ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
วัสดุ สำริด
แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย แบบบายน
อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18
สถานที่พบ พบในเขต อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
พระพุทธรูปปางสมาธินาคปรก พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนา สวมกระบังหน้า สวมมงกุฎทรงกรวยแหลม สวมกุณฑล กรองศอ พาหุรัด ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนขนดนาค 3 ชั้น ด้านหลังองค์พระมีพญานาค 7 เศียรแผ่พังพาน องค์พญานาคตกแต่งด้วยลายเกล็ดนาค ด้านหลังปรากฏหางนาค ใต้ฐานกลวง
ตึกถาวรวัตถุ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดขึ้นเนื่องในโอกาส 100 ปี แห่งการสวรรคตของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
ตึกถาวรวัตถุ ซึ่งตึกนี้สร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงใช้เป็นพระที่นั่งทรงธรรมในการพระเมรุของพระองค์เอง ก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 จากนั้น พระราชทานเป็นที่ตั้งของหอสมุด วชิรญาณสำหรับพระนคร เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 7 คงให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์ข่าว พระราชทานนามใหม่ว่า หอพระสมุดวชิราวุธ ปัจจุบันเป็นอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กำเนิดอาคารถาวรวัตถุ อาคารถาวรวัตถุ หรือตึกแดง ตั้งอยู่ฝั่งทิศตะวันตกของสนามหลวง ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยพระราชประสงค์ 2 ประการ
ประการแรก เพื่อให้เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย หลังจากที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมหาธาตุวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2432 แต่ยังขาดสถานที่เรียนอันเหมาะสม จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์ขึ้น ประการที่สอง ประจวบกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.2437 โดยพระราชประเพณีจะต้องสร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ตามพระเกียรติยศขึ้นที่ท้องสนามหลวง พระองค์มีพระราชดำริว่า เป็นการสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ในการสร้างสิ่งที่ไม่ได้เป็นถาวรวัตถุ เพราะสร้างใช้งานชั่วคราว เสร็จงานแล้วก็รื้อทิ้ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้อำนวยการสร้างอาคารตึกถาวรวัตถุขึ้น ณ บริเวณกุฏิสงฆ์วัดมหาธาตุด้านทิศตะวันออก ลักษณะอาคารเป็นยอดปรางค์ 3 ยอด เพื่อเป็นที่อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาประดิษฐานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน เมื่อการบำเพ็ญพระราชกุศลนั้นแล้วจะได้ถวายอาคารนี้ให้เป็นสังฆิกเสนาสนะสำหรับมหาธาตุวิทยาลัยต่อไป แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์ (เพราะสวรรคตก่อน) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อจนเสร็จ แล้วพระราชทานให้เป็นที่ตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนคร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2459 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ตึกถาวรวัตถุนั้น ทรงให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์ ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า หอพระสมุดวชิรญาณ ต่อมาและเป็นอาคารหอสมุดแห่งชาติ จนกระทั่งได้ย้ายหอสมุดแห่งชาติไปตั้งที่แห่งใหม่ที่ท่าวาสุกรี เมื่อ พ.ศ. 2508 ตึกถาวรวัตถุยังเป็นที่ตั้งสำนักงานราชบัณฑิตยสถานต่อ จนกระทั่งสำนักงานย้ายไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ตึกนี้ไม่มีการใช้งานอื่นใด กรมศิลปากร สมัยนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต เป็นอธิบดี ได้ปรับปรุงเพื่อเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจในรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นที่องค์ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเอกสารในการปฏิรูปประเทศของรัชกาลที่ 5 เป็นมรดกโลก
ภาพนิทรรศการ:
มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เรื่องพงศาวดาริอันเป็นมูลเหตุแห่งจดหมายหลวงอุดมสมบัติ กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 และเกิดเหตุจลาจลวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตอนที่ 2 เป็นจดหมายหลวงอุดมสมบัติเขียนจดหมายกราบเรียนพระยาศรีพิพัฒน์ (ทัด) กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เมืองไทรบุรียกกำลังมาตีเมืองสงขลาในปีะ พ.ศ. 2381 ตอนที่ 3 พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราชของหลวงอนุสรสิทธิกรรม (บัว ณ นคร) กล่าวถึงเหตุการณ์ตั้งแต่หลวงสิทธินายเวรมหาดเล็ก (หนู) พระปลัดเมืองนครผู้รักษาราชการเมือง ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้านคร และได้ยกกำลังไปตีหัวเมืองต่างๆ ตั้งเป็นชุมนุมเจ้านคร ส่วนท้ายเล่มกล่าวถึงประวัติพระยานคร (น้อย) และจดหมายบอกข่าวราชการจากกรุงเทพฯ ถึงเจ้าพระยานคร (น้อย)
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 28 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
