ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

       มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๒๑ มกราคม ๒๓๙๕ วันประสูติพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ ๔        พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา เป็นพระราชธิดาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ (สกุลเดิม ธรรมสโรช) ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๓๙๔ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๓๙๕) พระชนกนาถทรงเรียกว่า แม่หนูใหญ่ ส่วนชาววังออกพระนามว่า เสด็จพระองค์ใหญ่ หรือ เสด็จพระองค์ใหญ่ยิ่ง         ทรงมีพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดา ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา        พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้รับพระราชทานสร้อยพระนามว่า "อรรคราชสุดา" ซึ่งมีพระราชธิดาเพียง 3 พระองค์ใหญ่เท่านั้นที่ได้รับพระราชทานสร้อยพระองค์ โดยอีก 2 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรีในเจ้าจอมมารดาจันทร์ และพระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดาในเจ้าจอมมารดาเที่ยง นอกจากนี้พระนามของทั้งสามพระองค์ยังสอดคล้องกันโดยเรียงตามพระชนมายุ ได้แก่ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์, พระองค์เจ้าทักษิณชา และพระองค์เจ้าโสมาวดี ซึ่งถือเป็นกลุ่มพระราชธิดาที่ใกล้ชิดสนิทสนมกับพระราชบิดามากกว่าพระราชธิดาพระองค์อื่น        พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชธิดาได้ทรงศึกษาเล่าเรียนวิชาการสมัยใหม่และภาษาอังกฤษ ทรงเปิดโอกาสให้พระราชบุตรทั้งหลายคบหาสมาคมกับชาวต่างประเทศทั้งหญิงชาย        เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๑ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์, พระองค์เจ้าทักษิณชา และพระองค์เจ้าโสมาวดี ซึ่งเป็นพระราชธิดารุ่นใหญ่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมักมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โดยเสด็จพระราชดำเนินออกสมาคมเช่นการต้อนรับแขกเมือง ดังที่เซอร์แฮรี ออด ผู้สำเร็จราชการมลายูของอังกฤษประจำเมืองสิงคโปร์ซึ่งมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์        พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๙  สิริพระชันษา ๓๖ ปี   ภาพ : พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา


ชื่อผู้แต่ง                  - ชื่อเรื่อง                   พระสหัสนัย - พระมาลัย ครั้งที่พิมพ์               - สถานที่พิมพ์            - สำนักพิมพ์               - ปีที่พิมพ์                  - จำนวนหน้า              ๑๔๔   หน้า หมายเหตุ                สข.๐๘๔ หนังสือสมุดไทยขาว อักษรขอม ภาษาบาลีและภาษาไทย เส้นหมึก (เนื้อหา)                  พระสหัสนัยบทสวดมนต์ที่อธิบายเกี่ยวกับขันธ์ ๕ คือ รูปเวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณอันเป็นข้อธรรมที่มีความลุ่มลึกทางพุทธศาสนา เนื้อหาพระมัยกล่าวถึงพระมาลัยเสด็จโปรดสัตว์ในนรก แสดงธรรมเกี่ยวกับอกุศลกรรมของสัตว์ทั้งหลาย และบันดาลฝนดับไฟนรกก่อนเสด็จเยี่ยมชมสวรรค์  และแสดงธรรมเทศนาแก่มนุษย์เกี่ยวกับบาป และบุญ


