ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง หอศิลป: www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป หรือที่เรียกอีกชื่อว่า หอศิลปเจ้าฟ้า ตั้งอยู่บนถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร ในอดีตเป็นสถานที่ตั้งพระตำหนักของเจ้านายฝ่ายวังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) มาตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนเป็นที่มาของชื่อ “ถนนเจ้าฟ้า” ในปัจุบัน (ประทุม 2532 : 9)
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้สร้างโรงงานผลิตเงินเหรียญแห่งใหม่ที่มีความทันสมัยโดยเลือกพื้นที่บริเวณริมคลองคูเมืองเดิมใกล้วัดชนะสงคราม ดังนั้น จึงต้องรื้อถอนพระตำหนักของเจ้านายฝ่ายวงหน้าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ โดยพระราชทานเงินค่ารื้อถอนและสร้างวังใหม่ให้แก่เจ้านายทุกพระองค์เพื่อก่องสร้างโรงงานผลิตเหรียญดังกล่าว ซึ่งเมื่อสร้างแล้วเสร็จได้รับพระราชทานนามว่า “โรงกษาปณ์สิทธิการ” (ปทุม 2542 : 10)
โรงกษาปณ์สิทธิการ สร้างขึ้นตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมตะวันตกโดย นายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) สถาปนิกชาวอิตาเลียนประจำราชสำนักสยามเป็นผู้ออกแบบ (เพ็ญสุภา 2543 : 157) โดยได้แรงบันดาลใจจากโรงงานเครื่องจักรที่เมืองเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ (ประทุม 2542 : 10) มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมคือ อาคารหลักด้านหน้าเป็นทรงปั้นหยา สูงสองชั้น หลังคามุงกระเบื้องว่าว สองข้างอาคารหลักต่อเป็นปีกทอดยาว เป็นอาคารชั้นเดียวหักมุมฉากสี่ด้านบรรจบกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเชื่อมต่อกัน บริเวณสันหลังคา เชิงชายช่องบานประตู หน้าต่างประดับด้วยลวดลายฉลุไม้อย่างงดงม
การก่อสร้างโรงงานกษาปณ์สิทธิการเสร็จสมบูรณ์และเริ่มดำเนินการผลิตเหรียญครั้งแรกในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2445 ใช้งานเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2511 กรมธนารักษ์ได้ย้ายไปสร้างโรงงานใหม่ โรงงานกษาปณ์สิทธิการจึงร้างลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (ประทุม 2542 : 10-11)
ในวาระครบรอบ 100 ปี การพิพิธภัณฑ์ไทย (พ.ศ.2517) กรมศิลปากร ได้ริเริ่มโครงการจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานประเภทศิลปะสมัยใหม่ จึงได้เสนอขอใช้โรงกษาปณ์สิทธิการ เพื่อปรับปรุงให้เป็นหอศิลป ซึ่งกรมธนารักษ์ได้อนุมัติมอบหมายอาคารแห่งนี้ให้กรมศิลปากร เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2517 เพื่อจัดตั้งเป็น “หอศิลปแห่งชาติ” โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวมและจัดแสดงผลงานศิลปกรรมประเภททัศนศิลป์ของศิลปินผู้มีชื่อเสียงทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมทั้งแบบไทยประเพณีและร่วมสมัย (จิรา 2532 : 67-68)
พิพิธภัณฑ์ฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 จากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นองค์อุปถัมภกและทรงสนับสนุนส่งเสริมงานด้านศิลปกรรมไทยทุกแขนง กรมศิลปากรจึงถือโอกาสในปีอันเป็นมหามงคลครบรอบ 72 พรรษาของพระองค์และเป็นปีที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้ก่อตั้งมาครบรอบ 27 ปี ดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานศิลปกรรมประเภททัศนศิลป์ในประเทศไทย ให้แก่นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจต่อไป หลังจากนั้นไม่นานหอศิลปแห่งชาติได้ปิดปรับปรุงและเปลี่ยนชื่อได้ตรงตามพระราชบัญญัติโบราณสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป” และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (ประทุม 2542 : 13-14)
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2526 กรมธนารักษ์ได้มอบอาคารและที่ดินบางส่วนให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ทำให้มีพื้นที่เพิ่มมากขึ้นทั้งสามารถดำเนินการปรับปรุงขยายพื้นที่อาคารจัดแสดง เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการแก่ศิลปินตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้เข้าชมได้อย่างครบถ้วนตามหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ทางศิลปพระดับชาติดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (Guide to The National Gallery, Bangkok)
พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง เชียงใหม่: www.virtualmuseum.finearts.go.th/chiangmai
การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เริ่มขึ้นในปีพุทธศักราช 2512 มีการปรับปรุงพื้นที่ประมาณ 23 ไร่ มีการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถาน เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์สองชั้นโครงสร้างเหล็ก ก่ออิฐถือปูน ประดับยอดจั่วด้วยกาแลแบบศิลปะพื้นถิ่นภาคเหนือ รวมพื้นที่กว่า 1,200 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการถาวรกว่า 800 ตารางเมตร
วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้ คือ การตั้งแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่รวบรวมได้จากบริเวณภาคเหนือตอนบน อันประกอบด้วยพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา น่าน ลำพูน และลำปาง และสาเหตุที่พิจารณา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเนื่องจากมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย เคยเป็นที่ตั้งของราชธานีหรือเมืองหลวง ศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาหรือไทยฝ่ายเหนือมาก่อน อีกทั้งยังคงสถานะเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือสืบต่อมาจนทุกวันนี้
เมื่ออาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ แล้วเสร็จประมาณปีพุทธศักราช 2514 จึงดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคารจนสามารถเปิดให้สาธารณชนเข้าชมและใช้บริการต่าง ๆ ของพิพิธภัณฑสถานได้นับตั้งแต่พุทธศักราช 2516 เป็นต้นมา กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2516 เรื่อง กำหนดสถานที่เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยกำหนดให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในคราวเดียวกันกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 90 ตอนที่ 29 ลงวันที่ 27 มีนาคม พุทธศักราช 2516
ที่ตั้ง บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
อายุสมัย นักวิชาการได้สันนิษฐานอายุสมัยของโบราณสถานแห่งนี้ ๒ ประการ คือ
๑. พิจารณาจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์ปราสาทที่มีลักษณะผอมเรียวและจากประวัติศาสตร์เมืองทีเมื่อสมัยอยุธยาตอนปลาย ปราสาทเมืองทีน่าจะสร้างและต่อเติมจากกลุ่มขอมและกูยที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้เมื่อปลายสมัยอยุธยา และได้พยายามพลิกฟื้นความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรขอมในอดีต
๒. โบราณสถานแห่งนี้แต่เดิมเคยเป็นศาสนสถานของวัฒนธรรมขอมโบราณมาก่อน ต่อมาสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้ถูกต่อเติมโดยกลุ่มขอมและกูยที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน
รายละเอียด
ปราสาทเมืองทีตั้งอยู่ในบริเวณวัดจอมสุทธาวาส ประกอบด้วย ปรางค์ก่อด้วยอิฐฉาบปูนจำนวน ๕ องค์ บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันได้พังทลายเหลือเพียง ๓ องค์ ซึ่งลักษณะของปรางค์ประธานจะมีขนาดใหญ่ ผอมเรียว แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ที่ฐานทักษิณมีบันไดทางขึ้นทั้ง ๔ ด้าน ตัวเรือนธาตุทึบตันไม่มีประตู(แต่มีร่องรอยว่าเดิมเคยมีประตู) ส่วนบนมี ๓ ชั้น เลียนแบบตัวเรือนธาตุ ส่วนยอดหักหายไป ส่วนปรางค์บริวารทั้ง ๒ องค์ มีขนาดเท่ากันแต่เล็กกว่าปรางค์ประธาน มีลักษณะผอมเรียวแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ทรงสอบขึ้นมี ๓ ชั้น
ปัจจุบันปราสาทเมืองทียังไม่ได้รับการบูรณะ
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เก็บค่าเข้าชม
การเดินทาง จากจังหวัดสุรินทร์ ถนนสุรินทร์ – ศีขรภูมิ หมายเลขทางหลวง ๒๒๖ ถึงตำบลเมืองทีเลี้ยวซ้าย ระยะทาง ๑๘.๒ กิโลเมตร
ประกาศเรื่องการขออนุญาตใช้พื้นที่สนามหญ้าหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน จัดกิจกรรมต่างๆ ตามที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีการขออนุญาตใช้พื้นที่สนามหญ้าหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เรียนให้ทราบว่า ให้ปฏิบัติตามระเบียบกรมศิลปากรว่าด้วยการขออนุญาตใช้อาคารสถานที่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘ อย่างเคร่งครัด
วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 นางสาวระเบียบ หงส์พันธ์ หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ได้ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา 28 กรกฎาคม 2561 ณ บริเวณด้านหน้าศาลา 60 พรรษามหาราช จังหวัดกาญจนบุรี
๑. ชื่อโครงการ
การแสดงทางวัฒนธรรม ในโอกาสครบรอบ ๔๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
๒.วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ ๔๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
๒.๒ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานการทูตทางวัฒนธรรม เพื่อให้ประชาชน รัฐบาลและประชาคมนานาชาติรู้จัก และมีทัศนคติในทางบวกต่อประเทศไทยและประชาชนไทย ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานของภาคเศรษฐกิจ
๓. กำหนดเวลา
ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๔. สถานที่
กรุงเปียงยาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
๕. หน่วยงานผู้จัด
กระทรวงการต่างประเทศ
๖. หน่วยงานสนับสนุน
กระทรวงวัฒนธรรม
๗. กิจกรรม
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๘.๐๐ น.