วัดมหาธาตุ เป็นปูชนียสถานสำคัญ ที่ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองราชบุรีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง เขตตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒๕ ไร่ สันนิษฐานกันว่าเดิมคงสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕–๑๖) ต่อมาเมื่ออิทธิพลวัฒนธรรมเขมรแพร่เข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงมีการก่อสร้างปราสาทแบบขอมขึ้นซ้อนทับศาสนสถานสมัยทวารวดี และสร้างกำแพงศิลาแลงขึ้นล้อมรอบ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของเมืองตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาลของเขมร ต่อมาปราสาทแบบขอมคงจะชำรุดหักพังลง ดังนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐–๒๑) จึงได้มีการก่อสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาขึ้นซ้อนทับ ประกอบด้วย ปรางค์ประธาน และปรางค์บริวารขนาดย่อมจำนวน ๓ องค์ แผนผังของพระปรางค์มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระปรางค์ของวัดมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี และพระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายในคูหาปรางค์ประธานมีภาพจิตรกรรมเขียนบนผนังที่ฉาบด้วยดินดิบ เป็นรูปพระอดีตพุทธเจ้าและพุทธประวัติ ศิลปกรรมแบบสมัยอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าอาจจะได้รับการซ่อมแซมพร้อมกับองค์ปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนกลาง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒) หลักฐานโบราณสถานและศิลปะโบราณวัตถุภายในวัดมหาธาตุ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบศิลปกรรมของแต่ละยุคสมัย อันเป็นเครื่องยืนยันถึงความเจริญรุ่งเรืองของวัดมหาธาตุในการเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนสืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน เป็นต้นว่า กำแพงศิลาแลงล้อมรอบพระปรางค์ มีทับหลังกำแพงสกัดจากหินทรายสีชมพูเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่ง แสดงปางสมาธิอยู่ในซุ้มเรือนแก้วใบระกา อันเป็นลักษณะที่นิยมสร้างกันในศิลปะเขมรแบบบายน (ประมาณพุทธศักราช ๑๗๒๐–๑๗๖๐) วิหารหลวง อาคารก่ออิฐถือปูนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อสร้างขึ้นซ้อนทับฐานอาคารศิลาแลงบริเวณด้านหน้าพระปรางค์ภายนอกระเบียงคต เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่จำนวน ๒ องค์ แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกัน ศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น พระมณฑป อาคารก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้ยี่สิบ ผนังด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติ ตอน เสด็จโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และตอนมารผจญ ภายในพระมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสลักจากหินทรายแดง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระพุทธรูปสมัยต่างๆ เช่น สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยอยุธยา ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในระเบียงคตรอบองค์ปรางค์ และภายในพระอุโบสถ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และเล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๘๘ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๖
โบราณสถานบนเขางู จังหวัดราชบุรี
เขางู ตั้งอยู่ในเขตตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ห่างออกจากตัวเมืองราชบุรีออกไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร ปรากฏหลักฐานทางด้านโบราณคดีอยู่ภายในถ้ำ ๔ แห่ง คือ ถ้ำฤาษี ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำฝาโถ ลักษณะเป็นศาสนสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๓) และมีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓–๒๔) ในแต่ละแห่งมีรายละเอียด ดังนี้ ถ้ำฤาษี บนผนังถ้ำมีภาพจำหลักเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ขวาแสดงปางแสดงธรรมเทศนา พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา ศิลปะแบบทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๓) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย สมัยหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๓) ระหว่างข้อพระบาทมีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน ๑ บรรทัด มีอักษรทั้งหมด ๑๒ ตัว เป็นรูปแบบอักษรที่นิยมใช้ในประเทศอินเดียตอนใต้ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๒ อ่านได้ว่า “ปุญกรมชระ ศรีสมาธิคุปต(ะ)” แปลว่า “พระศรีสมาธิคุปตะเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยการทำบุญ” ลักษณะของพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทนี้คล้ายกับพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทในถ้ำอชันตา ประเทศอินเดีย ส่วนผนังถ้ำฤาษีทางด้านตะวันตกปรากฏภาพจำหลักรูปพระพุทธรูปประทับยืน แสดงปางประทานอภัย บริเวณโดยรอบพระเศียรมีร่องรอยสีแดงติดอยู่จึงสันนิษฐานได้ว่าแต่เดิมคงจะมีการทาสีแดงที่องค์พระพุทธรูปด้วย และภายในพระอุโบสถ ถ้ำฝาโถ บนผนังถ้ำทางด้านทิศใต้มีภาพจำหลักรูปพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่หันพระเศียรไปทางปากถ้ำ มีประภามณฑลหลังพระเศียร เหนือขึ้นไปเป็นภาพปูนปั้นรูปเทพชุมนุม และต้นไม้มีการตกแต่งด้วยริ้วผ้าและเครื่องประดับ ส่วนผนังถ้ำทางด้านทิศเหนือมีภาพพระสาวกจำนวน ๔ องค์ บางองค์ยืนพนมมือ บางองค์ยืนเอียงตนอยู่ในท่าตริภังค์ ลักษณะการสลักภาพลงบนผนังถ้ำนี้มีรูปแบบใกล้เคียงกับภาพสลักบนผนังถ้ำอชันตาในประเทศอินเดีย ที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ คูหาถ้ำฝาโถด้านในพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงเป็นจำนวนมาก ส่วนบริเวณปากถ้ำมีร่องรอยของโครงหลังคามุงกระเบื้องดินเผาและแนวกำแพงก่ออิฐถือปูนซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นโบราณวัตถุและสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ถ้ำจีน ภายในถ้ำมีภาพจำหลักพระพุทธรูปปูนปั้นปรากฏอยู่บนผนังสององค์ โดยองค์ด้านในเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางแสดงธรรมเทศนา องค์ด้านนอกเหลือเพียงครึ่งองค์ลักษณะคล้ายกับองค์แรก สันนิษฐานว่าเดิมคงจะสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๓) ต่อมาถูกดัดแปลงโดยพอกทับด้วยปูนปั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ถ้ำจาม ภายในถ้ำมีภาพจำหลักบนผนังทุกด้าน ด้านทิศเหนือเป็นภาพตอนยมกปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี ประกอบ ด้วยภาพพระพุทธรูปประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ และปางแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางต้นมะม่วงที่มีผลอยู่เต็มต้น ซึ่งนิยมทำกันในสมัยทวารวดีดังปรากฏในภาพสลักหินและพระพิมพ์ การสร้างภาพตอนยมกปาฏิหาริย์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องพุทธประวัติในอรรถกถาภาษาบาลี ลัทธิหินยาน ส่วนผนังถ้ำทางด้านใต้ และด้านตะวันออกเป็นภาพปูนปั้นรูปบุคคลขี่คอซ้อนกันขึ้นไป และรูปพังพานพญานาคของพระพุทธรูปปางนาคปรก ผนังด้านตะวันตกเป็นภาพพระพุทธรูปไสยาสน์ แสดงปางปรินิพพาน กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนถ้ำฤาษี เป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และประกาศขึ้นทะเบียนถ้ำฝาโถ พระพุทธบาท ถ้ำจีน ถ้ำจาม เป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๗๔ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๗
แหล่งศิลปะถ้ำเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
แหล่งศิลปะถ้ำเขาสามร้อยยอด ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ตำบลไร่เก่า กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำรวจพบครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๓๙ โดย Dean Smart นักวิจัยถ้ำชาวอังกฤษ ต่อมากลุ่มวิชาการโบราณคดี สำนักงานศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี ได้ทำการสำรวจอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๕๔๕ พบว่าจุดที่ปรากฏภาพเขียนสีอยู่ที่เพิงผาของถ้ำภาพเขียนซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสามร้อยยอดตอนเหนือ มีพื้นที่ขนาดประมาณ ๔๐.๒ ตารางเมตร ภาพเขียนปรากฏอยู่ทั้งในระดับต่ำที่สามารถยืนเขียนภาพได้ง่ายๆ ความสูงประมาณ ๑.๕๐ เมตรจากพื้น และระดับความสูงที่จะต้องทำนั่งร้าน ใช้บันไดหรือพะองพาดขึ้นไปเขียนภาพความสูงประมาณ ๖ เมตร ซึ่งในระดับนี้จะพบภาพเขียนเป็นจำนวนมาก รูปลักษณ์ของศิลปะถ้ำเขาสามร้อยยอดมี ๒ รูปแบบ คือ ภาพแบบสัจนิยม และแบบคตินิยม พบจำนวนทั้งหมด ๑๐๖ ภาพ มีสภาพความสมบูรณ์ประมาณร้อยละ ๗๕–๘๐ เนื้อหาและรูปแบบของภาพเป็นเรื่องราวของวิถีชีวิต และพิธีกรรมของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในสังคมกสิกรรม ประกอบด้วย ภาพการไล่ต้อนล่าฝูงวัว มีภาพบุคคลที่มีลักษณะการแต่งกายเป็นพิเศษด้วยการสวมหัวหรือเขาสัตว์บนศีรษะ ภาพหน้ากาก และภาพสัญลักษณ์ลายเส้นต่างๆ สันนิษฐานว่าภาพเหล่านี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของกลุ่มคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่ราบโดยรอบเทือกเขาสามร้อยยอดมีอายุประมาณ ๒,๐๐๐ ถึง ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ตั้งอยู่ภายในถ้ำพระยานคร บนไหล่เขาลูกหนึ่งของทิวเขาสามร้อยยอดในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มาของชื่อ “ถ้ำพระยานคร” กล่าวกันว่าเนื่องจากพระยานครผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชเป็นผู้ค้นพบ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นพระยานครท่านใด ระหว่างพระยานครซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙–๒๒๓๑) พระยานครผู้นี้ได้สั่งประหารศรีปราชญ์ที่ถูกเนรเทศไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราชโดยมิได้รับพระบรมราชานุญาต ในระหว่างเดินทางไปเข้าเฝ้าได้แวะพักหลบคลื่นลมและหนีพระราชอาญาไปอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้แต่สุดท้ายก็ถูกจับประหารชีวิต ส่วนพระยานครอีกท่านหนึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไทยมีสงครามกับพม่า(ตรงกับสมัยพระเจ้าปดุง)พระยานครถูกพม่าหลอกว่าตีเมืองแตกจึงหลบหนีไป ต่อมาเมื่อสอบสวนได้ความจริงแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้กลับไปครองเมืองนครศรีธรรมราชตามเดิม ระหว่างเดินทางเกิดคลื่นลมจัดจึงหลบขึ้นไปบนเขา ทำให้พบถ้ำแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เสด็จประพาสยังถ้ำพระยานครเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๒ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินมณฑลปักษ์ใต้ ซึ่งในคราวนี้ได้มีการสร้าง “ ศาลาบ่อน้ำ ” ขึ้นที่บริเวณอ่าวชายทะเล ลักษณะเป็นศาลาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา ขนาดความกว้าง ๑๐ ศอก มีทั้งหมด ๓ ห้อง พื้นศาลาทั้งหมดโบกปูน ห้องกลางของศาลามีบ่อน้ำจืด ๑ บ่อ ลักษณะเป็นบ่อขุดทรงกลม ขนาดความกว้างประมาณ ๔ ศอก ลึก ๖ ศอก ก่ออิฐเป็นขอบโดยรอบตั้งแต่ท้องบ่อขึ้นมา และทางเดินเรียงด้วยก้อนศิลาระยะทางประมาณ ๑๐ เส้นเป็นทางขึ้นเขา บ่อน้ำที่ชายทะเลนี้แต่เดิมเรียกกันว่า “ บ่อพระยานคร ” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้เสด็จถ้ำพระยานคร ในคราวเสด็จประพาสแหลมมลายูเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลาที่ประทับ ลักษณะเป็นพลับพลาทรงจตุมุข ความกว้าง ๒.๕๕ เมตร ความยาว ๘ เมตร และความสูง ๒.๕๕ เมตร เดิมยกพื้นใต้ถุนสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร หลังคามุงกระเบื้อง ประกอบด้วย ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ทำด้วยไม้สลักลายประดับกระจกที่มุขทุกด้านประดับกระจกเป็นลวดลายไทย ฝ้าเพดานภายในเขียนลายดาว โปรดเกล้าฯให้พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ จัดทำขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยแล้วส่งไปก่อสร้างในถ้ำ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๓ ได้เสด็จไปยกช่อฟ้าพลับพลาที่ประทับ และพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” ในการนี้ได้ลงพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร.ไว้ที่ผนังถ้ำด้านเหนือของพลับพลาด้วย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) กล่าวกันว่าเคยเสด็จที่ถ้ำพระยานครครั้งหนึ่งแต่ไม่ระบุว่าปีใด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๙ และได้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร. ไว้ที่ผนังถ้ำด้านตะวันตกของพลับพลา และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินยังพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์เป็นการส่วนพระองค์ ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๑ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์เป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๖๐ เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๙๕
โบราณสถานทุ่งเศรษฐี จังหวัดเพชรบุรี
โบราณสถานทุ่งเศรษฐี ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาจอมปราสาททางด้านทิศตะวันออกในเขตบ้านโคกเศรษฐี ตำบลนายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี แต่เดิมเป็นเนินโบราณสถานที่มีดินและต้นไม้ขึ้นปกคลุม ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ ได้มีการลักลอบขุดทำลายเพื่อค้นหาทรัพย์สมบัติ ทำให้โบราณสถานทุ่งเศรษฐีเริ่มเป็นที่สนใจของนักวิชาการโดยทั่วไป กรมศิลปากรสำรวจพบว่าโบราณสถานทุ่งเศรษฐีมีสภาพเป็นซากของฐานเจดีย์ก่ออิฐ โบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านขุดพบ ได้แก่ ประติมากรรมปูนปั้นรูปพระโพธิสัตว์ บุคคล คนแคระ มกร และลวดลายประดับสถาปัตยกรรมการขุดแต่งโบราณสถานทุ่งเศรษฐีในปี พ.ศ.๒๕๔๑ ทำให้ทราบลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถานทุ่งเศรษฐีว่าเป็นสถูปเจดีย์ขนาดใหญ่ก่ออิฐสอดินฉาบปูน เหลือเฉพาะส่วนฐานซึ่งมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดความกว้าง ๒๕x๒๕ เมตร และความสูง ๕ เมตร ประกอบด้วย ฐานประทักษิณซึ่งมีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออกและตะวันตก รองรับฐานเจดีย์ที่มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จบริเวณกึ่งกลางด้านและมุมทั้งสอง ชั้นล่างสุดเป็นฐานหน้ากระดานซ้อนกันสองชั้น รองรับฐานบัววลัย มีส่วนของท้องไม้ขยายสูง มีลวดบัวตรงกึ่งกลางจำนวน ๓ แนว แถวบนและล่างก่อเรียบ ส่วนแถวกลางก่ออิฐยื่นสลับกันบริเวณที่อิฐนูนขึ้นมาฉาบปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยมปาดมุม ทำให้เกิดช่องว่างสลับกับปุ่มนูนโดยรอบ ถัดจากท้องไม้ขึ้นไปเป็นหน้ากระดานมีการประดับเสาติดผนังและแบ่งเป็นช่องๆ ช่องละประมาณ ๘๐ เซนติเมตร เพื่อประดับประติมากรรมปูนปั้นรูปคนแคระแบก เหนือขึ้นไปเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมรองรับผนังก่ออิฐมีเสาประดับผนังตกแต่งคล้ายส่วนแรก แต่มีขนาดความกว้างและความสูงมากกว่า ถัดจากผนังส่วนนี้ขึ้นไปเป็นส่วนบนขององค์เจดีย์ซึ่งมีสภาพชำรุดพังทลายลงมาเกือบหมด จากหลักฐานชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมที่พบ สันนิษฐานได้ว่ารูปทรงสัณฐานขององค์เจดีย์ทุ่งเศรษฐีส่วนบนน่าจะเป็นทรงกลมมีเจดีย์บริวารทรงกลมขนาดเล็กที่มุมทั้งสี่ บริเวณส่วนยอดเป็นปล้องไฉนประดับด้วยอมลกะ ดังลักษณะของสถูปเจดีย์จำลองและยอดสถูปที่พบจากเมืองอู่ทอง หลักฐานที่พบจากโบราณสถานทุ่งเศรษฐีนั้นแสดงถึงความเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา แบบมหายาน อันเป็น สถานที่ประกอบพิธีกรรมของชุมชนชายฝั่งทะเลที่เจริญขึ้น เนื่องจากการเป็นจุดแวะพักในการเดินทางที่สำคัญทั้งทางบกและทางทะเล ที่สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมทวารวดี มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๖ ซึ่งมีรูปแบบคล้ายคลึงกับเจดีย์หมายเลข ๘ และ ๓๑ ของเมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี
วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี
วัดใหญ่สุวรรณาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี แต่เดิมเรียกกันว่า “วัดน้อยปากใต้, วัดน้อยปักษ์ใต้ หรือ วัดนอกปากใต้” เนื่องจากวัดตั้งอยู่ทางด้านใต้ของแม่น้ำเพชรบุรีซึ่งแนวเดิมของแม่น้ำเพชรบุรีได้ไหลผ่านทางตอนเหนือของวัดก่อนที่จะไปออกปากอ่าวบ้านแหลม อีกประการหนึ่งก็เพื่อให้คล้องจองกับ “วัดในไก่เตี้ย” ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กันทางทิศใต้ ปัจจุบันมีสภาพเป็นวัดร้าง ส่วนสาเหตุที่ได้ชื่อว่า “วัดใหญ่ ” คงเป็นเพราะมีบริเวณกว้างขวางใหญ่โต ต่อมาเมื่อพระสุวรรณมุนี (ทอง) ได้มาปฏิสังขรณ์วัดนี้แล้วคงมีการเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ตามสมณศักดิ์ของท่านว่า “วัดสุวรรณาราม” แต่ชาวบ้านยังคงเรียกวัดใหญ่อยู่จึงเรียกรวมกันว่า “วัดใหญ่สุวรรณาราม”หลักฐาน โบราณสถานและโบราณวัตถุในวัดแสดงถึงความเก่าแก่ที่น่าจะมีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ (พ.ศ. ๒๒๔๖-๒๒๕๑) โดยพระสุวรรณมุนี (สังฆราชแตงโม) ชาวเพชรบุรีซึ่งเคยมาอยู่อาศัยในวัดนี้และบรรพชาเป็นสามเณรก่อนจะขี้นไปอยู่กรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดใหญ่สุวรรณารามขึ้นเป็นพระอารามหลวง และเสด็จทอดพระเนตรหลายครั้งพร้อมทั้งพระราชทานเงินสำหรับการปฏิสังขรณ์วัดด้วย แสดงถึงความสำคัญของวัดใหญ่สุวรรณารามที่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด โบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในวัดใหญ่สุวรรณารามนั้นทรงคุณค่าทางด้านศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมโบราณที่งดงามสมัยกรุงศรีอยุธยา อันประกอบด้วย พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนที่มีฐานปัทม์อ่อนโค้งแบบฐานสำเภาภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่น ภาพพุทธประวัติ และเทพชุมนุม เสาและเพดานมีการตกแต่งด้วยลายทองบนพื้นแดงอย่างวิจิตร ตัวพระอุโบสถมีวิหารคตที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ล้อมรอบ ศาลาการเปรียญ ลักษณะเป็นเรือนไทยขนาดใหญ่ ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช สันนิษฐานว่าเป็นพระตำหนักเจ้าพระขวัญในสมเด็จพระเพทราชา ที่สมเด็จพระเจ้าเสือได้พระราชทานให้พระสุวรรณมุนีมาปลูกเป็นศาลาการเปรียญ ลักษณะเด่น คือ ฝาผนังเป็นไม้แบบฝาปะกนด้านนอกเดิมเขียนลายทอง มีพรึงเป็นรูปกระจังปฏิญาณขนาดใหญ่ประดับโดยรอบอาคาร ทางด้านทิศเหนือมีหน้าต่างรูปแบบพิเศษ ๒ ช่อง โดยมีกรอบเช็ดหน้าประดับด้วยซุ้มเรือนแก้วปิดทอง ประตูทางเข้าศาลาการเปรียญด้านทิศตะวันออกมี ๓ บาน ตั้งอยู่ในกรอบเช็ดหน้าทำเป็นรูปซุ้มเรือนแก้ว เน้นเป็นพิเศษที่ประตูกลางซึ่งบานประตูเป็นไม้มีการจำหลักลายก้านขดหางโต ปลายก้านลายเป็นรูปหงส์ คชสีห์ ราชสีห์สอดแทรกด้วยพันธุ์ไม้ และสัตว์จำพวก ลิง กระรอก และนกจับตามก้านลาย อกเลาแกะเป็นลายรักร้อยตลอดไม่มีนม เชิงประตูเป็นภาพธรรมชาติและรูปสัตว์ ส่วนฝาผนังภายในศาลาการเปรียญมีภาพจิตรกรรมสีฝุ่นผสมกาวเขียนเป็นภาพเทพชุมนุม ทวารบาล และภาพสัตว์ชนิดต่างๆ สภาพลบเลือนมาก เสาศาลาการเปรียญเขียนเป็นลายรดน้ำแตกต่างกันในแต่ละคู่ หอไตร ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ลักษณะเป็นอาคารไม้ทรงไทยชั้นเดียวมีเสาไม้ ๓ เสาตามแนวยาวกลางอาคารซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษ ฝาไม้ปะกน หลังคาทรงจั่วยอดแหลม มุงกระเบื้องเกล็ดเต่า นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานที่สำคัญอีกหลายอย่างภายในวัดใหญ่สุวรรณาราม เช่น หมู่กุฏิสงฆ์ศาลาโถง หอระฆัง หอไตรหลังใหม่ พระปรางค์ เจดีย์ ถาน เป็นต้น ซึ่งมีรูปแบบศิลปกรรมในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีคุณค่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดใหญ่สุวรรณารามเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ พิเศษ ๘๗ ง เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๔วัดบางกุ้ง จังหวัดสมุทรสงคราม
วัดบางกุ้ง เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ในเขตตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปีพ.ศ.๒๓๐๘ กองทัพพม่ายกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์จึงทรงมีพระราชดำรัสสั่งให้หัวเมืองปากใต้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งที่ตำบลบางกุ้ง เมืองสมุทรสงคราม เรียกว่า “ค่ายบางกุ้ง” กองทัพพม่าซึ่งยกทัพเข้ามาตามลำน้ำแม่กลองและบุกลงมาจนถึงค่ายบางกุ้ง โดยที่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาไม่สามารถต้านทานไว้ได้ค่ายบางกุ้งจึงแตก หลังจากพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ค่ายบางกุ้งก็ตกอยู่ในสภาพค่ายร้าง เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว โปรดให้ชาวจีนรวบรวมสมัครพรรคพวกมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่ายเก่าที่บางกุ้ง จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ค่ายจีนบางกุ้ง” ในปี พ.ศ.๒๓๑๑ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาไปประมาณ ๘ เดือน กองทัพพม่านำโดยเจ้าเมืองทวายยกทัพบกและทัพเรือลงมาล้อมค่ายจีนบางกุ้งไว้ ทหารจีนที่รักษาค่ายบางกุ้งสู้รบอย่างเต็มที่แต่มีกำลังน้อยกว่าเกือบจะเสียค่ายแก่พม่า กรมการเมืองสมุทรสงครามจึงมีหนังสือกราบทูลไปยังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงทราบจึงยกกองทัพมาตีทัพพม่าแตกพ่ายไป และต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกกองทัพเรือนำทหารไปออกศึกที่บางแก้ว เมืองราชบุรี ในระหว่างการเดินทางได้หยุดกองทัพพักพลเสวยพระกระยาหารที่วัดกลางค่ายบางกุ้ง หลักฐานโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พระอุโบสถก่ออิฐถือปูนปัจจุบันถูกต้นไทรขึ้นปกคลุมทั้งหลังหน้าบันของพระอุโบสถ มีปูนปั้นลวดลายพันธุ์พฤกษาประดับด้วยเครื่องถ้วยซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่สมัยอยุธยาตอนปลาย สลักจากหินทรายแดง แสดงปางมารวิชัย ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อโบสถ์น้อย” ที่ฝาผนังของพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปพระอดีตพุทธเจ้า และภาพพุทธประวัติ นอกจากนี้ยังมีสระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดความกว้างประมาณ ๕ เมตร ความยาว ๗ เมตร ที่ขอบสระมีกำแพงเตี้ยกั้น และกรุด้วยอิฐถือปูนลักษณะสอบลงไป ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดบางกุ้งเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ ง เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๙
วัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม
วัดอัมพวันเจติยาราม ตั้งอยู่ในเขตตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติกล่าวว่าพื้นที่ตั้งวัดในปัจจุบันเป็นนิวาสสถานเดิมขององค์ปฐมวงศ์ทางราชินิกุลแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ซึ่งเป็นปีที่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ได้เสด็จพระราชสมภพ ณ สถานที่แห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ทรงอุทิศบริเวณวาสถานให้เป็นที่สร้างวัดถวายแด่พระมารดาสมเด็จพระรูปสิริโสภาภาคย์มหานาคนารี ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงปฏิสังขรณ์วัดอัมพวันเจติยารามใหม ่โปรดเกล้าฯให้สร้างพระปรางค์และอัญเชิญพระสรีรังคารของสมเด็จพระบรมชนกนาถมาบรรจุไว้ในพระปรางค์ และในปี พ.ศ.๒๔๔๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงเสด็จประพาสต้น ณ วัดอัมพวันเจติยารามแห่งนี้ โบราณสถานสำคัญของวัดอัมพวันเจติยาราม ได้แก่
พระปรางค์ ลักษณะเป็นปรางค์ก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้ยี่สิบมีวิหารคตล้อมรอบ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระสรีรังคารของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระอุโบสถ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นใหม่ในช่วงปีพ.ศ.๒๕๔๐–๒๕๔๒ เป็นภาพแสดงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระที่นั่งทรงธรรม สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ลักษณะเป็นวิหารก่ออิฐถือปูนหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องมีชายคาปีกนกคลุมทั้งสี่ด้าน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป “หลวงพ่อทรงธรรม หรือ หลวงพ่อดำ” และรอยพระพุทธบาทจำลอง อาคารหลังนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่นในปี พ.ศ.๒๕๓๘ โดยสมาคมสถาปนิกสยามแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ พระตำหนักไม้ เดิมเป็นของเก่าปลูกสร้างอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชจึงได้ย้ายพระตำหนักไม้หลังนี้มาสร้างไว้ที่วัดอัมพวันเจติยาราม ลักษณะเป็นเรือนไม้ทรงไทยขนาดใหญ่ ยกพื้นสูง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง หน้าบันมีลวดลายกระจกประดับ ช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ไม้ประดับกระจกอย่างงดงาม ฝาพระตำหนักเป็นฝาไม้ปะกน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดอัมพวันเจติยารามเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม๗๔ ตอนที่๙๖ เมื่อวันที่๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๐วัดโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร
วัดโคกขาม เป็นวัดโบราณตั้งอยู่ในเขตตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ตามประวัติคำบอกเล่ากล่าวว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา(พ.ศ.๒๒๓๑–๒๒๔๖) ผู้สร้าง คือ พระยารามเดโช ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งในปีพ.ศ.๒๒๓๙ ได้ร่วมกับนายสังข์ยมราช เจ้าเมืองนครราชสีมาแข็งเมือง สมเด็จพระเพทราชาจึงโปรดให้พระยาสุรสงครามและพระยาราชวังสันยกกองทัพไปปราบ พระยารามเดโชสู้ไม่ได้จึงหลบหนีขึ้นมาทางเรือพร้อมกับอัญเชิญพระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์หนึ่งขึ้นมาด้วย เมื่อถึงเมืองสาครบุรีได้ขึ้นบกที่บ้านโคกขาม และอุปสมบทเป็นพระพร้อมกับสร้างวัดโคกขามขึ้น หลักฐานโบราณสถานสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถก่ออิฐถือปูนที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และได้รับการบูรณะซ่อมแซมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทางด้านหน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ทรงระฆังกลมจำนวน ๒ องค์ ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นในยุคเดียวกัน ส่วนโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ “หลวงพ่อสัมฤทธิ์” พระพุทธรูปแบบสกุลช่างนครศรีธรรมราช หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “แบบขนมต้ม” ที่ฐานมีจารึกใจความว่า “พุทธศักราช ๒๒๓๒ พระสา กับเดือน ๑ กับ ๒๕ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเมีย โทศก พระยาเมชัยก็ได้สถาปนาพระพุทธสิหิงค์องค์นี้ เป็นทอง ๓๗ ชั่งจงเป็นปัจจัยแก่นิพพานฯ" และธรรมาสน์บุษบกไม้ซึ่งมีลักษณะฝีมือช่างแบบอยุธยาวัดใหญ่บ้านบ่อ จังหวัดสมุทรสาคร
