ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

          ใน พ.ศ.๒๕๖๒ การรถไฟแห่งประเทศได้เสนอแผนปฏิบัติงานการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณบ้านพักพนักงานรถไฟเพื่อเพิ่มรายได้จากค่าเช่าที่ดิน (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ตามนโยบายฟื้นฟูกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ของเมืองธนบุรีเดิม ในการดำเนินงานศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.๒๕๕๖ จึงกำหนดให้มีแผนงานศึกษาผลกระทบด้านศิลปวัฒนธรรมด้วยการว่าจ้างเอกชนทำการศึกษาทางโบราณคดีพื้นที่ดังกล่าวโดยมีกรมศิลปากร กองโบราณคดีเป็นผู้ควบคุมงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนงานเพื่อลดผลกระทบต่อหลักฐานทางโบราณคดีที่อยู่ใต้ดินในพื้นที่โครงการฯ           ในการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณบ้านพักพนักงานรถไฟ ซอย ๑ – ๖ สถานีธนบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ๒๕๖๒ พบหลักฐานทางโบราณคดี ตั้งแต่ระดับลึกจากพื้นที่ใช้งานปัจจุบัน ลงไป ๕๐ เซนติเมตร – ๒.๓ เมตร (ระดับชั้นดินสมมติ 30 – 240 cm.dt.) ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาประเภทเครื่องถ้วยจีน เศษภาชนะดินเผาประเภทเครื่องถ้วยญี่ปุ่น กระเบื้องมุงทำด้วยดินเผา กระเบื้องมุงทำด้วยซีเมนต์เคลือบสี ตะปูรถไฟใช้ยึดรางรถไฟ ฯลฯ กำหนดอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๖ หลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้ ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานรถไฟได้ว่า อาจมีการเข้าใช้พื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในช่วงระยะเวลาเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมา หรือนับแต่เมื่อการสร้างสถานีรถไฟธนบุรีสายตะวันตก (กรุงเทพฯ – เพชรบุรี) ที่สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ และเปิดใช้เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ โดยก่อนหน้านี้ แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๔๓๙ ให้รายละเอียดพื้นที่บริเวณนี้ว่าเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ยังไม่มีการปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยแต่อย่างใด           อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ได้รับจากการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานในพื้นที่จำกัด เพื่อประกอบการพิจารณาในการลดผลกระทบต่อหลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่ ดังนั้นในการแปลความหรืออ้างอิงถึงข้อมูลสภาพพื้นที่แหล่งทางโบราณคดีจึงใช้ได้เฉพาะพื้นที่ซึ่งได้ดำเนินการทางโบราณคดีเท่านั้น ภาพ : แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๔๓๙ แสดงที่ตั้งพื้นที่ขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณบ้านพักพนักงานรถไฟสถานีธนบุนรี (ในกรอบสี่เหลี่ยมสีเหลือง) ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดยังเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ภาพถ่ายทางอากาศแสดงตำแหน่ง พื้นที่ขุดค้นทางโบราณคดี บริเวณบ้านพักพนักงานรถไฟ สถานีธนบุรี (จุดวงกลมสีแดง) ภาพ : การขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่หลุมขุดค้นที่ ๓ ในซอยหมู่บ้านรถไฟ ซอย ๓ ซึ่งมีท่อประปาวางผ่านในบริเวณหลุมขุดค้น ภาพ : (ซ้าย)โถพร้อมฝาลายคราม พิมพ์ลายอักษรมงคล เครื่องถ้วยจีน อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ขวา) กระโถนลายคราม เขียนลายกอบัว เครื่องถ้วยจีน อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ภาพ : (ซ้าย)จานเชิงลายเขียนสี เครื่องถ้วยจีน อายุราวกลาง – ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (ขวา) ชามลายคราม เขียนลายพันธุ์พฤกษา เครื่องถ้วยจีน อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ภาพ : ชามพิมพ์ลายคราม เป็นลายดอกไม้และลายก้านขด เครื่องถ้วยญี่ปุ่น อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ภาพ : (ซ้าย) ชิ้นส่วนก้นจานเคลือบใส ก้นจานด้านนอกพิมพ์ข้อความภาษาอังกฤษ ว่า “THE IRONSTONE CHINA” “MATSUMURA&CO.” “MADE IN JAPAN” พร้อมตรากิเลน และมงกุฎ อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๖ (ขวา) ภาพรายละเอียดตราที่พิมพ์บนภาชนะ ภาพ : ตะปูเหล็กใช้ยึดรางรถไฟ อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ – กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๖ ---------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวเมธินี จิระวัฒนา นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี---------------------------------------------


ด้วยตระหนักในความสำคัญของเหตุการณ์ที่สทควรจดบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุความทรงจำของประเทศ กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จดบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี และจัดพิมพ์เป็นกนังสือจดหมายเหตุประเทศไทยประจำปี เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน อันถือเป็นการสร้างสรรค์และสืบสานองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของประเทศเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าสืบไป






วัดมะเหยงคณ์ ตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท สิ่งสำคัญภายในวัด ๑. โบสถ์ ๒. วิหาร ๓. เจดีย์ ๔. กุฏิพระชัยนาทมุนี ประวัติและความสำคัญ วัดมะเหยงคณ์ เดิมเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อครั้งที่เจ้ายี่พระยาขึ้นครองเมืองสรรคบุรี ในปี พ.ศ. ๑๙๕๒ - ๑๙๖๗ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ข้าศึกมารุกรานทำให้วัดถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๓๕๒ ชาวบ้านช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาใหม่ และมีการก่อสร้างเสนาสนะขึ้นหลายรายการ โดยพระชัยนาทมุนี (หรุ่น) ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม : สมัยอยุธยาตอนต้น – รัตนโกสินทร์ พื้นที่โบราณสถาน : ๗ ไร่ ๓ งาน ๕ ตารางวา เส้นทางสู่แหล่ง : จากศาลากลางจังหวัดชัยนาท ไปตามถนนวงษ์โตราว ๗๐๐ เมตร ถึงแยกแขวงการทางให้เลี้ยวขวา เข้าสู่ถนนหมายเลข ๓๔๐ มุ่งหน้าลงมาทิศใต้ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนหมายเลข ๓๐๑๐ ไปอีกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำน้อยไปแล้วให้เลี้ยวขวา มุ่งหน้าไปทางทิศใต้ ตามถนนเลียบแม่น้ำน้อยไปอีกราว ๑ กิโลเมตร ถึงที่หมายอยู่ทางด้านซ้าย การขึ้นทะเบียน : ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ - พิเศษ ๑๐๔ง วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๓ ----------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : ทะเบียนโบราณสถานในเขตสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี----------------------------------------------



ชื่อเรื่อง                           ปฐมสมโพธิ (ปฐมสมโพธิเผด็จ)สพ.บ.                                  140/13ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           42 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พระพุทธเจ้า                                           พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดศรีบัวบาน อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า หรือประเพณีทานฟืน เป็นหนึ่งในประเพณีสิบสองเดือนของล้านนา จัดขึ้นในเดือนสี่ภาคเหนือ หรือเดือนยี่ภาคกลาง (ประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม) ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำของเดือน ความหมายของชื่อประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า มีดังนี้“ทาน” คือ การให้“หลัว” คือ ฟืนที่นำมาเป็นเชื้อก่อไฟ“หิง” คือ การผิงสำหรับคำว่า “พระเจ้า” คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในที่นี้ หมายรวมถึง พระพุทธรูป ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้าเกิดจากความเชื่อที่ว่าเมื่อถึงฤดูหนาวพระพุทธรูปก็หนาวเช่นเดียวกันกับมนุษย์ จึงนำหลัวมาจุดไฟให้ผิงเพื่อให้คลายหนาววิธีการหาหลัว (ฟืน) มาใช้ในประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้านั้น เมื่อใกล้ถึงวันที่จะประกอบพิธี เจ้าอาวาสของวัดนั้น ๆ จะให้พระภิกษุ สามเณร ลูกศิษย์ไปหาหลัวตามป่า ทั้งนี้ชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียงกับวัดที่ประสงค์จะไปร่วมงานก็จะช่วยกันหาไม้มาด้วย ในปัจจุบันไม้ในป่าหายากมากขึ้น ชาวบ้านจึงนำไม้ในสวนมาใช้แทน หลังจากเตรียมหลัวเรียบร้อยแล้ว ต้องเตรียมพานข้าวตอกดอกไม้ ฟืนที่จะถวายทำเป็นท่อนยาวประมาณ ๑ วา (คือประมาณ ๒ เมตร) จำนวน ๑ มัด หากถวายตอนเช้าหรือเพล ต้องจัดเตรียมอาหารถวายพระสงฆ์ด้วย ถ้าถวายตอนเย็นไม่ต้องถวายอาหาร นำเครื่องสักการะไปวัด ไหว้พระ รับศีลจากพระสงฆ์ แล้วกล่าวคำถวาย หลังจากนั้นนำฟืนที่เตรียมไว้เข้าประเคนหน้าพระพุทธรูปประธาน อีกทั้ง อาจนำกรวยดอกไม้ หรือที่ชาวล้านนาออกเสียงว่า สวยดอกไม้ (สวยดอก) เข้าประเคนพระสงฆ์ และขอพรการเผาบูชาเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า กระทำในวันถัดมา เวลาประมาณ ๐๔.๐๐ – ๐๕.๐๐ น. ขั้นตอนนี้สมภาร (เจ้าอาวาส) เป็นผู้จุดไฟที่กองหลัวหิงไฟพระเจ้าเป็นรูปแรกพร้อมกับตีฆ้อง ๓ ครั้ง เพื่อประกาศแก่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงให้ได้รับทราบและร่วมกันอนุโมทนาบุญ หลังจากก่อกองไฟไปสักพัก ไม้ไผ่ที่อยู่ข้างในจะระเบิดขึ้นทำให้เกิดเสียงดัง เป็นเครื่องเตือนให้ชาวบ้านตื่นมาจัดเตรียมอาหารเพื่อมาทำบุญที่วัดประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้ามีคุณค่าในด้านต่าง ๆ หลายประการ อาทิ เป็นประเพณีที่ช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวบ้าน และหมู่พระสงฆ์ อีกทั้งประเพณีนี้ยังมีคุณค่าทางด้านจิตใจคือ ผู้ปฏิบัติมีความสุข และมีความสบายใจภาพประกอบ : การเผาบูชาในประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้าที่มาของภาพประกอบ : นายศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้วนางสาวรุ่งนภา สงวนศักดิ์ศรี นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ค้นคว้าเรียบเรียง 


          ในการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งเตาเผาสังคโลก แหล่งโบราณคดี หรือโบราณสถานสมัยสุโขทัยหลาย ๆ แห่ง เราจะพบเครื่องสังคโลกประเภทต่าง ๆ อาทิ ภาชนะ ตุ๊กตา และรวมไปถึงเครื่องประกอบสถาปัตยกรรมอันเป็นโบราณวัตถุสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัยให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น           สังคโลกที่เป็นเครื่องประกอบสถาปัตยกรรมมีหลายรูปแบบซึ่งให้ทั้งความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย ได้แก่ โคมไฟ มีการเคลือบสีเขียวอมเทาและฉลุเป็นลายเครือเถาเพื่อให้แสงไฟสามารถลอดผ่านออกมาได้ ราวระเบียง ทำเป็นทรงกระบอกควั่นเป็นปล้อง เจาะช่องสำหรับเสียบกับเสาไม้ซึ่งวางเรียงต่อกันเป็นแนวตามระเบียงอาคาร กระเบื้องมุงหลังคา พบที่เคลือบด้วยน้ำยาเคลือบสีเขียวและไม่เคลือบผิว กระเบื้องเชิงชาย ทำเป็นลายเทพนมและลายพันธุ์ไม้ ใช้ปิดช่องของกระเบื้องกาบกล้วยบริเวณชายหลังคา บราลี เป็นเครื่องประดับหลังคา ลักษณะเป็นยอดขนาดเล็กใช้ปักตามแนวสันหลังคา            นอกจากส่วนประกอบต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ยังพบประติมากรรมสังคโลกที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบสถาปัตยกรรมด้วย เช่น ยักษ์ ถือกระบอง ทำหน้าที่เป็นทวารบาลดูแลรักษาศาสนสถานนั้น ๆ เทพนม เป็นประติมากรรมรูปเทวดาครึ่งตัวประนมมือ มกร สัตว์ผสมตามความเชื่อของคนในสมัยสุโขทัย มักประดับอยู่ที่มุมหลังคาหรือราวบันได           สังคโลกเหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นเพียงเพื่อการใช้งานหรือเพื่อการประดับตกแต่งเท่านั้น ทว่ายังแฝงไปด้วยคติความเชื่อต่าง ๆ ทั้งความเชื่อเรื่องทวารบาลและเทวดาที่เป็นผู้พิทักษ์ไม่ให้สิ่งชั่วร้ายหรือภูตผีปีศาจเข้ามารบกวน มกรที่สื่อความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะทำให้เราจินตนาการภาพสิ่งก่อสร้างในสมัยสุโขทัยได้ชัดเจนขึ้นแล้ว โบราณวัตถุกลุ่มนี้ยังทำให้เราเข้าใจความเชื่อของผู้คนในสมัยนั้นมากขึ้นด้วยเช่นกัน องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมศิลปะสุโขทัย -------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก-------------------------------------------------


เลขทะเบียน : นพ.บ.112/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  40 หน้า ; 5.4 x 55.3 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 63 (192-196) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : 8 หมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.143/14ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 86 (346-361) ผูก 14 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺปฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



          ชายฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมาลายู บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทร คือเป็นพื้นดินแคบ ๆ ทอดตัวออกไปในแนวเหนือใต้ โดยมีทะเลขนาบทั้งสองฝั่ง ฝั่งตะวันตกคือทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย และฝั่งตะวันออกคือทะเลอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการค้นพบร่องรอยวิวัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่นแหล่งโบราณคดี ถ้ำหลังโรงเรียน จังหวัดกระบี่ ที่สามารถกำหนดอายุได้ถึง ๔๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ( สุรพล นาถะพินธุ ๒๕๕๐ : ๒๔ ) จนเข้าสู่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ด้วยชายฝั่งทะเลอันดามันตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เป็นชัยภูมิสำคัญของเส้นทางสายไหมทางทะเลจึงมีปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อค้าขายกันระหว่างชาติตะวันออกอย่างประเทศจีน กับชาติตะวันตกอย่างประเทศอินเดีย และอาหรับ-เปอร์เชีย มีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๑๔ โดยมีข้อสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์โบราณคดีว่าบริเวณชายฝั่งอันดามันอาจจะเป็นที่ตั้งของเมือง “เกอหลัว/ตักโกลา” ตามที่มีปรากฏในหลักฐานเอกสารโบราณ ( อมราศีสุชาติ ๒๕๕๗ : ๑๑๕ ) จากการเข้ามาติดต่อค้าขายของอินเดีย ทำให้พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่นจารึกภาษาทมิฬ อักษรปัลลวะ เทวรูปพระวิษณุ และหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงถึงการเข้ามาของกลุ่มคนที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในไวษณพนิกาย           ไวษณพนิกาย คือนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีการนับถือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุด แพร่หลายในอินเดียตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๖ เน้นความภักดีด้วยวิธีง่าย ๆ ไม่ผ่านพิธีกรรมบูชายัญ ( จีราวรรณ แสงเพ็ชร์ ๒๕๖๑ : ๗๒) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถพบเทวรูปพระวิษณุได้ตามเมืองท่าสำคัญต่าง ๆ ในประเทศไทยพบหลักฐานเทวรูปรุ่นเก่าพระวิษณุสี่กร ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ จากวัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศิลปะอินเดียเก่าก่อนสมัยคุปตะ แต่มีลักษณ์พื้นเมืองเด่นชัดยิ่งกว่าสุนทรียภาพของต้นแบบ เทวรูปพระวิษณุองค์นี้ยังถือเป็นเทวรูปฮินดูรูปแบบศิลปะอินเดียใต้ ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ( สันติ เล็กสุขุม ๒๕๕๔ : ๔๖ ) และอาจเก่าถึงช่วงศิลปะมธุราตอนปลาย และศิลปะอมราวดี ซึ่งมีความเจริญในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๙ ( จีราวรรณ แสงเพ็ชร์ ๒๕๖๑ : ๗๓ )           จากการศึกษาของ ดร.จิราวรรณ แสงเพ็ชร์ ปี ๒๕๖๑ ในหัวข้อ “พระวิษณุจากหลักฐานโบราณคดีและประวัติศิลปะในประเทศไทย ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙” สามารถจัดจำแนกความสัมพันธ์ระหว่างพระวิษณุในประเทศไทยกับพระวิษณุในศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกเป็น ๕ รูปแบบด้วยกัน ในส่วนของพระวิษณุที่พบบนฝั่งทะเลอันดามัน สามารถแบ่งได้สองรูปแบบ คือรูปแบบแรกเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะหลังคุปตะสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔ ผสมผสานกับลักษณะท้องถิ่น ในรูปแบบนี้พระวิษณุจะสวมกิรีฏมกุฎเรียบไม่มีลาย นุ่งผ้าโธตียาว ไม่คาดเข็มขัดผ้ากฏิสูตร รวมทั้งการจำหลักกล้ามที่เหมือนจริงตามหลักกายวิภาค แสดงให้เห็นถึงความเป็นท้องถิ่นตัวอย่างเช่น พระวิษณุ จากเขาพระเหนอ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ รูปแบบที่สองเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสมัยราชวงศ์ปัลลวะตอนปลาย ถึงสมัยต้นของราชวงศ์โจฬะ หรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ ในรูปแบบนี้พระวิษณุจะสวมกิรีฏมกุฎทรงสูงจำหลักลวดลาย เป็นประติมากรรมนูนสูงขนาดใหญ่ พระหัตถ์ขวาล่างแสดงปางประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายล่างจับที่พระโสณี(สะโพก) ทรงถืออาวุธในพระหัตถ์ขวาบนและซ้ายบน คือจักรและสังข์ นุ่งผ้าโธตียาว คาดกฏิสูตรและเข็มขัด ที่มีการตกแต่งอย่างประณีต ตัวอย่างเช่น พระวิษณุจากเขาพระนารายณ์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ปัจจุบัน จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งลักษณะประติมานดังกล่าวเป็นไปตามหลักของคัมภีร์ ศิลปศาสตร์ภาษาสันสกฤตของอินเดียใต้ ได้แก่คัมภีร์อังศุมัทเภทาคม และคัมภีร์สุประเภทาคม ( เชษฐ์ ติงสัญชลี ๒๕๕๙ : ๖๓ ) ซึ่งต่อมาได้มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะแบบอินเดียเหนือ คือศิลปะปาละตอนต้น ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ จนกลายเป็นเอกลักษณะเฉพาะของศิลปะชวาภาคกลาง และอาจเป็นไปได้ที่จะตรงกับประติมากรรมในศิลปะศรีวิชัยทางภาคใต้ของประเทศไทย ( เชษฐ์ ติงสัญชลี ๒๕๕๘ : ๑๘๙ )           พระวิษณุจากเขาพระนารายณ์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา จึงเป็นพระวิษณุในรูปแบบ ศิลปะอินเดียใต้ ปัลลวะ-โจฬะ ที่ค่อนข้างมีความสำคัญที่พบบนฝั่งทะเลอันดามัน และพบเพียงองค์เดียว ในประเทศไทย ที่อาจบอกเล่าเรื่องราวได้มากกว่าการเข้ามาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในช่วงเวลาดังกล่าว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ ได้จัดให้มีการเสวนา ทางวิชาการเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ในหัวข้อ “พระวิษณุกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู บนฝั่งทะเลอันดามัน”  โดยมุ่งเน้นให้มีการเสวนาในเรืองหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ประวัติศาสตร์-ศิลปะ ของพระวิษณุช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๗ บนคาบสมุทรมาลายู และฝั่งทะเลอันดามัน เพื่ออธิบายความสำคัญของเมืองท่าโบราณบนฝั่งทะเลอันดามัน รวมไปถึงรูปแบบทางประติมานวิทยาของพระวิษณุ จากเขาพระนารายณ์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ตามคัมภีร์ศิลปศาสตร์ภาษาสันสกฤต การรับและส่งต่ออิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคติการบูชาพระวิษณุจากอินเดียสู่คาบสมุทรมาลายู เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ บนฝั่งทะเลอันดามัน และคาบสมุทรมาลายูต่อไป-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.13/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger