ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

หมวดหมู่                        พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    66 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.อักษร                            ขอมฉบับ                              ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : โอนอำเภอท่าปลา -- อำเภอท่าปลา ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่เมื่อร้อยปีก่อนอำเภอแห่งนี้เคยอยู่กับจังหวัดน่านมาก่อน ซึ่งข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุทำให้เราทราบว่า การโอนย้ายอำเภอจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่งในสมัยนั้น มีปัจจัยใดที่ต้องพิจารณาบ้าง. ข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2465 พระยาราชนกูล ผู้ทำการแทนเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลความว่า ได้รับใบบอกจากอุปราชมณฑลภาคพายัพว่า อำเภอท่าปลา จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดมาก ใช้เวลาเดินทางไป-กลับ จากตัวจังหวัดน่านถึงอำเภอโดยทางบกรวม 14 วัน ซึ่งเส้นทางนั้นเป็นทางทุรกันดารและต้องบุกป่าฝ่าดง หากเดินทางทางน้ำไป-กลับ จะใช้เวลารวม 15 วัน ต้องฝ่าเกาะแก่งต่างๆ ซึ่งลำบากต่อการเดินเรือ ยิ่งเมื่อถึงฤดูฝนการเดินทางจะยิ่งยากลำบากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางระหว่างอำเภอท่าปลากับจังหวัดอุตรดิตถ์แล้ว พบว่าทางบกใช้เวลาเดินทางเพียง 3 วันเท่านั้น ส่วนทางน้ำก็สะดวกกว่าจังหวัดน่าน นอกจากนี้พลเมืองของอำเภอท่าปลายังมีความ “คล้ายคลึง” กับพลเมืองของอำเภอแสนตอ จังหวัดอุตรดิตถ์ (ปัจจุบันคืออำเภอน้ำปาด – ผู้เขียน) อีกด้วย จากเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ อุปราชมณฑลภาคพายัพ จึงมีความเห็นว่าควรโอนอำเภอท่าปลาจากจังหวัดน่านไปขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์ พระยาราชนกูลได้ปรึกษากับสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก มีความเห็นสอดคล้องกัน จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนอำเภอดังกล่าว. ในเวลาต่อมา ได้มีลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระราชทานพระอนุญาตให้โอนอำเภอท่าปลาไปขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์ และได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2465 อำเภอท่าปลาจึงได้มาอยู่กับจังหวัดอุตรดิตถ์ตราบจนถึงปัจจุบัน.ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: 1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ร.6 ม 3.2/54 เรื่อง โอน อ. ท่าปลาจาก จ. น่านมาขึ้นกับ จ. อุตรดิตถ์ [ 18 – 26 พ.ค. 2465 ].2. “ประกาศโอนอำเภอท่าปลาจากจังหวัดน่านมาขึ้นจังหวัดอุตรดิฐ.” (2465) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 39, ตอน ก (4 มิถุนายน): 55.#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


พระธรรมเทศนา พระราชพงษาวดารสังเขป ผู้แต่ง : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโรรส ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร) โรงพิมพ์ : จงเจรญการพิมพ์ ปีที่พิมพ์ : 2515 รูปแบบ : PDF ภาษา : ไทย เลขทะเบียน : น 30 ร  3993 เลขหมู่ : 294.315 ป169พช



ชื่อเรื่อง                     เทศนาเสือป่า 17 กัณฑ์ผู้แต่ง                       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.3144 ม113ทจสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์มหากุฎราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์                    2504ลักษณะวัสดุ               246 หน้า หัวเรื่อง                     ธรรมะกับชีวิตประจำวัน                              พุทธศาสนา – ปาฐกถาภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           เทศนาเสือป่าเพื่อเข้าใจหลักธรรมในพุทธศาสนา การแสดงเทศนาได้ทรงแบ่งเนื้อหาออกเป็นกัณฑ์ ๆ หรือเป็นตอนๆ ให้เหมาะแก่เวลาในแต่ละครั้ง  โดยมีเนื้อความจบในแต่ละกัณฑ์  ทุกกัณฑ์มีความต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่  เทศนาเสือป่ามีทั้งหมด 17 กัณฑ์  ระหว่างกัณฑ์ที่ 16 และ กัณฑ์ที่ 17  มีกัณฑ์แทรก  และได้มีการนำกัณฑ์พิเศษมาไว้ข้างท้ายอีก 1 กัณฑ์  แต่ละกัณฑ์มีชื่อกัณฑ์ตามเนื้อหาสำคัญ


พระบรมธาตุเมืองน่าน ประดิษฐาน ณ พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร พระวิหารทิศใต้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ กรุงเทพมหานครพระพุทธชินราชวโรวาทธรรมจักร หรือ พระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร พระประธานพระวิหารทิศใต้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากกรุงเก่า (สุโขทัย) โดยมีกรมหมื่นวงศาสนิท พระองค์เจ้ามรกต (กรมขุนสถิตยสถาพร) พระองค์กลาง (กรมพระเทเวศรวัชรินทร) ทรงกำกับการสร้างวิหารทิศ ๔ ดังปรากฎความใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๑ ว่า"...พระพุทธรูปน่าตักสี่ศอกห้านิ้ว เชิญมาแต่กรุงเก่าปติสังขรณ์เสรจ์ แล้วปดิษถานไว้ในพระวิหารทิศใต้ ถวายพระนามว่าพระพุทธิเจ้าเทศนาพระธรรมจักรมีพระปัญจะวักคีทังห้านังฟังพระธรรมเทศนาด้วย แลผนังนั้นเขียนเรื่องเทศนาพระธรรมจักรแลเทศนาดาวดิงษ์.."ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ถวายพระนามพระพุทธชินราช ดังปรากฏจารึกไว้ที่ฐานว่า"พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร"“...พระวิหารทิศใต้ พระวิหารนี้ มุขหน้าประดิษฐานพระชินราชซึ่งเชิญมาต่เมืองสุโขทัย ปางเทศนาธรรมจักร มีพระเบญจวัคคีย์อยู่ข้างหน้า เขียนภาพตั้งแต่เทศนาธรรมจักรจนถึงธาตุอันตรธาน ช่างเขียนกรมช่างมหาเล็ก มุขหลังเขียนเรื่องฎีกาพาหุง ๘ บท หลวงกรรภยุบาทว์เจ้ากรมเป็นผู้กำกับการซ่อม จ่าจิตรนุกูลกรมมหาดเล็กเป็นผู้ตรวจ”ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้พบพระธาตุ บริเวณท่าปลา บ้านแฝก โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงบรรจุไว้ในองค์พระชินราช วิหารทิศใต้ ดังความในหนังสือราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน ว่า“...อยู่มาจนเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๐ ตัว ปีเบิกสีเดือน ๑๒ ขึ้น ๕ ค่ำเจ้าฟ้าหลวงท่านก็เสด็จลงไปเฝ้าพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ ท่านเสด็จลงไปเถิงท่าปลาบ้านแฝกหั้นแล้ว ยามนั้นยังมีเจ้าสามเณร ๒ ตนตน ๑ ชื่อว่าอริยะ ตน ๑ ชื่อว่าปัญญา ลงไปสู่ท่าน้ำเวลายามเช้าท่านก็ได้หันยังไหจีนลูก ๑ ฟูปั่นแคว้นอยู่ที่วังวนปากถ้ำหั้น ก็กันลงไปเอาออกมาแล้วก็ไขดู ก็หันพระเกษาธาตุเจ้าดวง ๑ ลอยเข้ามุกดาหาร ไว้ ๔ ดวง แลธาตุพระเจ้าอารัตนเจ้ามี ๒๖๐ ดวง มีพระพิมพ์คำ ๖๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐๔ องค์ แลพระพุทธรูปแก้วมี ๔ องค์ ต้นดอกไม้คำต้น ๑ ต้นดอกไม้เงินต้น ๑ น้ำต้นเงินต้น ๑ น้ำต้นคำต้น ๑ ไตลเงิน ลูก ๑ ไตลคำลูก ๑ ภายในใส่แก่นจันทน์ขาว หมอนคำลูก ๑ ภายในใส่แก่นจันทน์แดงแลใส่ช้างจ้อยม้าจ้อย เงินคำมี ๖๐ สาดเงิน ๑ สาดคำ ๑ แก้วแหวนมีพร้อมทุกอัน ครั้นท่านลงไปเถิงแล้วท่านหื้อช่างเครื่องมาตีแปงยังโขงเงินใส่แล้ว แปงต้นดอกไม้เงินต้น ๑ ต้นดอกไม้คำต้น ๑ บูชาไว้กับพระธาตุเจ้าแล้ว ท่านก็นิมนต์เอาพระสงฆเจ้ามาฉลองฟังธรรมพุทธาภิเศกใส่บาตรหยาดน้ำหมายทานแล้ว ท่านก็นิมนต์เอาเกษาธาตุเจ้าเข้าสู่เรือเอาล่องไปเมตตาพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้หั้นแล พระมหากระษัตริย์เจ้าครั้นได้ทราบรู้ยิน ยังเจ้าฟ้าพระเกษาธาตุเจ้าลงไปถวายสันนั้น ท่านก็มีความชื่นชมโสมนัศยินดีหาประมาณบ่ได้ แล้วท่านก็แต่งเฉลี่ยงคำพร้อมแลขันคำพร้อมด้วยเครื่องสงเสพ คือดุริยดนตรี มาต้อนรับเอาแล้ว ก็สงเสพแห่แหนนำเข้าไปเถิงท้องปราสาทแล้วก็กระทำสักการบูชายังพระเกษาธาตุเจ้า ด้วยเครื่องบูชาทั้งหลายต่าง ๆ หั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าท่านก็มีธูปเทียนขอนิมันตนายังพระเกษาธาตุเจ้าอยู่เมตตาโปรดในกรุงเทพมหานครหั้นแล แล้วท่านก็มีความยินดีกับด้วยเจ้าฟ้ายิ่งกว่าเก่า แล้วก็ปงพระราชทานรางวัลสมนาคุณบุญเจ้าฟ้าเปนอันมากนักหั้นแล เจ้าฟ้าหลวงก็มาเมี้ยนแก่ราชกิจการทั้งมวลแล้ว ท่านก็กราบทูลลาพระมหากระษัตริย์เจ้า แล้วท่านก็เสด็จขึ้นมาเถิงเมืองแล้วในเดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำวันนั้นแลครั้นว่าท่านเสด็จขึ้นมาฮอดเมืองแล้ว ท่านจิงจักเชิญปกเตินยังเจ้านายขัติยวงษาขุนแสนขุนหมื่นรัฐประชาไพร่ไทยทั้งหลายมวล หนภายในภายนอกทั้งมวลในจังหวัดนครเมืองน่านทุกแห่ง หื้อตกแต่งสร้างยังสรรพสู่เยื่องเครื่องครัวทานแลเครื่องเล่นทั้งหลายพร้อมสู่เยื่อง หื้อมีรูปสรรพรูปทั้งหลายพร้อมสู่อันแล้ว เถิงวันเดือน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำท่านก็มีอาชญาแก่เจ้านายเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลายตั้งเล่นมโหรศพ ในท้องข่วงสนามไปถาบเถิงวันเดือนเพ็งนั้นเวลาเช้า ก็จิงจักยกครัวทานทั้งหลายมวลขึ้นไปในข่วงแก้วภูเพียงแช่แห้ง ได้นิมนต์พระสงฆเจ้าแลสามเณรมารับทานที่ในข่วงพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง รวมเส้นหัววัดมี ๑๓๙ หัววัด รวมภิกษุสงฆเจ้าทั้งหลายมี ๔๖๓ องค์ รวมสามเณรมี ๘๖๓ องค์ รวมเข้ากันมี ๑๓๒๖ องค์แล ทินนวัตถุทานหอผ้ามี ๑๓๖หลังท่านก็ได้แปงบอกไฟขวีใหญ่บอก ๑ ใส่ดินไฟเสี้ยง ๓๔๗,๐๐๐ อัน หนป่าวอนุโมทนาทาน มีบอกไฟขึ้นตั้งแต่ ๑๐๐๐๐ นับลงลุ่มมี ๑๔๔ บอก บอกไฟขวีน้อยแลบอกไฟกวาง บอกกงหัน บอกไฟดาว บอกไฟนก บอกไฟเทียน แลปฏิช่อธุง ทั้งมวลจักคณนาบ่ได้ มีตั้งต้นกัลปพฤกษ์สรรพทั้งมวลแล แต่บอกไฟขึ้นเจาะ ๓ วันจิงเมี้ยนบริบวรณ์แล...”ความในจารึกครั้งรัชกาลที่ ๑ ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน ความว่า“ศุภมัสดุ ๒๓๕๑ นาคสังวัจฉรอาลุชมาศศุกปักษฉดฤษถี สุริยวารกาลปริเฉทกำหน พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมิกราชาธิราช รามาธิบดี ศรีวิสุทธิคุณวิบูลยปรีชา ฤทธิราเมศวรราช บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงทศพิธราชธรรม์อนันตวิริยาทิโพธาภิรัต ผ่านสมบัติ ณ กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ เสด็จออก ณ พระที่นั่งบุศบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน โดยสถานอุตราภิมุข พร้อมด้วยพระบรมราชวงศาเสนาพฤฒามาตย์ราชชมนตรี กระวีชาติปโรหิตาจารย์ เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทโดยอันดับ จึงพระยามหาอํามาตยาธิบดี พิริยพาหะ ผู้ว่าที่สมุหนายก กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เจ้าฟ้าเมืองน่าน บอกลงมาว่า ณ วันเดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก พระบรมสารีริกธาตุกระทำพระอิทธิปาฏิหาริย์ บันดาลไหซึ่งใส่พระธาตุนั้นให้ผุดขึ้นมาลอยวนอยู่หลังน้ำ ตรงปากถ้ำน้ำน่านใต้ท่านบ้านแฝก สามเณรสององค์ลงไปดูนาวาท่าน้ำแลไป สำคัญใจว่าผลฟักลอยอยู่ ลงเรือไปดูเห็นเป็นไหเคลือบเขียวสอาด จึงยกขึ้นสู่นาวาพาเข้ามาบอกพระสงฆ์ช่วยกัน เปิดดูเห็นกล่องเงินใหญ่ใส่พระธาตุ ๒๓๕ องค์ กับพระพุทธรูปแก้วเงินทอง ๒๗๒ องค์ ทั้งเครื่องสักการบูชา มีรูปช้างม้า ต้นไม้ คนโท ผอบ แผ่นเงินทอง กล่องเข็มจอกใส่พลอย ทุกสิ่งสรรพเครื่องพิจิตรด้วยสุวรรณ หิรัญรัตนประดับอยู่ในไห พระสงฆ์สามเณรจึงช่วยกันเชิญพระบรมธาตุไปได้ที่ควร ชวนกันทำสักการบูชา พอเจ้าฟ้าเมืองน่านล่องลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท แจ้งว่าเจ้าสามเณรได้พระบรมธาตุเป็นมหัศจรรย์ หามีที่สำคัญ อารามใกล้ชํารุดทรุดพังไม่ พระบรมธาตุกระทำพระปาฏิหาริย์ ให้ปรากฎ ดังนี้ด้วยเดชพระบารมีพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าเมืองน่านจึงเชิญพระบรมธาตุใส่เรือขนานแห่ลงมาทูลเกล้าฯ ถวาย ครั้นได้ทรงฟัง ทรงพระปีติโสมมนัก จึงมีพระราชโองการ มานพระบัณฑูร สุรสิงหนาทดํารัสสั่ง ให้เสวกามาตย์ราชมนตรีแต่งที่และเครื่องสักการบูชา แห่พระบรมธาตุขึ้นมาจากเรือ เชิญสถิตย์เหนือพระแท่นในพระที่นั่งมหาจักรพรรดิพิมาน พร้อมด้วยการสมโภชโสรจสรงทรงถวายเครื่องสักการบูชา แล้วให้ประชุมธรรมธราชาติราชบัณฑิตยทั้งปวง มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน เลือกจัดพระธาตุได้ต้องตามพระบาลี มีศรีสัณฐานต้องด้วยอย่างเป็นพระบรมสารีริกธาตุแท้ ๔๙ พระองค์ เหลือนั้นเป็นธาตุพระอรหันต์ ๑๑๖ พระองค์ ทรงเชิญพระบรมธาตุใส่ในพระโกศให้เสด็จอยู่ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กิติศัพท์ก็ปรากฏทั่วทุกประชาชนชาติ เกิดประสาทศรัทธาเลื่อมใส เกลื่อนกล่นกันมากระทำสักการบูชา บ้างถวายหิรัญวัดถาลังการเครื่องประดับ จึงทรงพระราชดําริว่า พระบรมสารีริกธาตุ กระทำพระพุทธอิทธิปาฏิหาริย์มาแต่เมืองน่านครั้งนี้ เป็นศุภศิริสวัสดิ์มหัศจรรย์นัก ซึ่งจักประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ไปภายหน้าสรรพเครื่องสักการบูชาแห่งทายกเก่าใหม่กับเครื่องพุทธบูชา ซึ่งอุทิศไว้ในพระแก้วมรกตก็จะบริคณห์กลิ่นเกลื่อนกัน เข้าหาควรไม่ และพระชินราชกับพระชินศรีซึ่งอยู่ ณ เมืองสุโขทัยนั้นต้องแดดฝนตรากตรำคร่ำคร่าเพลิงป่าเผาแตกพัง หาผู้จะรักษาทํานุบํารุงไม่ ให้อาราธนาลงมาปฏิสังขรณ์พระลักษณสิ่งใดมีต้องด้วยพระพุทธลักษณให้ช่างซ่อมแปลงแต่งให้ต้องด้วยพระอรรถกถาบาลี บัดนี้ก็สำเร็จแล้ว จักเชิญพระบรมธาตุไปบรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูปจึงจะควร ในปีมะโรง สัมฤทธิศกนั้น เมื่อได้ศุภสวัสดิฤกษ์ ทรงพระกรุณาให้เชิญพระบรมธาตุ ในพระราชวัง ๔๑ พระองค์ กับพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน ๒๓๕ พระองค์ ทรงสรงพระสุคนธวารีเสร็จเชิญเสด็จเหนือพระยานุมาศ ให้ตั้งพลพยุหกระบวนแห่เป็นชนัด พร้อมด้วยเครื่องสูงแลราชวัตรฉัตรธงผ้าธงปฏาก พิณพาทย์แตรสังข์ ดุริยางค์ดนตรีประโคมแห่ลงไป ณ วัดพระเชตุวันาราม สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระราชศรัทธา อุสาหะเสด็จพระราชดำเนิรไป ทรงบรรจุพระบรมธาตุในพระราชวัง เข้าไว้ในพระชินศรีแต่ ๓๐ พระองค์ แล้วเชิญพระชินศรีสถิตย์ ที่พุทธอาสน์ ในพระวิหารด้านทักษิณทิศ สนองพระพุทธองค์ดุจทรงสถิตย์นั่งเสวยผลศุภฌานสมาบัติ ภายใต้ร่มไม้จิก แทบขอบสระมุจลินท์ แล้วเชิญพระบรมธาตุในพระราชวัง ๑๑ พระองค์นั้น บรรจบกับพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่านเข้ากัน ๖๐ พระองค์ กับทั้งไห ใส่เครื่องสักการบูชาเก่าใหม่ ทรงบรรจุไว้ในองค์พระชินราช เชิญขึ้นสถิตย์เหนือวิจิตรบวรพุทธอาสนใน พระวิหารด้านประจิมทิศไว้เป็นที่เจดียถาน ให้เป็นที่สักการบูชาสนองพระพุทธองค์ดุจทรงนั่งตรัสพระสธรรมเทศนาพระธรรมจักรกัปปวัตนสูตรโปรดปัญจวัคคียภิกษุทั้ง ๕ ในอิสิปตนมฤคทายวัน จึงเชิญธาตุอรหันต์ ๑๘๖ พระองค์ ใส่ในพระโกศแก้ว ๕ ใบ ทรงบรรจุไว้ในองค์พระปัญจวัคคียภิกษุสาวกทั้ง ๕ แล้วทรงพระกรุณาให้จัดช่วยคนเป็นข้าพระบรมธาตุครัวหนึ่ง ๖ คน เป็นเงิน ๗ ชั่ง แลเงิน ซึ่งทายกบูชามาแต่เมืองน่านมีอยู่แต่ชั่งสิบตำลึง เงินบูชา ณ กรุงฯ สามชั่ง หกตำลึงหาพอไม่ จึงทรงพระราชศรัทธาให้เอาเงินตรา ณ ท้องพระคลังเพิ่มเข้าอีก ๒ ชั่ง ๔ ตำลึง เข้ากันเป็นเงิน ๗ ชั่ง ช่วยถ่ายชายหญิงได้ ๖ คน เป็นข้าพระบรมธาตุ สำหรับอภิบาลรักษาไวยาวจกร เพื่อจะให้พระบรมธาตุเจดีย์ถาววัฒนาการถ้วน ๕๐๐๐ พรรษา ให้เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่อมรเทพดามนุษย์ กระทำสักการบูชาไปภายหน้า แล้วทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลนี้ให้ไปถึงผู้ศรัทธาสร้างพระพุทธปฏิมากร ทั้งผู้บรรจุพระบรมธาตุนี้ไว้ แลให้ทั่วไปแก่สรรพสัตว์ ให้อนันตจักรวาล จงเป็นปัจจัยแก่พระบรมาภิเศกสมโพธิญาณในอนาคตกาลโน้นเถิด”บรรณานุกรมประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร : กรุงเทพฯ . ๒๕๑๗ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๐ เรื่องราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผนิตเดช พระเจ้านครน่านให้แต่งไว้สำหรับบ้านเมือง. โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร : พระนคร. ๒๔๖๑


วันนี้มีตำนานเกี่ยวกับ #ประเพณีลอยกระทง จากหนังสือ ประเพณีลอยกระทง ฉบับการ์ตูน มาฝากค่ะ


เทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ จ.นครราชศรีมา (เวลา 13.00 - 15.00 น.) จำนวน 200 คนวันศุกร์ที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. คณะนักศึกษาระดับชั้น ปวช. และ ปวส. พร้อมทั้งคณะครูจำนวน ๑๙๘ คน แผนกวิชาภาษาต่างประเทศ/การโรงแรม จากวิทยาลัยเทคโนโลยีมารีย์บริหารธุรกิจ จ.นครราชสีมา เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีนางสาวณัฏฐกานต์ มิ่งขวัญ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน และว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้


            กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม 2567 เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคน ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองการประกาศขึ้นทะเบียนภูพระบาทเป็นมรดกโลกในครั้งนี้             ภูพระบาท ได้รับการประกาศเป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมแบบต่อเนื่อง จำนวน 2 แหล่ง ประกอบด้วย อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมา วัดพระพุทธบาทบัวบาน ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกห่างจากอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมสีมาในสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16) อันโดดเด่นที่สุดของโลก ตามเกณฑ์คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ข้อที่ 3 คือสามารถอนุรักษ์กลุ่มใบเสมาหินสมัยทวารวดีที่มีจำนวนมากและเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยใบเสมาดังกล่าวมีความสมบูรณ์และยังคงตั้งอยู่ในสถานที่ตั้งเดิม แสดงถึงวิวัฒนาการที่ชัดเจนของรูปแบบ และศิลปกรรมที่หลากหลายของใบเสมา ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายกำหนดขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และเกณฑ์ข้อที่ 5 ภูมิทัศน์ของภูพระบาทได้รับการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการใช้พื้นที่เพื่อประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา และยังคงความสำคัญของกลุ่มใบเสมาหิน โดยความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับประเพณีสงฆ์ในฝ่ายอรัญญวาสี (พระป่า) ภูพระบาทจึงเป็นประจักษ์พยานที่โดดเด่นของการใช้ประโยชน์ของธรรมชาติ เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี ซึ่งได้รับการสืบทอด รักษาวัฒนธรรมดังกล่าวที่ต่อเนื่องยาวนาน เชื่อมโยงประเพณีวัฒนธรรมของอรัญวาสีมาถึงปัจจุบัน


ชื่อเรื่อง :  ตำนานพระบรมธาตุจอมทองผู้แต่ง : วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๖สถานที่พิมพ์ :  เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : พระสิงห์การพิมพ์จำนวนหน้า : ๗๘ หน้าเนื้อหา : หนังสือ ตำนานพระบรมธาตุจอมทอง เล่มนี้ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ ๑๔ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม เนื้อหาประกอบด้วย ตำนานพระบรมธาตุจอมทอง ๘ ตอน และสรุป ประวัติการสร้างและปฏิสังขรณ์ คำนมัสการพระธาตุจอมทอง ยอดบัญชีรายรับ-จ่ายเงินส่วนพระบรมธาตุ ปูชนียวัตถุสถานและสถานที่สำคัญของอำเภอจอมทอง แผนที่อำเภอจอมทอง - เชียงใหม่ เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๑๒๑๕เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๐๗หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ (ไฟล์ดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์เท่านั้น)


            วันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานผ้าพระกฐินให้กรมศิลปากรนำไปถวายพระสงฆ์ที่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส ณ วัดมงคลนิมิตร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธี  นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายรณรงค์ ทิพย์ศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายวรศิษย์ พุฒจีบ นายอำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ตลอดจนผู้แทนหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และพุทธศาสนิกชนในจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมพิธี            ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้กรมศิลปากร ตามที่ขอพระราชทานไปทอดถวายที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดมงคลนิมิตร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต  จังหวัดภูเก็ต โดยวันศุกร์ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๙.๐๐ น.กรมศิลปากร ได้จัดการแสดงโขน รามเกียรติ์ ตอน ขับพิเภก - พิเภกสวามิภักดิ์ - ถอนต้นรัง - ยกรบ สมโภชองค์พระกฐิน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย และถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ในวันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. พร้อมทั้งบริจาคปัจจัยนำเข้าสมทบถวายบำรุง พระอารามหลวงณ วัดมงคลนิมิตร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๓,๑๓๘,๓๕๕.๕๐ บาท (สามล้านหนึ่งแสนสามหมื่นแปดพันสามร้อยห้าสิบห้าบาทห้าสิบสตางค์)           วัดมงคลนิมิตร ได้รับพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๓ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต วัดมงคลนิมิตรเป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๖ - ๒๓๙๒ มีพระภูเก็ต (แก้ว) ผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ตเป็นผู้สร้าง โดยสร้างขึ้นเป็นวัดแรกพร้อมกับการสร้างเมืองภูเก็ต ปรากฏหลักฐาน ในใบบอกของพระยาภูเก็ตโลหเกษตรารักษ์ (ลำดวน) ผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ต เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๔            กรมศิลปากร ได้จัดพิมพ์จัดทำหนังสือปกิณกศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่กรมศิลปากร นำผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวงประจำจังหวัดต่างๆ และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นนั้น ๆ สู่สาธารณชนในวงกว้าง รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการผ่านการสำรวจเก็บข้อมูล และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงาน สถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญหรือปราชญ์ท้องถิ่น อันเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้การผลิตงานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมของกรมศิลปากรในปัจจุบัน มีความหลากหลายครอบคลุมมิติต่าง ๆ มากขึ้น หนังสือปกิณกศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจัดพิมพ์เผยแพร่ในพุทธศักราช ๒๕๖๗ นี้ นับเป็นเล่มที่ ๓๐ มีเนื้อหาว่าด้วยประวัติความเป็นมาของวัดมงคลนิมิตร พระอารามหลวงเพียงแห่งเดียวของจังหวัดภูเก็ต รวมถึงประวัติความเป็นมาของจังหวัดภูเก็ต และวิถีวัฒนธรรมหลากแง่มุม ตลอดจนข้อมูลภารกิจกรมศิลปากรในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต​            กรมศิลปากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๓๐ จังหวัดภูเก็ต จะเป็นแหล่งความรู้และอำนวยประโยชน์ทางวิชาการแก่ผู้ได้รับหนังสือเป็นอภินันทนาการ รวมทั้งผู้สนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมโดยทั่วกัน


กรมศิลปากรได้เข้าเจรจาและจัดให้มีการประชุมร่วมกันหลายฝ่าย และที่ประชุมฯ ได้มีมติให้วัดกัลยาณมิตรฯ จัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์โบราณสถานภายในวัดฯ   กรมศิลปากรได้มีหนังสือนมัสการแจ้งเจ้าอาวาสให้ระงับการดำเนินการเป็นจำนวนหลายฉบับ พร้อมทั้งได้เข้านมัสการสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๕๑ เพื่อขอให้วัดระงับการกระทำอันละเมิดกฎหมาย แต่มิได้รับความร่วมมือจากทางวัดแต่อย่างใดจนนำไปสู่การแจ้งความดำเนินคดีต่อเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรฯ ในครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๕๑   การดำเนินคดีทางอาญาต่อวัดกัลยาณมิตรฯ ได้ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นจำนวนคดีรวม ๑๖ คดี ๔๕ รายการ แบ่งออกเป็น   - การรื้อถอนโบราณสถาน ๒๒ รายการ - การบูรณะโบราณสถาน ๕ รายการ - การก่อสร้างอาคารในเขตโบราณสถานโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปากร ๑๘ รายการ นอกจากนี้ยังมีคดีทางปกครองอีก ๓ คดี และคดีถึงที่สุดแล้วทุกคดี อันเป็นที่มาที่กรมศิลปากรเข้าดำเนินการรื้อถอนศาลารายจำนวน ๒ หลังที่สร้างขึ้นบนโบราณสถานที่วัดฯ ได้รื้อถอนทำลายไป ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ รายละเอียดดังนี้   คดีปกครองกรณีวัดกัลยาณมิตรฯ คดีปกครองในกรณีวัดกัลยาณมิตร มีจำนวน ๓ คดี ได้แก่ คดีปกครองหมายดำที่ ๙๐/๒๕๕๒, คดีปกครองหมายดำที่ ๔๕๗/๒๕๕๒ และคดีปกครองหมายดำที่ ๔๖๑/๒๕๕๕




พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง หริภุญไชย: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/hariphunchai     พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน เริ่มจากสิ่งของที่เก็บรวบรวมไว้ในวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารซึ่งมีผู้ศรัทธาได้ถวายแด่พระธาตุที่บรรจุอยู่ในพระเจดีย์ แล้วค่อยๆเพิ่มจำนวนเรื่อยมา    เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปของชาวเมืองลำพูนว่า ประมาณ พุทธศักราช 2453 เจ้าผู้ครองเมืองลำพูนองค์สุดท้ายคือ พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (ปกครองระหว่างพุทธศักราช 2545-2486) และเพื่อนๆ ต้องการที่จะรวบรวมสิ่งของที่น่าสนใจในท้องถิ่นเพื่อนำมาเก็บไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยรวมกับวัตถุอื่นๆ ที่มีอยู่ในวัดตั้งแต่เดิมมา แล้วจัดแสดงให้ผู้คนเข้ามาชมได้ ทางวัดจึงได้จัดสถานที่ให้ โดยวัตถุส่วนใหญ่เก็บไว้ที่ระเบียงวัด อีกส่วนหนึ่งอยู่ในอาคารใกล้กับระเบียงนั้น ส่วนที่เหลือทางวัดให้จัดแสดงกระจายทั่วบริเวณ สรุปได้ว่าวัตถุที่สะสมมาแต่แรกในยุคบุกเบิกมีขึ้นแล้วตั้งแต่ราวปี พุทธศักราช 2453-2462 ต่อมาพระยาราชนกูลวิบูลย์ภักดี (อวบ เปาโรหิต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ ได้มีแนวคิดที่จะคุ้มครองรักษาสมบัติวัฒนธรรมของชาติในมณฑลพายัพไม่ให้สูญหาย และในนครลำพูนสมัยนั้นเป็นแหล่งที่ค้นพบศิลปะโบราณวัตถุมากกว่าที่อื่นในภาคเหนือ ดังรายละเอียดในใบแจ้งความของมณฑลพายัพ ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พุทธศักราช 2470 ดังนี้     ด้วยมณฑลพายัพเป็นเมืองที่ตั้งมาแต่โบราณกาลบางสมัยถึงได้ใช้เป็นราชธานีในสยาม… เป็นเมืองที่ประกอบด้วย นักปราชญ์ชั้นเอกเลื่องลือนาม เพราะเหตุนี้ย่อมมีโบราณวัตถุที่ปรากฏและที่ค้นพบใหม่ เนืองๆ อยู่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็ได้รวบรวมไว้บ้างที่มีมากกว่าแห่งอื่นก็คือนครลำพูนข้าพเจ้าเห็นว่าสมควรจะรวบรวมโบราณวัตถุที่พบแล้วหรือที่จะได้พบในภายหน้าจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับมณฑลพายัพขึ้นให้เป็นกิจจะลักษณะเพื่อความมั่นคงที่จะมิให้สิ่งของเหล่านั้นเป็นอันตรายหายสูญ สถานที่ที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์นั้นเหมาะแก่บริเวณวัดมหาธาตุหริภุญชัยนครลำพูนกับเห็นควรจะจัดตั้งหอสมุดสำหรับมณฑลพายัพขึ้นที่นครเชียงใหม่ เพื่อรวบรวมบรรดาหนังสือเก่าใหม่เท่าที่สามารถจะหาได้ สำหรับผู้ปรารถนาจะศึกษาหาความรู้ ในทางโบราณคดี และวรรณคดีจะได้มาอ่านตรวจดูได้สะดวกเป็นสาธารณประโยชน์ตลอดกาลนาน ข้าพเจ้าได้หารือต่อกรรมการราชบัณฑิตยสภาฯ ได้อนุมัติแล้ว" จากนั้นพระยาราชนกูลวิบูลย์ภักดี ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดตั้งลำพูน พิพิธภัณฑสถานตามคำสั่งศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ ที่ 12 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม พุทธศักราช 2470 เรื่อง พิพิธภัณฑ์ และหอสมุด ดังนี้       1. เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ พร้อมด้วยพระยาราชนกูลวิบูลย์ภักดี เป็นผู้อำนวยการ     2. พระยาวิชิตรักษา เป็นผู้ดำเนินการ     3. นายอำเภอเมือง เป็นผู้ช่วยดำเนินการและเลขานุการ     4. ปลัดอำเภอเมืองผู้ 1 แล้วแต่ผู้ดำเนินการจะเลือก เป็นผู้รักษาพิพิธภัณฑ์     5. จ่าจังหวัด เป็นผู้ช่วยรักษาพิพิธภัณฑ์     6. เสมียนตราจังหวัด เป็นเหรัญญิก     7. อักษรเลข เป็นผู้ช่วยเหรัญญิก        ต่อมา กรมศิลปากรมีโครงการขยายกิจการพิพิธภัณฑ์ หาสถานที่และงบประมาณจะจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ถาวรทันสมัยขึ้นใหม่ พระธรรมโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยขณะนั้น จึงมอบศิลปโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานหลังเดิมจำนวน 2,013 ชิ้นให้กรมศิลปากร เพื่อนำออกมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่จะสร้างขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พุทธศักราช 2511 แต่ก็ยังไม่มีสถานที่เหมาะสม


Messenger