๒๐.๓๐ น.
๒๓.๕๐ น.
- คณะนาฏศิลป์เดินทางออกจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
- เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย เคาน์เตอร์ B๑๗ เช็คอิน Group และผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง
- เดินทางออกจากประเทศไทย โดยสายการบินไทย TG ๖๗๔
วันจันทร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
(เวลาท้องถิ่น) ๐๕.๓๐ น.
๑๓.๔๕ น.
๑๖.๒๐ น.
๑๗.๐๐ น.
๑๙.๐๐ น.
๒๑.๐๐ น.
- คณะนาฏศิลป์เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และ คณะนาฏศิลป์เดินทางจากกรุงปักกิ่งโดย CA ๑๒๑
- เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติ Sunan กรุงเปียงยาง สาธารณรัฐประชาธิป ไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
โดยการต้อนรับจากรองอธิบดีกรมเอเชียและโอเชียเนีย กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ต้อนรับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และมีเจ้าหน้าที่กรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) อำนวยความสะดวกที่ท่าอากาศยาน
โดยกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) จัดยานพาหนะรถ VIP ให้แก่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย และคณะนาฏศิลป์ไทย
- คณะของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายสมเจตน์ ภู่นา (หัวหน้าคณะนาฏศิลป์) วางพวงมาลาไว้อาลัยอดีตผู้นำเกาหลีเหนือ (นายคิม อิล ซุง และนายคิม จอง อิล) ณ สถานที่ Mansudae Grand Monument
คณะนาฏศิลป์เดินทางเข้าที่พัก ณ บ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- รับประทานอาหารค่ำ ณ บ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- ซ้อมการแสดงย่อย ณ ห้องพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
วันอังคารที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๐๗.๐๐ น.
๐๘.๐๐ น.
๑๐.๒๐ น.
๑๒.๐๐ น.
๑๔.๐๐ น.
๑๔.๓๐ น.
๑๕.๓๐ น.
๑๙.๐๐ น.
๒๑.๐๐ น.
- รับประทานอาหารเช้า ณ บ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- ออกจากบ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) เพื่อไปทัศนศึกษาเยี่ยมชมสถานที่สำคัญในกรุงเปียงยาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- ทัศนศึกษา ณ บ้านเกิดท่านผู้นำในอดีตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) (นายคิม อิล ซุง และนายคิม จอง อิล) ณ สถานที่ Mansudae
- ทัศนศึกษาโรงพยาบาล ณ สถานที่ Pyongyang Maternity Hospital
และพิพิธภัณฑ์ศิลปะ Mammary Cancer Research Centre, Mangyongdae Native Place, Mansudae Art Studio, Acrobatics
- รับประทานอาหารกลางวัน ณ บ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- เดินทางออกจากบ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- นายสมเจตน์ ภู่นา (หัวหน้าคณะนาฏศิลป์) นำคณะนาฏศิลป์ วางพวงมาลาไว้อาลัยอดีตผู้นำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) (นายคิม อิล ซุง และนายคิม จอง อิล) ณ สถานที่ Mansudae Grand Monument
- ทัศนศึกษา ณ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในกรุงเปียงยาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- ทัศนศึกษา และชมการแสดงของคณะกายกรรมเปียงยาง
- รับประทานอาหารค่ำ ณ บ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- ซ้อมการแสดง ณ ห้องจัดเลี้ยงบ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
วันพุธที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๐๗.๐๐ น.
