ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อเรื่อง : คำฉันท์ ดุษดีสังเวย กล่อม แลกาพย์ขับไม้บำเรอพระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2470 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย จำนวนหน้า : 155 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ ใช้สวดกล่อมในงานพิธีสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลกฯ ช้างพระที่นั่งประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื้อเรื่องประกอบด้วย 1. ลาขอพร เป็นการขอพรเทพเทวามารับขวัญและปกปักรักษาช้างคู่พระบารมี 2. ลาไพร กล่าวถึงที่อยู่เดิมของช้าง 3. ลาชมเมือง กล่าวชมว่าบ้านเมืองที่อยู่ปัจจุบันน่าอยู่กว่าป่าไพร 4. ลาสอนช้าง เป็นการสอนอย่างปลอบประโลมว่าอย่าดุร้าย จงเชื่อและรักหมอครวญ


๑. กลุ่มเตาเมืองศรีสัชนาลัย เป็นแหล่งผลิตสังคโลกที่มีพัฒนาการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา กลุ่มเตานี้ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยห่างออกไปทางทิศเหนือ มีแหล่งเตาผลิตสังคโลกตั้งเรียงรายไปตามริมฝั่งแม่น้ำยมด้านตะวันตกตั้งแต่บริเวณบ้านป่ายาง บ้านเกาะน้อย บ้านหนองอ้อไปจนถึงวัดดอนลาน สามารถจำแนกเตาได้เป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ - กลุ่มเตาบ้านเกาะน้อย ตั้งอยู่ห่างจากกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยไปทางทิศเหนือประมาณ ๕ กิโลเมตร จากการสำรวจและขุดค้นพบจำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เตา ในระยะแรกเป็นเตาชนิดอุโมงค์หรือเตาขุด ต่อมาพัฒนาเป็นเตาก่อด้วยดินดิบผนังยาดินเหนียวและพัฒนาการขั้นสุดท้ายเป็นเตาอิฐขนาดใหญ่อยู่บนเนินดินสูงในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๒ ภายในเตาเผาพบภาชนะประเภทไม่เคลือบ ภาชนะประเภทเขียนลายสีดำใต้เคลือบ ภาชนะประเภทเคลือบสีเขียว เป็นต้น - กลุ่มเตาบ้านป่ายาง อยู่ห่างจากเมืองศรีสัชนาลัยไปทางทิศเหนือราว ๕๐๐ เมตร จากการสำรวจพบเตาประมาณ ๒๕ เตา ส่วนใหญ่เป็นเตาก่อด้วยอิฐอยู่บนเนินดินสูง สันนิษฐานว่ากลุ่มเตาบ้านป่ายางเริ่มผลิตสังคโลกในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ โดยผลิตภาชนะประเภทเขียนลายสีดำหรือน้ำตาลใต้เคลือบ ภาชนะประเภทเคลือบน้ำตาลเข้ม นอกจากนี้ยังผลิตตุ๊กตาและเครื่องประดับสถาปัตยกรรมอีกด้วย รูปภาพ : (ซ้าย) จานเคลือบสีเขียว ผลิตจากเตาบ้านเกาะน้อย เมืองศรีสัชนาลัย ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก (ขวา) ยักษ์ (ทวารบาล) ผลิตจากเตาบ้านป่ายาง เมืองศรีสัชนาลัย ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก     ๒. กลุ่มเตาเมืองสุโขทัย เป็นแหล่งผลิตสังคโลกที่เกิดขึ้นเพื่อเสริมกำลังการผลิตของเตาเมืองศรีสัชนาลัย ในช่วงที่สังคโลกเป็นสินค้าที่ต้องการของตลาดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา กลุ่มเตานี้ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยบริเวณด้านทิศเหนือของวัดพระพายหลวง และเรียงรายไปตามริมน้ำแม่โจน จากการสำรวจทางโบราณคดีพบเตาประมาณ ๔๗ เตา มีลักษณะเป็นเตาก่ออิฐสร้างบนเนินดินถมสูง บางแห่งมีร่องรอยการสร้างเตาเผาซ้อนทับกันหลายครั้ง นิยมผลิตภาชนะประเภทเขียนลายสีดำหรือสีน้ำตาลใต้เคลือบ ผลิตภัณฑ์ที่พบมักใช้น้ำดินสีขาวทาลงบนเนื้อดินเพื่อเป็นการรองพื้นก่อนเขียนลวดลาย รูปภาพ : จานเขียนลายสีดำใต้เคลือบ ผลิตจากเตาเมืองสุโขทัย ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก




ชื่อเรื่อง                       พงศาวดารจีน ไซ่ฮั่นผู้แต่ง                         -ผู้แต่งเพิ่ม                    กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย        หนังสือหายากหมวดหมู่                    วรรณกรรมเลขหมู่                       895.13 ซ981พอสถานที่พิมพ์                พระนคร    สำนักพิมพ์                  โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ปีที่พิมพ์                     2508ลักษณะวัสดุ                608 หน้า หัวเรื่อง                      ซิดก๊กไซ่ฮั่น                            ภาษา                        ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   หนังสือเรื่องซิดก๊กไซ่ฮั่น เป็นพงศาวดารจีนสมัยก่อนถึงสมัยสามก๊ก พระบาทสมเด็จ-พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯ ให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปล เมื่อก่อน พ.ศ.2349 คู่กับหนังสือสามก๊ก ซึ่งโปรดฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน บุญหลง) อำนวยการแปล เมื่อก่อน พ.ศ.2348 เป็นหนังสือ 37 เล่มสมุดไทย  


หลังจากหลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์เรียบร้อยแล้ว จะมีการตั้งเปรตซึ่งแต่เดิมจะกระทำโดยการนำเอาอาหารส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในวัด ตรงริมทางเดินบ้าง บริเวณประตูวัดหรือกำแพงวัดบ้าง หรือตามโคนต้นไม้บ้าง ภายหลังได้มีการสร้างร้านขึ้นมาสูงพอสมควรใช้สำหรับให้พุทธศาสนิกชนนำอาหารที่จะตั้งเปรตไว้รวมกัน เรียกว่า “หลาเปรต หรือร้านเปรต” ปัจจุบันบางวัดทำเป็นศาลาถาวรก็มี บนหลาเปรตจะโยงสายสิญจน์โดยรอบและโยงไปถึงพระภิกษุสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ โดยสวดบังสุกุลอัฐิหรือกระดาษเขียนชื่อผู้ล่วงลับซึ่งนำมารวมกันในพิธีต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ จากนั้นพุทธศาสนิกชนจะกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญแก่ตายายผู้ล่วงลับ เมื่อเสร็จพิธีแล้วพุทธศาสนิกชนส่วนหนึ่งที่มาร่วมทำบุญ โดยมากมักจะเป็นเด็ก ๆ จะเข้าไปรุมแย่งขนมและสิ่งของที่ตั้งเป็นหลาเปรตอย่างสนุกสนาน ด้วยมีความเชื่อว่าการแย่งขนมเปรตบนหลาเปรตนี้จะได้กุศลแรงเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าถ้านำขนมเหล่านี้ไปหว่านในเรือกสวนไร่นาจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์ บางพื้นที่ยังมีการทำหลาเปรตอีกลักษณะหนึ่งโดยใช้ลำต้นหมาก ไม้ไผ่ หรือไม้เหลาชะโอน ยาวประมาณ ๓ เมตร เอาเปลือกหยาบภายนอกออก หรือถ้าเป็นไม้ไผ่จะขัดเกลาเอาข้อออกแล้วใช้น้ำมันมะพร้าวชโลมจนทั่วเพื่อให้มีความลื่น เอาโคนเสาฝังดิน ปลายเสามีแผงไม้ติดไว้พร้อมผูกเชือกห้อยขนมเดือนสิบต่าง ๆ จากนั้นให้พุทธศาสนิกชนผู้ชายแข่งกันปีกเสาเหล่านั้นทีละคน ใครปีกได้สูงก็จะได้รางวัลมาก ปีนได้น้อยก็ได้รางวัลน้อยลงตามสัดส่วน เป็นที่สนุกสนาน ซึ่งการชิงเปรตในลักษณะนี้จะกระทำภายหลังการชิงเปรตร่วมกันที่หลาเปรตแล้ว จากนั้นบางพื้นที่ก็จะมาการโปรยทานด้วยเงินเหรียญ หรือเรียกว่า “กำพริก” แก่ผู้มาร่วมทำบุญอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ในบางพื้นที่ยังมีความเชื่อเพิ่มเติมอีกว่า มีเปรตพวกหนึ่งซึ่งมีบาปหนาไม่กล้าเข้าไปรับอาหารที่ตั้งบนร้านเปรตภายในวัด พุทธศาสนิกชนจึงต้องนำเอาอาหารไปตั้งเปรตกันนอกเขตวัดโดยวางบนพื้นดิน พื้นหญ้า หรือตามต้นไม้ เมื่อเปรตรับเอาส่วนบุญที่พุทธศาสนิกชนอุทิศให้และชิงให้แล้ว ก็จะกลับสู่ภพภูมิของตน คอยโอกาสที่จะกลับมาอีกในปีถัดไป ปัจจุบันการทำบุญในประเพณีสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราชยังคงถือปฏิบัติกันอย่างเหนียวแน่น ถือเป็นงานประเพณีที่สำคัญที่สุดในรอบปี มีวัตถุประสงค์และแนวทางที่ถือปฏิบัติตามประเพณีที่เคยถือปฏิบัติกันมา จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเพียงข้อปลีกย่อยเท่านั้น และยังมีการจัดงานรื่นเริงประจำปีอย่างยิ่งใหญ่ เรียกว่า “งานเดือนสิบ” เป็นประจำทุกปีบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๘๔ (ทุ่งท่าลาด) และที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งนับเป็นเทศกาลประจำปีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดงานหนึ่งของภาคใต้ โดยเริ่มจัดงานมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นต้นมา ระยะแรกใช้สนามหน้าเมืองเป็นสถานที่จัดงาน ภายหลังจึงได้ย้ายมายังทุ่งท่าลาดตามความเหมาะสมของสถานที่ นอกจากนี้ยังมีการจัดงานวันสารทเดือนสิบขึ้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อเป็นที่รวมตัวพบปะสังสรรค์ และร่วมทำบุญสืบสานประเพณีดังกล่าวของพุทธศาสนิกชนในภาคใต้ที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง โดยมีการจัดงานขึ้นหลายแห่ง เช่น วัดพิชยญาติการาม วัดเทวราชกุญชร สมาคมชาวปักษ์ใต้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นต้น นายภูวนารถ สังข์เงิน นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ค้นคว้าเรียบเรียง




เลขทะเบียน : นพ.บ.112/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 5.4 x 55.3 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 63 (192-196) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : 8 หมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.143/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 86 (346-361) ผูก 11 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺปฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.96/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า ; 5.3 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 57 (140-153) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : อภิธมฺตฺถสงฺคห (พระอภิธธธัมมัตถสังคหะ)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          เมื่อมีการแบ่งปัตตานีออกเป็น ๗ เมืองคือ ปัตตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก รามันห์ ระแงะ ยะลา ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๒ แล้ว ได้มีการแต่งตั้ง “พระยาเมือง” สำหรับปกครองเมืองต่างๆ ในครั้งนั้นนิดะห์หรือนิอาดัส ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสายบุรี ตั้งวังอยู่ที่บือแนกาเต็ง ตำบลบ้านยือรีงา(ยี่งอ)ริมแดนต่อพรมแดนเมืองระแงะ ซึ่งในปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณตลาดยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส วังแห่งนี้ใช้เป็นที่ว่าราชการเมืองต่อมาทั้งในสมัยพระยาสายบุรี(นิละไบ หรือนิรามาย หรือตนกู ยาลารุดดิน) เจ้าเมืองสายบุรีคนที่ ๒ และพระยาสายบุรี (นิกัลซิห์ หรือตนกูอับดุลกอเดร์) เจ้าเมืองสายบุรีคนที่ ๓           ครั้นถึงราว พ.ศ.๒๔๑๔ พระยาสุริยสุนทรบวรภักดีศรีมหารายาปัตตมอับดุลวิบูลย์ขอบเขตรประเทศมลายูวิเศษวังษา(นิแปะหรือตนกูอับดุลมูตอลิบ) เจ้าเมืองสายบุรีคนสุดท้าย ได้ย้ายที่ว่าราชการเมืองมายังเชิงเขาสลินดงบายู ในเขตตำบลตะลุบัน และได้สร้างวังเจ้าเมืองสายบุรีขึ้นใหม่ในพ.ศ.๒๔๒๘ โดยใช้สถาปนิกชาวชวาและช่างท้องถิ่นใช้เวลาก่อสร้าง ๑ ปี           กล่าวกันว่าลักษณะของวังแห่งนี้เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงลีมะห์(ปั้นหยา)มุงด้วยกระเบื้องดินเผา และมีการสร้างกำแพงด้วยหินล้อมรอบเขตวังเอาไว้ ปัจจุบันตัวอาคารภายในวังพระยาสายบุรีที่ยี่งอได้พังทลายลงจนหมดแล้ว และคงเหลือเพียงร่องรอยกำแพงวังที่ก่อด้วยหิน แต่ยังมีชิ้นส่วนของบานประตู ไม้ฝา และแผ่นหินขั้นบันได จัดแสดงให้ชมได้ที่ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ ในบริเวณใกล้ที่ทำการเทศบาลตำบลยี่งอ -------------------------------------------------------ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองยี่งอ-------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ  กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา-------------------------------------------------------


