ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ




-- องค์ความรู้ เรื่อง พระบรมราชินีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ -- เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ นี้  และในโอกาสมหามงคลนี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยาจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของพระราชินีไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ เพื่อเผยแพร่ให้แก่ผู้สนใจ และสามารถนำเป็นข้อมูลไปใช้ในการสืบค้นต่อไปได้………………………ผู้รวบรวมข้อมูลและจัดทำ: นางสาวอรทัย ปานจันทร์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)………………………แหล่งข้อมูลอ้างอิง: ๑. สมุดภาพ “สมเด็จพระบรมราชินี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์” คณะอนุกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร  จัดพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๔๗๒. หนังสือสมเด็จพระบรมราชินี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๔๗#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           53/3ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               46 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๙ วันประสูติหม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ หม่อมเจ้าองค์สุดท้ายแห่งราชสกุลจิตรพงศ์           หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงไอ เป็นพระบุตรองค์ที่ ๙ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๙           มีเจ้าพี่ร่วมหม่อมมารดา ๔ องค์ คือ หม่อมเจ้าประโลมจิตร จิตรพงศ์ (ท่านหญิงอี่), หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ (ท่านหญิงอาม), หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ (ท่านชายไส) และหม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ (ท่านชายงั่ว)           หม่อมเจ้ากรณิกาทรงเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ตลอดพระชนม์ชีพได้ทรงงานด้านต่างๆ เริ่มจากเป็นอาจารย์สอนภาษาไทยที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยประมาณ ๒ ปี เมื่อเกิดสงครามได้ทรงเข้าทำงานที่กองอาสากาชาด สภากาชาดไทย ตามคำชวนของหม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล ได้ทรงงานช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการทิ้งระเบิดอย่างกล้าหาญ ต่อมาได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเรียนเก่ามาแตร์เดอีวิทยาลัยเป็นเวลานานถึง ๒๒ ปี           หม่อมเจ้ากรณิกาเคยเสด็จแทนพระองค์ในงานพระราชพิธีบ่อยครั้ง ทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธินริศรานุวัติวงศ์ นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการมูลนิธิสิรินธร โดยทรงเป็นประธานอำนวยการจัดสร้างห้องพยาบาลของมูลนิธิดังกล่าว และดำรงตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว            หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘ สิริชันษา ๙๘ ปี           หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์ ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบิดา   ภาพ : หม่อมเจ้ากรณิกา จิตรพงศ์


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           37/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              76 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


  ชื่อเรื่อง           คู่มือดูนกปากแม่น้ำกระบี่ ชื่อผู้แต่ง         โครงการจัดการและคุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่  องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กระบี่ สำนักพิมพ์       องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ปีที่พิมพ์          2549 จำนวนหน้า      2๑๒  หน้า รายละเอียด                     คู่มือดูนกปากแม่น้ำกระบี่เล่มนี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้กับผู้ที่สนใจในการดูนกทั้งหลาย  ได้เรียนรู้  ศึกษาพฤติกรรมและความสำคัญของนกในพื้นที่ปากแม่น้ำกระบี่  เช่น  นกน้ำ และนกชายเลนหลายชนิดบางชนิดมีลักษณะและพฤติกรรมที่คล้ายกัน  และเป็นคู่มือที่ให้รายละเอียดความรู้ความเข้าใจเพื่อใช้จำแนกชนิดของนกได้อย่าง


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 131/7กเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 167/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เยี่ยมเยือนสถานีประมง --ก่อนพ.ศ. ๒๕๐๐ ใครมาตรวจเยี่ยมสถานีประมงพะเยาบ้าง ? จากเอกสารจดหมายเหตุเรื่องการตรวจราชการสถานีประมงน้ำจืดพะเยา ให้รายละเอียดว่า ระหว่างพ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๘ มีรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ปลัดกระทรวง อธิบดี และหัวหน้าแผนกมาเยือน โดยแต่ละท่านได้แสดงความเห็นหรือคำแนะนำไว้ในบันทึก/ตารางการตรวจเยี่ยม ดังเช่น วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๙๓ พระช่วงเกษตรศิลปการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เขียนว่า " ข้าพเจ้าได้มาตรวจราชการภาคเหนือ ได้มาพักแรมดูกิจการที่นี่ ทั้งผ่านไปดูการเพาะเลี้ยงของราษฎรที่ได้ขุดบ่อเลี้ยงอย่างจริงจัง ขอไห้ขยายกิจการส่งเสริมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสมาชิกสหกรณ์ . . . "  หรือวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๙๔ นายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เขียนว่า " ได้มาพักแรมตรวจราชการของสถานีการประมงแห่งนี้ รู้สึกพอใจในกิจการที่หัวหน้าสถานี (ม.จ.โกศลฯ) ที่ได้ทรงปฏิบัติเปนอย่างมาก ขอบคุณ ที่ท่านได้ทรงพยายามเอาพระทัยขมักขเม้นในกิจการประมงเปนอย่างดี . . . "  เป็นต้น การแสดงความเห็นของผู้มาตรวจเยี่ยมทุกท่านมีแต่ความชื่นชม และแนะนำการปฏิบัติงานเพิ่มเติม ทั้งเรื่องเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากขึ้น สร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับงานชลประทาน กำจัดผักตบชวาในกว๊าน และเอาใจใส่งานวิชาการประมงต่อไป การตรวจเยี่ยมครั้งสุดท้ายก่อนเข้าพ.ศ. ๒๕๐๐ นั้น คือวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๘ โดยหัวหน้าแผนกทดลองและเพาะเลี้ยงบางเขน แต่ไม่ปรากฏความเห็นหรือคำแนะนำใดๆ สันนิษฐานว่าอาจเป็นท่านหนึ่งในคณะผู้ติดตามอธิบดีกรมประมงที่มาตรวจราชการวันเดียวกัน นอกจากนี้ พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นปีที่เพิ่งมีผู้ตรวจเยี่ยมสถานีประมงพะเยา หลังจากห่างหายไปภายหลังพ.ศ. ๒๔๙๔ น่าสังเกตว่า เมื่อแต่ก่อนมีการตรวจเยี่ยมทุกปีหรือปีละ ๒ ครั้ง เพราะเหตุใดจึงขาดหายไป ๓ - ๔ ปี ? อย่างไรก็ดี จุดประสงค์ของการตรวจเยี่ยมคือ ติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงานที่กระทรวงและกรมประมงมอบหมาย ตรวจสอบความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่กับผู้ใต้บังคับบัญชา การให้กำลังใจ สร้างความสมัครสมานสามัคคีร่วมกัน ดังนั้น บันทึกการตรวจเยี่ยมสถานที่ราชการ ตรวจงาน จึงเป็นเอกสารสำคัญ เป็นหลักฐานสะท้อนภารกิจหน้าที่ของผู้มาตรวจและผู้รับตรวจ อีกทั้งยังแสดงถึง " เกียรติ " " ศักดิ์ศรี " ที่ผ่านมาของผู้ปฏิบัติงาน.ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/2 เรื่อง การตรวจราชการสถานีประมงน้ำจืดพะเยา [ 18 มี.ค. 2493 - 24 เม.ย. 2511 ]#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           21/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                56 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           57/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                24 หน้า : กว้าง 4.8 ซม. ยาว 56.8 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


      ย้อนรอยแผ่นดินพระจอมเกล้าฯ : เรื่องเล่าจากพงศาวดาร (ตอนที่ ๖ จารึกหลักที่ ๑)       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช เมื่อครั้งทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุ เสด็จออกธุดงค์ยังหัวเมืองเหนือ ทรงค้นพบจารึกหลักที่ ๑ เมื่อวันกาบสี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ จ.ศ. ๑๒๑๔ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๓๗๖ ณ เนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งการค้นพบครั้งสำคัญนี้ ปรากฏความในเทศนาพระราชประวัติ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญนี้ว่า      “...เมื่อปีมะเส็ง เบญจศก ศักราช ๑๑๙๕ เสด็จไปประพาศเมืองเหนือ นมัสการเจดียสถานต่างๆ ไปโดยลำดับ ประทับเมืองศุโขไทย เสด็จไปเที่ยวประพาสพบแท่นศิลาแท่นหนึ่ง เขาก่อไว้ริมเนินปราสาทเก่าหักพังอยู่ เป็นที่นับถือกลัวเกรงของหมู่มหาชน ถ้าบุคคลไม่เคารพเดินกรายเข้าไปใกล้ ให้เกิดเจ็บไข้ไม่สบาย ทอดพระเนตรเห็นแล้ว เสด็จตรงเข้าไปประทับ ณ แท่นศิลานั้น ก็มิได้มีอันตรายสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยอำนาจพระบารมี เมื่อเสด็จกลับรับสั่งให้ชะลอลงมา ก่อเป็นแท่นไว้ที่วัดราชาธิวาศ ครั้นภายหลังได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ดำรัสสั่งให้นำไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อนึ่ง ทรงได้เสาศิลาจารึกอักษรเขมร เสา ๑ จารึกอักษรไทยโบราณเสา ๑ ซึ่งตั้งไว้ในวัดพระศรีรัตศาสดารามนั้น มีเนื้อความอัศจรรย์เป็นศุภนิมิตดังแสดงว่าพระองค์จะได้เป็นอิสระในสยามรัฐ เป็นพระบรมกษัตริย์มีพระเดชานุภาพกิตติคุณแผ่ไปดังพระบาทอมรเตงอัญ ศรีสุริยพงษรามมหาราชาธิราช ซึ่งเป็นเอกราชในเมืองศุโขไทย มีจดหมายไว้ในเสาศิลาฉะนั้น....”   ภาพ : จารึกพ่อขุนรามคำแหง (จารึกหลักที่ ๑) ด้านที่ ๑ และด้านที่ ๒ (ภาพจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร)  


ชื่อเรื่อง : วรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณีชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ศึกษาภัรฑ์พาณิชย์จำนวนหน้า : 1,328 หน้า สาระสังเขป : เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้ เริ่มต้นด้วยประวัติสุนทรภู่ ตั้งแต่ก่อนรับราชการ ตอนรับราชการ ตอนออกบวช ตอนตกยาก ตอนสิ้นเคราะห์ ว่าด้วยหนังสือที่สุนทรภู่แต่ง ว่าด้วยเกียรติคุณของสุนทรภู่ บันทึกเรื่องผู้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง อธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ทั้งหมด 64 ตอน มีนิทานเรื่องพระอภัยมณีต่อจากคำกลอน


Messenger