ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ชื่อเรื่อง ปาจิตฺติยบาลี มหาวิภฺงคปาลิ (ปาลิปาจิตฺตีย์)
ลบ.บ. 365/4
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 58 หน้า กว้าง 4.3 ซม. ยาว 56.5 ซม.
หัวเรื่อง พระไตรปิฎก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน ธรรมอีสาน ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ร่วมกับวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี จัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมเทิดพระเกียรติ “ภูมิใจภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์” และนิทรรศการพิเศษเรื่อง“ย้อนรำลึกจิตรกรรมดอนเจดีย์ สุพรรณบุรีแดนประวัติศาสตร์” เปิดให้ประชาชนเข้าชมระหว่างวันที่ ๒๕ สิงหาคม - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖
นิทรรศการนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์และโครงการเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ โดยนิทรรศการศิลปกรรมเทิดพระเกียรติ "ภูมิใจภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์" จัดแสดงผลงานศิลปกรรมของคณะอาจารย์และนักศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี และนิทรรศการพิเศษเรื่อง“ย้อนรำลึกจิตรกรรมดอนเจดีย์ สุพรรณบุรีแดนประวัติศาสตร์” นำจิตรกรรมสีน้ำมัน พระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จำนวน ๑๖ ภาพ ที่เคยจัดแสดง ณ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๒ – ๒๕๑๔ จนกระทั่งได้มีการปรับปรุงนิทรรศการภายในอาคาร จิตรกรรมชุดนี้จึงได้เคลื่อนย้ายมาเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี นับเป็นโอกาสอันดีที่จิตรกรรมอันล้ำค่าที่อยู่คู่จังหวัดสุพรรณบุรีมาอย่างยาวนานกว่า ๖๐ ปี จะได้นำมาจัดแสดงให้ประชาชนได้รับชมอีกครั้ง
ขอเชิญผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษนี้ได้ในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. และวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ หอศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
กลักแปดเหลี่ยม
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕
จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทานยืม
ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กลักทรงกระบอกแปดเหลี่ยมตกแต่งด้วยการประดับมุก ขนาดยาวรวมฝา ๒๑ เซนติเมตร ตัวกลักยาว ๑๘.๓ เซนติเมตร ปากกว้าง ๒.๕ เซนติเมตร ส่วนฝาด้านบนประดับมุกลายก้านขดใบเทศ ตัวฝาตกแต่งลายเกลียวใบเทศ ตัวกลักตกแต่งเป็นแถบลายเกลียวใบเทศคั่นด้วยดอกไม้ บริเวณปากกลักเป็นแถบลายดอกไม้สี่กลีบ ส่วนปลายกลักเป็นแถบลายกรวยเชิง ดอกไม้สี่กลีบ และจุดไข่ปลา
“กลัก” ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ระบุว่า “สิ่งที่ทำเป็นรูปคล้ายกระบอกสำหรับบรรจุของเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือของขนาดเล็ก มีฝาสวมปาก เช่น กลักพริก กลักเกลือ, ซองยาสูบทำด้วยเมล็ดตาล มีฝาสวมปาก, สิ่งที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สำหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กลักไม้ขีดไฟ กล่องไม้ขีดไฟ ก็เรียก”
ทั้งนี้เอกสารทะเบียนเดิมเรียกกลักประดับมุกชิ้นนี้ว่า “กลักสารตรา ๘ เหลี่ยม” เนื่องด้วยขนาดที่ค่อนข้างเล็กจึงน่าเป็นกลักที่จะใส่กระดาษ ในอดีตการเขียนเอกสารราชการต่าง ๆ จะเขียนบนกระดาษเพลา (กระดาษสาชนิดบาง เขียนด้วยดินสอดำ) เมื่อจะส่งเอกสารจะม้วนใส่กระบอกเอกสารที่ทำจากไม้ไผ่ (หรือบางท้องที่เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก “บั้งจุ้ม” เป็นต้น) ตัวอย่างที่กล่าวถึงการใช้กลักเป็นที่เก็บเอกสารนั้นปรากฏใน มหาชาติคำหลวง กัณฑ์จุลพน ในตอนที่ชูชกพบกับพรานเจตบุตรได้ลวงว่ากลักในย่ามที่ใส่ของแห้ง (พริก และงา) นั้นเป็นกลักพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสญชัย ซึ่งตนกำลังไปหาพระเวสสันดร ดังความว่า
“...เจตบุตรเห็นก็ขู่ว่าจะยิงด้วยหน้าไม้ ชูชกไหวดีแก้ว่า เป็นทูตของพระเจ้ากรุงสญชัย เจตบุตรเชื่อ ผูกสุนัขเข้ากับโคนไม้ ต้อนรับชูชก ถามว่าอะไรอยู่ในย่าม ชูชกชี้ไปที่กลักพลิกกลักงาว่า นี่คือกลักพระราชสาส์น เจตบุตรเชิญชูชกขึ้นไปบนเรือน ให้กินเนื้อย่างจิ้มนํ้าผึ้ง แล้วก็พาออกไปชี้มรรคา เจตบุตรพรรณนาพรรณไม้ อันมีในป่าหิมพานต์แล้วบอกทางที่จะไปสู่เขาวงกต...”
นอกจากนี้ในพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง นิทานโบราณคดี ตอน นิทานที่ ๑๓ เรื่องอนามัย ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงการใช้กลักบรรจุยาฝรั่ง (ขณะนั้นคือยาควินิน (quinine) เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย) แจกจ่ายไปตามหัวเมือง แต่จำเป็นต้องแปลงชื่อเพื่อไม่ให้ประชาชนตามหัวเมืองรังเกียจเนื่องด้วยเป็นยาฝรั่งไม่คุ้นเคยเหมือนยาพื้นเมืองดังความว่า
“...การที่กระทรวงมหาดไทยทำยาตามตำราฝรั่ง สำหรับจ่ายไปตามหัวเมือง จึงต้องคิดอุบายแก้ไขความรังเกียจด้วยให้เรียกชื่อยาที่ทำขึ้นใหม่ว่า “ยาโอสถศาลา” แต่ละขนานใส่กลักเล็ก ๆ กลักละ (ดูเหมือน) ๒๐ เม็ด พิมพ์หนังสือปิดข้างนอกกลักเอาแต่ชื่อโรคเรียก เช่นว่า “ยาแก้ไข้จับ, ยาแก้ลงท้อง, ยาแก้บิด” เป็นต้น ข้างในกลักมีกระดาษใบปลิวบอกวิธีที่จะใช้ยานั้น แล้วรวมกลักยาห่อเป็นชุด ๆ มีใบปลิวโฆษณาคุณของยาโอสถศาลาสอดไปด้วย ส่งไปให้หมอตำบลเป็นผู้จำหน่าย (ดูเหมือน) ราคากลักละ ๑๐ สตางค์ จำหน่ายได้เงินเท่าใด ให้ค่าขายแก่หมอตำบลเป็นส่วนลดร้อยละ ๑๐ แม้ใช้อุบายกันคนรังเกียจอย่างนั้นแล้ว กว่าจะได้ผลดังประสงค์ก็ยังนาน เพราะเป็นของแปลก แม้หมอตำบลเองก็รับไว้จำหน่ายด้วยเกรงใจโดยมาก ตัวเองยังชอบใช้ยาสมุนไพรอยู่ตามเคย ต่อบางคนจึงทดลองใช้ยาโอสถศาลา แต่ต่อมาก็ปรากฏคุณขึ้นโดยลำดับ เมื่อยาโอสถศาลาจำหน่ายได้แพร่หลายจนเห็นว่าจะทำจำหน่ายได้ยั่งยืนต่อไป กระทรวงมหาดไทยจึงได้ตั้งสถานโอสถศาลาที่โรงพยาบาลเทพศิรินทร์ แล้วรัฐบาลทำยาโอสถศาลาจำหน่ายเองสืบมา…”
อ้างอิง
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. นิทานโบราณคดี. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร,๒๕๔๓.
มหาชาติคำหลวงฉบับกรมศิลปากร. กรุงเทพฯ: มหามกุฏ, ๒๔๙๖.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖.