          วันนี้ (วันพุธที่ ๑๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖) เวลา ๐๙.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีแถลงข่าวส่งมอบผลงานโครงการความร่วมมือระหว่างวัดเบญจมบพิตรกับกรมศิลปากรเพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร โดยถวายคัมภีร์ใบลานที่ได้รับการอนุรักษ์แล้ว พร้อมหนังสือบัญชีทะเบียนเอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร แด่เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรแก่ภาคีเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) ผู้ปฏิบัติงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ ณ วัดเบญจมบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ            อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างวัดเบญจมบพิตรกับกรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ รวมระยะเวลา ๕ เดือน ในการปฏิบัติงานอนุรักษ์ ได้บูรณาการประสานความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร คณะสงฆ์ และประชาชน สร้างการรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) รุ่นแรกในส่วนกลาง ซึ่งเป็นรุ่นบุกเบิกของการสร้างเครือข่ายดูแลรักษาเอกสารโบราณให้ขยายวงกว้างออกไป โดยการดำเนินการดังกล่าว สอดรับพันธกิจของ  กรมศิลปากรที่ต้องธำรงรักษา อนุรักษ์ สืบสาน มรดกทางศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่นให้คงอยู่สืบไป ความสำเร็จของการดำเนินงานครั้งนี้  จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่สร้างความมั่นใจในการเป็นผู้นำการอนุรักษ์ให้กับประชาชน และสร้างการรับรู้แก่ชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดเอกสารโบราณ โดยมีวัดเป็นแหล่งเอกสารโบราณ และคณะสงฆ์เป็นผู้เก็บรักษาสมบัติล้ำค่าเหล่านี้ไว้ สรุปผลความสำเร็จของการดำเนินงานได้ ดังนี้            ๑. กรมศิลปากร ได้ดำเนินการอนุรักษ์จัดทำทะเบียนเอกสารโบราณ ซึ่งเป็นการจัดระบบเอกสารโบราณ เพื่อให้บริการตามหลักวิชาการ ดำเนินการออกเลขทะเบียนบัญชีรายชื่อเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลาน จำนวนมากถึง ๔๒๕ มัด ออกรหัสเลขที่ได้ ๗๑๙ เลขที่ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๖,๒๗๕ ผูก และเอกสารโบราณ ประเภทหนังสือสมุดไทย จำนวน ๖ เล่ม ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งเอกสารโบราณกลางกรุงที่ใหญ่มาก และได้รับการพัฒนาไปสู่แหล่งเรียนรู้อีกระดับหนึ่ง             ๒. ความสำคัญของเอกสารโบราณเหล่านี้ไม่แพ้ความสำคัญของวัด โดยเฉพาะคัมภีร์ใบลานมีการสืบสายธารแห่งประวัติศาสตร์ไม่ขาดสาย ถึง ๓ สมัย ได้แก่ คัมภีร์ใบลานสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ผูก และพบคัมภีร์ที่เก่าแก่แต่ละสมัย ดังนี้ สมัยอยุธยา ได้แก่ วบจ.๒๒-๒๕  (วัดเบญจมบพิตร เลขที่ ๒๒-๒๕) เรื่อง วิมติวิโนทนี วินยฎีกา สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาทอง พ.ศ.๒๑๘๖ อายุ ๓๘๐ ปี สมัยธนบุรี ได้แก่ วบจ.๓๓๘ (วัดเบญจมบพิตร เลขที่ ๓๓๘) เรื่อง สารสังคหะ สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๐ อายุ ๒๔๖ ปี สมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ วบจ.๒๗๑ (วัดเบญจมบพิตร เลขที่ ๒๗๑) เรื่อง ธรรมบทอัฏฐกถา สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.๑) พ.ศ.๒๓๒๘ อายุ ๒๓๘ ปี  ภาพ : คำภีร์ใบลานสมัยอยุธยา เรื่อง วิมติวิโนทนี วิยฏีกา อายุ ๓๘๐ ปี            ๓. พบคัมภีร์ใบลานสมัยรัตนโกสินทร์ที่สืบต่อกันตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๖ ทำให้เห็นว่าวัดเบญจมบพิตรเป็นแหล่งเอกสารโบราณที่สามารถศึกษาเปรียบเทียบยุคสมัยของตัวอักษรแต่ละรัชกาลได้ในแหล่ง เอกสารเดียวกัน พร้อมกันนี้ ยังศึกษาประวัติศาสตร์การสร้างคัมภีร์ถวายในพระพุทธศาสนาในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก ใบลานสู่กระดาษแบบฝรั่ง             ๔. สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปริวรรตพระไตรปิฎกจากอักษรขอมเป็นอักษรไทยจัดพิมพ์เป็นพระไตรปิฎก ฉบับพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรกของโลก หลังจากนั้นจึงไม่มีการผลิตซ้ำทำเพิ่มคัมภีร์ใบลาน แต่ในความเป็นจริง คัมภีร์ใบลานยังคงความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธาสืบมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้สร้างคัมภีร์ใบลานถวายไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก และเจาะจงสร้างถวายเป็นการเฉพาะสำหรับวัดเบญจมบพิตร   อีกด้วย ตัวอย่างเช่น คัมภีร์ใบลาน เลขที่ ๕๒๔ เรื่อง เวสสันตรชาตกกถา พ.ศ.๒๔๖๑ อายุ ๑๐๕ ปี              ๕. ข้อสันนิษฐาน คัมภีร์ใบลาน เลขที่ วบจ.๑๖๑ เรื่อง มังคลัตถทีปนี ใช้นามผู้สร้างว่า “เจ้าทับ” พ.ศ. ๒๓๘๖ อายุ ๑๘๐ ปี ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และสอดคล้องกับพระนามเดิมของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสันนิษฐานว่า ร.๓ สร้างเป็นการส่วนพระองค์จึงให้ชื่อว่า “เจ้าทับ” ตาม พระนามเดิมของพระองค์ ไม่ประทับตราพระราชลัญจกร              ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ทำให้มรดกภูมิปัญญาและแหล่งศึกษาเรียนรู้นี้มีประโยชน์และทรงคุณค่าต่อไป คือการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ผู้สนใจและใฝ่รู้ทั้งหลายได้หันมามองสิ่งอันเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้อย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศไทย ดังคำกล่าวที่ว่า วัฒนธรรมสร้างชาติ นั่นเอง


ชื่อผู้แต่ง           เปล่ง  ชื่นกลิ่นธูป ชื่อเรื่อง             คู่มือพุทธมามกะ ครั้งที่พิมพ์         - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์ประยูรวงศ์ ปีที่พิมพ์            ๒๕๒๔ จำนวนหน้า       ๑๔๔ หน้า   กล่าวถึง บันทึกประวัติและความเป็นมาของตระกูลที่เกี่ยวพันกัน ลำดับเครือญาติ การประพันธ์ โคลง ฉันท์ กาพย์กลอน คำกลอน เช่น นิราศโรงพยาบาลนครปฐม นิราศพระปฐมเจดีย์ สำหรับหนังสือคู่มือพุทธมามกะนี้ ได้ต้นฉบับจากหนังสือชื่ออินท์ฑราวาศวัตรเป็นหนังสือขนาด 16 หน้ายก สำหรับอุบาสกอิบาสิกา จะพึงศึกษา


เลขทะเบียน : นพ.บ.454/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 159  (163-173) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ธรรมบทมัด 3--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


17 เมษายน วันพระราชสมภพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรืออีกพระนามคือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 ทรงมีพระนามเดิมว่า "สิน" พระบิดาเป็นพ่อค้าชาวจีนแต้จิ๋ว นามว่า "นายไหฮอง แซ่แต้" พระมารดา เป็นหญิงไทยนามว่า "นกเอี้ยง" สันนิษฐานว่า ถิ่นกำเนิดของพระองค์น่าจะอยู่แถบภาคกลาง ในกรุงศรีอยุธยา มากกว่าเมืองตาก หลังจากรับราชการจนได้เลื่อนเป็นพระยาวชิรปราการ ได้มาช่วยราชการในพระนครก่อนเสียกรุง และรวบรวมคนได้ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมข้าศึกออกจากกรุงศรีอยุธยาไปตั้งมั่นที่เมืองจันท์ แล้วสามารถกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ ภายในเวลา 7 เดือน นับตั้งแต่ที่เสียกรุงเมื่อปี พ.ศ.2310 หลังจากนั้น พระองค์ได้ยกทัพกลับมาที่ธนบุรี ตั้งราชธานีใหม่ ณ ที่แห่งนี้ ขนานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" และทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ในพระชนมายุ 34 พรรษา ทรงเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 และพระราชกรณียกิจหลังจากนั้นของพระองค์ คือการปราบปรามก๊กต่าง ๆ ที่แตกแยกเป็นฝ่าย เพื่อรวบรวมให้เป็นอาณาจักรเดียวกัน และฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากทำสงครามกับพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงครองราชย์ได้ 15 ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 สิริพระชนมายุได้ 48 พรรษา







ชื่อเรื่อง                         ปาจิตฺติยบาลี มหาวิภฺงคปาลิ (ปาลิปาจิตฺตีย์) ลบ.บ.                            365/1 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                  39 หน้า กว้าง 4.3 ซม. ยาว 56.5 ซม. หัวเรื่อง                         พระไตรปิฎก                                                                         บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ธรรมอีสาน ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “คัมภีร์ใบลานอุรังคธาตุ” ตำนานพระธาตุพนม มรดกความทรงจำแห่งโลก  วิทยากร นางสาวเอมอร เชาวน์สวน นักภาษาโบราณเชี่ยวชาญ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น.           ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


           หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ขอเชิญร่วมทำกิจกรรม "Cupcake for Kids : Birthday" ในโครงการKidsเรียนรู้@ หอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี ในวันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องเด็กและเยาวชน 102 หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี           ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเฟสบุ๊ก : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี หรือ โทร. 0 3451 3926


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรมยลวังหน้ายามค่ำ จัดร่วมกับกิจกรรม Night at the Museum Festival 2023 กับพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ในวันศุกร์ - อาทิตย์ที่ ๑๕ - ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจดังนี้            - งาน Night at the Museum ตอน “สยามใหม่ - ไทยวิวัฒน์”             - กิจกรรม ยลวังหน้ายามค่ำ (เวลา ๑๗.๐๐ น. / ๑๘.๐๐ น.)            - กิจกรรม จิบชาชมวัง Afternoon Tea in the Courtyard (เวลา ๑๓.๐๐ น. – ๑๕.๐๐ น.)            - ตลาดอาร์ตทอยในสวน Art Toys in the Garden (เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๒๐.๐๐ น.) -------------------------------------------------- กิจกรรม ยลพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ (Night at the Museum) ขอเชิญชวนประชาชนร่วมสัมผัสความงดงามของโบราณสถาน (วังหน้า) ที่ประทับของพระมหาอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่งกายด้วยชุดไทยเพื่อถ่ายภาพเป็นที่ระลึก เปิดให้ชมพิพิธภัณฑ์ในยามค่ำ Night at the Museum เปิดรอบนำชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ (ไม่ต้องจอง) วันละ ๒ รอบ            รอบที่ ๑ เวลา ๑๗.๐๐ น.  นำชมเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ โดยภัณฑารักษ์ เจ้าหน้าที่ และ National Museum Volunteers            รอบที่ ๒ เวลา ๑๘.๐๐ น.  นำชมเป็นภาษาไทย โดยภัณฑารักษ์และเจ้าหน้าที่ -------------------------------------------------- กิจกรรม จิบชาชมวัง ปีที่ ๓ ตอน จิบชาในสวน (Afternoon Tea in the Courtyard) เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๕.๐๐ น. ณ สวนทิศใต้ หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            - วันศุกร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ เรื่อง “ณ ชั่วขณะ - A Glimpse of Time” จิบชาและชมนิทรรศการภาพถ่ายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถาน ในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) วิทยากรโดย สิปปภาส ครองบุญ ช่างภาพอิสระ            - วันเสาร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๖ เรื่อง “เครื่องถ้วย ของสะสมผู้ดีสยาม - Ceramics, Siamese Old Money’s Collection” จิบชาและชมเครื่องกระเบื้องล้ำค่าในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) วิทยากรโดย ธนพันธุ์ ขจรพันธุ์ นักวิชาการอิสระ            - วันอาทิตย์ที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๖ เรื่อง “สวนไทย - Thai Garden” จิบชาและชมสวนไทยในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) วิทยากรโดย ดร.พรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิกชำนาญการพิเศษ *หมายเหตุ : - รับจำนวนจำกัด - ชุดชาและอาหารว่าง / ๑ คน  - คนละ ๙๙ บาท (จ่ายหน้างาน) - สอบถาม / สำรองที่นั่งล่วงหน้า โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ (เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น. วันพุธ - อาทิตย์) --------------------------------------------------- ตลาดอาร์ตทอยในสวน Art Toys in the Garden เดือนนี้มาเร็วกว่าปกติ เพราะรวมอยู่ในกิจกรรมยลวังหน้ายามค่ำ ร่วมกับกิจกรรม Night at the Museum Festival 2023 กับพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย วันศุกร์ - อาทิตย์ที่ ๑๕ - ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๒๐.๐๐ น. ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับกาชาปองชุดพิเศษต้อนรับปีมะโรง “มังกรทอง” ชุดที่ ๑ จากสตูดิโอต่าง ๆ ในกลุ่มศิลปินศาลาอันเต (Sala Arte) และสินค้าอาร์ตทอยอีกมากมาย --------------------------------------------------           อัตราค่าเข้าชมตามปกติ ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓, ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ ได้ทางเฟสบุ๊ก เพจ : Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  


Messenger