ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

สารคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ https://fb.watch/cI--wF3b-a/



          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน NLT Edutainment ปีที่ 5 ครั้งที่ 5 การเสวนาเรื่อง "ผู้หญิง สิงโต ไพ่ทาโรต์ และวรรณกรรม: กรณีศึกษาไพ่พละกำลัง (Strength)" วิทยากรโดย อ.มิ่ง ปัญหา และ ดร.รวิตะวัน โสภณพนิช คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00-15.00 น. ณ โถงกลาง ชั้น 1  และยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live : National Library of Thailand และ YouTube : National Library of Thailand (หอสมุดแห่งชาติ)


          ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร แนะนำหนังสือออกใหม่ เรื่อง “สู่ดินแดนโพ้นทะเล การเดินทางจากนิวยอร์กถึงบางกอก ประเทศสยาม และการเดินทางกลับ” แปลและเรียบเรียงจากเรื่อง “Over Five Seas and Oceans from New York to Bangkok, Siam, and Return” บันทึกโดย โทมัส มิลเลอร์ (Thomas Miller) นายช่างชาวอเมริกันที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๐๐ - ๒๔๐๕ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว            หนังสือมีเนื้อหาบรรยายลักษณะภูมิประเทศและสภาพภูมิศาสตร์ระหว่างการเดินทาง สถานที่สำคัญในประเทศไทยที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเที่ยวชมทั้งในกรุงเทพมหานคร อยุธยา สระบุรี และเพชรบุรี ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลสำคัญของไทย ตลอดจนคุณูปการด้านการช่างและความรู้เรื่องการใช้เครื่องจักรกลตามวิทยาการตะวันตกที่นำมาถ่ายทอดแก่คนไทย พร้อมภาพประกอบ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา อีกทั้งมุมมองของชาวต่างชาติจะช่วยให้การศึกษาค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ ชัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น           จำหน่ายราคาเล่มละ ราคา ๑๒๐ บาท ผู้สนใจสามารถซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) เขตดุสิต กรุงเทพฯ เปิดทำการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น. โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๑๐๐๔ หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           53/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               42 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๔๑ วันประสูติหม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์           หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์ เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ประสูติแต่หม่อมลมุล สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๔๑ เป็นพระเชษฐาร่วมสมเด็จพระชนกของ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗          เมื่อเจริญชันษาได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย จากนั้นทรงได้รับพระราชทานทุนหลวง ไปทรงศึกษาต่อด้านการทหาร ณ นครเซ็นต์ปีเตอร์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย          หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์ สิ้นชีพิตักษัยในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๐๗ พระชันษา ๖๕ ปี สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ พระขนิษฐาร่วมสมเด็จพระชนก เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม         หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์ ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบิดา   ภาพ : หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           36/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง           การเดินทางรอบโลก ตอนประเทศสยาม ชื่อผู้แต่ง         โบวัวร์, กองต์ เดอ พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์          2529 จำนวนหน้า      ๘๒  หน้า รายละเอียด   การเดินทางรอบโลก ตอน ประเทศสยาม  หนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกการเดินทางของ เลอ กงต์ เดอ โบวัวร์ (Le Comte de BEAUVOIR) ชาวฝรั่งเศสที่ได้เดินทางรอบโลก  ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เลอ กงต์ เดอ โบวัวร์ ได้เล่าเรื่องราวจากที่สิ่งที่ได้พบเห็นตามสถานที่ต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียด บรรยายถึงความประทับใจเมื่อได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปชมพระที่นั่งและอาคารต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวัง รวมถึงพระบวรราชวังของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จสวรรคตแล้ว นอกจากนี้ยังกล่าวถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทย การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับไทย  ไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์ สังคม และการเมือง


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 131/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 167/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ทำนาที่ดอกคำใต้ -- กลางปี ๒๕๓๗ จังหวัดพะเยามีคำสั่งให้แต่ละอำเภอในพื้นที่ รายงานสถานการณ์ทำนาทุกสัปดาห์ โดยสำรวจทั้งแปลงปลูกข้าวเจ้าและข้าวเหนียวพร้อมกัน เอกสารจดหมายเหตุของฝ่ายบริหาร สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา รายงานสถานการณ์ดังกล่าวของอำเภอดอกคำใต้ จำนวน ๒ สัปดาห์ ซึ่งสัปดาห์แรกเกษตรอำเภอรายงานเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๗ สำรวจครอบคลุม ๑๒ ตำบล รวมพื้นที่ ๑๒๖,๔๔๘ ไร่ พบการปักดำข้าวเหนียวแล้ว ๒๘,๓๖๔ ไร่ และปลูกข้าวเจ้า ๑๓,๓๔๓ ไร่ ไม่มีพื้นที่เสียหายเพราะขาดแคลนน้ำแต่อย่างใด ต่อมา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและพัฒนา อำเภอดอกคำใต้ มีหนังสือราชการรายงานสถานการณ์ทำนาว่า เกษตรกรใน ๑๒ ตำบลเดิมปักดำข้าวเหนียวเพิ่มเป็น ๕๙,๖๖๒ ไร่ และปลูกข้าวเจ้าอีก ๒๘,๓๖๐ ไร่ ไม่มีพื้นที่เสียหายจากการขาดแคลนน้ำเช่นเคย จากรายงานสถานการณ์ทำนานี้ แสดงให้ทราบวัตถุประสงค์ของจังหวัดพะเยาหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ ๑. เมื่อเข้าสู่กลางปีเป็นฤดูฝนแล้ว เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ผลมากน้อยเพียงใด มีอุปสรรคขัดขวางหรือไม่ ? ๒. จังหวัดสามารถนำรายงานดังกล่าวมาวิเคราะห์เศรษฐกิจในอำเภอ จังหวัด และภูมิภาคต่อไปได้ว่า ปลายปีจะมีผลผลิตเท่าไหร่ ราคาซื้อ-ขายของตลาดจะมากน้อยแค่ไหน และภาพรวมรายได้ของเกษตรกรจะเป็นอย่างไร ? ๓. เกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอนำข้อมูลการเพาะปลูกไปคำนวณการใช้พื้นที่การเกษตรให้ได้ผลคุ้มค่า อาจเปรียบเทียบการทำนาของปีที่ผ่านมา หรือวางแผนโครงการกระตุ้น ช่วยเหลือ เกษตรกรในฤดูกาลถัดไปได้ สรุปว่า นัยของจังหวัดต้องการก็คือ " ลดความเสี่ยง " หรือไม่ให้มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับเกษตรกร แม้แต่วิกฤตขาดแคลนสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวอาหารหลักของตลาดนั่นเองผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/41 เรื่อง รายงานสถานการณ์การทำนาปี 2537/2538 [ 15 - 28 ก.ค. 2537 ]#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           21/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                82 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


       ย้อนรอยแผ่นดินพระจอมเกล้าฯ : เรื่องเล่าจากพงศาวดาร (ตอนที่ ๕ โสกันต์พระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์)        นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) หลักฐานชิ้นสำคัญที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้มีการโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตั้งแต่วันที่ ๑๔ - ๑๖ มกราคม ๒๔๐๕ ประกอบไปด้วยพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าทักษิณชานราธิราชบุตรี พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมวดี ศรีรัตนราชธิดา พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประภัศร โดยโสกันต์วันที่ ๑๖ การครั้งนี้ โปรดให้จัดอย่างครั้งโสกันต์พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฯ ดังนี้       ครั้นณเดือน ๒ แรม ๘ ค่ำ ๙ ค่ำ ๑๐ ค่ำ หรือวันพุธที่ ๑๔ มกราคม ฯ ได้ตั้งการมงคลพิธีโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าทักษิณชานราธิราชบุตรี พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมวดี ศรีรัตนราชธิดา พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประภัศร พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ๗๐ รูป เวลาบ่ายตั้งกระบวนแห่ไปทรงฟังสวดพระพุทธมนต์ทั้ง ๓ วัน รุ่งขึ้นณวันเดือน ๒ แรม ๑๑ ค่ำ เวลาเช้าโสกันต์แล้วแห่มาสมโภชอีกวัน ๑ กระบวนแห่และเครื่องเล่นรายทางนั้นมีพร้อมครบทุกสิ่ง เหมือนอย่างพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ แต่มีนางเชิญเครื่องมยูรฉัตรทั้ง ๓ พระองค์ จัดกระบวนแห่เป็นตอนๆ   ภาพ : พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช


ชื่อผู้แต่ง        วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชื่อเรื่อง         วิศวกรรมสาร (ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๓  มิถุนายน ๒๕๑๙) ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   ม.ป.พ. สำนักพิมพ์     ม.ป.ท. ปีที่พิมพ์        ๒๕๑๙ จำนวนหน้า    ๘๘ หน้า รายละเอียด                   วารสารส่งเสริมความรู้ทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ อันจะนำไปสู่ความริเริ่มเพื่อขยายงานที่กระทำอยู่ให้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื้อหาภายในประกอบด้วย ๗ บทความ เช่น การเลือกขนาดท่อสูบน้ำ, ปริมาณน้ำฝนสูงสุดใน ๑ วัน ของประเทศไทย, การลดความชื้นในอากาศ ฯลฯ


         เนื่องด้วยวันที่ 13 มีนาคม คือ "วันช้างไทย" หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง "ช้างมงคล" ที่ปรากฏในเอกสารโบราณ โดยเนื้อหานิทรรศการประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 นำเสนอความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในสมัยโบราณที่ใช้เรียกอวัยวะส่วนต่างๆ ของช้าง ส่วนที่ 2 จะเป็นความรู้เกี่ยวกับการกำเนิดของช้างมงคลตามตำราคชศาสตร์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณว่า “ช้างศุภลักษณ์” หรือช้างที่มีลักษณะมงคล พร้อมทั้งมีภาพประกอบจากเอกสารโบราณ ซึ่งมีทั้งหมด 4 ตระกูล คือ ช้างตระกูลอิศวรพงศ์  ช้างตระกูลพรหมพงศ์  ช้างตระกูลวิษณุพงศ์  และช้างตระกูลอัคนิพงศ์  ส่วนที่ 3 กล่าวถึงช้างหลวงประจำรัชกาลในราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 พร้อมเอกสารโบราณที่บันทึกทำเนียบนามช้างสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์           ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง "ช้างมงคล" ได้ที่ https://www.nlt.go.th/service/1565


Messenger