ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

นำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร   ข้อแนะนำการส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร   บุคคลทั่วไป               ๑.  กรอกแบบฟอร์มการขออนุญาตที่ทางราชการจัดให้  (ศก.๖)             ๒. ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร  ให้เหตุผลส่งหรือนำไปเพื่ออะไร  ไว้ที่ใดโดยละเอียด             ๓.  ในกรณีที่นำติดตัวไปเอง  ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ขออนุญาต  ๑  ชุด                  ในกรณีที่ส่งไปถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  หรือบัตรข้าราชการ             ๔.  ให้แสดงหลักฐานเป็นเอกสารรับรองจากองค์กร  องค์การ                  (องค์กร, องค์การที่เป็นที่เชื่อถือ  และยอมรับจากทางราชการ) สมาคม   หมายถึง   ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งเป็นที่เชื่อถือและยอมรับจากทางราชการ สถาบันที่เกี่ยวข้องกับศาสนา   คือ  พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์  เป็นเจ้าอาวาส  รองเจ้าอาวาส  ผู้ช่วยเจ้าอาวาส  หรือเลขาธิการสมเด็จพระสังฆราช  เป็นผู้ลงนามรับรอง  หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ว่าจะส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักรเพื่อสักการบูชา   เพื่อศึกษาวิจัย   เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ   หรือเพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหรือโบราณคดี   ในกรณีที่เจ้าอาวาสวัด  รองเจ้าอาวาสวัดฯ  หรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด  รับรอง    ต้องมีเอกสาร  ดังนี้             ๑.  ทำหนังสือจากวัดถึงอธิบดีกรมศิลปากร             ๒. สำเนาใบสุทธิประวัติเดิม – ปัจจุบัน             ๓.  สำเนาใบแต่งตั้งสมณศักดิ์  หรือหลักฐานยืนยันชื่อลงนามในหนังสือรับรอง   ในกรณีที่ข้าราชการรับรอง    (ต้องเป็นข้าราชการตั้งแต่  ระดับ ๔  ขึ้นไป)             ๑.  ทำหนังสือจากผู้รับรองถึงอธิบดีกรมศิลปากร  รับรองผู้ขออนุญาตส่งหรือนำพระพุทธรูปออกนอกราชอาณาจักร             ๒. สำเนาบัตรข้าราชการ  ด้านหน้า – หลัง   อนึ่ง    เอกสารที่เป็นสำเนา  ให้ผู้รับรองลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ   ภาพถ่ายของวัตถุ               ใช้ภาพสี  ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว  จำนวน  ๒  ภาพ  ต่อวัตถุ  ๑  รายการ   ถ่ายภาพเฉพาะด้านหน้าให้   ชัดเจน  หากมีพลาสติกห่อหุ้มให้เอาออกก่อนถ่ายภาพ   นำวัตถุที่จะส่งหรือนำออกทุกชิ้นไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ฯ  ในวันที่ยื่นคำร้อง (ศก.๖)   ณ  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  (อาคารกรมศิลปากรใหม่)  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ  ๑๐๓๐๐             ระยะเวลาออกใบอนุญาต         ๒   วันทำการ             เวลาทำการตรวจพิสูจน์            เช้า    เวลา  ๑๐.๐๐  น.                                                   บ่าย   เวลา  ๑๔.๐๐  น.   ฝ่ายบริหารงานทั่วไป   สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โทรศัพท์, โทรสาร  ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓     ขั้นตอนและวิธีการ   การขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร   ๑.   ผู้ขออนุญาต  ต้องกรอกในคำขอรับใบอนุญาตส่งหรือนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร(ศก.๖)  พร้อมแนบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาต   ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เลขที่ ๘๑/๑  ถนนศรีอยุธยา  เทเวศร์  แขวงวชิระ  เขตดุสิต  กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ ๒.  ผู้ขออนุญาต  จะต้องนำโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ขออนุญาตส่งออกทุกชิ้นไปให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ   หากไม่สามารถนำไปให้ตรวจพิสูจน์ ณ สถานที่ดังกล่าวได้ ผู้ขออนุญาตสามารถทำหนังสือพร้อมทั้งแสดงเหตุผลต่ออธิบดีขอให้มีการตรวจพิสูจน์  ณ สถานที่ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ  ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งหมด ๓.  เจ้าหน้าที่จะผูกตะกั่วประทับตราที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น  ที่คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ สรุปความ เห็นอนุญาตให้ส่งหรือนำออกนอกราชอาณาจักรได้ ๔.  ภายใน ๑ - ๒ วันทำการ  ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตไปรับใบอนุญาต   พร้อมชำระค่าธรรมเนียม       ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ       ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุประเภทพระพุทธรูป  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๓๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท       ค่าธรรมเนียมศิลปวัตถุ  สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึงปัจจุบัน       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน  ๑๐๐ เซนติเมตร                             ชิ้นละ  ๒๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงเกิน ๕๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๐๐  เซนติเมตร     ชิ้นละ  ๑๐๐  บาท       - ขนาดยาวหรือสูงไม่เกิน  ๕๐  เซนติเมตร                          ชิ้นละ   ๕๐  บาท ๕.  เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำวัตถุ (บัตรสีชมพู)  เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตนำไปผูกกับปลายเชือกที่ประทับตราตะกั่วที่โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุทุกชิ้น ๖.   ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องลงชื่อรับรองว่าจะนำบัตรประจำวัตถุไปผูกติดกับปลายเชือกตราตะกั่วที่ประทับวัตถุให้ถูกต้องตรงกับเลขหมายรายการในใบอนุญาต



กำแพงดินและคูน้ำไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าจะเป็นกำแพงและคูเมืองเดิมที่พญามังรายทรงสร้างเมื่อแรกสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 บางท่านก็เชื่อว่าน่าจะเป็นกำแพงและคูที่สร้างในสมัยพระยาโกษาธิบดียกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2200 และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พงศาวดารกรุงธนบุรีได้กล่าวว่าในปี พ.ศ. 2314 กองทัพของพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ยกทัพผ่านกำแพงดินนี้ก่อนจะเข้าถึงเมืองเชียงใหม่ กำแพงและคูเมืองในปัจจุบันเริ่มต้นตั้งแต่บริเวณแจ่งกู่เฮืองฝั่งตรงข้ามกับถนนช่างหล่อ พุ่งไปทางทิศใต้แนวเดียวกับกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้านทิศตะวันตกแล้วเลี้ยวซ้ายไปทางด้านตะวันออกโอบเมืองเยงใหม่ไปทางด้านตะวันออกขึ้นไปทางเหนือผ่านถนนท่าแพไปบรรจบกับกำแพงเมืองเชียงใหม่ตรงมุมแจ่งศรีภูมิ บริเวณวัดไชยศรีภูมิ โดยมีคูเมืองขนานไปตลอดซึ่งคูเมืองบางส่วนคงให้เห็น บางส่วนถูกปรับให้มีขนาดเล็กลง และเปลี่ยนเปลง ทิศใต้มีคลองแม่ข่าไหลผ่านคูเมืองลงไปทางทิศใต้บรรจบกับแม่น้ำปิง โดยทั่วไปยังคงสภาพให้เห็นน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ถูกอาคารสร้างทับ ปรับพื้นที่เกือบตลอดแนวป้อมที่คงอยู่ในปัจจุบันคือ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เรียก "ป้อมหายยา" ประตูที่พบที่ยังคงอยู่คือ ประตูหายยา ประตูก้อม






          เรื่องลำดับกษัตริย์กรุงเก่าคำฉันท์นี้ แต่งเป็นกาพย์ฉบัง 16 เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บอกจำนวนปีและ พ.ศ. ที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติทุกรัชกาล


อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 20 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด



วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 นางสาวระเบียบ หงส์พันธ์ หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี และเจ้าหน้าที่ ได้เข้าร่วมพิธีถวายเครื่องสักการะ พิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ณ ศาลา 60 พรรษามหาราช จังหวัดกาญจนบุรี



รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา ๑. ชื่อโครงการ   ส่งมอบโบราณวัตถุ ๑๖ รายการ ให้แก่รัฐบาลกัมพูชา ๒. วัตถุประสงค์ คณะเจ้าหน้าที่ จากสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร เดินทางไปส่งมอบโบราณวัตถุ จำนวน ๑๖ รายการ คืนสู่ราชอาณาจักรกัมพูชา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๘ ๓. กำหนดเวลา ๒๕-๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ ๔. สถานที่ Angkor Conservation Center Siemreap ราชอาณาจักรกัมพูชา ๕. หน่วยงานผู้จัด Angkor Conservation Center, Department of Safeguarding and Preservation of Monuments ๖. หน่วยงานสนับสนุน           - ๗. กิจกรรม วันอังคารที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘           -เดินทางโดยรถยนต์ของสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไปยังคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ทำการตรวจสอบตู้บรรทุกโบราณวัตถุ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนออกเดินทางจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ไปยังด่านศุลกากรคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว           - ติดต่อประสานงานกับด่านศุลกากรคลองลึก เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำโบราณวัตถุผ่านแดน           - คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร เดินทางผ่านจุดผ่านแดนอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ราชอาณาจักรไทย เข้าสู่เมืองปอยเปต อำเภออูร์ชเรา จังหวัดบันเตียเมียนเจย ราชอาณาจักรกัมพูชา           - รถบรรทุกตู้บรรทุกโบราณวัตถุจากประเทศไทย เดินทางมาถึงเมืองปอยเปต และได้ทำการย้ายตู้บรรทุกโบราณวัตถุขึ้นบนรถบรรทุกที่ทางกัมพูชาเตรียมไว้ และเดินทางจากเมืองปอยเปตถึง Angkor Conservation Center จังหวัดเสียมราฐ เมื่อเดินทางถึงคณะเจ้าหน้าที่จากฝ่ายไทยทำการเปิดตู้บรรทุกโบราณวัตถุ และตรวจสอบลังบรรจุโบราณวัตถุ ว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อย และนำลงจากตู้เก็บไว้ชั่วคราว วันพุธที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘           - ร่วมเปิดลังบรรจุหีบห่อโบราณวัตถุ Angkor Conservation Center วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘           - ร่วมตรวจสอบสภาพวัตถุ ณ สถานที่จัดเก็บภายใน Angkor Conservation Center           - ออกเดินทางจากสนามบินเสียมเรียบ โดยเครื่องบินโดยสาร สายการบินบางกอกแอร์เวย์ เที่ยวบิน PG 910 ถึงสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ประเทศไทย ๘. คณะผู้แทนไทย         ๑. นายดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์       ภัณฑารักษ์ชำนาญการ ๒. นางกัญณศมนต์ กะมุทา         ภัณฑารักษ์ชำนาญการ๓. นางสาวจุฑารัตน์ เจือจิ้น        ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ๔. นายชัยเดช ไตรรัตน์             นายช่างภาพปฏิบัติงาน  ๙. สรุปสาระของกิจกรรม           คณะเจ้าหน้าที่ของสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้เดินทางเพื่อนำโบราณวัตถุไปส่งมอบให้กับรัฐบาลกัมพูชา โดยได้ทำการตรวจสอบและจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายและผ่านแดน รวมถึงตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของหีบห่อก่อนที่จะทำการเคลื่อนย้าย และระหว่างการเคลื่อนย้าย ประสานกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่จุดผ่านแดน เพื่ออำนวยความสะดวก และเมื่อโบราณวัตถุเดินทางไปถึงยังประเทศกัมพูชาก็ได้ร่วมตรวจสอบหีบห่อ ควบคุมการเคลื่อนย้าย เปิดหีบห่อและการเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาในคลัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของทางฝ่ายกัมพูชา เพื่อให้การส่งมอบโบราณวัตถุดังกล่าวเป็นไปอย่างสมบูรณ์และถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล ผลของการปฏิบัติงาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โบราณวัตถุที่ส่งมอบจำนวนทั้งสิ้น ๑๖ ชิ้น อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ได้นำไปจัดเก็บไว้ในคลังโบราณวัตถุของทางกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม           หากต้องมีการขนย้ายโบราณวัตถุโดยรถบรรทุกสินค้าผ่านชายแดน ควรจะมีการประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่อีกทางหนึ่ง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการนำรถบรรทุกผ่านแดน ......................................................................................................                                                                                                                                                                   นายดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์                                                                            ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ



สาระสังเขป                       : รวมพระโอวาทนุสาสน์ต่าง ๆ จัดพิมพ์เนื่องในสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ พระสังฆราช ฉลองพระชนมายุ 80 พรรษาผู้แต่ง                               : วชิรญาณวงศ์, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงโรงพิมพ์                           : มหามกุฎราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์                           : 2495ภาษา                               : ไทยรูปแบบ                             : PDFเลขทะเบียน                      : น.17 บ. 72100 จบเลขหมู่                             : 895.915                                          ว 149 ป



Messenger