแต่งด้วยลายกลีบบัว กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) มีผู้สันนิษฐานว่า อาจใช้เป็นฝาจุกภาชนะ หรือประดิษฐานเพื่อการเคารพบูชา หรือใช้เป็นเครื่องรางสำหรับติดตัวพ่อค้าหรือนักเดินทาง       ราชยลักษมี เป็นรูปแบบหนึ่งของพระศรี - ลักษมี ซึ่งมักปรากฏคู่กับสิงห์  ในศิลปะอินเดียพบรูปราชยลักษมีปรากฏบนเหรียญตราในลักษณะของพระลักษมี คือ ทรงถือดอกบัว บ่วงบาศหรือตะกร้าแห่งพืชผล นั่งบนหลังสิงห์หรือย่างพระบาทข้ามตัวสิงห์ ส่วนเหรียญอีกด้านเป็นรูปของกษัตริย์ หมายถึงโชคลาภ ความอุดมสมบูรณ์และเป็นเครื่องยืนยันถึงสิทธิในการเป็นกษัตริย์ ไม่พบการสร้างรูปราชยลักษมีเป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดเล็ก ดังนั้นประติมากรรมราชยลักษมีที่เมืองโบราณอู่ทองนี้ จึงเป็นรูปแบบเฉพาะที่เกิดขึ้นในศิลปะทวารวดี โดยมีการคลี่คลายจากศิลปะอินเดียที่เป็นต้นแบบ โดยการลดทอนรายละเอียดบางประการออกไป ได้แก่ ไม่ทรงถือสิ่งของ และเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งบนหลังสิงห์หรือย่างพระบาทข้ามตัวสิงห์ มาเป็นการนั่งโอบสิงห์ อนึ่ง นอกจากประติมากรรมรูปราชยลักษมีชิ้นนี้แล้ว ในประเทศไทยยังมีการพบประติมากรรมรูปราชยลักษมีอีกอย่างน้อย ๒ ชิ้น ได้แก่ ประติมากรรมดินเผารูปราชยลักษมีประกอบกับประติมากรรมรูปคชลักษมี พบที่เมืองโบราณอู่ทอง ๑ ชิ้น และใบเสมารูปราชยลักษมีจากเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ๑ ชิ้น ทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานการค้นพบเหรียญตรารูปราชยลักษมีคู่กับกษัตริย์ตามอย่างอินเดีย ดังนั้นประติมากรรมรูปราชยลักษมีเหล่านี้ จึงไม่น่าจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ตามคติที่ปรากฏในอินเดีย แต่น่าจะสร้างขึ้นเป็นรูปเคารพ สัญลักษณ์แห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ เช่นเดียวกับคติการสร้างรูปคชลักษมี ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพระลักษมี และพบได้ทั่วไปตามเมืองโบราณในสมัยทวารวดี ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน        เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. รูปแบบและความเชื่อของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระศรี-ลักษมีที่พบใน ประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐.  


องค์ความรู้ แม่เต๋อ : นางพยาบาลแบบตะวันตกคนแรกของไทย จัดทำข้อมูลโดย นางสาวระชา ภุชชงค์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์


Messenger