ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ประติมากรรมดินเผารูปคชลักษมี
พบจากเมืองโบราณอู่ทอง
ประติมากรรมดินเผารูปคชลักษมี พบจากเมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ประติมากรรมดินเผารูปคชลักษมี สูงประมาณ ๘ เซนติเมตร ตรงกลางเป็นรูปพระลักษมี เกล้าพระเกศา พระพักตร์กลม พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา แย้มพระสรวล ทรงกุณฑลทรงกลมและกรองศอ พระหัตถ์ทั้งสองทรงถือก้านดอกบัวตูมยกขึ้นในระดับพระอุระ นั่งขัดสมาธิราบ มีช้างขนาบสองข้าง ส่วนศีรษะช้างหักหายไป สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรูปช้างชูงวงถือหม้อน้ำเพื่อรดน้ำอภิเษกพระลักษมี รองรับด้วยฐานทรงกลมตกแต่งด้วยลายกลีบบัว กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) สันนิษฐานว่า อาจใช้เป็นฝาจุกภาชนะ หรือประดิษฐานเพื่อการเคารพบูชา หรือใช้เป็นเครื่องรางสำหรับติดตัวพ่อค้าหรือนักเดินทาง
คชลักษมีเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมีโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ มีที่มาจากคติการบูชาเพศหญิงซึ่งเป็นเพศผู้ให้กำเนิด ส่วนช้างเป็นสัตว์มงคลและเป็นสัญลักษณ์ของเมฆฝน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชพันธุ์เจริญงอกงาม คชลักษมีจึงเป็นสัญลักษณ์มงคลที่ปรากฏทั้งในศาสนาพุทธ และพราหมณ์-ฮินดู ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “มายาเทวี” หมายถึงพุทธประวัติตอนประสูติของพระพุทธเจ้า ส่วนในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เรียกว่า “คชลักษมี” หมายถึงการรดน้ำอภิเษกแก่พระลักษมีซึ่งเป็นชายาของพระวิษณุ
นอกจากประติมากรรมคชลักษมีชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมรูปคชลักษมีรูปแบบอื่นๆ ในเมืองโบราณสมัยทวารวดี เช่น แผ่นดินเผารูปคชลักษมีสำหรับการเจิมในการทำพิธีการทางศาสนาของพราหมณ์ และคชลักษมีประดับที่ส่วนล่างของธรรมจักร พบที่เมืองนครปฐมโบราณ เครื่องรางดินเผารูปคชลักษมีและท้าวกุเวร ซึ่งอาจใช้เป็นเครื่องรางสำหรับพกติดตัวของพ่อค้าหรือนักเดินทาง พบที่เมืองซับจำปา จังหวัดลพบุรี เป็นต้น โบราณวัตถุเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าในสมัยทวารวดี คชลักษมี เป็นรูปเคารพตามความเชื่อในศาสนาพุทธ และพราหมณ์-ฮินดู โดยมีความหมายร่วมกันคือ ความมีโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงอาจถูกใช้เป็นเครื่องรางด้วย
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕.
เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. รูปแบบและความเชื่อของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระศรี-ลักษมีที่พบในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก 1,000 ปี เก่าที่สุดในสยาม. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๖.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
องค์ความรู้ เรื่อง เครื่องประดับโบราณ : ตุ้มหูแบบ "ลิง ลิง โอ" (Ling-Ling-O) จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
สมชาย พุ่มสอาด. ประวัติวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญ ภายในวัดมีปูชนียสถานที่สำคัญมากมาย ได้แก่พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เป็นต้น
ชื่อเรื่อง ปณฺณทานานิสํสกถา (ฉลองกำพีผ้าพันหนังสือ)สพ.บ. 391-1หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 20 หน้า : กว้าง 5.5 ซม. ยาว 59 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มโหสถ)
สพ.บ. 408/8
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยอีสาน
หัวเรื่อง พุทธศาสนา นิทานชาดก
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.8 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
กรมศิลปากร โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม จัดโครงการเผยแพร่มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” ถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊คไลฟ์ (facebook live) ของกรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์ องค์ความรู้ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรม ออกสู่สาธารณชน รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เดือนตุลาคม ๒๕๖๔ - กันยายน ๒๕๖๕ ปรับวันออกอากาศใหม่ กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดีที่ ๒ และ ๔ ของเดือน ขอเชิญชวนผู้สนใจ ติดตามชมรายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” ถ่ายทอดสด (facebook live) ผ่านทาง facebook fanpage กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และกลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร ทุกวันพฤหัสบดีที่ ๒ และ ๔ ของเดือน เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิกถา (ปฐมสมโพธิ์)
สพ.บ. 215/5ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 4 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ผลการดำเนินงานทางโบราณคดี กำแพงเมืองโบราณสุพรรณบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรีผู้แต่ง วสันต์ เทพสุริยานนท์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 974-418-119-2หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ เลขหมู่ 959.373 ว358ผสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์สมพันธ์ปีที่พิมพ์ 2545ลักษณะวัสดุ 82 หน้า : ภาพประกอบ ; 30 ซม.หัวเรื่อง กำแพงเมืองโบราณสุพรรณบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ – ประวัติ สุพรรณบุรี -- โบราณสถาน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เมืองสุพรรณบุรีเป็นอีกแห่งหนึ่งที่ยงคงเหลือร่องรอยความเป็นเมืองโบราณอย่างชัดเจน จากความสำคัญดังกล่าว โครงการบูรณะและอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี จึงเกิดขึ้นและมีการดำเนินงานตามแผนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2538 ทั้งการศึกษาทางวิชาการโบราณคดีควบคู่ไปกับการบูรณะโบราณสถานภายในเขตเมืองโบราณสุพรรณบุรีและบริเวณโดยรอบ
วันศุกร์ที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานอนุรักษ์ซ่อมแซมพระพุทธรูปภายในโบราณสถานวัดวรเชษฐาราม พร้อมทั้งมอบนโยบายและแนวทางในการบูรณะ ในการนี้นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาอภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 380/5ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง ธรรมะ
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคาต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
วันจันทร์ที่ ๒๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการตรวจงานจ้างงานโครงการจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ในการนี้ นายเจษฏา ชีวะวิชวาลกุล ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นายสมพจน์ สุขาบูลย์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ร่วมประชุมในครั้งนี้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับการจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารเครื่องทองอยุธยา กำหนดให้มีเนื้อหาเน้นเรื่องเครื่องทองอยุธยา รวมถึงเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ และเรื่องพระบรมสารีริกธาตุ มาเป็นสื่อจัดแสดงร่วมกับสื่อจัดแสดงสมัยใหม่เป็นการจัดแสดงนิทรรศการถาวรที่ทันสมัยและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น