ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อผู้แต่ง กัลยาณานุกูล, พระครู
ชื่อเรื่อง ประวัติวัดกัลยาณมิตร
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๖
จำนวนหน้า ๖๖ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นบรรณาการ ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเชื่อ เสวิกุล ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม ๑ พฤษภาคม ๒๕๑๖
หนังสือเล่มนี้ มาจากการเรียบเรียงเนื้อหาจากหนังสือ และเอกสารที่เกี่ยวกับ การตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์, การตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, ตำนานการสร้างวัตถุสถานในรัชกาลที่ ๓, เครื่องบูชา พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ประวัติสังเขปของวัดกัลยาณมิตร บันทึกโดยกรมหลวงปราจิณกิติบดี, ลำดับสกุลเก่าบางสกุล, ราชสกุลวงศ์, ระฆังใหญ่วัดกัลยาณมิตร, ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔, พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓-๔, หมายรับสั่งรัชกาลที่ ๓-๕, จดหมายเหตุรัชกาลที่๓-๕ และจดหมายเหตุโหร
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 50 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 80) จดหมายเหตุฟอร์บังชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ จำนวนหน้า : 292 หน้าสาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 80 จดหมายเหตุฟอร์บัง จดหมายเหตุฟอร์บัง เป็นบันทึกประวัติและเรื่องราวของเชวาลิเอร์ เดอะ ฟอร์บัง นายเรือโท ชาวฝรั่งเศสซึ่งเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมคณะฑูตของสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ครั้นคณะฑูตจะกลับออกไป สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ตรัสขอฟอร์บังไว้ช่วยราชการ ต่อมาทรงแต่งตั้งให้เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่มีบรรดาศักดิ์เป็นออกพระศักดิสงคราม ฟอร์บังได้เล่าเรื่องราวมูลเหตุที่สมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงแต่งตั้งคณะฑูตเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ทั้งได้เล่าเหตุการณ์สำคัญที่ป้อมบางกอกและที่ในกรุงศรีอยุธยาในระหว่าง พ.ศ.2228 ถึง พ.ศ.2231 โดยพิศดาร กล่าวคือ เรื่องการปราบปรามกบฏแขกมักกะสัน และกรณีที่เขาขัดแย้งกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์
วันศุกร์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร แถลงผลงานเนื่องในโอกาส ๑๑๑ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการ และร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและสินค้าท้องถิ่น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ กรมศิลปากรเวียนมาบรรจบครบรอบ ๑๑๑ ปี นับแต่แรกสถาปนา ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรของกรมศิลปากร ได้ปฏิบัติภารกิจในการขับเคลื่อนงานด้านมรดกวัฒนธรรมของชาติ ไม่ว่าจะเป็นงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ งานด้านภาษา เอกสารและหนังสือ งานนาฏศิลป์และดนตรี งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและช่างศิลป์ไทย รวมไปถึงงานสนับสนุนต่าง ๆ โดยมีผลงานสำคัญในรอบปีที่ผ่านมา อาทิ งานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้แก่ การเปิดให้บริการอาคารประติมากรรมขุนหลวงพะงั่วและประวัติศาสตร์สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี การอนุรักษ์โบราณวัตถุและปรับปรุงศูนย์ข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว เพื่อรองรับการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธมอย่างเป็นทางการ และการพัฒนาแหล่งมรดกโลก การปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีมาตรฐานและทันสมัย โดยมีการปรับปรุงทั้งรูปแบบการจัดแสดงให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม การจัดสร้างอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน การจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้พัฒนาและขับเคลื่อนภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในเรื่องเศรษฐกิจวัฒนธรรมสร้างสรรค์บนพื้นฐานของทุนทางวัฒนธรรม รวมถึงนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการทำงาน ทั้งการให้บริการและการเผยแพร่ผลงานของกรมศิลปากรในทุกด้าน ซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากรมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ทางวิชาการผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก ยูทูบ อินสตราแกรม ไลน์ นับเป็นมิติใหม่ของการทำงานกรมศิลปากร ที่จะต้องเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม และชีวิตวิถีใหม่ New Normal สำหรับกิจกรรมเนื่องในโอกาส ๑๑๑ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร กรมศิลปากรยังได้จัดเสวนา ทางวิชาการ ในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) ประกอบด้วย เรื่อง โรงละครแห่งชาติความรุ่งเรืองแห่งศิลปวัฒนธรรม, กรมศิลปากรกับมรดกความทรงจำแห่งโลก, งานวรรณคดีและประวัติศาสตร์ในบทบาทกรมศิลปากร และเรื่อง หนังสือหายาก ถ่ายทอดสดผ่าน facebook live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร กำหนดจัดพิธีบำเพ็ญกุศล ในเวลา ๑๐.๓๐ น. ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ขอนำเสนอโบราณวัตถุ
พระพุทธรูปจากแหล่งโบราณคดีเขานาพร้าว (เขาขุนกระทิง)
วัสดุทำจากไม้ ขนาด หน้าตัก กว้าง 14.5 เซนติเมตร สูงรวมฐาน 34.5 เซนติเมตร ศิลปะ รัตนโกสินทร์ อายุ/สมัย พุทธศตวรรษที่ 25
รูปแบบลักษณะ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ เม็ดพระศกเป็นปมสี่เหลี่ยม มีไรพระศก พระกรรณยาว พระขนงโก่ง พระเนตรปิด พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์ยิ้ม พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรห่มเฉียง ประทับนั่งบนฐานบัวมีเกสรและฐานเขียง ครองจีวรห่มเฉียง ด้านหน้าสังฆาฏิยาว จรดพระเพลาด้านหลังจรดพระโสณี ทาชาดปิดทอง
ประวัติวัตถุ คณะสำรวจโบราณสถานภาคใต้ พบที่เขานาพร้าว (เขาขุนกระทิง) อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2521 นำมาจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2540
ชื่อเรื่อง รายงานเบื้องต้นการขุดค้นโบราณสถานสมัยทวาราวดีผู้แต่ง มหาวิทยาลัยศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ภูมิศาสตร์ และการท่องเที่ยวเลขหมู่ 915.9303 ศ529รสถานที่พิมพ์ ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์ 2519ลักษณะวัสดุ 42 หน้าหัวเรื่อง การขุดค้น โบราณสถานภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรายงานการขุดค้นโบราณสถานสมัยทวาราวดีบ้านคูเมือง เป็นผลจากการฝึกภาคสนามของนักศึกษาที่ศึกษาวิชาโบราณคดีเป็นวิชาเอก เพื่อให้นักศึกษาเกิดความชำนาญและมีประสบการณ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ทางรถไฟสายสวรรคโลก"รถไฟ" เข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานานร่วมร้อยปีแล้ว ด้วยเกิดจากพระราชดำริในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจการรถไฟที่ทำให้การติดต่อค้าขายหรือขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่าง ๆ มีความสะดวกสบายมากกว่าการคมนาคมทางเรือหรือทางเกวียนซึ่งใช้เวลานานและไม่สะดวกเท่า โดยทางรถไฟสายแรกที่เปิดให้บริการแก่ชาวสยามในสมัยนั้น คือ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะมีการสร้างรถไฟสายเหนือหรือรถไฟสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่และพัฒนากิจการรถไฟมาเป็นลำดับเช่นในปัจจุบัน"ทางรถไฟสายเหนือ" ถือเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เอื้อให้การติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น ความน่าสนใจประการหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายดังกล่าวคือ การสร้างทางแยกที่ชุมทางบ้านดารา (ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์) และมาสิ้นสุดที่เมืองสวรรคโลกหรือจังหวัดสวรรคโลก (ปัจจุบันคือ สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย) ทำให้ทางรถไฟสายนี้ถูกเรียกว่า "เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลก" มีระยะทาง ๒๙ กิโลเมตร เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๕๒ เป็นต้นมาจนถึงในปัจจุบัน แรกเริ่มทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟที่จะไปยังเมืองตาก เชื่อมต่อพื้นที่ลุ่มแม่น้ำน่านและพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงเข้าด้วยกันทว่าการก่อสร้างทางรถไฟกลับไม่ได้ดำเนินการต่อจนบรรลุตามจุดประสงค์เดิม ทำให้เส้นทางรถไฟสายนี้สิ้นสุดลงที่เมืองสวรรคโลกเท่านั้น ถึงกระนั้น เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลกก็นับเป็นเส้นทางรถไฟสายสำคัญที่ช่วยขนส่งท่อนไม้ ของป่า และสินค้าอื่น ๆ รวมถึงช่วยให้การเดินทางติดต่อของผู้คนจากเมืองสวรรคโลกและเมืองต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงไปยังกรุงเทพฯ มีความสะดวกสบายมากขึ้น ทั้งยังเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงความสำคัญของเมืองสวรรคโลกซึ่งสอดคล้องกับการประกาศยกฐานะเมืองสวรรคโลกเป็นจังหวัดสวรรคโลกในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ด้วยทุกวันนี้ เส้นทางรถไฟสายสวรรคโลกยังคงเปิดให้บริการมาโดยตลอด กระทั่งช่วงสองปีมานี้ที่มีการปิดให้บริการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จึงอาจเรียกได้ว่าทางรถไฟสายนี้เป็นมรดกความทรงจำสำคัญของผู้คนในท้องถิ่นที่ยังรอคอยที่จะทำหน้าที่ของตนเองต่อไปที่มาภาพ : https://mapio.net/pic/p-42150518/เอกสารอ้างอิง- หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ กต.๕.๒/๗๙ เรื่อง พระราชดำรัสในการเปิดรถไฟสายเหนือ.- การรถไฟไทย. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๔.-ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕. เข้าถึงได้จาก https://www.railway.co.th/
วันเสาร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๕.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการศิลปะเกาหลีในโลกเสมือนจริง A New Encounter : Immersive Gallery of Korean Art โดยมี นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต้อนรับ และกล่าวถึงความร่วมมือทางวิชาการและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมร่วมกัน ระหว่างกรมศิลปากรและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเกาหลี ซึ่งมีนายยูน ซัง ยอง ผู้อำนวยการใหญ่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเกาหลี แถลงถึงโครงการจัดแสดง และนายโจ แจอิล ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี จากนั้นเยี่ยมชมนิทรรศการศิลปะเกาหลีในโลกเสหมือนจริง A New Encounter : Immersive Gallery of Korean Art ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท ห้อง ๔๐๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 53/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 20 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๐๓ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๑ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด พระสนมโท ประสูติเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๐๓ มีพระเชษฐภคินีร่วมเจ้าจอมมารดา ๑ พระองค์ ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑานพรัตน์
ในรัชกาลที่ ๕ พุทธศักราช ๒๔๒๓ ทรงรับราชการเป็นผู้ช่วยแผนกต่างประเทศ กรมราชเลขานุการ ต่อมาทรงเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการ อธิบดีกรมพยาบาล ทรงเป็นกรรมการศาลรับสั่งพิเศษ กองที่ ๑ กระทรวงยุติธรรม ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๓๙
ถึงรัชกาลที่ ๖ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๖ ทรงดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม ทรงเป็นผู้แปลประมวลกฎหมายกระทรวงยุติธรรม กำหมายต่างประเทศ และเป็นกรรมการตรวจกฎหมายภาษาไทย จนถึงพุทธศักราช ๒๔๖๘
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๗๕ พระชันษา ๗๒ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๗๕ เป็นต้นราชสกุล จันทรทัต
ภาพ : มหาอำมาตย์โท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา พระรูปขณะทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 36/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ประติมากรรมดินเผารูปเด็กออกจากหอยสังข์ (พระสังข์ทอง)
ศิลปะอยุธยา
นายพิชัย วงษ์สุวรรณ มอบให้เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๙
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
_____________________________________
ประติมากรรมรูปเด็กออกมาจากหอยสังข์ ศีรษะด้านบนไว้ผมจุก ใบหน้ากลม ลำตัวตั้งตรง ส่วนขาขวาอยู่ภายในเปลือกหอยสังข์ ประวัติจากผู้มอบระบุว่าพบบริเวณคลองเมือง (แม่น้ำลพบุรี) ใกล้เมืองเก่าพระนครศรีอยุธยา
.
ประติมากรรมชิ้นนี้สันนิษฐานว่าทำขึ้นตามนิทานเรื่อง “สังข์ทอง” ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีเค้าโครงมาจากเรื่อง “สุวรรณสังขชาดก”* นิทานเรื่องนี้มีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และใช้ในการแสดงละคร ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
.
สุวรรณสังขชาดก พระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง และนิทานเรื่องสังข์ทอง มีตัวเอกในเรื่องคือ “พระสังข์” ทั้งสามเรื่องมีเค้าโครงเนื้อเรื่องที่ใกล้เคียงกัน แต่การลำดับเรื่องและรายละเอียดบางตอนอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น การเสด็จเลียบพระนครและท้าวยศวิมลบวงสรวงขอพระราชโอรสนั้น ไม่ปรากฏในสุวรรณสังขชาดก และนิทานสังข์ทอง เป็นต้น รวมทั้งชื่อตัวละครและชื่อสถานที่ในสุวรรณสังขชาดก กับพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง** ก็แตกต่างด้วยเช่นกัน
.
เรื่องย่อวรรณคดีเรื่องสังข์ทอง ตอนกำเนิดพระสังข์ ทั้งบทพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๒ และนิทานสังข์ทอง มีเนื้อเรื่องว่า ท้าวยศวิมลกับพระมเหสีนางจันท์เทวี ไม่มีพระราชโอรส จึงทำการบวงสรวง กระทั่งนางจันท์เทวีทรงพระครรภ์และให้กำเนิดออกมาเป็นพระสังข์ นางจันทาสนมเอกได้ติดสินบนโหรหลวงทำนายให้ร้ายแก่นางจันท์เทวีว่า การให้กำเนิดออกมาเป็นหอยสังข์นั้นเป็นอัปมงคลต่อบ้านเมือง ท้าวยศวิมลหลงเชื่อจึงขับไล่นางจันท์เทวีออกจากเมือง นางจันท์เทวีได้ไปอยู่กับสองตายาย ทำงานบ้านและเก็บฟืนเลี้ยงชีพ วันหนึ่งพระสังข์เกิดสงสารมารดา จึงแอบออกมาจากหอยสังข์ช่วยทำงานบ้านขณะที่พระนางจันท์เทวีออกไปหาฟืน และกลับเข้าไปในหอยสังข์อีกครั้งเมื่อนางกลับมาถึงบ้าน ฝ่ายพระนางจันท์เทวีเมื่อรู้ว่าบุตรซ่อนอยู่ในหอยสังข์จึงทุบหอยสังข์แตกแล้วจึงชุบเลี้ยงพระสังข์จนเติบโต
.
เรื่องสังข์ทองแพร่หลายไปท้องที่ต่าง ๆ บางแห่งปรากฏเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเช่นที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานความเห็นเกี่ยวกับการแพร่กระจายเรื่องสังข์ทองไว้ว่า
.
“...นิทานเรื่องสังข์ทองนี้มีในคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรียกว่าสุวัณณสังขชาดก ถึงเชื่อถือกันว่าเป็นเรื่องจริง พวกชาวเมืองเหนืออ้างว่าเมืองทุ่งยั้ง***เป็นเมืองท้าวสามนต์ ยังมีลานศิลาแลงแห่ง ๑ ว่าเป็นสนามคลีของพระสังข์ อยู่ไม่ห่างวัดพระมหาธาตุนัก ที่ในวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ ฝาผนังก็เขียนเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่างครั้งกรุงเก่ายังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตกก็อ้างว่า เมืองตะกั่วป่า****เป็นเมืองท้าวสามนต์อีกแห่ง ๑ เรียกภูเขาลูก ๑ ว่าเขาขมังม้า อธิบายว่าเมืองพระสังข์ตีคลีชนะ ได้ขี่ม้าเหาะข้ามภูเขานั้นไปดังนี้…”
.
.
.
#วันเด็ก2566
.
.
.
*หนึ่งในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่แพร่หลายในพื้นที่ล้านนา-อยุธยา กล่าวถึงการเสวยชาติของพระโพธิ์สัตว์
**ทั้งนี้ชื่อตัวละครและสถานที่ในพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง กับนิทานสังข์ทอง นั้นมีความเหมือนกัน ยิ่งไปกว่านั้นพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทองยังมีรายละเอียดชื่อและสถานที่ มากกว่านิทานพระสังข์ทอง เช่น ชื่อเมืองสามล (เมืองของนางรจนา พระมเหสีของพระสังข์ทอง) กลับไม่ปรากฏในนิทานสังข์ทอง
***ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
****ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
อ้างอิง
ปัญญาสชาดกเล่ม ๑-๒. กรุงเทพฯ: มูลนิธิออมสินเพื่อสังคม, ๒๕๕๔.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครนอก สังข์ทอง. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๐.