วัดใหญ่บ้านบ่อ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของคลองสุนัขหอนในเขตตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร หนังสือประวัติวัดในเขตจังหวัดสมุทรสาครจัดพิมพ์ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ โดยคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่าสร้างขึ้นในราวปีพ.ศ.๒๒๖๙ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดขนาดใหญ่ประจำชุมชนตั้งอยู่ในเส้นทางคมนาคมทางน้ำสำคัญที่ใช้เป็นเส้นทางติดต่อระหว่างเมืองสมุทรสาคร เมืองสมุทรสงคราม และเมืองราชบุรีมาแต่ครั้งโบราณ ตำบลบ้านบ่อสถานที่ตั้งวัดน่าจะเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ที่มีคนอยู่อาศัยค่อนข้างมากและเป็นจุดแวะพักสำคัญจุดหนึ่ง ดังปรากฏชื่ออยู่ในเอกสารโบราณหลายเรื่อง เช่น นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง แต่งขึ้นราวปี พ.ศ.๒๓๒๙ นิราศนรินทร์ ของนายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) มหาดเล็กหุ้มแพรที่แต่งไว้ในราวปี พ.ศ.๒๓๕๒ เป็นต้น จากการที่วัดใหญ่บ้านบ่อเป็นวัดสำคัญประจำชุมชนจึงได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างอาคารต่างๆ ขึ้นเพิ่มเติมเรื่อยมา และน่าจะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในช่วงประมาณปพ.ศ.๒๔๗๒ ถึงปี พ.ศ.๒๔๘๐ โบราณสถานสิ่งก่อสร้างสำคัญของวัด คือ พระอุโบสถที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.๒๔๗๒ พระวิหาร และกลุ่มอาคารซึ่งมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๖-๘ ได้แก่ หอไตร พระมณฑป ศาลาท่าน้ำแบบขนมปังขิง และอาคารเรียนปริยัติธรรมซึ่งเป็นเรือนปั้นหยาสองชั้น กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวัดใหญ่บ้านบ่อเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
พระสมุทรเจดีย์ ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในเขตตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตามประวัติกล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองจัดสร้างป้อมปราการจำนวน ๖ ป้อม ใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งหมด ๓ ปีจึงแล้วเสร็จ เมื่อสร้างป้อมเสร็จแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับเจ้าพระยาพระคลัง เป็นผู้อำนวยการสร้างพระเจดีย์ขึ้นที่เกาะหาดทรายท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ เพื่อปกป้องประเทศชาติและพระศาสนา โดยโปรดฯ ให้กรมพระราชวังสถานมงคลมหาศักดิพลเสพ กับพระยาราชสงครามเขียนแบบแผนผังรูปพระเจดีย์ถวาย แล้วทรงเฉลิมพระนามว่า “ พระสมุทรเจดีย์ ” แต่ยังมิได้ทันก่อสร้างก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีธรรมราชกับเจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่กองจัดสร้างต่อการก่อสร้างเริ่มเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ (ตรงกับวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๐) แล้วเสร็จเมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ (ตรงกับวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๗๑) ลักษณะขององค์พระสมุทรเจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลนี้เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ต่อมาได้มีผู้ร้ายลักลอบขุดองค์ระฆังลักเอาพระบรมธาตุที่บรรจุอยู่ภายในไป สมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์ที่กรุงศรีอยุธยามาจัดการก่อสร้างสวมทับพระเจดีย์รูปเดิมไว้ โดยลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลมวัดจากฐานล่างจนถึงยอดสูงสุด ๑๙ วา จากนั้นจึงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ๑๒ องค์ จากพระบรมมหาราชวังมาบรรจุไว้แทนของเดิมที่สูญหายไป ในการนี้ได้โปรดฯให้สร้างศาลาเก๋งจีน หอเทียน หอระฆัง พระวิหารพร้อมด้วยพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร กับหลักผูกเรือริมน้ำรอบองค์พระสมุทรเจดีย์ ฯลฯ สิ้นพระราชทรัพย์ในการก่อสร้าง ๕๘๘ ชั่งเศษ และในรัชกาลต่อมาก็ได้มีการทำนุบำรุง และบูรณะปฏิสังขรณ์พระสมุทรเจดีย์มาโดยตลอด กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระสมุทรเจดีย์เป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๘๗ และเล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๘๖ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ วัดโปรดเกศเชษฐาราม จังหวัดสมุทรปราการ
