ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.25/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า  ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 9หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.45/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 4.4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 27 (267-281) ผูก 2หัวเรื่อง :  ธรรมบท --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง :      พระบรมราชาธิบาย ชื่อเรื่อง :       พระบรมราชาธิบายสำหรับคณะสงฆ์ มณฑลนครศรีธรรมราชและมณทลภูเก็ต ปีที่พิมพ์ :      2474 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ โรงพิมพ์      : พระจันทร์ จำนวนหน้า    26 หน้า                                   เรื่องเคารพใช้ได้กับทุกคนทุกหมู่คณะไม่เว้นแต่คณะสงฆ์ ให้รู้จักทำความเคาระต่อผู้ที่ตนควรเคารพโดยอาศัยระเบียบและธรรมเนียม และอาศัยระเบียบแบบแผนของคณะสงฆ์เป็นหลักวิชา  ลำดับชั้นตั้งแต่เจ้าอาวาสขี้นไป และครูผู้สอน  ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพเรียกว่าการขอขมา ขออัจจโยโทษ  และขอให้ใช้ระเบียบนี้อบรมอย่างน้อยปี ละสองครั้งคือต้นเข้าพรรษา และปลายพรรษา


  ชื่อผู้แต่ง              มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ ชื่อเรื่อง               บทละครพูด เรื่อง ไม่โกรธ และเพื่อนตาย ครั้งที่พิมพ์            - สถานที่พิมพ์          - สำนักพิมพ์           ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ไทยวัฒนาพินิช ปีที่พิมพ์               - จำนวนหน้า          ๘๐    หน้า หมายเหตุ            เป็นพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจ นางสาว กิมลี้ กรัยวิเชียร                                บทพระราชนิพนธ์ เรื่อง ไม่โกรธและเพื่อนตาย เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ ซึ่งเจ้าภาพได้มาติดต่อ ณ หอสมุดแห่งชาติ เพื่อขออนุญาตจัดพิมพ์เพื่อแจกเป็นอนุสรณ์ กรมศิลปากรมีความยินดีอนุญาตให้จัดพิมพ์ได้ดังประสงค์


เรื่องที่ 364 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดบุญญวาสวิหาร ต.ท่าใหม่ อ.ท่าใหม่ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532 เป็นคัมภีร์อักษรขอมทั้งผูก ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาบาลี-ไทย ตัวอักษรหนังสือเป็นเส้นจาร ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา มีทั้งหมด 15 ผูก เนื้อหาเกี่ยวกับธรรมะ พระอสีติมหาสาวก คือ พระสาวกผู้ใหญ่ 80 องค์ของพระพุทธเจ้า คำว่า "อสีติมหาสาวก" เป็นคำสมาสประกอบด้วยคำ "อสีติ" และ "มหาสาวก" คำว่า "อสีติ" แปลว่า แปดสิบ ส่วน "อสีติ" ประกอบด้วยคำว่า "มหา" ซึ่งเป็นคุณศัพท์แปลว่า ใหญ่, มาก, สำคัญ และคำว่า "สาวก" ซึ่งเป็น คำนามกิตก์ ประกอบรูปมาจากธาตุ "สุ" (ฟัง) ลง ณฺวุ ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น "สาวก" แปลว่า "ผู้ฟัง"เลขทะเบียน จบ.บ.364/5,17-30


 เอกรัฐ  คำวิไล.  บุหรี่.. ไฟฟ้า.  จันท์ยิ้ม.  (10) ,26.  กรกฎาคม  2559.             ภายในเล่มกล่าวถึงเรื่องว่า ในปัจจุบันจากนโยบายของภาครัฐและผู้เกี่ยวข้อง ที่ได้มีการกระชับพื้นที่ จำกัดอาณาเขตให้กับสิงห์อมควันในที่สาธารณะได้น้อยลง เพื่อหวังให้เป็นการลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ จำกัดปริมาณผู้สูบเดิม  และ ป้องกันผลกระทบไปสู่บุคคลรอบข้างที่จะได้รับอันตรายจากควันมือสองเหล่านี้ ทำให้หลายคนปรับกลยุทธให้สามารถสูบบุหรี่ในที่สาธารณะได้โดยการหันมาใช้อุปกรณ์ช่วย ที่เรียกว่า " บุหรี่ไฟฟ้า"  บุหรี่ไฟฟ้า (Nicotine Delivery)  เป็นยาสูบชนิดใหม่  มีการแพร่หลาย เมื่อประมาณ  8-10 ปี มาแล้ว  เนื่องจากประเทศต่างๆทั่วโลกห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เป็นการนำนิโคตินเข้าสู่ร่างกายที่สะอาดกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดา (เนื่องจากมีการเผาไหม้ยาสูบ) และเพื่อลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ เพื่อใช้สูบทดแทนบุหรี่ในผู้ที่อยากเลิกสูบบุหรี่แต่เลิกไม่ได้  โดยผู้สูบจะได้รับสารนิโคตินที่ระเหยด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย โดยที่การสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นการนำสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ แต่ไม่มีการเผาไหม้ในยาสูบ มีลักษณะเป็นแท่งกลมคล้ายบุหรี่ ตัวมวนบุหรี่ไฟฟ้าแบ่งเป็นส่วนของแบตเตอรี่และส่วนที่บรรจุขวดขนาดเล็กใส่ของเหลวที่มีนิโคตินผสมอยู่  เวลาสูบสวิตไฟจะถูกเปิดเกิดไฟแดงที่ปลายแท่งพร้อมกับการทำงานของแบตเตอรี่ เกิดความร้อนทำให้ของเหลวในขวดที่บรรจุไว้ ระเหยขึ้นมาเป็นควัน ถูกสูดเข้าไปในปอดก่อนที่จะได้รับการพ่นออกมา



นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมานายสมเดช ลีลามโนธรรม หัวหน้ากลุ่มโบราณคดีนายธนภัทร จิตสุทธิผล หัวหน้ากลุ่มอนุรักษ์โบราณสถานพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาประชุมหารือแนวทางแก้ไขปัญหากับผู้ที่เกี่ยวข้องในการก่อสร้างอาคารในเขตพื้นที่โบราณสถานวัดโพธิ์ศรีธาตุ ตำบลธาตุ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์วันพฤหัสบดีที่ื ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗





บรรณานุกรม   ชื่อหนังสือ  ฉลองเรือหลวงชลบุรี



ภาพเขียนสีบนเพิงผา งานศิลปะแห่งโลกยุคโบราณที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก . บทความโดย นายธีรศักดิ์ ธนูศิลป์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย . จังหวัดตาก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญและอุดมไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิด ได้แก่ สินแร่มีค่าประเภท ทองค้า เงิน ตะกั่ว ดีบุก เป็นต้น สมุนไพรหลากหลายชนิดรวมถึงสัตว์ป่า นอกจากนี้ยังเป็นประตูที่สำคัญของเส้นคมนาคมเชื่อมต่อภูมิภาคในฝังตะวันออกและตะวันตกในโลกยุคโบราณ “ของป่า” และ “เส้นทางคมนาคม” นี้ ล้วนดึงดูดผู้คนโบราณให้เข้ามาแสวงหาใช้ประโยชน์เกิดการบริโภคในชุมชนสังคมนำไปสู่การติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนใกล้-ไกล ขยายตัวเป็นสังคมขนาดใหญ่ . ในเวลาต่อมาพื้นที่จังหวัดตากพบการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ช่วงปลายไพลสโตซีน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เทือกเขาสูงฝั่งตะวันตกติดต่อกับประเทศเมียนมาในปัจจุบัน สอดคล้องกับข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับภูมิอากาศโลกที่มีความหนาวเย็นส่งผลมนุษย์จำเป็นต้องอาศัยเพิงผาหรือถ้ำเป็นที่กำบังและพักพิง บางแห่งยังคงหลงเหลือร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีที่ช่วยในการศึกษาตีความสะท้อนภาพวิถีชีวิต ความเชื่อและสุนทรีย์ของผู้คนในโลกยุคโบราณ . พื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากเป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งมีความน่าสนใจในด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับทรัพยากร และการศึกษาด้านภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน แต่เนื่องจากเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนซึ่งยากต่อการเข้าถึงพื้นที่สำคัญในบางจุด ทำให้ในอดีตที่ผ่านมาขาดแคลนข้อมูลในพื้นที่ดังกล่าว จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้รับแจ้งว่า พบร่องรอยของภาพเขียนสีโบราณที่เพิงผาในเขตป่าท้องที่ตำบลหนองหลวง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เป็นแหล่งภาพเขียนสีโบราณบนเพิงผาขนาดใหญ่ซึ่งนับว่าเป็นภาพเขียนสีแห่งใหม่และแหล่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดตากเท่าที่สำรวจพบในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญอีกประการหนึ่งต่อวงการโบราณคดี ในด้านการศึกษาพัฒนาการสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่เทือกเขาสูงในฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ภาพเขียนสีที่สำรวจพบมีการผสมผสานเทคนิค ๒ แบบเข้าด้วยกัน คือ แบบโครงร่าง (outline) และ แบบทึบแสง (silhouette) ซึ่งเขียนภาพบุคคลเสมือนจริง ภาพสัตว์ และภาพเชิงสัญลักษณ์ . ความสำคัญของภาพเขียนสีนอกจากเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่นักโบราณคดีโดยเฉพาะตัวผู้เขียนเองพยายามถอดรหัสและนำมาอธิบายในแง่มุมของการเป็นตัวแทนความทรงจำของผู้คนในโลกยุคโบราณเป็นหลักฐานบ่งชี้ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สะท้อนในแง่มุมของโบราณคดีผ่านการศึกษาตีความเรื่องราวของวิถีชีวิตซึ่งจะช่วยเพิ่มเติมองค์ความรู้เรื่องของการตั้งถิ่นฐานและวิถีความเป็นอยู่ของผู้คนในโลกยุคโบราณในพื้นที่แถบนี้ได้เป็นอย่างดี . นอกจากนี้ ภาพเขียนสีถือได้ว่าเป็นงานศิลปะชิ้นเอกแสดงถึง “ตัวตน” (self) และ “เอกลักษณ์” (identity) ของกลุ่มสังคมหนึ่งที่คัดเลือกและรังสรรค์ผลงานบนเพิงผาซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับภาพเขียนสีที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตากที่สำรวจพบใหม่นี้ สันนิษฐานว่า อยู่ในช่วงไพลสโตซีนตอนปลาย - โฮโลซีนตอนต้นหรือเชื่อมโยงได้กับผู้คนในสังคมกสิกรรมราว ๔,๐๐๐ – ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว แต่อย่างไรก็ดีจำเป็นต้องมีการกำหนดอายุด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมในอนาคต ควบคู่กับการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่เพื่อวิเคราะห์อายุสมัยที่แน่ชัดและอธิบายบริบททางสังคมและวัฒนธรรมต่อไป


สังคโลก คืออะไร?  “สังคโลก” หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นในรูปแบบของภาชนะ เครื่องประกอบสถาปัตยกรรม ตุ๊กตา เป็นต้น มีทั้งชนิดเคลือบน้ำยาและไม่เคลือบน้ำยา โดยมีการผลิตมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยไปจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง มีการพัฒนาทั้งรูปแบบและวิธีการผลิตจนสามารถส่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๒ คำว่า “สังคโลก” นี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เป็นถ้อยคำในภาษาจีนโดยคำว่า “สัง” น่าจะเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า “ซ้อง” อันเป็นนามราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนระหว่าง พ.ศ.๑๕๐๓ - ๑๘๑๙ เหตุด้วยเครื่องเคลือบชนิดเดียวกับสังคโลกนั้นเกิดขึ้นในเมืองจีนสมัยของราชวงศ์ซ้องมาก่อน ส่วนคำว่า “โกลก” หรือ “กโลก” ท่านว่ายังสืบไม่ได้ความ (มีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่า คำว่า โกลก แปลว่า เตา เมื่อรวมกับคำว่า ซ้อง แล้ว อาจแปลความได้ว่า เตาแผ่นดินซ้อง) อีกสมมติฐานหนึ่งเชื่อว่า สังคโลกน่าจะเพี้ยนเสียงมาจาก คำว่า “สวรรคโลก” ซึ่งเป็นชื่อเรียกของเมืองศรีสัชนาลัย หลังตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา โดยให้เหตุผลประกอบว่าสังคโลกเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศอย่างแพร่หลายในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒ อันเป็นช่วงเวลาที่การค้ากับต่างชาติรุ่งเรืองมาก ด้วยเหตุที่เครื่องถ้วยดังกล่าวผลิตจากเมืองศรีสัชนาลัย หรือเมืองสวรรคโลก ผู้คนจึงได้เรียกชื่อเครื่องถ้วยประเภทนี้ตามแหล่งผลิต หากแต่ชาวต่างชาติที่ทำการค้ากับกรุงศรีอยุธยาออกเสียงเพี้ยนเป็น “สังคโลก” แทน รูปภาพ : สังคโลกที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก


Messenger