อานิสงส์ผางประทีส/ประทีป และอานิสงส์ยี่เป็ง-ลอยประทีสโคมไฟในช่วงเทศกาลยี่เป็ง ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสอง หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จะมีการประดับประทีปโคมไฟ จุดบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชาวบ้านจะนำผางประทีปไปจุดตามที่วัด และฟังพระธรรมเทศนาอานิสงส์ และยังมีการตามประทีปและจุดบูชาตามรอบรั้วบ้าน หัวบันไดบ้าน บ่อน้ำ ครัวไฟ ผาง คือ ตะคัน เป็นเครื่องปั้นดินเผารูปคล้ายจานสำหรับใส่น้ำมันตามไฟต่างตะเกียง ผางน้ำมัน ผางประทีป ผางประทีส หรือ ผางผะที่ส คือถ้วยประทีป หรือถ้วยเล็ก ๆ ที่ทำด้วยดินเผา ใช้เป็นเครื่องจุดตามไฟเป็นพุทธบูชาหรือบูชาสืบชาตาต่ออายุ หรืออีกนัยหนึ่งคือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันใช้จุดแทนตะเกียงในเวลากลางคืน ตัวกระถางที่รองรับทำด้วยดินเผาหรือกระเบื้องเคลือบ ตามความหมายดังกล่าวคำว่า ประทีป หมายถึง แสงไฟ ผางหมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป รวมความ ผางประทีป คือเครื่องจุดตามไฟนอกจากถ้วยประทีปแล้ว สิ่งที่สำคัญคู่กันก็คือ น้ำมันและ ตีนกาหรือสีสาย ปัจจุบันนิยมใช้ขี้ผึ้ง สีสาย หรือขี้สายนั้นมีสามชายแยกออกเป็นสามแฉกเหมือนตีนกา และยกอีกชายหนึ่งตั้งอยู่กลางอีกสามชายตามประเพณีล้านนา ตามเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของตีนกาที่ใช้เป็นไส้จุดประทีปหรือดังปรากฏในคัมภีร์ชื่ออานิสงส์ผางประทีป เล่าว่าเมื่อครั้งดีกดำบรรพ์มีแม่กาเผือกกำลังกกไข่อยู่บนด้นไม้ไกล้ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง เกิดมีพายุใหญ่พัดรังกากระจัดกระจาย ไข่กาก็ตกลงไปในแม่น้ำแล้วไหลไป แม่กาก็พลัดไปอีกทางหนึ่ง พอลมสงบ แม่กาหาไข่ไม่พบก็ร้องไห้จนขาดใจตาย แล้วไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ ส่วนไข่ ๕ ฟองก็ถูกแม่ไก่ แม่นาคแม่เต่า แม่โคและแม่ราชสีห์ที่บางดำราว่าเป็นคนซักผ้าเอาไปเลี้ยงเอาไข่ไปพักตัวละฟอง ต่อมาก็แตกออกมาเป็นคน พอโตขึ้นต่างก็ออกบวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่า วันหนึ่งฤๅษีทั้งห้ามาพบกันต่างก็ถามถึงความเป็นมาของกันและกัน แต่ก็ไม่มีใครรู้จักแม่ที่แท้จริงของตนเลย จึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ของตนร้อนถึงท้าวพกาพรหมก็ลงมาพบ แล้วเล่าเรื่องอดีตให้ฟังและบอกว่า ถ้าคิดถึงแม่ก็ให้เอาด้ายดิบทำเป็นรูปตีนกาแล้วจุดไฟในประทีปในวันยี่เป็งคือวันเพ็ญเดือน ๑๒#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #ยี่เป็ง #ลอยกระทง เอกสารอ้างอิง-เยาวนิจ ปั้นเทียน. "ผางประทีส/ผางประทีป (ดวงประทีป)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4072-4075.-อุดม รุ่งเรืองศรี. "อานิสงส์ประทีส/ประทีป." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 7886-7886. -อนันต์ จันทร์ประสาท "อานิสงส์ยี่เพง-ลอยประทีสโคมไฟ (วันเพ็ญเดือนยี่)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 15. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 7890-7892.
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการแสดงงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ วันอังคารที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ถึง วันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
วันอังคารที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗
๑. การบรรเลง - ขับร้อง วงดุริยางค์สากล (ก่อนพิธีเปิด)
๒. การบรรเลงดนตรีไทย “เพลงเทพสมภพ เถา”
๓. การแสดงชุดเทพนารีถวายพระพร
๔. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพาลีสอนน้อง
วันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๗
๑. การบรรเลงดนตรีไทย “โหมโรงเพลงเทิด ส.ธ.”
๒. การแสดงละครนอก เรื่องแก้วหน้าม้า ตอนถวายลูก – ถอดรูป
วันพฤหัสบดีที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๗
๑. การบรรเลงดนตรีไทย “โหมโรงเพลงมหาสังข์”
๒. การแสดงละครพันทาง เรื่องราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา
วันศุกร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗
๑. การบรรเลงดนตรีไทย “เพลงนาคพัน ๓ ชั้น”
๒. ละครเบิกโรง เรื่องพระไพศรพณ์เทพเจ้าแห่งธัญชาติ
๓. การแสดงละครตำนานพื้นเมือง เรื่องสงกรานต์ ตอน “เชิญศีรษะท้าวกบิลพรหม”
วันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๗
๑. รำอาศิรวาทราชสดุดีจักรีวงศ์
๒. ละครเทพนิยายเบิกโรง เรื่องกำเนิดสุริยะและโสมเทพ
๓. การแสดงละคร เรื่องอานุภาพพ่อขุนรามคำแหง
วันอาทิตย์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๗
๑. การบรรเลงดนตรีไทย “โหมโรงเพลงศรีสุขสังคีต”
๒. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดเล่ห์รักยักขินี
วันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๗
๑. การแสดงคอนเสิร์ต “เพชรในเพลง” รับฟังบทเพลงไพเราะจากศิลปินแห่งชาติและศิลปินทรงคุณวุฒิ อ.รวงทอง ทองลั่นธม อ.วิรัช อยู่ถาวร อ.วินัย พันธุรักษ์ อ.พิเชฏฐ ศุขแพทย์ อ.โฉมฉาย อรุณฉาน พร้อมด้วยศิลปินรางวัลเพชรในเพลง หนู มิเตอร์ ปาน ธนพร รัชนก ศรีโลพันธุ์ จ่อย รวมมิตร คงชาตรี ใบเฟิร์น สุทธิยา ธัช กิตติธัช โบ๊ท ปรัชญา นัน อนันต์ และเปาวลี พรพิมล บรรเลงโดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร และยังสามารถรับชมการแสดงคอนเสิร์ตนี้ได้ผ่านทาง facebook live: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
และในเวลา ๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. รับฟังการบรรเลงดนตรี ณ ศาลาลงสรง
ทั้งนี้ การแสดงในวันที่ ๓ - ๗ เมษายน ๒๕๖๗ นำแสดงโดยศิลปินสำนักการสังคีต /อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีตชมฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑
ชื่อเรื่อง คาถาธรรมบท (คาถาธรรมบท) สพ.บ. 448/7หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน ธรรมเทศนา พุทธพจน์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 92 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 40 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชามิเซ็ง
แบบศิลปะ : ศิลปะญี่ปุ่น
ลักษณะ : เครื่องดนตรีนี้ เรียกว่า ซามิเซ็ง (Shamisen) เป็นเครื่องสายประเภทดีด อุปกรณ์สำหรับดีด เรียกว่า บาจิ (Bachi) ต้นกำเนิดของซามิเซ็งน่าจะมาจากเครื่องสายของประเทศจีน ชื่อว่า ซานเสียน ญี่ปุ่นออกเสียงว่า ซังเงีน แพร่หลายเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นในยุคมุโรมาจิ ทางหมู่เกาะริวกิว จังหวัดโอกินาว่า จึงกลายเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองประจำจังหวัดโอกินาว่า เรียกว่า ซางเชิน ต่อมาได้แพร่หลายเข้าสู่เกาะหลักของประเทศญี่ปุ่นในช่วงคริสตศตวรรษที่ 16 หรือยุคเอโดะ มีการพัฒนารูปแบบต่อมาจนเป็นชามิเซ็ง เครื่องดนตรีซามิเซ็งนี้สามารถใช้แสดงเดี่ยว หรือแสดงร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น นิยมใช้บรรเลงประกอบการขับร้องเพลงสั้นอย่างโคตะ ที่แสดงโดยเกอิชา หรือไมโกะ รวมถึงการแสดงคาบูกิและการแสดงตุ๊กตา Bunraku ชามิเซ็งประกอบด้วยส่วนคอ เรียกว่า ซาโอะ (Sao) ใช้ขึงสาย ส่วนปลายของซาโอะมีลูกบิดสำหรับขึ้นสาย 3 อัน เรียกว่า อิโตมากิ (Itomaki) ใช้ปรับระดับเสียงโดยหมุนหรือคลายลูกบิด และตัวกล่องเสียง (แหล่งกำเนิดเสียง) เรียกว่า โด (Dou) เป็นไม้เนื้อแข็งประกอบกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขึงด้วยหนังสัตว์
ขนาด : กว้าง 20.8 เชนติเมตร ยาว 98.2 เชนติเมตร
ชนิด : ไม้ หนังกระต่าย ผ้าไหม เส้นเอ็น
อายุ/สมัย : พุทธศตวรรษที่ 26
ประวัติ/ตำนาน : บริษัทสยามกลการ จำกัด ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และพระราชทานแก่กรมศิลปากรเก็บรักษาไว้ ณ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=64950
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
โรงเรียนบ้านหนองสนมดอนติ้ว จ.มหาสารคาม (เวลา 10.30 น.) จำนวน 27 คนวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๓๐ น. คณะครูบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา/คณะกรรมการภาคี ๔ ฝ่าย จากโรงเรียนบ้านหนองสนมดอนติ้ว ๑๓๘ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม จำนวน ๒๗ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้
ชื่อเรื่อง : หนังสือพุทธศาสนาวิเศษอย่างไรผู้แต่ง : เจ้าแก้วนวรัฐปีที่พิมพ์ : ๒๔๘๒สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อุปะติพงษ์จำนวนหน้า : ๒๔ หน้าเนื้อหา : หนังสือ หนังสือพุทธศาสนาวิเศษอย่างไร เล่มนี้สำหรับแจกในงานทำบุญปลงศพ เจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ เจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้พิมพ์เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ประกอบด้วย เนื้อหาหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาที่บบรยายว่า พุทธศาสนาวิเศษอย่างไร มีความวิเศษของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หลักธรรมสำคัญต่างๆ เช่น การดับทุกข์ เป็นต้นเลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๑๗๘๓เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๑๐หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
กองทัพเรือ ได้ร่วมกับ ไอคอนสยาม, กระทรวงวัฒนธรรม, กรมศิลปากร, เครือเจริญโภคภัณฑ์, บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น และจํากัด ธนาคารกสิกรไทย จัดงาน “นิทรรศการ สี สรรค์ สะท้อนศิลป์ เนื่องในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค” เพื่อเผยแพร่ความวิจิตรตระการตาของมรดกทางวัฒนธรรมไทย ถ่ายทอดฝีมืออันละเอียดลออของช่างศิลป์ ตลอดจนแสดงให้ประชาชนทั่วไปรวมถึงชาวต่างประเทศ ได้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
ภายในนิทรรศการ ประกอบด้วย การจัดแสดงเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์จำลอง ความยาว 11 เมตร พร้อมเรือพระที่นั่งจำลอง 4 ลำ ภาพแสดงริ้วขบวนเรือพยุหยาตราทั้ง 52 ลำ เรื่องราวการประดับตกแต่งเรือพระราชพิธีด้วยการแกะสลักไม้ ลงรักปิดทอง และประดับกระจก โดยช่างฝีมือชำนาญการ นอกจากนี้ยังจัดแสดงชุดนายเรือพระที่นั่ง ชุดนายท้ายคนกำกับ ชุดพนักงานเห่เรือ รวมถึงการจัดแสดงแกลเลอรี่ภาพและวิดีทัศน์พระราชพิธีขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 และรายละเอียดเกี่ยวพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค พร้อมจัดแสดงบุษบกจำลอง อีกทั้งยังมีการสาธิตการประดับกระจกจากช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร โดยมีวิทยากรของสำนักช่างสิบหมู่ จากกลุ่มงานช่างปิดทอง ประดับกระจกและช่างสนะไทย กลุ่มประณีตศิลป์ ได้แก่ นายประพันธ์ แก้ววิเศษ นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน นางสาวพธู บุญประคอง นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน
นิทรรศการ “สี สรรค์ สะท้อนศิลป์ เนื่องในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค” จัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมฟรี ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 31 ตุลาคม 2567 ณ ไอคอนลักซ์ อเวนิว ชั้น M ไอคอนสยาม
หมายเหตุ : ภาพและข้อมูลจาก Facebook : สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร และ Facebook : ICONSIAM