วัดโปรดเกศเชษฐาราม ตั้งอยู่ปากคลองลัดหลวงทางด้านทิศตะวันออกในเขตตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ แต่เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดปากคลอง” ประวัติการสร้างวัดปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๒ ระบุว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯให้จัดสร้างป้อมเมืองสมุทรปราการสำหรับป้องกันข้าศึกทางทะเลขึ้นนั้นมีพระราชดำริว่าการสร้างป้อมที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) ยังค้างอยู่จึงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิพลเสพ เป็นแม่กอง และพระยาเพชรพิไชย (เกษ)เป็นนายงานสร้างเมืองเขื่อนขันธ์และป้อมเพชหึงต่อจากที่ค้างไว้ในการนี้ทรงขุดคลองลัดหลังเมืองนครเขื่อนขันธ์ไปทะลุออกคลองตาลาว เรียกว่า “คลองลัดหลวง” มีขนาดความกว้าง ๖ วา ลึก ๕ ศอก ยาว ๕๐ เส้น เมื่อขุดคลองแล้วเสร็จสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงสร้างวัดขึ้นทางด้านฝั่งตะวันตกของคลองลัดหลวงพระราชทานนามว่า “ วัดไพชยนต์พลเสพ ” ส่วนพระยาเพชรพิไชย (เกษ) ผู้เป็นต้นสกุล “เกตุทัต” นายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ได้สร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งตั้งอยู่คนละฝั่งคลองแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๕ พระอารามแห่งนี้ได้รับพระราชทานนามภายหลังว่า “วัดโปรดเกศเชษฐาราม” สิ่งก่อสร้างที่สำคัญในวัดมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่๓ ได้แก่ พระอุโบสถ ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคางานผสมไม้มุงกระเบื้อง มีรูปแบบผสมผสานระหว่างทรงหลังคาแบบไทยและจีนหน้าบันและคอสองก่ออิฐถือปูนมีชายคาปีกนกโดยรอบ ลักษณะเด่น คือหน้าบันก่ออิฐถือปูนประดับด้วยปูนปั้นรูปดอกไม้แบบลายก้านแย่งตกแต่งด้วยเครื่องถ้วยชามเคลือบด้านในพระอุโบสถที่ผนังเหนือแนวช่องหน้าต่างมีช่องซุ้มเรือนแก้วตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีฝุ่นเป็นภาพพระพุทธเจ้าและพระสาวกหรือประติมากรรมนูนสูงระบายสีเป็นภาพพระสาวกยืนพนมมือส่วนเครื่องบนและเพดานพระอุโบสถด้านในเขียนลายรดน้ำ ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้นพระวิหารตั้งอยู่คู่กับพระอุโบสถทางด้านทิศเหนือลักษณะรูปแบบโดยรวมคล้ายกับพระอุโบสถภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดความยาว ๖ วา๒ ศอก นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆที่เป็นโบราณสถานสำคัญของวัด เช่น พระมณฑปเจดีย์ทรงกลม เป็นต้น
วันที่ 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2561 นางสาวสมหญิง มงคลธง บรรณารักษ์ปฏิบัติการ และนางสาวอัญชลี จินดามณี บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ได้เข้าร่วมอบรมบรรณารักษ์ระดับปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพในวิชาชีพบรรณารักษ์ของหอสมุดแห่งชาติ ประจำปี 2561 ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศญี่ปุ่น
๑. ชื่อโครงการ Studies on the Origin of Japanese Shogi by the Research of Makruk, Osaka University of Commerce
๒. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลซึ่งมีซึ่งกันและกันระหว่างหมากรุกไทยและญี่ปุ่น
๒. เพื่อเตรียมความพร้อมการศึกษาวิจัยตามข้อ ๑ ในเชิงลึกให้มากขึ้น
๓. เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านต่างๆ ระหว่างนักวิชาการไทย-ญี่ปุ่นในอนาคตให้มากขึ้น
๓. กำหนดเวลา๑๑-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๔. สถานที่ ๑. Osaka University of Commerce
๒. Archaeological Institute of Kashihara
๕. หน่วยงานผู้จัด Osaka University of Commerce ร่วมกับ Archaeological Institute of Kashihara
๖. หน่วยงานสนับสนุน Osaka University of Commerce ร่วมกับ Archaeological Institute of Kashihara
๗. กิจกรรม
๑. กิจกรรมสัมมนาทางวิชาการ ณ Osaka University of Commerce
๒. ชมพิพิธภัณฑ์ Osaka University of Commerce
๓. ศึกษาดูงานเยี่ยมชม Archaeological Institute of Kashihara
๔. ศึกษาดูงานโบราณสถาน และพิพิธภัณฑ์ในเมืองโอซาก้า และนารา
๘. คณะผู้แทนไทย
๑. ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
๒. นายปริวรรต ธรรมาปรีชากร ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
มีนักวิชาการญี่ปุ่นเสนอผลงาน ๔ คน นักวิชาการไทย ๒ คน แต่ละท่านมีเวลาเสนอผลงานท่านละ ๖๐ นาที รวมแปล ๒ ภาษา อังกฤษ-ญี่ปุ่น และตอบข้อซัก-ถาม โดยในการสรุปเนื้อหาสำคัญนั้น หมากรุกไทยและหมากรุกญี่ปุ่นที่วิธีการเล่นที่คล้ายคลึงกันอาจจะได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกันได้ แต่อย่างไรก็ตามยังต้องหาหลักฐานความสัมพันธ์เพิ่มเติมในอนาคตให้มากขึ้น
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
๑. มีการจัดประสัมมนาเฉพาะกลุ่มมีผู้เข้ารวมสัมมนาน้อย
๒. ควรจัดพิมพ์เป็นผลสรุปหรือรายงานการประชุมสัมมนา
๓. มีการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังสัมมนาให้มากขึ้น
ร้อยเอก ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
(บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ)
นักโบราณคดีชำนาญการ
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง ธรรมเทศนา อานิสงส์ บุญข้าวจี่ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 12 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
สาระสังเขป : ชีวประวัติของฮานนิบาล จอมทัพแห่งกรุงคาร์เธจ ในการสงครามกับกรุงโรม ยุคที่สองผู้แต่ง : จุลจักรพงษ์, พันตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโรงพิมพ์ : โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าปีที่พิมพ์ : 2490ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น. 33 บ. 2070 จบ(ร)เลขหมู่ : 923.5 จ 658 ช