ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการ “เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. พบการแสดงละครเสภา เรื่องกากี ตอน พญาครุฑต้องเสน่ห์ - เล่ห์คนธรรพ์ นำแสดงโดยศิลปินสำนักการสังคีต
บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑
ชื่อผู้แต่ง จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ
ชื่อเรื่อง ตำนานพระแก้วมรกตและตำนานพระพุทธสิหิงค์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ -
จำนวนหน้า ๑๒๔ หน้า
ตำนานพระแก้วมรกตนี้ มีฉบับอยู่ในหอสมุดแห่งชาติหลายสำนวน ฉบับที่พิมพ์นี้เข้าใจว่าเป็นสำนวนแต่งในรัชกาลที่ 5 อาศัยฉบับเดิมซึ่งพระเจ้านันทเสน ผู้ครองนครหลวงพระบาง นำมาทูลเกล้าฯ ถวายในรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2331 เป็นหลัก มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในบันทึกของเจ้าหน้าที่กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ซึ่งได้พิมพ์อยู่ในตำนานพระแก้วมรกต ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2478 ส่วนเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ นั้น พลตรี หลวงวิจิตวาทการ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมศิลปากร ได้รวบรวมจากเรื่องที่ท่านผู้รู้หลายท่านได้เรียบเรียงขึ้นไว้ เช่น ตำนานพระพุทธสิหิงค์ ของ พระโพธิรังษี ปราชญ์เชียงใหม่ ซึ่งได้เขียนเป็นภาษามคธ เมื่อราว พ.ศ.1960 และพระยาปริยัตธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) แปลเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ ไที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์และตำนานพระพุทธสิหิงค์ของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ เป็นต้น
เลขทะเบียน : นพ.บ.456/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 159 (163-173) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ลำวิสุทธิยา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.604/1 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 193 (399-407) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อภิธัมมา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
“วันสงกรานต์ 13 เมษายน” ื วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี คำว่า "สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนที่ หรือการ เคลื่อนย้าย หมายถึงการเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งสู่อีกราศีหนึ่ง คือวันขึ้นปีใหม่นั่นเองตามความหมายในภาษาสันสกฤตสงกรานต์จึงเกิดขึ้นทุกเดือน
ส่วนระยะเวลาที่คนไทยเรียก "สงกรานต์” นั้น เป็นช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ นับว่าเป็นมหาสงกรานต์ เพราะเป็นวันและเวลาตั้งต้นปีใหม่ตามสรุยคติ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ วันที่ 13-14-15 เมษายน โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน ว่าวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก
การสรงน้ำพระ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำในคนรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือเยาว์กว่า เป็นความงดงามของประเพณี การสืบทอดจรรโลงประเพณีสงกรานต์จึงน่าจะช่วยกันรักษาคุณค่าทางใจ ความมีน้ำใจ การมีสัมมาคารวะและกตัญญู การช่วยเหลือเกื้อกูลต่อธรรมชาติต่อสิ่งแวดล้อม
เชื่อว่า คนไทยทุกคนรู้จัก "นางสงกรานต์" แต่เราอาจจะยังไม่รู้ว่า นางสงกรานต์ มีที่มาจากไหน
โดยตำนานเกี่ยวกับนางสงกรานต์นั้น ได้มีปรากฏในศิลาจารึกที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ท่าเตียน โดยย่อว่า เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ
เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ
ตรงกับวันอาทิตย์ จะชื่อ “ทุงษเทวี” ตรงกับจันทร์ ชื่อ “โคราดเทวี” ตรงกับวันอังคาร ชื่อ”รากษสเทวี” ” ตรงกับวันพุธ ชื่อ”มัณฑาเทวี” ตรงกับวันพฤหัสบดีชื่อ “กิริณีเทวี” ตรงกับวันศุกร์ ชื่อ “กิมิทาเทวี” ตรงกับวันเสาร์ ชื่อ”มโหทรเทวี”
วันสงกรานต์ ปี 2566 นางสงกรานต์ ทรงนามว่า "กิมิทาเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จนั่งมาเหนือหลังมหิงสา (ควาย) เป็นพาหนะ
ปีเถาะ (มนุษย์ผู้หญิง ธาตุไม้) เบญจศก จุลศักราช 1385 ทางจันทรคติ เป็น อธิกมาส ทางสุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน วันที่ 14 เม.ย. เป็น วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันศุกร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 5 เวลา 16 นาฬิกา 01 นาที 02 วินาทีวันที่ 16 เม.ย. เวลา 20 นาฬิกา 12 นาที 24 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1385 ปีนี้วันเสาร์ เป็น ธงชัย , วันพุธ เป็น อธิบดี , วันศุกร์ เป็น อุบาทว์ , วันศุกร์ เป็น โลกาวินาศ
ปี 2566 นี้ วันจันทร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า นาคให้น้ำ 2 ตัว
เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 6 ชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ 9 ส่วน เสีย 1 ส่วน ธัญญาหาร พลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ อุดมสมบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปัถวี (ดิน) น้ำงามพอด๊
ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/59
หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ชวนเชิญน้องๆ นักเรียนระดับประถามศึกษาตอนปลาย ร่วมกิจกรรมสอนศิลปะสำหรับเด็ก ครั้งที่ 3 ฝึกทักษะการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ ในหัวข้อเรื่อง "ศิลปะพับกระดาษ วาดภาพ 3 มิติ" ในวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องศิลปะและวรรณคดี หอสมุดแห่งนครศรีธรรมราช สามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ "ฟรี" ไม่เสียค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด) สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook หอสมุดแห่งชาติ นครศรีธรรมราช หรือ โทร. 0 7532 4137
ชื่อเรื่อง ปาจิตฺติยบาลี มหาวิภฺงคปาลิ (ปาลิปาจิตฺตีย์)
ลบ.บ. 365/3
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.3 ซม. ยาว 56.5 ซม.
หัวเรื่อง พระไตรปิฎก
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน ธรรมอีสาน ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ
ททท.ชวนคนไทยทั้งประเทศ เตรียมแสดงความยินดี กับ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เตรียมประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก UNESCO World Heritage แห่งล่าสุดของไทย
มาร่วมเปิดความมหัศจรรย์ ย้อนกาลเวลาอันรุ่งเรืองของเมืองโบราณ ณ ดินแดนที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ ผ่าน แสง สี แห่งความศรัทธา ในงาน “มหัศจรรย์แสงสี ณ ศรีเทพ สู่มรดกโลก” The Magical Si Thep to World Heritage พลังความเชื่อจากอดีต สู่แสงแห่งศรัทธาของคนไทย ที่นำพาความภาคภูมิใจให้คนทั้งโลก ในวันที่ 29 สิงหาคม - 3 กันยายน นี้ เวลา 16.00 – 21.00 น. ณ เขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อ.ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
* (ข้อมูลจาก Facebook : ททท.สำนักงานพิษณุโลก https://www.facebook.com/TAT.Phitsanulok)
รายงานผลการสำรวจโบราณสถานที่ประกาศขึ้นทะเบียน
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 (ฉบับใหม่)ผู้แต่ง ประหยัด กงตาลประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ กองทัพเลขหมู่ 352.63 ป424พสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรสารการพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2518ลักษณะวัสดุ 54 หน้าหัวเรื่อง กฎหมาย ข้าราชการพลเรือน – กฎหมายภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน กล่าวถึงลักษณะ 8 ลักษณะ และข้อแตกต่างระหว่างกฎหมายใหม่กับกฎหมายเก่า บัญชีอัตราเงินเดือน
หน้ากาลประดับซุ้มประตู
ศิลปะชวา พุทธศตวรรษที่ ๑๔
ได้มาจากพุทธสถานบูโรพุทโธ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้อง ศรีวิชัย-ชวา อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ศิลาจำหลักรูปหน้ากาล เป็นส่วนหนึ่งของงานประดับซุ้มประตูพุทธสถานบูโรพุทโธ หรือ บโรบูดูร์ (Borobudur) ณ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย หน้ากาลมีลักษณะดวงตากลม เบิกโพลง จมูกใหญ่ ปรากฏเฉพาะส่วนริมฝีปากบน (เช่นเดียวกับหน้ากาลในศิลปะอินเดีย)* ด้านบนและด้านข้างเป็นลวดลายกระหนกพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นรูปแบบหน้ากาลของศิลปะชวาภาคกลางที่ต่างไปจากหน้ากาลในศิลปะชวาภาคตะวันออกที่มีดวงตาถลน มีริมฝีปากบนและล่าง มีมือสองข้าง และมีเขา
หน้ากาลใช้ประดับตกแต่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ทั้งในเทวสถานและพุทธสถาน ที่นิยมใน ศิลปะอินเดีย และเอเชีย โดยมักประดับหน้ากาลอยู่กึ่งกลางยอดซุ้ม ส่วนปลายของซุ้มเป็นรูปมกร สำหรับที่พุทธสถานบูโรพุทโธ ซุ้มประตูหน้ากาลจะอยู่บริเวณลานชั้นบนสุด** ตำนานของหน้ากาลปรากฏในคัมภีร์ปุราณะ กล่าวว่าอสูรตนหนึ่งเกิดระหว่างพระขนงของพระศิวะมีความหิวโหยจนกลืนกินทุกสรรพสิ่งแม้กระทั่งร่างตนเองเหลือเพียงใบหน้าเท่านั้น พระศิวะประทานนามว่า เกียรติมุข (แปลว่า หน้าซึ่งมีเกียรติ) มอบหน้าที่ให้เฝ้าประตูวิมานของพระองค์ และถือว่าหากผู้ใดไม่เคารพเกียรติมุขย่อมถือว่าผู้นั้นจะไม่ได้รับพรจากพระศิวะ ดังนั้นหน้ากาลจึงมีหน้าที่เป็นผู้ปกป้องดูแลรักษามิให้สิ่งชั่วร้ายเข้าไปภายในศาสนสถาน รวมถึงเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเกียรติ และความเป็นมงคล จึงมักประดับอยู่บนหน้าบันกึ่งกลางทางเข้าอาคาร
นอกจากนี้คติชาวอินเดียตะวันออกเรียกอมนุษย์ตนนี้ว่า ราหูมุข (rahumukha) ตามเนื้อเรื่องพระราหู อสูรที่ถูกพระนารายณ์ตัดร่างกายไปครึ่งหนึ่งเนื่องจากลอบดื่มน้ำอมฤต ขณะที่ชาวอินเดียตะวันตกเรียกอสูรตนนี้ว่า คราสมุข (grasamukha) นับถือเป็นเจ้าแห่งทะเล ในทางพุทธศาสนามีชาดก เรื่อง “มูลปริยายชาดก” ชาดกจากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก กล่าวถึง “เวลา” กลืนกินทุกสรรพสิ่งกล่าวคือ ความเสื่อมถอยของอายุขัย ร่างกาย สุขภาพ ยกเว้น “ขีณาสพ” หรือผู้ที่สิ้นกิเลสแล้วเท่านั้นที่ยังคงดำรงอยู่ได้ไม่ถูกเวลากลืนกินไป ดังข้อความว่า “กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา” แปลความว่า กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวเองด้วย ก็ผู้ใดกินกาล ผู้นั้นเผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้แล้ว.
ศิลาจำหลักรูปหน้ากาลชิ้นนี้มีประวัติว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสชวา ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ครั้งนั้นพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพุทธสถานบูโรพุทโธ และทรงเลือกประติมากรรมกลับมาเป็นที่ระลึก ดังข้อความในพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ.๒๔๓๙) ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...กลับลงมาเลือกลายต่าง ๆ ที่ตกอยู่ข้างล่าง คือนาคะหรือช้าง ลายหลังซุ้มพระเจดีย์ ๑ รากษสเล็กตัว ๑ สิงโตขาหัก ๒ ตัว ท่อน้ำอัน ๑...”
ภายหลังเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีสมโภชพระพุทธรูปและเทวรูปที่ทรงได้มาจากชวา โดยเทวรูปและพระพุทธรูปประดิษฐาน ณ โรงพิธีที่หน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ โปรดฯ ให้พระสงฆ์และพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จพระราชดำเนิน ดูสิ่งของที่ได้จากชวา พร้อมทั้งมีการแสดงทางวัฒนธรรมของทางชวา ทั้งการรำและการดนตรีอย่างชวา
หน้ากาลมีความหมายถึง ผู้ที่กลืนกินทุกสรรพสิ่ง แม้กระทั่งปากล่างของตน ทำให้เหลือแค่เพียงริมฝีปากบน
นัยหนึ่งการปรากฏทั้ง “หน้ากาล” ซึ่งหมายถึงการกลืนกินสรรพสิ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนเป็นความเสื่อมถอย และ “มกร” ซึ่งหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ เปรียบเสมือนเป็นความเจริญนั้น ก็เป็นสิ่งเตือนใจให้กับมนุษย์ว่าบนโลกมีทั้งความเจริญและความเสื่อมถอยเป็นสิ่งคู่กัน
อ้างอิง
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๘ (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงารพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธกรมหลวงนครราชสีมา ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๖๘).
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รูปแบบ พัฒนาการ ความหมาย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๘.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๑.
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๕.
อรรถกถา มูลปริยายชาดก ว่าด้วย กาลเวลากินสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖, จาก: https://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270340