ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
ผู้แต่ง : คณะสงฆ์วัดเชตุพล วิมลมังคลา
ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร)
โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ : 2535
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ไทย
เลขทะเบียน : น 30 ร
เลขหมู่ : 959.303 พ375พพ
ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องกัจฉปะ
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔)
- ปูนปั้น
- ขนาด กว้าง ๑๐๒ ซม. ยาว ๘๐ ซม. หนา ๕ ซม.
เดิมประดับที่ฐานลานประทักษิณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเจดีย์จุลประโทน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ภาพเล่าเรื่องจากคัมภีร์อวทานกัลปดาของกเษเมนทระ เล่าเรื่องเมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเต่า ได้ให้ความช่วยเหลือพ่อค้าที่เรือแตกให้ปลอดภัย แต่เมื่อพระองค์บรรทมหลับ พ่อค้าเหล่านั้นพยายามจะฆ่าและกินเนื้อเต่าเป็นอาหาร เมื่อพระโพธิสัตว์รู้สึกพระองค์ก็ทราบว่าพ่อค้าเหล่านั้นคงจะหิวมาก จึงทรงบริจาคเนื้อของพระองค์เป็นทาน และทรงได้บารมีอันสูงสุดๆ
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40113
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
ชมรมสภาสืบสานอารยศิลป์แผ่นดินถิ่น จ.ปทุมธานี (เวลา 13.00 - 15.00 น.) จำนวน 50 คนวันเสาร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ชมรมสภาสืบสานอารยศิลป์แผ่นดินถิ่นสยาม จัดทำโครงการเติมรักษ์ร้อยเรียงสายใยรักจากแม่สู่ลูก ผ่านกิจกรรมจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด ๕๐ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้
ชื่อเรื่อง : จตุจักกกถาผู้แต่ง : พระเทพโมลี วัดมหาธาตุปีที่พิมพ์ : ๒๔๖๐สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : ม.ป.พจำนวนหน้า : ๒๖ หน้าเนื้อหา : หนังสือ จตุจักกกถา เล่มนี้ พระเทพโมลี วัดมหาธาตุ เทศนาธรรมในวันฌาปนกิจศพ (อิน) มารดาพระมหานายก เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๐ ประกอบไปด้วยประวัติของ นางอิน มารดาพระมหานายก และธรรมเทศนาจตุจักกกถา / สํเวคคาถา พระบาลีบทสวดโดยสรภัญญวิธีและคำแปลเลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๑๖๑๔เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๑๖๑๔หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
จังหวัดศรีสะเกษ. ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : จังหวัดศรีสะเกษ, 2529.
โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี เปิดให้บริการเช่าสถานที่ สำหรับจัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากโรงละครแห่งชาติอย่างคุ้มค่า อาทิ
- การแสดงต่าง ๆ เช่น ละครเวที โขน ฟ้อน รำ ลิเก ดนตรี รวมทั้งการแสดงนานาชาติ
- การจัดคอนเสิร์ต การประกวดร้องเพลงประเภทต่าง ๆ เช่น เพลงไทย ลูกทุ่ง ลูกกรุง สากล ขับเสภา
- งานมีตติ้ง แฟนมีต ทอร์คโชว์ งานสัมมนา อบรม การประชุม การจัดแสดงผลงาน
- การฉาย หรือการถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร ซีรีย์
- จัดงานพิธีการต่าง ๆ
- กิจกรรมอื่นๆ
ภายในโรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี มีสิ่งอำนวยความสะดวก เวทีที่ได้มาตรฐาน สากล เทคนิคแสง สี เสียงครบครัน รองรับผู้ชมได้มากกว่า 800 ที่นั่ง รวมทั้งยังมีที่นั่งรับรองก่อนชมการแสดง ห้องอาหาร และห้องรับรองแขกพิเศษ (VIP) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3553 5116 , 0 3553 5114 เปิดทำการวันจันทร์ - วันศุกร์ (เว้นวันหยุดราชการ) เวลา 08.30 – 16.30 น. หรือ Line OA ID : @840rbrjv หรือคลิก https://lin.ee/Wz0nlWs
นำเข้าโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักร
ขั้นตอนและวิธีการขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักร
โบราณวัตถุที่จะขออนุญาตนำเข้ามาในราชอาณาจักร มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. ประเภทของโบราณวัตถุ
โบราณวัตถุที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ โบราณวัตถุที่มีแหล่งกำเนิด
ในต่างประเทศ ประเภทพระพุทธรูป เทวรูป หรือรูปเคารพในศาสนา และชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของ
โบราณสถานตามพิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่ ๙๗๐๓.๐๐๙ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. พระพุทธรูป
๒. เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา
๓. ชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน
๒. วัตถุประสงค์ในการขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร
๑. นำมาจัดแสดงเพื่อการศึกษาและเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว
โดยมีกำหนดระยะเวลาในการจัดแสดง และส่งกลับไว้แน่นอน
๒. เพื่อการสักการบูชา ในปริมาณไม่เกิน ๒ ชิ้น
๓. เพื่อบริจาคให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ
๓. ระยะเวลาที่ขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร
กรมศิลปากรจะได้พิจารณาอนุญาตเป็นกรณี ๆ ไป
๔. ผู้ขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
(๑) ผู้ขออนุญาตจะต้องไปซื้อแบบฟอร์มในการขออนุญาตนำเข้า (แบบ ข.๑ ข.๒ หรือ ข.๓
แล้วแต่กรณี) ที่กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี พร้อมกรอกรายละเอียดต่าง ๆ
ตามแบบฟอร์ม
(๒) ผู้ขออนุญาตทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร โดยแจ้ง เรื่อง ขออนุญาตนำพระพุทธรูป หรือ
เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา หรือชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน หรือทั้งหมด
เข้ามาในราชอาณาจักร โดยแจ้งรายละเอียด จำนวน ชนิด ขนาด (กว้าง, ยาว, สูง เป็น
เซนติเมตร) ของโบราณวัตถุ และระบุสถานที่เก็บโบราณวัตถุที่นำเข้าพร้อมหมายเลข
โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
(๓) เอกสารแนบการขออนุญาตนำเข้าประกอบด้วย
๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน
๓. หลักฐานการซื้อขาย
๔. ใบขนส่งสินค้า หรือ Invoice
๕. ถ้าเป็นโบราณวัตถุจะต้องขอใบอนุญาตนำของออกจากประเทศนั้นๆ ด้วย
(๔) ภาพถ่ายโบราณวัตถุที่ขออนุญาตนำเข้าเฉพาะด้านหน้า โดยถ่ายภาพ ๑ ครั้ง อัดพร้อมกัน
จำนวน ๒ ใบ ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว
(๕) ผู้ขออนุญาตจะต้องทำหนังสือขออนุญาตด่านศุลกากรเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร
เข้าตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุในคลังตามระเบียบกรมศุลกากร
(๖) ผู้นำเข้าจะต้องจัดพาหนะ รับ – ส่ง พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ไปตรวจพิสูจน์
โบราณวัตถุนั้น ๆ
๕. สถานที่ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
• สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เลขที่ ๘๑/๑ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิระ เขตดุสิต
กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ , โทรสาร ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓, ๐ ๒๒๘๑ ๖๗๖๖
• สำนักงานเลขานุการกรม กลุ่มนิติการ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๔๕๖๖, ๐ ๒๒๒๕ ๘๙๕๘
โทรสาร ๐ ๒๒๒๖ ๑๗๕๑
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 22 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด