ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

          วัดสิงห์เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร แผนผังของตัววัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ภายในวัดใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง           สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดประกอบด้วยพระอุโบสถ เป็นอาคารที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฐานชั้นล่างที่รองรับอาคารด้านบนเป็นแบบฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีผนังด้านข้างก่อด้วยศิลาแลงสูง ๐.๙๐ เมตร บริเวณชานชาลาด้านทิศตะวันออกของฐานชั้นล่าง ปรากฏแท่นประดับประติมากรรมปูนปั้นรูปสิงห์และทวารบาล ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะโกลนศิลาแลงของประติมากรรม บนลานประทักษิณมีฐานเสมาสำหรับปักใบเสมาหินชนวนจำนวน ๘ ฐาน ล้อมรอบลานดังกล่าว ใบเสมาหินชนวนมีการสลักลวดลายพันธุ์พฤกษาในกรอบรูปสามเหลี่ยม ที่ขอบใบเสมาแกะสลักเป็นแถวลายกระหนกปลายแหลม ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ถัดขึ้นไปจากลานประทักษิณเป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ภายในอาคารปรากฏแท่นอาสน์สงฆ์ที่แนวผนังอาคารด้านทิศใต้และมีแท่นชุกชีที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่ง           เจดีย์ประธานอยู่ถัดจากพระอุโบสถไปทางด้านทิศตะวันตก เป็นเจดีย์บนฐานสี่เหลี่ยม มีลักษณะเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมต่อด้วยชั้นฐานบัว ที่ฐานสี่เหลี่ยมตอนล่างทำเป็นซุ้มเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปยื่นออกมาทั้ง ๔ ทิศ องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐ ส่วนยอดเจดีย์หักพังทลายไป จากการศึกษารูปทรงเดิมขององค์เจดีย์จากหลักฐานที่เป็นภาพถ่ายเก่าและหลักฐานจากการขุดแต่งทางโบราณคดีบริเวณฐานเจดีย์ได้พบชิ้นส่วนของบัวปากระฆัง จึงสันนิษฐานได้ว่ารูปทรงเดิมของเจดีย์ประธานวัดสิงห์เป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานสี่เหลี่ยม ที่มีการเพิ่มฐานสี่เหลี่ยมให้ซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้น คล้ายกับเจดีย์ประธานของวัดกำแพงงามในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร          “วัดสิงห์” จึงเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรที่มีความสำคัญยิ่ง จากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความปราดเปรื่องในสรรพวิชางานช่างฝีมือที่ปรากฏให้เห็นในด้านสถาปัตยกรรม ล้วนแล้วแต่เป็นประจักษ์พยานของความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของแผ่นดินเมืองกำแพงเพชรได้เป็นอย่างดี. -----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร-----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอก อินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. รายงานการขุดแต่งโบราณสถาน วัดสิงห์. ม.ป.ท., ๒๕๒๕.


ชื่อผู้แต่ง        พระศาสนโสภน ชื่อเรื่อง          ไตรวุฒิกับความคุ้นเคย ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์การพิมพ์พานิช ปีที่พิมพ์         ๒๔๙๕ จำนวนหน้า     ๔๘ หน้า หมายเหตุ       พิมพ์เป็นธรรมบรรณาการอุทิศแด่ นายดรุณ ณ ระนอง ในการฌาปนกิจที่วัดตรังคภูมิพุทธาวาส จังหวัดตรัง วัน ที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๕                    หนังสือเรื่องไตรวุฒิกับความคุ้นเคย เล่มนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับสังคม ความสามัคคี ความอยู่เย็นเป็นสุข และความเจริญ ๓ ประการ  


เลขทะเบียน : นพ.บ.143/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 86 (346-361) ผูก 13 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺปฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง            หอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร  ชื่อเรื่อง             สนทนาเรื่องพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งแรก   สถานที่พิมพ์      กรุงเทพ   สำนักพิมพ์         โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  ปีที่พิมพ์           2510      จำนวนหน้า       64 หน้า  หมายเหตุ               จัดพิมพ์มาจากกิจกรรมในวาระครบรอบพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย           ครบ ๒00 ปี ในปี พ.ศ.๒๕๑0                                   เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นจากการจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นเอกอัครกวีและศิลปินเมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑0 ซึ่งเป็นปีก่อนวันพระราชสมภพครบ ๒00  ปี  ซึ่งจัดโดยหอสมุดแห่งชาติโดยมีร่วมเสวนาดังนี้ ม.ล.บุญเหลือ  เทพยสุวรรณ  ศาสตราจารย์กุหลาบ   มัลลิกะมาสและศาสตราจารย์แม้นมาส  ชวลิต



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.13/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


     เรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกไชยหลาวทอง      ชื่อเรือทั้ง ๒ ลำนี้ปรากฏในสมุดภาพริ้วกระบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) ต้นฉบับเป็นหนังสือสมุดไทยของหอสมุดแห่งชาติ ต่อมาในหนังสือตำนานเรือรบไทย เรียบเรียงโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวถึงเรือพระที่นั่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒) โปรดให้สร้างขึ้นใหม่ ปรากฏชื่อเรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกไชยหลาวทอง เป็นเรือกระบวนปิดทอง อย่างไรก็ดี เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ เรือทั้ง ๒ ลำได้รับความเสียหายจากระเบิดทางอากาศยาน กรมศิลปากรและกองทัพเรือจึงได้ร่วมกันสร้างเรือทั้ง ๒ ลำขึ้นใหม่ โดยกล่าวถึงในประวัติเรือพระราชพิธี ซึ่งนาวาเอกอัญเชิญ นิทธยุ ได้รวบรวมไว้เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๕ ว่า “ในคราวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค พ.ศ.๒๕๑๐ ได้ใช้เรือเอกชัยเหิรหาวทอดพระที่นั่งกง ประดับด้วยพระอภิรุมเป็นเรือพระที่นั่งรอง ทั้งนี้เนื่องจากเรืออเนกชาติภุชงค์ชำรุด ไม่ปลอดภัยในการนำลงน้ำและเข้าริ้วกระบวน โดยเรือเอกชัยเหิรหาวลำปัจจุบันนี้ ต่อใหม่ที่กรมอู่ทหารเรือเมื่อพ.ศ.๒๕๐๘ ลงน้ำ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๐”       เรือทั้ง ๒ ลำ ประดับตกแต่งด้วยการเขียนลายรดน้ำลงรักปิดทองรูปเหรา (เห-รา) ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ มีลักษณะผสมระหว่างมังกรกับพญานาค หัวเรือเป็นรูปดั้งเชิดสูงขึ้นสอดคล้องกับชื่อเรือ ปัจจุบันพบการสะกดชื่อเรือเป็นสองแบบตามที่ปรากฏในเอกสาร และมีการสะกดคำว่า เหิร เป็น เหิน ตามหลักไวยากรณ์ภาษาไทย (แต่ยังคงความหมายเดิม)      เอกไชยเหินหาว แปลว่า ความเจริญความดีเลิศทะยานสู่ท้องฟ้า หากเขียนเป็น เอกชัยเหินหาว แปลว่า ชัยชนะสูงสุดทะยานสู่ท้องฟ้า       เอกไชยหลาวทอง แปลว่า เรือทองที่บรรจงสร้าง (โดยการหลาวหรือเหลา) เพื่อความเจริญและความดีเลิศ หากเขียนเป็น เอกชัยหลาวทอง แปลว่า เรือทองที่บรรจงสร้าง (โดยการหลาวหรือเหลา) เพื่อชัยชนะ       ปัจจุบันเรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกไชยหลาวทองใช้เป็นเรือคู่ชัก จัดอยู่ในริ้วที่ ๒ และริ้วที่ ๔ ขนาบข้างเรือพระที่นั่ง เรือทั้ง ๒ ลำมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่สามารถสังเกตความแตกต่างได้ คือ บนเรือเอกไชยเหินหาวจะมีกระบอกสำหรับปักพระอภิรุม ซึ่งประกอบด้วย ฉัตร ๗ ชั้น ฉัตร ๕ ชั้น ฉัตรชุมสาย (ฉัตร ๓ ชั้น) ซึ่งจะไม่พบบนเรือเอกไชยหลาวทอง ทั้งนี้เนื่องจากเรือเอกไชยเหินหาวเคยใช้เป็นเรือพระที่นั่งรองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามฯ เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๑๐ มาก่อน ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว    





ชื่อเรื่อง                         มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (วิธูรบัณฑิต)      สพ.บ.                           407/2 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ภาษา                           บาลี/ไทยอีสาน หัวเรื่อง                        พุทธศาสนา                                  นิทานชาดก ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ                   36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.8 ซม.  บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 79 จดหมายเหตุวันวลิต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2515          ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 79 จดหมายเหตุวันวลิต นี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความเป็นไปตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และการจราจลซึ่งเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดลงมาจนถึงพระองค์ไล (พระเจ้าปราสาททอง) ได้ราชสมบัติ



          ว่ากันว่าเมื่อชาวจีนไปอาศัยอยู่ที่ใด ก็มักจะสร้างศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมและบูชาเทพเจ้าของตนเสมอ เป็นผลทําให้เกิด การสร้างศาลเจ้าจีนกระจายท่ัวไป ดังนั้นเมืองจันทบุรีจะมี"ศาลเจ้า"ที่ตั้งขึ้นโดยคนจีนอยู่กี่แห่ง? วันนี้ผู้เขียนมีคำตอบให้ค่ะ           เอกสารจดหมายเหตุได้มีบันทึกระบุว่า พ.ศ.2466 มีศาลเจ้าของคนจีนที่มาขอรับการจดทะเบียน จำนวน 34 ศาลเจ้า แยกตามอำเภอได้ดังนี้ 1.อำเภอเมืองจันทบุรี จำนวน 12 ศาลเจ้า ได้แก่ -ศาลจ้าวฮุ้ดโจ้ ตำบลตลาดจันทบุรี -ศาลจ้าวโจ๊ซือกง ตำบลตลาดจันทบุรี -ศาลจ้าวปากน้ำ ตำบลตลาดจันทบุรี -ศาลจ้าวสระบาป ตำบลท่าเรือจ้าง -ศาลจ้าวโป่งแรต ตำบลโป่งแรต -ศาลจ้าวคมบาง ตำบลคมบาง -ศาลจ้าวเจ้าที่ ตำบลตลาดจันทบุรี -ศาลจ้าวอาม้า ตำบลบางกะจะ -ศาลจ้าวเฮี่ยนเทียน ตำบลบางกะจะ -ศาลจ้าวอาเนี้ย ตำบลบางกะจะ(หลังนี้มีพื้นที่ 368 ตารางวา ทิศตะวันตกติดศาลจ้าวโจ้ซื่อกง) -ศาลจ้าวอาเนี้ย ตำบลบางกะจะ(หลังนี้มีพื้นที่ 48 ตารางวา ทิศตะวันตกติดถนน) -ศาลจ้าวโจ๊ซื่อกง ตำบลบางกะจะ2.อำเภอท่าใหม่ จำนวน 12 ศาลเจ้า ได้แก่ -ศาลจ้าวโจ๊ซื่อกง ตำบลท่าใหม่ -ศาลจ้าวโจ๊ซือก๋ง ตำบลท่าใหม่ -ศาลจ้าวโรงเจตั๋ว ตำบลท่าใหม่ -ศาลจ้าวท่าน้ำ ตำบลท่าใหม่ -ศาลจ้าวหนองจอก ตำบลยายร้า -ศาลจ้าวห้วยระกำ ตำบลพลอยแหวน -ศาลจ้าวชำฆ้อ ตำบลพลอยแหวน -ศาลจ้าวหนองปรือ ตำบลเขาวัว -ศาลจ้าวตั้วล้ง ตำบลเขาวัว -ศาลจ้าวอาเหนียว ตำบลเขาบายศรี -ศาลจ้าวท่าศาลา ตำบลท่าศาลา -ศาลจ้าวปากน้ำพังลาด ตำบลช้างข้าม3.อำเภอแหลมสิงห์ จำนวน 5 ศาลเจ้า ได้แก่ -ศาลจ้าวแหลมสิงห์ ตำบลบางกะไชย -ศาลจ้าวเกาะเปริด ตำบลเกาะเปริด -ศาลจ้าวพลิ้ว ตำบลพลิ้ว -ศาลจ้าวบางเทียน ตำบลคลองน้ำเค็ม -ศาลเจ้าหนองบัว ตำบลหนองบัว 4.อำเภอขลุง จำนวน 5 ศาลเจ้า ได้แก่ -ศาลจ้าวขลุง ตำบลขลุง -ศาลจ้าวตรอกนอง ตำบลตรอกนอง -ศาลจ้าวคานรูด ตำบลเกวียนหัก -ศาลจ้าวเกาะจิก ตำบลบางชัน -ศาลจ้าวบางชัน ตำบลบางชัน          ทะเบียนศาลเจ้าเล่มนี้ ภายในประกอบไปด้วยรายนามแต่ละศาลเจ้า ที่ดินระวาง เลขที่ดิน เลขโฉนด เนื้อที่เท่าไร อาณาเขตต์ติดกับใครบ้าง และใครเป็นผู้ปกครองหรือผู้ตรวจตราสอดส่องแต่ละศาลเจ้า ศาลเจ้าเหล่านี้อาจสร้างขึ้นมาก่อนหน้าแล้วก็ได้ และในเวลาต่อมาอาจให้มาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง ยกตัวอย่างศาลเจ้าขลุงได้ระบุว่ามี นายเค็งเส็ง แส้เหลา เป็นผู้ปกครองศาลแห่งนี้มาตั้งแต่ พ.ศ.2465 และยังมีนายเลี่ยนจิ้น แส้เตี่ยว เป็นผู้ตรวจตราสอดส่อง ในพ.ศ.เดียวกัน เป็นต้น           เป็นที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือศาลเจ้าที่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ มีแค่ 4 อำเภอ ขาดอยู่ 1 อำเภอคืออำเภอมะขาม และ ณ ขณะนี้ผู้เขียนยังไม่มีหลักฐานอื่นมายืนยันว่า เป็นเพราะเหตุว่าไม่มีศาลเจ้าในขณะนั้นที่อำเภอมะขาม หรือมีเหตุผลอื่นใดกันแน่ จึงขอฝากเพื่อนๆที่สนใจในเรื่องนี้ตามต่อด้วยนะคะ (หมายเหตุ คำเรียกบางคำยังคงตามคำเขียนเดิม)-----------------------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี-----------------------------------------------------อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท 7/3 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี เรื่องทะเบียนศาลเจ้า (พ.ศ.2466)


Messenger