ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

         รวงข้าว 9 รวง          ลักษณะ : เป็นรวงข้าว 9 รวงแรกที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเกี่ยวข้าวเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินทรงเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เอง ณ บึงไผ่แขก อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2529   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/thaifarmersnational/360/model/07/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/thaifarmersnational


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญเที่ยวชมตลาดอาร์ตทอยในสวน Art Toys in the Garden วันศุกร์ - อาทิตย์ที่ ๑๕ - ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๖เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๒๐.๐๐ น. ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เดือนนี้กิจกรรมมาเร็วกว่าปกติ เนื่องจากรวมอยู่ในกิจกรรมยลวังหน้ายามค่ำ Night at the Museum และร่วมกับกิจกรรม Night at the Museum Festival 2023 กับพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย พบกับกาชาปองชุดพิเศษต้อนรับปีมะโรง “มังกรทอง” ชุดที่ ๑ จากสตูดิโอต่าง ๆ  ในกลุ่มศิลปินศาลาอันเต (Sala Arte) และสินค้าอาร์ตทอยอีกมากมายอย่าลืมมาเลือกสรรเป็นของขวัญ ของฝากในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่กันนะคะ --------------------------------------- หมายเหตุ : - ท่านที่ได้รับของที่ระลึกจากเดือนที่ผ่านมา อย่าลืมมารับนะ - ขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี กรมศิลปากร และ มูลนิธิสกุลสิงหเสนี


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    54 หน้า : กว้าง 5.3 ซม. ยาว 56.2 ซม.อักษร                            ขอมฉบับ                              ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : จาก”เมืองพิไชย” สู่ “เมืองอุตรดิฐ” -- หากใครได้ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุตรดิตถ์นั้นจะพบว่า จังหวัดอุตรดิตถ์หรือเมืองอุตรดิตถ์นั้นเดิมมีชื่อว่า “เมืองพิชัย” หรือ “เมืองพิไชย” ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงชื่อในภายหลัง การเปลี่ยนนามเมืองนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ และมีที่มาที่ไปอย่างไร ข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุมีคำตอบ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ได้ปรากฏหนังสือฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2458 ลงนามโดยพระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยศิริ) ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น กราบทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขานุการในพระองค์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายร่างประกาศเปลี่ยนชื่อ “เมืองพิไชย” เป็น “เมืองอุตรดิฐ” (สะกดตามต้นฉบับ). เนื้อหาของร่างประกาศที่แนบมาพร้อมกับหนังสือฉบับนี้ เป็นการอธิบายถึงสาเหตุที่จำเป็นต้องเปลี่ยนนามเมือง โดยระบุว่า เดิมทีนั้นเมืองพิไชย (เทียบได้กับจังหวัดในปัจจุบัน) ตั้งศาลากลางเมืองอยู่เมืองพิไชยเก่า ต่อมาที่อำเภอเมืองอุตรดิฐมีความเจริญมากขึ้น เนื่องจากเป็นเมืองท่ารับส่งสินค้าจากมณฑลพายัพและหัวเมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ราษฎรจึงย้ายไปตั้งบ้านเรือนและทำการค้าขายที่อำเภอเมืองอุตรดิฐเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในปี พ.ศ. 2442 จึงย้ายศาลากลางเมืองพิไชยไปตั้งที่เมืองอุตรดิฐ โดยยังคงชื่อเมืองพิไชยอยู่ ส่วนที่เมืองพิไชยเก่านั้นกลายเป็น “อำเภอพิไชยเก่า” แต่ด้วยความที่คำว่า “พิไชย” นั้นเป็นทั้งชื่อเมืองและชื่ออำเภอ ย่อมอาจทำให้ราษฎรรวมถึงทางราชการเองเกิดความสับสนในการเรียกชื่อได้ ฉะนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเมืองพิไชย เรียกว่าเมืองอุตรดิฐ ส่วนอำเภอพิไชยเก่านั้น โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า “อำเภอเมืองพิไชย”. อนึ่ง ในร่างประกาศฉบับนี้ระบุว่าเดือนและปีที่ประกาศคือ เดือนสิงหาคม 2458 แต่มิได้ลงวันที่ประกาศ และลายมือชื่อผู้รั้งเสนาบดีไว้ ซึ่งจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของผู้เขียน พบว่าประกาศฉบับนี้ได้รับการตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 32 โดยระบุวันที่ประกาศคือ 16 สิงหาคม 2458 และลงนามโดยพระยามหาอำมาตยาธิบดี จึงถือได้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นของชื่อ “อุตรดิฐ” (อุตรดิตถ์) ในฐานะของเมืองหรือจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยมาจนถึงทุกวันนี้.ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: 1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ร.6 ม 3.2/28 เรื่อง เปลี่ยนนามเมืองพิชัย เป็นเมืองอุตรดิตถ์ [ 10 – 16 ส.ค. 2458 ].2. “ประกาศเปลี่ยนนามเมืองพิไชยเปนเมืองอุตรดิฐ.” (2458) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 32, ตอน ก (22 สิงหาคม): 178.#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


            สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ได้จัดทำบทความสรุปย่อประเด็นตอบข้อหารือของหน่วยงาน เพื่อเป็นเอกสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐  สามารถอ่านได้ตามลิ้งนี้ https://www.oic.go.th/web2017/bookshell_consultations.htm?title=%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1&cid=40




#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่เจดีย์วัดพระธาตุดอยกองมู ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอนวัดพระธาตุดอยกองมู เดิมมีชื่อเรียกว่า จองป๋ายหลอย หรือ วัดปลายดอย ตั้งอยู่บนยอด “ดอยกองมู” ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองแม่ฮ่องสอน กองมูเป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า พระเจดีย์ เพราะเชื่อกันว่าเขาลูกนี้มีลักษณะเหมือนเจดีย์ .ภายในวัดมีเจดีย์ที่สำคัญ 2 องค์ คือ เจดีย์องค์ใหญ่และเจดีย์องค์เล็ก ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 177 วันที่ 27 ตุลาคม 2524 หน้า 3690 รวมทั้งวิหารหลังคาทรงยวนที่อยู่ติดกันด้วย.เจดีย์องค์ใหญ่ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2403 (จุลศักราช 1222) โดยศรัทธาผู้สร้างคือ คหบดีชื่อ จองต่องสู่ และนางเหล็ก ผู้เป็นภรรยา ภายในบรรจุพระธาตุของพระโมคัลลานะ ที่อัญเชิญมาจากเมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า ซึ่งมอบให้พระอูปั่นเต๊กต๊ะ ช่วยจัดหาพระธาตุสำหรับบรรจุภายในเจดีย์ให้ เมื่อก่อสร้างเสร็จเต็มองค์แล้ว เจดีย์มีฐานกว้างด้านละ 20 เมตร สูง 33 เมตร ต่อมาจองต่องสู่ได้จ้างช่างที่เมืองมะละแหม่งให้ทำยอดฉัตรเจดีย์ให้ แต่ว่าได้ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะได้ทำพิธียกฉัตรและสมโภช หลังจากนั้นเจดีย์ได้พังลงเหลือเพียงส่วนฐานข้างล่างจากคอระฆังลงมา ปลายปีพุทธศักราช 2491 พระครูอนุสนธิศาสนากิจ เจ้าอาวาสวัดไม้ฮุง และคณะศรัทธา ได้ร่วมกันบูรณะใหม่ให้เต็มองค์และทำพิธียกฉัตรสมโภชเมื่อเดือนมีนาคม ปีพุทธศักราช 2493 ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช 2511 มีการบูรณะเจดีย์โดยพระครูอนุสารสาสนกรณ์ (ปานนุ วิสุทโธ) เจ้าอาวาส พร้อมคณะศรัทธา ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเจดีย์ตั้งอยู่บนฐาน 8 เหลี่ยมซ้อนกันและสร้างซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวันเกิด 8 องค์ และทำพิธียกฉัตรสมโภชเมื่อปีพุทธศักราช 2514.เจดีย์องค์เล็ก สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2417 (จุลศักราช 1236)  โดยศรัทธาผู้สร้างคือ พญาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองคนแรกของแม่ฮ่องสอน ภายในบรรจุพระธาตุของพระสารีบุตร ที่อัญเชิญมาจากเมืองมัณฑเลย์ ประเทศพม่า ซึ่งมอบให้พระอูเอ่งต๊ะก๊ะ ช่วยจัดหาพระธาตุบรรจุภายในเจดีย์ให้ และทำพิธียกฉัตรสมโภชเมื่อพุทธศักราช 2418 .แม้ว่าเจดีย์ทั้งสององค์จะสร้างไม่พร้อมกันและมีการบูรณะหลายครั้ง แต่รูปแบบปัจจุบันโดยรวมมีความคล้ายกัน คือ “เป็นเจดีย์แบบมอญ” สันนิษฐานว่าจำลองรูปแบบมาจากเจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า ซึ่งเป็นเจดีย์องค์สำคัญที่เชื่อว่าบรรจุพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าโดยเจดีย์แบบมอญมีรูปแบบ คือ มีฐานลาด ไม่มีบันไดหรือลานประทักษิณ มักมีเจดีย์ขนาดเล็กที่ฐานด้านล่าง มีปลียาว ซึ่งแตกต่างจากเจดีย์แบบพม่า แต่ส่วนองค์ระฆังมีรัดอกและบัวคอเสื้อ ไม่มีบัลลังก์ มีปัทมบาทระหว่างปล้องไฉนและกับปลี เหมือนกับเจดีย์แบบพม่าเจดีย์ทั้งสององค์มีองค์ประกอบหลักเป็นเจดีย์มอญ แต่มีความแตกต่างกันที่ เจดีย์องค์ใหญ่ได้มีการบูรณะปรับเปลี่ยนเป็นฐาน 8 เหลี่ยมซ้อนกันและบริเวณฐานด้านล่างประดับซุ้มพระพุทธรูปทั้ง 8 ทิศ ส่วนเจดีย์องค์เล็กเป็นฐาน 4 เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน บริเวณฐานด้านล่างประดับซุ้มพระพุทธรูปซึ่งมีหลังคาประดับเรือนยอดทรงปราสาท 3 ยอด และที่มุมทั้ง 4 มีประดับรูปปั้นสิงห์----------------------------------------------------อ้างอิง- พระครูอนุสารสาสนกรณ์. ประวัติวัดพระธาตุดอยกองมู และจังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ : นีลนาราการพิมพ์, 2528. หน้า 22-31.- สุรชัย จงจิตงาม. ล้านนา Art & Culture. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2555. หน้า 122-125.- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542. หน้า 94.- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน. ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่. เชียงใหม่  :  เจริญวัฒน์การพิมพ์, 2549. หน้า 377.- ป้ายประวัติวัดพระธาตุดอยกองมู ที่วัดพระธาตุดอยกองมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน- เอกสารประกอบการบรรยายวิชา survey of arts history in neighboring countries คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร


#ผางประทีป ทางล้านนามีความเชื่อในเรื่องของการถวายประทีปในวันเพ็ญเดือนยี่ หรือที่เรียกว่า การบูชาประทีป โดยใช้ผางประทีส หรือ ผางประทีป เป็นเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย เพื่อหวังอานิสงค์ของการถวายทานเพื่อความสุขในภพภูมิหน้าผาง หมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป ลักษณะคล้ายถ้วยหรืออ่างขนาดเล็ก ทำด้วยดินเผา ประทีป หมายถึง แสงไฟ รวมความผางประทีป คือ ถ้วยดินเผาสำหรับจุดตามไฟ เป็นพุทธบูชาหรือบูชาสืบชาตาอายุ หรืออีกนัยหนึ่ง คือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้จุดแทนเทียนในเวลากลางคืน ผางประทีปจะมีรูปลักษณะแตกต่างกันตามฝีมือช่างแต่ละยุคสมัย ผางประทีปแบบเก่าที่พบหลายแห่งมีขนาดใหญ่เท่าชามแกงขนาดย่อม ซึ่งผางประทีปที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ก็เพื่อบรรจุเชื้อเพลิงได้มากสำหรับให้แสงสว่างเป็นเวลานาน ส่วนผางประทีปที่ทำขายสำเร็จรูป มักมีขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร สูงประมาณ 3 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ คือ ประมาณ 10 เซนติเมตร สูงประมาณ 4 เซนติเมตร นอกจากถ้วยประทีปแล้ว สิ่งที่สำคัญคู่กันก็คือ น้ำมัน และตีนกาหรือสีสาย ปัจจุบันนิยมใช้ขี้ผึ้ง (พาราฟีน) แทนน้ำมัน ส่วน สีสาย ซึ่งอาจอ่านเป็น “สี้สาย” หรืออ่านเคลื่อนเป็น “ขี้สาย” นั้น ทำจากด้ายฟั่นให้เป็นเชือกสองเกลียวยาวประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วดึงแยกเกลียวทั้งสองออกจากกันโดยเว้นระยะจากปลายเชือกประมาณ 10 เซนติเมตร เมื่อปล่อยมือเชือกเกลียวแต่ละเกลียวก็จะพันกันกลับเป็นเชือกอีกทีหนึ่ง จัดแต่งเชือกทั้ง 4 ชายให้เข้ากัน โดยจัดสามชายแยกออกจากกันเป็นสามแฉก เหมือนตีนกา และอีกชายหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของทั้งสามชาย ก็จะได้ตีนกา หรือสีสายตามต้องการ ในล้านนา มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของตีนกาที่ใช้เป็นไส้จุดประทีปหรือดังปรากฏในคัมภีร์ชื่อ อานิสงส์ผางประทีป อันสืบเนื่องมาจากตำนานพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระศรีอริยะเมตไตร ที่พระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ได้ถือกำเนิดจากแม่กาเผือก ตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งดึกดำบรรพ์มีแม่กาเผือกกำลังกกไข่อยู่บนต้นไม้ใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง แต่แล้วเกิดมีลมพายุพัดรังกระจัดกระจาย ไข่ก็ตกลงไปในแม่น้ำแล้วไหลไป แม่กาก็พลัดไปอีกทางหนึ่ง พอลมสงบแม่กาหาไข่ไม่พบก็ร้องไห้จนขาดใจตาย แล้วไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ ส่วนไข่ 5 ฟองที่ถูกน้ำพัดไป ถูกเก็บได้โดยแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์ เอาไข่ไปฟักตัวละฟอง ต่อมาไข่ก็แตกออกมาเป็นคน พอโตขึ้นต่างก็ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่า วันหนึ่งฤาษีทั้ง 5 มาพบกัน ต่างก็ถามถึงความเป็นมาของกันและกัน แต่ก็ไม่มีใครรู้จักแม่ที่แท้จริงของตนเลย จึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ของตน ท้าวพกาพรหมจึงต้องลงมาพบเล่าเรื่องอดีตให้ฟังและบอกว่า ถ้าคิดถึงแม่ให้เอาด้ายดิบทำเป็นรูปตีนกาแล้วจุดไฟในประทีปในวันยี่เป็ง คือวันเพ็ญเดือน 12 จากเรื่องเล่าดังกล่าวจึงมีการบูชาประทีปในเทศกาลยี่เป็ง ชาวบ้านจะนำผางประทีปไปจุดตามวัดและฟังพระธรรมเทศนาอานิสงส์ และยังมีการตามประทีปและจุดบูชาตามรอบรั้วบ้าน หัวบันไดบ้าน บ่อน้ำ ครัวไฟ บันได เป็นต้น โดยการจุดผางประทีบเป็นการบูชาเพื่อตอบแทนผู้มีพระคุณ เพื่อสักการะต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์ และยังเป็นการบูชาแสงสว่างโดยเชื่อว่าจะทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และมีแสงสว่างนำทางชีวิตให้โชติช่วงชัชวาลอีกด้วยหลักพุทธธรรมในการถวายทานประทีป 1) หลักบูชา ซึ่งเป็นอามิสบูชา คือการถวายทานประทีปหรือแสงสว่างต่อปูชนียบุคคล คือการบูชาบุคคลที่ควรบูชา เช่น การบูชาคุณของพระพุทธเจ้า การบูชาคุณพระธรรม และยังบูชาต่อปูชนียวัตถุ ผ่านประเพณีที่มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา 2) หลักกตัญญูกตเวที มีความสอดคล้องและปรากฏหลักความกตัญญูตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อยู่สองประเภทด้วยกัน กล่าวคือ การกตัญญูต่อพระพุทธเจ้า และกตัญญูต่อบิดามารดา ผ่านกระบวนการบูชาผางประทีป ซึ่งมีหลักธรรมเรื่องความกตัญญูสอดแทรกอยู่ในเนื้อหาธรรม และถูกถ่ายทอดออกมารุ่นสู่รุ่น ด้วยกระบวนการทำให้ดู ปฏิบัติให้เห็น 3) หลักศรัทธา ซึ่งแฝงอยู่ในการถวายทานประทีป เป็นความศรัทธาในคัมภีร์ธัมม์ 3 เรื่อง คือ เวสสันดร ชาดก 13 กัณฑ์ ธัมม์แม่กาเผือก และธัมม์อานิสงค์ผางประทีป ซึ่งความเชื่อความศรัทธาที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องให้ เกิดการถวายทานประทีปของชาวล้านนา และมีการยึดถือ สืบทอด และอนุรักษ์ไว้ตราบจนปัจจุบันเรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่บรรณานุกรมเยาวนิจ ปั้นเทียน.  “ผางประทีส/ผางประทีป.”  สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ.  8 (2542): 4072-4075.พระณัฐกิจ ฐิตเมธี (อิมัง).  การศึกษาความเชื่อเรื่องการถวายประทีปของชาวพุทธในล้านนา = A Study on Lanna Buddhist Beliefs on Lantern Offering and Merit. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565, จาก: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/download/252544/171376/901395สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร#บรรณฯหามาฝากสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร



ชื่อเรื่อง :  สวนดอก ผู้แต่ง : คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ปีที่พิมพ์ : ๒๕๐๕สถานที่พิมพ์ :  พระนคร (กรุงเทพมหานคร)สำนักพิมพ์ :  โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์จำนวนหน้า : ๒๐ หน้าเนื้อหา : หนังสือ วัดสวนดอก เล่มนี้ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็นผู้จัดพิมพ์ เนื้อหาประกอบด้วยพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาล และอื่นๆ ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก / โครงการก่อสร้าง คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ และภาพประกอบ เป็นต้นเลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๑๐๕๖เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๐๖หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗



           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขอเชิญร่วมกิจกรรม Workshop การคัดลอกภาพ "แมวไทย" ที่ปรากฏในเอกสารโบราณ วิทยากรโดย นายจิรพันธ์ุ สัมภาวะผล ในวันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ อาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา         นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมการจัดแสดงโบราณวัตถุเกี่ยวกับ “วิฬาร์” ในประเทศไทย ตำราแมวโบราณวัตถุสะสม “วิฬาร์” จากพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น (เกริก ยุ้นพันธ์) การสาธิตการคัดลอกสมุดไทยโบราณเรื่องตำราดูลักษณะแมวของวัดอนงคาราม การเสวนาเรื่อง “แมวโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา” การแสดงนาฏศิลป์ชุด ฉุยฉายนางวิฬาร์ และร้านของที่ระลึกเกี่ยวกับ "วิฬาร์"            ติดตามข้อมูลกิจกรรมเพิ่มเติมได้ทางเฟซบุ๊ก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา  


กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์



Messenger