ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ


วัดคอนเซ็ปชัญ เป็นวัดเก่าแก่ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก มีอายุยาวนานถึง ๓๔๖ ปี ตั้งอยู่ที่ซอยสามเสน ๑๑ ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประวัติความเป็นมาเริ่มตั้งแต่สมัยอยุธยา พ.ศ. ๒๒๑๗ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานที่ดินในเมืองบางกอก (กรุงเทพฯ) ให้แก่พระสังฆราชลาโน (Mgr. Laneau) เพื่อสร้างวัดสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล” (Immaculée Conception) ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวเขมรจำนวนหนึ่งที่นับถือศาสนาคริสต์และหลบหนีภัยเนื่องจากเกิดการจลาจลในกัมพูชาเข้ามาอาศัยรวมอยู่กับชาวโปรตุเกสที่บริเวณข้างวัดราชาธิวาส บริเวณนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “บ้านเขมร” ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงที่ไทยทำสงครามกับญวน มีชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์กลุ่มหนึ่งขอติดตามกองทัพไทยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านเขมร ต่อมาเมื่อผู้คนในหมู่บ้านเขมรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ชาวญวนจึงขยายออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัด ครั้นเมื่อบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ (Jean-Baptiste Pallegoix) เข้ามาเป็นเจ้าอาวาสวัดคอนเซ็ปชัญ มีการสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่ซึ่งก็คือโบสถ์หลังปัจจุบัน ทำพิธีเสกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๐ นอกจากนี้ ในระหว่างที่เป็นเจ้าอาวาสวัดคอนเซ็ปชัญ ท่านได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎ และทรงผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาส โดยได้ถวายความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาละติน และภาษาฝรั่งเศสด้วย ใน พ.ศ. ๒๓๘๑ ได้มีการประกอบพิธีสังฆาภิเษกบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ขึ้นเป็นพระสังฆราช ปกครองดูแลคณะมิสซังในกรุงสยาม หลังจากนั้นท่านได้สร้างสำนักพระสังฆราชขึ้นที่วัดอัสสัมชัญ และย้ายออกจากวัดคอนเซ็ปชัญไปพำนักที่วัดอัสสัมชัญ อย่างไรก็ดีเมื่อท่านมรณภาพใน พ.ศ. ๒๔๐๕ ได้มีการอัญเชิญร่างของท่านจากอาสนวิหารอัสสัมชัญมาบรรจุไว้ใต้พื้นโบสถ์วัดคอนเซ็ปชัญ หลังจากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้างหอระฆังที่โบสถ์หลังนี้เพิ่มเติม โดยมีโจอาคิม กรัสซี (Joachim Grassi) สถาปนิกชาวออสเตรีย เป็นผู้ออกแบบ ในส่วนของโบสถ์หลังเดิมตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของโบสถ์หลังปัจจุบัน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นแทนโบสถ์หลังเก่าที่สร้างด้วยไม้ตั้งแต่สมัยอยุธยา ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคามุงกระเบื้อง ปัจจุบันได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัด เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานฉลองแม่พระปฏิสนธินิรมล ซึ่งถือเป็นงานฉลองประจำปีของวัดคอนเซ็ปชัญ ปัจจุบันวัดคอนเซ็ปชัญยังคงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่อาศัยอยู่ในย่านสามเสน นับเป็นวัดคริสต์ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนโบราณริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่สำคัญแห่งหนึ่ง ----------------------------- เรียบเรียงโดย น.ส. ปภัชกร ศรีบุญเรือง นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ------------------------------ บรรณานุกรม กรมศิลปากร. จดหมายเหตุ การอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์, ๒๕๒๕. ฌอง แบปติสต์ ปาลเลอกัวซ์. บันทึกเรื่องมิสซังแห่งกรุงสยาม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : มาร์ค แอนด์ ทเวน มีเดียส์, ๒๕๔๗. ปติสร เพ็ญสุต. พัฒนาการสถาปัตยกรรมวัดคอนเซ็ปชัญ จากโบสถ์วิลันดาสู่ยุคฟื้นฟูโรมันเนสก์ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.damrong-journal.su.ac.th/upload/pdf/82_2.pdf [๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓] วิชญ์พล บัญชาวชิระชัย. การนำเสนอชุมชนผ่านเรื่องเล่า : กรณีศึกษาชุมชนคอนเซ็ปชัญ. ภาคนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต, สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๖. สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. บางกอกบอกเล่า (เรื่อง). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.), ๒๕๕๔. หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. ประวัติโดยสังเขปของวัดทุกวัดแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตั้งแต่เริ่มบุกเบิกเปิดกลุ่มคริสตชนนั้น ๆ ถึงปี ๑๙๘๖ เล่ม ๑๐ สารบัญร่วม. กรุงเทพฯ: อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, ม.ป.ป. (อัดสำเนา) หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. วัดคอนเซ็ปชัญ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.catholichaab.com/.../2/1257-2016-07-15-03-39-19 [๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓]    



เลขทะเบียน : นพ.บ.112/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 5.4 x 55.3 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 63 (192-196) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : 8 หมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.143/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 86 (346-361) ผูก 12 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺปฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง              พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ ชื่อเรื่อง              ประวัติตำหนักอรุณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งแรก  สถานที่พิมพ์     พระนคร    สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนาธร     ปีที่พิมพ์           2546      จำนวนหน้า      23  หน้า   หมายเหตุ               เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้สถาปนาวัดราชบพิธเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๒ พระราชทานวิสุงคามและผูกมหาพัทธสีมาแล้ว จึงทรงโปรดให้ก่อสร้างพระตำหนักอรุณเพื่อให้เป็นที่ประทับของพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.13/1-3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


     พระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม พระบรมมไหยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร      สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๔๑๖      กว้าง ๖.๕ เซนติเมตร ยาว ๒๒.๕ เซนติเมตร น้ำหนัก ๔๗ กรัม (๓ บาท)      รับมาจากราชพัสดุ กระทรวงการคลัง        พระสุพรรณบัฏจารึกเฉลิมพระนาม จำนวน ๔ บรรทัด ความว่า “พระบรมมไหยยิกาเธอ กรมสมเดจพระสุดารัตนราชประยูร อาทิอักษร วรรคอุษาห จงทรงเจริญ ทฤฆพระชนมายุ ศุขศิริสวัสดิ สถาพร วรพิพัฒมงคล สกลสัตรูไกษยเทอญ ณ วัน ๑ ๑๑ ๒ ค่ำ ปีรกาเบญจศก๕ ศักราช ๑๒๓๕ สิทธิรัศดุ ๚ะ”      พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าลม่อม ได้ทำนุบำรุงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อรัชกาลที่ ๕ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกในพุทธศักราช ๒๔๑๑ ทรงเลื่อนกรมตั้งตำแหน่งยศฐานันดรศักดิ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ทรงตั้งพระไอยิกาเธอเป็น พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมพระสุดารัตนราชประยูร และต่อมาในวันนที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๑๖ ทรงสถาปนาเลื่อนเป็นพระบรมมไหยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ถึงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร


พ่อท่านเจ้าเขาอยู่ที่ใด พ่อท่านเจ้าเขา คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ณ ประติมากรรมรูปยักษ์ ตั้งอยู่บริเวณลานตอนกลางบันไดทางขึ้นถ้ำแจ้ง ซึ่งเป็นถ้ำประดิษฐาน พระไสยาสน์(พ่อท่านบรรทม) วัดคูหาภิมุข ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา  ตำนานยักษ์ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านตำบลหน้าถ้ำเชื่อว่ายักษ์ตนนี้มีหน้าที่เฝ้าหน้าถ้ำคูหาภิมุข มิให้ผู้ใดเข้ามาขโมยทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ภายในถ้ำไปได้ กล่าวกันว่าในอดีตมีขุนโจรผู้มีจิตใจอันชั่วช้าพร้อมด้วยลูกสมุน พยายามเข้ามาขโมยทรัพย์สมบัติเหล่านี้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จและถูกยักษ์ทุบตีด้วยกระบองจนถึงแก่ความตาย   นอกจากนี้ยังเป็นที่เชื่อถือกันว่ายักษ์ตนนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถบันดาลให้เกิดความสงบร่มเย็น หากผู้ใดทำผิดศีลธรรมหรือทำเรื่องร้ายแรงก็สามารถดลบันดาลให้มีอันเป็นไป แต่หากผู้ใดตั้งมั่นในศีลธรรม หากยกมือไหว้หรือบนบานสิ่งใดก็จะได้รับพรสมปรารถนาโชคดีมีความสุขตลอดไป จึงเป็นที่นับถือจนได้รับการขนานนามว่า “พ่อท่านเจ้าเขา” มาตราบจนปัจจุบัน สร้างรูปยักษ์  พ.ศ.๒๔๘๔ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระพุทธไสยารักษ์เจ้าอาวาสองค์ที่ ๗ ของวัดคูหาภิมุข ผู้หลักผู้ใหญ่ของตำบลหน้าถ้ำในสมัยนั้นอันได้แก่ขุนนิวาส คูหามุข นายตีบ เพชรกล้า นายสง สุวรรณโพธิ์ และชาวบ้านอีกหลายๆท่าน เห็นตรงกันว่าควรสร้างรูปของพ่อท่านเจ้าเขาขึ้นเป็นขวัญกำลังใจและปกปักรักษาชาวบ้านหน้าถ้ำให้พ้นภัย จึงรวบรวมปัจจัยจากพระพุทธไสยารักษ์และคณะพุทธบริษัทวัดคูหาภิมุขเป็นเงิน ๔๓๐ บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจนสำเร็จลุล่วง ลักษณะของพ่อท่านเจ้าเขา พ่อท่านเจ้าเขามีลักษณะเป็นประติมากรรมรูปยักษ์ยืนตรงสูงราว ๖ เมตร รูปร่างหน้าตาคล้ายเงาะป่าซาไก ผมหยิก หนวดเครารุงรัง ดวงตาโปน มีเขี้ยวงอกออกมาพ้นริมฝีปาก มีงูบองหลา(งูจงอาง) เป็นสายสร้อยคล้องคอ ต้นแขทั้งสองข้างปั้นปูนเป็นสายรัดต้นแขนประดับด้วยหน้าบุคคลอย่างหน้ากากพรานบุญ ร่างกายท่อนล่างทำเป็นผ้านุ่งเหลืองมีลวดลายคล้ายการนุ่งด้วยหนังเสือ มือทั้งสองกุมกระบองที่มีหัวกะโหลกมนุษย์เป็นด้ามท้าย แนบไว้กลางลำตัวอย่างทะมัดทะแมง ส่วนเท้าเปลือยเปล่าไม่สวมรองเท้า การบูรณะพ่อท่านเจ้าเขา พ.ศ. ๒๕๖๒ กรมศิลปากรจัดสรรงบประมาณ จากเงินกองทุนโบราณคดี เพื่อดำเนินการบูรณะพ่อท่านเจ้าเขา ระหว่างวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๒ 







ชื่อเรื่อง                         อภิธมฺมตฺถสงฺคห (อภิธรรมฮอม)     สพ.บ.                           393/1 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ภาษา                           บาลี/ไทยอีสาน หัวเรื่อง                        พุทธศาสนา                                 พระอภิธรรมปิฎก ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ                   46 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.8 ซม.  บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



Messenger