ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
พระยาธรรมปรีชา. ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ฉบับที่ 2 (ไตรภูมิฉบับหลวง) เล่ม 3. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2520. หนังสือไตรภูมิโลกวินิจฉยกถาฉบับที่ 2 นี้ เป็นเรื่องที่มีสารประโยชน์ มีคุณค่าทางอักษรศาสตร์และวรรณคดี เนื่องจากไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา หรือไตรภูมิฉบับหลวงเป็นหนังสือที่มีความยาวมาก กรมศิลปากรจึงแยกพิมพ์ เป็น 3 เล่มด้วยกัน และได้พิมพ์ประวัติพระยาธรรมปรีชา (แก้ว) ผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ไว้ด้วย
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : บราลี เครื่องประดับสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ณ ปราสาทพนมรุ้ง
บราลี เป็นส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมโบราณ มีลักษณะเป็นแท่งทรงกรวยยอดเล็กแหลม คล้ายดอกบัวตูม ประดิษฐ์เป็นแบบต่างๆ กัน ใช้ประดับเรียงเป็นแถวตามแนวสันหลังคาหรืออกไก่
ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ที่นิยมสร้างปราสาทหิน ได้พบหลักฐานการใช้บราลีประดับตกแต่ง ณ ส่วนต่างๆ เช่น สันหลังคาปราสาท สันหลังคาระเบียงคต และสันหรือบนทับหลังของกำแพง เป็นต้น
ที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้พบหลักฐาน “บราลี” ที่ทำมาจากวัสดุศิลาทราย ดินเผา ตลอดจนภาพสลักเล่าเรื่อง มีรายละเอียดดังนี้
บราลีศิลาทราย ใช้สำหรับปักประดับสันหลังคาอาคารที่สร้างจากหิน เช่น สันหลังคามุขและมณฑปปราสาทประธาน สันหลังคาของโคปุระและระเบียงคต มีลักษณะรูปทรงคล้ายดอกบัวตูมปักเรียงเป็นแถวตามแนวสันหลังคาที่ก่อด้วยศิลาทรายทรงประทุนเรือ สกัดร่องภายนอกหลังคาเลียนแบบกระเบื้องกาบู นอกจากนี้ยังพบบราลีศิลาทรายรูปทรงอื่นๆ ซึ่งก็น่าจะเคยใช้ประดับอาคารประเภทหินเช่นกัน
บราลีดินเผา พบอยู่บริเวณโดยรอบปราสาทพนมรุ้ง ร่วมกับเศษกระเบื้องมุงหลังคาและกระเบื้องเชิงชาย อันแสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยมีอาคารหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องและประดับด้วยบราลีดินเผาดังกล่าว เนื่องจากมีน้ำหนักเบากว่า เหมาะสมกับอาคารประเภทเครื่องไม้
ในส่วนหลักฐาน บราลี จากภาพสลักเล่าเรื่องนั้น ที่หน้าบันชั้นที่ ๑ ของมุขปราสาทประธานด้านทิศตะวันตก เล่าเรื่องตอนศึกอินทรชิต กลางหน้าบันเป็นภาพบุษบกรูปทรงปราสาท สลักภาพบราลีประดับบนสันหลังคามุขที่ยื่นออกมาทั้งสองข้าง และอีกจุดหนึ่งคือ หน้าบันชั้นที่ ๓ ของมุขปราสาทประธานด้านทิศตะวันตก เป็นภาพอุมามเหศวร ประทับในวิมานรูปทรงปราสาท มีด้านล่างมีกลุ่มบุคคลนั่งอยู่ภายในอาคารโถงที่ประดับสันหลังคาด้วยแถวบราลี
หากพิจารณาหน้าที่การใช้งาน (function) ของบราลี ในงานสถาปัตยกรรมขอมโบราณ ก็คือใช้เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรม มิให้มีพื้นที่ว่างหรือดูราบเรียบเกินไปนัก หากแต่ได้ก่อให้เกิดมิติที่งดงาม อลังการ เป็นทรงเล็กๆ แหลมๆ เรียงตัวต่อเนื่องกันไป และด้วยรูปทรงของบราลีที่ทำเป็นรูปดอกบัวตูมก็อาจมีความเกี่ยวข้องกับดอกบัว ดอกไม้มงคลตามความเชื่อทางศาสนาด้วยก็เป็นได้
เรียบเรียงโดย: นายสุทธินันท์ พรหมชัย ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เอกสารอ้างอิง:
พิสิฐ เจริญวงศ์ และคณะ. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. บุรีรัมย์: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๔¬๘.
สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐.
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, หม่อมราชวงศ์. ปราสาทพนมรุ้ง ศาสนบรรพตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. สมุทรปราการ: เรือนบุญ, ๒๕๔๙.
มิรา ประชาบาล. เครื่องถ้วยสมัยลพบุรีจากแหล่งเตาเผาบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๒.
ชื่อเรื่อง นิสัยทิพมนต์ สพ.บ. 406-1หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 66 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติเปิดให้ผู้มีบัตรรับหนังสือจดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ติดต่อรับหนังสือได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๘๒ ๘๔๒๓ ต่อ ๑๔๒ – ๑๔๖ ตามที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้จัดทำหนังสือจดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร มอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้เข้าร่วมงาน และแจกจ่ายแก่ส่วนราชการ รวมถึงห้องสมุดทั่วประเทศ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและอ้างอิง บัดนี้ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือจดหมายเหตุดังกล่าวแล้วเสร็จ โดยหนังสือ ๑ ชุด มีจํานวน ๔ เล่ม จึงขอแจ้งให้ “ผู้มีบัตรรับหนังสือ” นำบัตรรับหนังสือ (ฉบับจริง) มาติดต่อรับหนังสือดังกล่าวได้ที่ ห้องดํารงราชานุภาพ ชั้น ๑ สํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ในวันทําการ กรณีผู้มีบัตรรับหนังสือฯ ไม่สามารถรับได้ด้วยตนเอง ให้ผู้มารับแทนยื่นหลักฐาน ได้แก่ บัตรรับ หนังสือจดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (ฉบับจริง) และชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้เป็นเจ้าของบัตรรับหนังสือฯ กรณีบัตรรับหนังสือฯ สูญหาย สามารถติดต่อขอรับแบบฟอร์ม การขอรับหนังสือฯ พร้อมสำเนาหลักฐานตามรายละเอียดที่ปรากฏอยู่ในแบบฟอร์ม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๘๒ ๘๔๒๓ ต่อ ๑๔๒ – ๑๔๖ ทั้งนี้ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้จัดทำหนังสือในรูปแบบ E-Book สามารถ อ่านออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ http://nat.go.th
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาอภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 380/5กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง ธรรมะ
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคาต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.43/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา (ธมฺมปทบั้นต้น)
ชบ.บ.84/1-16
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)
ชบ.บ.106ก/1-7ก
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)