๐๘.๐๐ น.
- รับประทานอาหารเช้า ณ บ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- ทัศนศึกษาเยี่ยมชมและมอบอุปกรณ์การเรียน (Laptop) ให้กับโรงเรียนมิตรภาพ ไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) และรับชมการแสดงโดยคณะนักเรียน ณ สถานที่ DPRK - Thailand Friendship Taedonggang Chongryu Junior Secondary School
- ทัศนศึกษาชมภาพยนตร์ไทยที่ส่งเข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์ ณ กรุง
เปียงยาง
วันพุธที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๓.๐๐ น.
๑๔.๓๐ น.
๑๙.๐๐ น.
- รับประทานอาหารกลางวัน ณ บ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- คณะนาฏศิลป์เตรียมการแสดง ณ ห้องจัดเลี้ยงบ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- การแสดงทางวัฒนธรรมในโอกาสครบรอบ ๔๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม
รายการแสดง ทั้งหมด ๔ ชุด (๑ ชั่วโมง)
๑. ระบำฉิ่ง (๕ คน)
๒. โขน ชุดทศกัณฐ์รบพระราม (๔ คน)
๓. ระบำกินรีร่อนออกมโนห์ราบูชายัญ และซัดชาตรี (๕ คน)
๔. การแสดง ๔ ภาค (๑๕ คน)
- ภาคเหนือ : ฟ้อนขันดอกออกฟ้อนผาง
- ภาคใต้ : ระบำตาลีกีปัสออกตาลียอเก็ต
- ภาคกลาง : ศิลปะการต่อสู้ด้วยพลอง-ไม้สั้น
- ภาคอีสาน : เซิ้งกะโป๋
๕. การแสดงฟินาเล่ย์ (๑๕ คน)
ณ ห้องจัดเลี้ยงบ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
(เกาหลีเหนือ)
- รับประทานอาหารค่ำ ณ ห้องจัดเลี้ยงบ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชา
ธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๐๖.๐๐ น.
๐๘.๓๐ น.
๑๐.๐๐ น.
- รับประทานอาหารเช้า ณ บ้านพักรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย และคณะทั้งหมด เดินทางออกจากที่พักไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ Sunan กรุงเปียงยาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย และคณะทั้งหมด เดินทางออกจากกรุงเปียงยาง โดย JS ๒๕๑ (Air Koryo) รองอธิบดีกรมเอเชียและโอเชียเนีย กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) ส่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย และมีเจ้าหน้าที่กรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) อำนวยความสะดวกที่ท่าอากาศยาน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๑.๓๕ น.
๑๗.๐๕ น.
๒๑.๑๕ น.
- เดินทางถึงกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง เลี้ยงอาหารกลางวัน ณ โรงแรม ฮิลตัล กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
- เดินทางออกจากกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย TG ๖๑๕
- เดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
๘. คณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม และข้าราชการของ
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และภาคเอกชน จำนวน ๓๐ คน
กระทรวงการต่างประเทศ
๘.๑ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
๘.๒ นายธีรกุล นิยม เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
๘.๓ นางพันทิพา เอี่ยมสุทธา เอกะโรหิต รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก
๘.๔ นายวราวุธ ภู่อภิญญา ผู้อำนวยการสำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน ปฏิบัติราชการสำนักงานรัฐมนตรี
๘.๕ นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก ๔
๘.๖ นายวัจน์นัย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นักการทูตชำนาญการ กองเอเชียตะวันออก ๔
๘.๗ นายสรยศ คำบันลือ นักการทูตชำนาญการ สำนักงานรัฐมนตรี
๘.๘ นายปถวี ตรีกรุณาสวัสดิ์ เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
๘.๙ นางสาวจุฑาภรณ์ งอกขึ้น นักการทูตปฏิบัติการ กรมสารนิเทศ
๘.๑๐ นางสาวสุดาสิรี เตชานันท์ นักการทูตปฏิบัติการ กองเอเชียตะวันออก ๔
กระทรวงวัฒนธรรม
๘.๑๑ นางภิสา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ สำนักความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
๘.๑๒ นายสมเจตน์ ภู่นา รักษาการในตำแหน่งนาฏศิลปินอาวุโส
หัวหน้าคณะนาฏศิลป์ไทยและผู้กำกับการแสดง/ผู้แสดง
๘.๑๓ นางสาวเอกนันท์ พันธุรักษ์ นาฏศิลปินชำนาญงาน/เลขานุการคณะนาฏศิลป์ไทย/ผู้แสดง
๘.๑๔ นายเอกภชิต วงศ์สิปปกร นาฏศิลปินชำนาญงาน/ผู้แสดง
๘.๑๕ ว่าที่ร้อยตรีเอกสิทธิ์ เนตรานนท์ นาฏศิลปินชำนาญงาน/ผู้แสดง
๘.๑๖ นายปรัชญา ชัยเทศ นาฏศิลปินชำนาญงาน/ผู้แสดง
๘.๑๗ นางมาริ ธีระวรกุล นาฏศิลปินชำนาญงาน/ผู้แสดง
๘.๑๘ นางสาวหนึ่งนุช เคหา นาฏศิลปินชำนาญงาน/ผู้แสดง
๘.๑๙ นางสาวจุฑามาศ สกุลณี นาฏศิลปินชำนาญงาน/ผู้แสดง
๘.๑๙ นายเอก อรุณพันธ์ นาฏศิลปินปฎิบัติงาน/ผู้แสดง
๘.๒๐ นายบัญชา สุริเจย์ นาฏศิลปินปฎิบัติงาน/ผู้แสดง
๘.๒๑ นายภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล นาฏศิลปินปฎิบัติงาน/ผู้แสดง
๘.๒๒ นางสาวปภาวี จึงประวัติ นาฏศิลปินปฏิบัติงาน/ผู้แสดง
๘.๒๓ นางสาวอาภัสรา นกออก นาฏศิลปินปฎิบัติงาน/ผู้แสดง
๘.๒๔ นางสาวศรีสุคนธ์ บัวเอี่ยม นาฏศิลปินปฎิบัติงาน/ผู้แสดง
๘.๒๕ นางสาวธาราทิพ วังกาวี นาฏศิลปินปฎิบัติงาน/ผู้แสดง
ภาคเอกชน
๘.๒๗ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ๓ สถาบัน (กกร.)
ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
๘.๒๘ นายสหยศ จิรเดชสกุลวงศ์
๘.๒๙ นายบรรดาศักดิ์ ยศตระกูล
๘.๓๐ นายเพื่อน ปรมัตถ์วินัย
การแสดงนาฏศิลป์ไทย
๑. ระบำฉิ่ง
๑.๑ นางสาวเอกนันท์ พันธุรักษ์
๑.๒ นางสาวจุฑามาศ สกุลณี
๑.๓ นางสาวธาราทิพ วังกาวี
๑.๔ นางสาวหนึ่งนุช เคหา
๑.๕ นางสาวศรีสุคนธ์ บัวเอี่ยม
๒. โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดยกรบ
๒.๑ นางสาวศรีสุคนธ์ บัวเอี่ยม แสดงเป็น ทศกัณฐ์
๒.๒ นายเอก อรุณพันธ์ แสดงเป็น พระราม
๒.๓ นายภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล แสดงเป็น พระลักษมณ์
๒.๔ นายเอกภชิต วงศ์สิปปกร แสดงเป็น หนุมาน
๓. ระบำกินรีร่อนออกมโนห์ราบูชายัญ และซัดชาตรี
๓.๑ นางสาวอาภัสรา นกออก แสดง ระบำกินรีร่อน/รำมโนห์ราบูชายัญ
๓.๒ นางมาริ ธีระวรกุล แสดง ระบำกินรีร่อน/รำซัดชาตรี
๓.๓ นางสาวปภาวี จึงประวัติ แสดง ระบำกินรีร่อน/รำซัดชาตรี
๓.๔ นายภีระเมศร์ ทิพย์ประชาบาล แสดง รำซัดชาตรี
๓.๕ นายเอก อรุณพันธ์ แสดง รำซัดชาตรี
๔. การแสดงสี่ภาค
ภาคเหนือ ฟ้อนขันดอกออกฟ้อนผาง
๔.๑ นางสาวธาราทิพ วังกาวี แสดง ฟ้อนขันดอก
๔.๒ นางสาวจุฑามาศ สกุลณี แสดง ฟ้อนผาง
๔.๓ นางสาวหนึ่งนุช เคหา แสดง ฟ้อนผาง
๔.๔ นางสาวศรีสุคนธ์ บัวเอี่ยม แสดง ฟ้อนผาง
ภาคใต้ ระบำตารีกีปัสออกยอเก็ต
๔.๕ นายสมเจตน์ ภู่นา
๔.๖ นายเอก อรุณพันธ์
๔.๗ นายปรัชญา ชัยเทศ
๔.๘ นางสาวอาภัสรา นกออก
๔.๙ นางมาริ ธีระวรกุล
๔.๑๐ นางสาวปภาวี จึงประวัติ
ภาคกลางศิลปะการต่อสู้ด้วยพลอง-ไม้สั้น
๔.๑๑ ว่าที่ร้อยตรีเอกสิทธิ์ เนตรานนท์ แสดง พลอง
๔.๑๒ นายเอกภชิต วงศ์สิปปกร แสดง ไม้สั้น
ภาคอีสานเซิ้งกะโป๋
๔.๑๓ นายสมเจตน์ ภู่นา
๔.๑๔ นายปรัชญา ชัยเทศ
๔.๑๕ นายบัญชา สุริเจย์
๔.๑๖ นางสาวเอกนันท์ พันธุรักษ์
๔.๑๗ นางสาวธาราทิพ วังกาวี
๔.๑๘ นางสาวศรีสุคนธ์ บัวเอี่ยม
การแสดงฟินาเล่ย์ ผู้แสดงทุกคนร่วมแสดง จบโดยการชูธงชาติทั้งสองประเทศเป็นสัญลักษณ์ในการเชื่อมสัมพันธไมตรี
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศขอความร่วมมือจากกระทรวงวัฒนธรรม จัดการแสดงนาฎศิลป์ไทยเพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ ๔๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
คณะนักแสดงนาฏศิลป์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นการแสดงวิพิธทัศนาประกอบไปด้วยโขน การแสดงชุดเบ็ดเตล็ดต่างๆ การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองสี่ภาค และจบด้วยการแสดงชุดฟินาเล่ย์ สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทย ในการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีตลอดจนความเข้าใจอันดีงามระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ และในครั้งนี้คณะนาฏศิลป์ไทยได้แต่งกายในชุดผ้าไทยไปเผยแพร่ในระหว่างการปฏิบัติราชการ ทัศนศึกษาสถานที่สำคัญต่างๆ ระหว่างพำนักอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) เป็นที่กล่าวถึงและได้รับการชื่นชมจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) รวมถึงท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) รวมทั้งเอกอัคร ราชทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง (นายธีรกุล นิยม) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (นายสุพันธุ์ มงคลสุธี) และคณะผู้ติดตามของประเทศไทย
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
การเดินทางไปปฏิบัติราชการครั้งนี้ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) จัดได้ว่าเป็นราชการพิเศษ มีความเคร่งครัดในการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ให้เป็นไปตามกฎ
ระเบียบของประเทศ หากในโอกาสหน้ามีการเดินทางครั้งต่อไป คณะผู้ปฎิบัติงานสมควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และกฎระเบียบของประเทศ อีกทั้งเตรียมความพร้อมในการปฎิบัติงานเพราะอาจมี กำหนดการและตารางเวลาที่ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เป็นไปตามการประสานงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
จากการที่คณะนาฏศิลป์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้นำชุดผ้าไทยไปแต่งกายระหว่างปฏิบัติราชการ และพำนักอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) และได้รับความชื่นชมจากทุกๆ ฝ่าย จึงเห็นควรนำเสนอในการเดินทางเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในต่างประเทศแต่ละครั้งควรนำชุดผ้าไทยที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชาตินำไปใส่ในการปฏิบัติราชการ การทัศนศึกษาสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ประเทศเจ้าภาพจัดการต้อนรับ และระหว่างพำนักในประเทศนั้นๆ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีงามขององค์กร อีกทั้งเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมการแต่งกายของประเทศไทยให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป
(นายสมเจตน์ ภู่นา)
รักษาการในตำแหน่งนาฏศิลปินอาวุโส
หัวหน้าคณะนาฏศิลป์ไทย