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.13/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



ถ้ำครก -  ศิลปกรรมพุทธศาสนาสมัยอยุธยา - รัตนโกสินทร์ในอำเภอสะบ้าย้อย    ถ้ำครกอยู่ ที่หมู่ที่ ๒ บ้านถ้ำครก ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ตำนานถ้ำครก กล่าวกันว่าในอดีตชาวบ้านได้อาศัยหลุมบนพื้นถ้ำแห่งนี้ ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำตามธรรมชาติ ใช้เป็นครกตำยาเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ จึงเรียกถ้ำแห่งนี้ว่าถ้ำครก  ลักษณะของถ้ำครก ถ้ำครกมีลักษณะเป็นถ้ำของภูเขาหินปูนขนาดเล็ก โดยตัวถ้ำทะลุจากภูเขาฝั่งหนึ่งไปยังภูเขาอีกด้านหนึ่ง โดยมีความยาวของถ้ำ ๕๒.๖๐ เมตร ปากถ้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือกว้าง ๑๑ เมตร ส่วนปากถ้ำด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือกว้าง ๘ เมตร เจดีย์ปูนปั้น ประดิษฐานในบริเวณข้างพระพุทธรูป ชะง่อนหิน และโพรงถ้ำ เจดีย์เหล่านี้และมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีองค์ระฆังเพรียวชะลูดดังที่นิยมกันในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระซึ่งอาจพัฒนามาจากรูปทรงขององค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช มาตั้งแต่สมัยอยุธยา พระพุทธรูปภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่น้อยหลายองค์ บางองค์มีร่องรอยการลงรักปิดทอง ในขณะที่บางองค์มีร่องรอยการตกแต่งด้วยการทาสีแดงชาด นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท รวมถึงยังพบพระสาวกปูนปั้นปรากฏอยู่ด้วย พระพุทธรูปเหล่านี้แสดงอิทธิพลของศิลปกรรมแบบอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ผสมผสานกับศิลปะในท้องถิ่น ปูนปั้น : พุทธประวัติ เรื่องเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์(ออกบวช) พบบริเวณฐานชุกชีของพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ผนังถ้ำ โดยภาพแบ่งออกเป็นสองตอนคือ ตอนเจ้าชายสิทธัตถะประทับยืนทอดพระเนตรพระนางพิมพาและเจ้าชายราหุล และตอนเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะมีท้างจตุโลกบาลทั้งสี่ประคองเท้าม้าองค์ละหนึ่งขาเพื่อออกผนวช ส่วนภาพพระอินทร์ที่ประคองปากม้านั้นแตกหักไปเหลือเพียงส่วนปลายของมงกุฏ ปูนปั้น : พุทธประวัติ ตอนมารวิชัย(ผจญมาร) พบบริเวณฐานชุกชีใหญ่ของพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ภายในถ้ำ ปรากฏภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผม จนน้ำในมวยผมพระแม่ธรณีหลั่งไหลออกมาท่วมกองทัพมารจนพ่ายแพ้ไป ทั้งนี้น้ำที่ไหลออกมาจากมวยผมพระแม่ธรณีนั้นก็คือน้ำซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้กรวดน้ำลงบนพื้นดินอุทิศส่วนกุศลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายเมื่อได้กระทำบุญกุศลในอดีตชาตินั่นเอง ปูนปั้น : นรกภูมิ พบบริเวณผนังถ้ำใกล้ปากถ้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเรื่องราวการลงโทษผู้กระทำผิดในนรกเช่นการปีนต้นงิ้ว การตกกระทะทองแดง เปรตชนิดต่างๆเช่นเปรตผู้มีจักรบนหัว ภาพจิตรกรรม พบบริเวณผนังถ้ำใกล้ปากถ้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถัดจากภาพนูนต่ำรูปนรกภูมิ โดยปรากฏภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีขาวและแดง เป็นภาพบุคคลจำนวน ๔ คนนั่งอยู่บนหลังช้าง ใกล้กับต้นไม้ และมีภาพบุคคลกำลังเดินอยู่ ๒ คน ในทิศทางตรงกันข้ามกับการก้าวเดินของช้าง



Messenger