ศุภธัช คุ้มครอง และสุปาณี พัดทอง. “สังข์ทองตอนกำเนิดพระสังข์ : กรณีศึกษาสุวรรณสังชาดก สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ และนิทานเรื่องสังข์ทอง.” วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๑, ๑ (มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๔): ๑๘๙-๒๑๓.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 131/6เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 167/5เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เมล็ดพันธุ์เพื่อเกษตรกร -- ปลายปี ๒๕๓๖ เกษตรจังหวัดพะเยาแจ้งว่า กรมส่งเสริมการเกษตรอนุมัติ ๒ โครงการเพื่อเกษตรกร จึงเรียนเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล โดย ๒ โครงการนั้น ได้แก่ โครงการพัฒนาการผลิตและการตลาดถั่วเหลือง (ฤดูแล้ง) ปี ๒๕๓๗ และโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดในเขตส่งออกและเขตทั่วไป กิจกรรมแลกเปลี่ยนพันธุ์ปี ๒๕๓๗ สาเหตุที่ต้องให้ผู้ว่าราชการมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล เพราะกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งเมล็ดพันธุ์พืชสำหรับโครงการมาจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาย่อมเยาด้วย ดังปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุคำสั่งจังหวัดพะเยา ที่ ๒๖๒๑/๒๕๓๖ ว่า " ๑. เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง อัตรา ๑๕ กิโลกรัม/ไร่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ๒.๐๐ บาท พร้อมเชื้อไรโซเบี้ยมฟรี เกษตรกรรายละไม่เกิน ๒๐ ไร่ ๓๐๐ กิโลกรัม ๒. เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเดี่ยว อัตรา ๒ กิโลกรัม/ไร่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ๘.๐๐ บาท เกษตรกรรายละไม่เกิน ๒๐ ไร่ ๔๐ กิโลกรัม ๓. เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมสามทาง อัตรา ๓ กิโลกรัม/ไร่ จำหน่ายราคากิโลกรัมละ ๕.๐๐ บาท เกษตรกรรายละไม่เกิน ๒๐ ไร่ ๖๐ กิโลกรัม " ความน่าสนใจของหลักฐานนี้คือ แสดงให้ทราบว่า พืชไร่ถั่วเหลืองกับข้าวโพด ๒ สายพันธุ์เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เกษตรกรจังหวัดพะเยานิยมปลูก เพราะถึงกับต้องกำหนดราคาจำหน่ายเป็นต้นทุนไว้ ถัดมายังสะท้อนให้เห็นว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเดี่ยวน่าจะมีราคาสูงในตลาด เมื่อมาจำหน่ายให้เกษตรกรในราคาย่อมเยาแล้ว ราคาก็ยังแพงกว่าเมล็ดพันธุ์พืชอื่น ประการสุดท้าย น่าสังเกตว่า กรมส่งเสริมการเกษตรอนุมัติ ๒ โครงการข้างต้นให้กับจังหวัดอื่นในภูมิภาคที่มีสภาพดิน ฟ้า อากาศเหมือนกันด้วยรึไม่ ? หรือเป็นโครงการเฉพาะของจังหวัดพะเยาที่สำนักงานเกษตรจังหวัดจัดทำขึ้น เพราะเอกสารจดหมายเหตุไม่ปรากฏรายละเอียดเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี โครงการทั้งสองเป็นหนึ่งในหลายๆ ภารกิจที่ภาครัฐเอาใจใส่เกษตรกร ผู้ได้รับสมญาว่า " กระดูกสันหลังของชาติ " การนี้หาไม่แล้ว เมล็ดพันธุ์กับอุปกรณ์การเกษตรที่เกี่ยวข้องคงเกินกว่าต้นทุนที่มี ทำให้เพาะปลูกได้ยาก สุดท้ายผลผลิตขาดตลาดกระทบต่อผู้บริโภคจำนวนมาก และที่สำคัญกิจกรรมช่วยเหลือข้างต้นต้องการสื่อนัยว่า เพื่อ " ปิดช่องทางพ่อค้าคนกลาง " ให้จงได้ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/36 เรื่อง คำสั่งจังหวัดพะเยา เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ การติดตามนิเทศงาน และการนำส่งเงินรายได้แผ่นดินค่าจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชปี 2537 [ 26 พ.ย. - 3 ธ.ค. 2536 ] #จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 20/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา