ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.25/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 12หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.45/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 4.4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 27 (267-281) ผูก 5หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
นายประพันธ์ เนื่องมัจฉา นายช่างสำรวจชำนาญงาน และนายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีปฏิบัติการ (ผู้ควบคุมงาน) ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าในการปรับพื้นที่บริเวณโดยรอบบารายเมืองพิมาย โครงการขุดลอกบารายเมืองพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
เรื่องที่ 372 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดบุญญวาสวิหาร ต.ท่าใหม่ อ.ท่าใหม่ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532 เป็นคัมภีร์อักษรขอมทั้งผูก ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาบาลี-ไทย ตัวอักษรหนังสือเป็นเส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา มีทั้งหมด 8 ผูกเนื้อหาเกี่ยวกับตำราเรียนบาลีพระปริยัติศาสนาก็คือ การเรียนต้นเค้าของภาษาบาลีว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะสามารถแยกแยะได้ว่าศัพท์คำหนึ่งมีที่มาอย่างไร เพราะเหตุใด เลขทะเบียน จบ.บ.372/8,/ก/4,6/ข/1,7,/ค/4-5,/ฆ/1,/ง/8
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
วันพุธที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมนำคณะ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ณ สถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ MCOT HD
สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา ได้จัดกิจจกรรมเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหา มหาราชินี ประจำปี ๒๕๕๗ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ประกอบด้วยกิจกรรม : พิธีทำบุญตักบาตร, พิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ,พิธีถวายเครื่องสักการะ(พานพุ่มดอกมะลิ), จุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคลเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลร่วมกับอำเภอพิมาย, กิจกรรมประดับธงชาติไทยธงตราสัญลักษณ์ บริเวณโดยรอบสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา,
ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ,กิจกรรมลอกกำจัดวัชพืช และทำความสะอาดสระน้ำโบราณ(สระช่องแมว)บริเวณที่ตั้งสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา.....ภายใต้ชื่อโครงการเสริมสร้างความสมานฉันท์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา๑๒ สิงหา มหาราชินี ประจำปี ๒๕๕๗โดย สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมากรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมโครงการเสริมสร้างความสมานฉันท์เฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา๑๒ สิงหา มหาราชินี ประจำปี ๒๕๕๗
ประวัติและลักษณะโบราณสถาน : วัดอุโปสถาราม หมู่ที่ ๑ ตำบลสะแกงกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรัง เดิมชื่อวัดโบสถ์มโนรมย์ สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๔ โดยพระสุนทรมุนี (จัน) อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานีรูปที่ ๒ ดำเนินการก่อสร้าง และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๒๕ ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดโบสถ์” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรวัดอุโปสถาราม เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวจังหวัดอุทัยธานี และมีการสร้างแพรับเสด็จบริเวณท่าน้ำหน้าวัด กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดอุโปสถารามในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๗๔ วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๓๖ และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๓๗ง วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๑ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๔ไร่ สิ่งก่อสร้างสำคัญภายใน วัดประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร เจดีย์ ตั้งอยู่บนฐานในที่เดียวกัน และมณฑปแปดเหลี่ยม อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด ๕ ห้อง ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวร่วมกันกับวิหาร และเจดีย์ หันหน้าไปทางตะวันออก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนเรื่องราวที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ ตามที่ปรากฏในปฐมสมโพธิกถา วิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาด ๕ ห้อง ตั้งคู่ขนานกับโบสถ์ผนังด้านหน้าทำประตู ๒ ช่อง ด้านข้างทำหน้าต่างด้านละ ๓ ช่อง ประตูและหน้าต่างทำซุ้มโค้งแบบอิทธิพลตะวันตก ผนังด้านหน้า และผนังด้านใน เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ พระมาลัย พระอสีติมหาสาวก และพระอสุรากรรมฐาน ๑๐ เจดีย์ ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถ และวิหาร เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ตั้งเรียงกันอยู่จำนวน ๓ องค์ มณฑปแปดเหลี่ยม เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงแปดเหลี่ยม ๒ ชั้น อิทธิพลตะวันตก(ยุโรป) ออกมุขด้านหน้าและด้านข้างทำบันไดขึ้นชั้นบนทั้งสองข้างขนาบมุขด้านหน้าหลังคาเรือนประธานเครื่องไม้มุงกระเบื้องซีเมนต์(กระเบื้องว่าว)หลังคามุขทั้งสองก่ออิฐถือปูน รูปโค้งครึ่งวงกลม กรอบหน้าต่างตกแต่งลวดลายปูนปั้น ผนังด้านนอกตกแต่งประติมากรรมปูนปั้นรูปพระอุ้มบาตร รายรอบด้วยลวดลายพรรณพฤกษา หงส์ และนกกระสา มณฑปแห่งนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๒ โดยหลวงพิทักษ์ภาษา(บุญเรือง พิทักษ์อรรณพ) ----------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี----------------------------------------------
ด้วยตระหนักในความสำคัญของเหตุการณ์ที่สทควรจดบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุความทรงจำของประเทศ กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จดบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี และจัดพิมพ์เป็นกนังสือจดหมายเหตุประเทศไทยประจำปี เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน อันถือเป็นการสร้างสรรค์และสืบสานองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของประเทศเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าสืบไป