ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนาตอน..."วัดหลวงกลางเวียง"วัดหลวงกลางเวียง เป็นชื่อเดิมของวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ใจกลางเมืองน่าน ด้านหน้าหอคำคุ้มหลวงเจ้าผู้ครองนครน่าน หรืออาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ในปัจจุบัน  สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้คงสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับการสร้างเมืองน่าน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เนื่องจากปรากฎเจดีย์ช้างล้อม ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่คงได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย ประวัติการสร้างวัดไม่สามารถระบุเวลาได้แน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจสร้างขึ้นในสมัยของพญาภูเข่ง (ภูเข็ง) เจ้าเมืองน่านองค์ที่ ๖๓ (ครองเมืองน่านระหว่างปีพุทธศักราช ๑๙๕๐ - ๑๙๖๐)#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา #วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารอ่านเพิ่มเติมใน: องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เรื่อง "จารึกหลักที่ ๗๔ จารึกการซ่อมสร้างวัดหลวงกลางเวียงน่าน" >>  https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3968635596598518&id=1116844555110984&mibextid=Nif5oz


ภูมิปัญญาไทยในงานศิลป์ถิ่นเมืองกรุง ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร) โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์ : 2543 รูปแบบ : PDF ภาษา : ไทย เลขทะเบียน : น 30 ร  เลขหมู่ : 745.5 ศ528ภ



ชื่อเรื่อง                     ชุมนุมบทความสั้นๆ  (ภาค 1 รวม 15 เรื่อง)ผู้แต่ง                        สุชีโว ภิกขุประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.31891 ส783ชสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์รุ่งเเรืองธรรมปีที่พิมพ์                    2494ลักษณะวัสดุ               208 หน้า หัวเรื่อง                     พุทธศาสนา – รวมเรื่องภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเป็นการยกเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาขึ้นมาแสดงเป็นข้อๆ แต่อธิบายด้วยสำนวนง่ายๆ



ชื่อเรื่อง : โสฬสปัญหา ภาคที่ ๒ผู้แต่ง : สมเด็จพระสังฆราช วัดราชประดิษฐ์ปีที่พิมพ์ : ๒๔๖๑สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.                                                                                                                                                        สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทยจำนวนหน้า : ๕๒ หน้าเนื้อหา : หนังสือ โสฬสปัญหา ภาคที่ ๒ พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระสังฆราช วัดราชประดิษฐ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ หุ้ม แพร หลวงนนทพรรคพลานุสิษฐ์ (ซ่วน เอกะโรหิต) ครูใหญ่ โรงเรียนพรานหลวง พิมพ์แจกในงานปลงศพ สนองคุณ นายแดง เอกะโรหิต ผู้เป็นบิดา เมื่อปีมะมีย พ.ศ.๒๔๖๑ เนื้อหาใน โสฬสปัญหา ภาคที่ ๒ มาจากพระสุตันตปฏก ขุททกนิกาย จูฬนิเทศ ปารายนวรรค ดังนี้ ๑. ปุณณกมาณวปัญหา ๒. เมตตคูมาณวปัญหา และ ๓. โธตกมาณวปัญหาเลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๑๖๓๙เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๑๖๓๙_๐๐๑๐หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗



           กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครอยุธยา เตรียมจัดกิจกรรม “4 วัด 1 วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ พบกับกิจกรรมมากมาย “เมื่อครั้งต้นกรุงศรีฯ ประชาชีมีการละเล่นอะไร...” พร้อมเปิดให้เที่ยวชมโบราณสถานยามค่ำคืนเมืองมรดกโลก ในเดือนพฤศจิกายน 2567นี้ ติดตามรายละเอียดได้ทาง เพจ Facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park



        ขอเชิญชวนครอบครัวชาวไทยเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อเรียนรู้มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติในโครงการ "ครอบครัวสุขสันต์ เที่ยวพิพิธภัณฑ์วันอาทิตย์".ทุกครอบครัวสามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นทุกวันอาทิตย์จนถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๓.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางข้อความของเพจและเบอร์โทรศัพท์: ๐-๒๒๒๔-๑๔๐๒, ๐-๒๒๒๔-๑๓๓๓ ฝ่ายวิชาการ



ธรรมาสน์วัดนางกุย ตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ธรรมาสน์วัดนางกุย ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ตามประวัติระบุว่าได้รับมอบจากพระครูภัทรกิจโสภณ เจ้าอาวาสวัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งแต่เดิมธรรมาสน์นี้เป็นสมบัติเดิมของวัดนางกุย  สำหรับบันไดนาคได้มาจากวัดดุสิดาราม จ.พระนครศรีอยุธยา จึงทำให้ความสูงระหว่างบันไดกับชั้นร่องถุนของธรรมาสน์องค์นี้แตกต่างกันมาก           ธรรมาสน์องค์นี้ เป็นธรรมาสน์บุษบกขนาดใหญ่ไม่ย่อมุข ลักษณะหลายประการบนองค์ธรรมาสน์ถูกออกแบบขึ้นตามความคิดอย่างอาคารเครื่องก่อซึ่งสร้างขึ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ราวราชวงศ์ปราสาททองหรือราชวงศ์บ้านพลูหลวง          ส่วนยอดของธรรมาสน์มีลักษณะคล้ายชั้นเรือนธาตุของเจดีย์ทรงปรางค์ ตัวธรรมาสน์ประดับตกแต่งด้วยลายฉลุเป็นลวดลายกระจัง และกระหนกต่างๆ รวมถึงมีการประดับตกแต่งด้วยการติดกระจก  ส่วนฐานของธรรมาสน์ทำเป็นร่องถุนวางซ้อนอยู่บนชั้นฐานเขียง ๓ ชั้นอีกทีหนึ่ง ร่องถุนมีลักษณะเช่นเดียวกับอาคารที่สร้างขึ้นในราวปลายราชวงศ์ปราสาททองถึงสิ้นกรุง  สำหรับบันไดนาคเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว ที่มา : ขวัญภูมิ วิไลวัลย์. สมุดภาพลายเส้น ธรรมาสน์แห่งกรุงศรีอยุธยา



พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง เชียงแสน: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chiangsaen    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ก่อตั้งขึ้นในปี พุทธศักราช 2500 เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำแหล่งโบราณคดีเมืองเชียงแสน ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาและจัดแสดง โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในเขตเมืองโบราณเชียงแสน ตลอดจนพื้นที่อื่น ๆ ในเขตจังหวัดเชียงราย สู่สาธารณชน โดยเป็นหน่วยงานในกำกับของกรมศิลปากร    การจัดแสดงภายใน มุ่งเน้นการนำเสนอหลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวกับการตั้งหลักแหล่งของชุมชน ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ เรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ อาทิเช่น เครื่องมือหินกะเทาะ และเครื่องมือหินขัด ที่พบในบริเวณริมแม่น้ำโขง มีอายุราว 13,000-1,000 B.C. ซึ่งแยกออกเป็นสังคมล่าสัตว์ และสังคมเกษตรกรรม จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา จำนวนมาก เช่น พระพุทธรูป ชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถาน และศิลาจารึกที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษ 21-22 พื้นที่การจัดแสดงช่วงหลัง นำเสนอเรื่องราวของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองเชียงแสนและใกล้เคียง เช่น ชาวไทยวน ไทลื้อ อาข่า และเมี่ยน เป็นต้น    โบราณศิลปวัตถุชิ้นเอก ได้แก่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16-23 ที่มีความงดงามและแสดงถึงเทคโนโลยีการหล่อโลหะของช่างในสมัยโบราณ เช่น พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ จะใช้วิธีหล่อแยกส่วน แล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกัน ก่อนทำการตกแต่งด้วยกรรมวิธีลงรักปิดทองจารึกที่มีเนื้อหากล่าวถึงการอุทิศถวายที่ดิน คน เงิน ทอง ให้วัดเก็บเกี่ยวผลประโยชน์และใช้แรงงาน เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบพระพุทธศาสนาที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 จารึกด้วยอักษรล้านนา    ชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นจากแหล่งโบราณคดีวัดป่าสัก สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 19-22 เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเมืองเชียงแสนได้รับอิทธิพลรูปแบบทางศิลปกรรมจากอาณาจักรพุกาม อาณาจักรสุโขทัย แคว้นหริภุญไชย หรือจีน มาปรับปรุงจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และมีความหมายทางปรัญชา เช่น ประติมากรรมรูปหน้ากาล เป็นสัญลักษณ์ของกาลเวลาที่กัดกินทุกอย่างแม้แต่ตัวเอง นอกจากนั้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ยังให้บริการแก่สาธารณชน ในฐานะแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น การจัดอบรมศิลปะสำหรับเยาวชน การฝึกอบรมเยาวชนให้มีความรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จัดนิทรรศการพิเศษ และการดูและโบราณศิลปวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นสมบัติของชาติแต่อยู่ในความดูแลครอบครองของวัดและเอกชนในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงรายอีกด้วย


ขออนุญาตทำการค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ    ขั้นตอนที่ ๑      ยื่นคำขอได้ที่สถานที่  ดังนี้ ๑.๑   กรณีผู้ขอมีสถานที่ทำการค้าในเขตกรุงเทพมหานคร  นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ให้ยื่น  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กรมศิลปากร ๑.๒   กรณีที่ผู้ขอมีสถานที่ทำการค้าในเขตจังหวัดอื่นนอกจากข้อ ๑.๑ ให้ยื่น                                  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น  หากในจังหวัดนั้นไม่มีพิพิธภัณฑ                                  สถานแห่งชาติ  ให้ยื่น  ณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแห่งจังหวัดนั้น   ขั้นตอนที่ ๒       กรอกแบบฟอร์ม  ศก.๑ ๒.๑   กรณีเป็นบุคคลธรรมดา             ๒.๒   กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ                                  ๒.๓   กรณีเป็นนิติบุคคล                   ขั้นตอนที่ ๓       แนบเอกสารและหลักฐาน                         ๓.๑   กรณีเป็นบุคคลธรรมดา (‏ก)     ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้ (‏ข)     สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน (‏ค)      รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของผู้ขอรับใบอนุญาต ขนาด ๕ x ๖ เซนติเมตร  ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน  จำนวน ๒ รูป (‏ง)     แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า (‏จ)     สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้า หรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม                           ๓.๒   กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ (ก)    บัญชีรายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ข)   ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้  ของหุ้นส่วนผู้จัดการ (ค)      สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (‏ง)     รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของหุ้นส่วนผู้จัดการ นาด ๑  นิ้ว  ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน  จำนวน ๒ รูป (จ)   แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า (ฉ)   สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์  ใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม                          ๓.๓   กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ก)  หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียน พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (ข)  บัญชีรายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้  ของหุ้นส่วนผู้จัดการ (ง) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการ (จ) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการ ขนาด ๕ x ๖ เซนติเมตร  ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน  จำนวน ๒ รูป (ฉ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า (ช) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์  ใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม                        ๓.๔   กรณีเป็นบริษัทจำกัด (ก)   หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท


Messenger