ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ


        สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ในเมืองโบราณอู่ทอง เมืองโบราณอู่ทองเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 16 (ประมาณ 1,000 – 1,400 ปีมาแล้ว) ความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของเมืองโบราณแห่งนี้ มีผลจากการผสมผสานวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ากับการรับวัฒนธรรมจากประเทศอินเดีย ก่อให้เกิดรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า “ทวารวดี”         ต่อมาช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 ในบริเวณพื้นที่ภาคกลางจนถึงภาคตะวันตกจะปรากฏหลักฐานอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรกระจายทั่วไป แต่กลับพบหลักฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมเขมรในเมืองโบราณอู่ทองไม่มากนัก จึงเป็นไปได้ว่าเมืองอู่ทองในขณะนั้นมีประชากรเบาบางลง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดถึงสาเหตุที่ชาวเมืองอพยพออกจากเมืองอู่ทอง ในช่วงเวลาดังกล่าว   จนกระทั่งในสมัยอยุธยา มีการพบหลักฐานการอยู่อาศัยเป็นชุมชนในเมืองโบราณอู่ทองอีกครั้ง ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 21 มีการค้นพบพบทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุกระจายอยู่ทั่วบริเวณ ทั้งนี้หลักฐานสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีดังนี้           1. เจดีย์บนยอดเขาดีสลัก           2. เจดีย์บนยอดเขาพระ           3. เจดีย์และอุโบสถบนยอดเขาทำเทียม           4. โบราณสถานหมายเลข 1 เมืองอู่ทอง (วัดปราสาทร้าง) โปรดติดตามตอนต่อไป


ชื่อเรื่อง                         นิทานพื้นเมืองกรุงศรีอยุธยา (ธำพื้นเมิงกุงสียดทิยา)     สพ.บ.                           392/1 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ภาษา                           บาลี/ไทยอีสาน หัวเรื่อง                        พุทธศาสนา                                 นิทานพื้นเมือง                                  พระนครศรีอยุธยา ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ                   46 หน้า : กว้าง 5.3 ซม. ยาว 58.5 ซม.  บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี





ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมฺโพธิกถา  (ปฐมสมโพธิ์) สพ.บ.                                  215/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 4 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรม “จิบชาชมวัง” เสวนาวิชาการ สาธิตงานศิลปวัฒนธรรมและงานประณีตศิลป์ในราชสำนัก และเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ ในยามค่ำคืน (Night at the Museum) ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๔           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ดำเนินโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน กำหนดจัดกิจกรรม “จิบชาชมวัง” ประกอบด้วย กิจกรรมการเสวนาวิชาการ “จิบชาชมวัง (Tea Talks)” ณ เรือนชาลีลาวดี หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี) เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.          วันศุกร์ที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ เรื่อง “หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี) มรดกจากความทรงจำ”          วันเสาร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ เรื่อง “ว่าด้วยชา ที่ชา และเครื่องกระเบื้องในสยาม”          วันอาทิตย์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ เรื่อง “สามก๊ก...วรรณกรรมจีนบนบานเฟี้ยมของเจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี)”          ทั้งนี้ ในการเสวนาฯ แต่ละวันจะมีของว่างพร้อมจิบชาในตำนานที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่ ชาโร่วกุ้ย และชาต้าหงเผา ซึ่งเป็นหนึ่งในชนิดของชาบู๋อี๋ที่ปรากฏในจดหมายเหตุลาลูแบร์ และชาซงหลัวจากจดหมายเหตุลาลูแบร์เช่นกัน รวมถึงชาจือหลาน ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ โดยในช่วงค่ำตั้งแต่เวลา ๑๗.๓๐ น. - ๑๙.๐๐ น. มีบริการน้ำชาและของว่าง (มีค่าใช้จ่าย) พร้อมทั้งนำชมนิทรรศการภายในหออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี) ซึ่งจัดแสดงประวัติเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกรมนครบาล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และผนังไม้จำหลักวรรณกรรม “สามก๊ก” และเก๋งจีนนุกิจราชบริหาร ซึ่งภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังจีน “ห้องสิน” ฝีมือของช่างชาวจีน ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเสวนาสามารถลงทะเบียนได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ ทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น. (สำรองที่นั่งทางโทรศัพท์เท่านั้นและรับจำนวนจำกัด)          กิจกรรมสาธิตงานศิลปวัฒนธรรมและงานประณีตศิลป์ ณ พระตำหนักแดง เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ในหัวข้อ “แป้งพวงแป้งร่ำ” และ “เครื่องแขวน” พร้อมชมนิทรรศการถาวรในพระตำหนักแดงที่มีการปรับปรุงใหม่ โดยจัดแสดงวิถีชีวิตของเด็กไทย ตั้งแต่การเกิด การโกนจุก จนถึงประเพณีการเรียนการศึกษาในช่วงวัยรุ่น โดยโบราณวัตถุสำคัญที่จัดแสดง อาทิ พระแท่นประสูติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระแท่นบรรทมเพลิง (กระดานอยู่ไฟ) เครื่องเล่นของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร บ้านตุ๊กตาของเจ้าจอมเลียม ในรัชกาลที่ ๕           กิจกรรมเปิดพิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน (Night at the Museum) เวลา ๑๖.๓๐ – ๒๐.๐๐ น. เปิดให้เข้าชมความงดงามของโบราณสถานภายในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ส่วนจัดแสดงนิทรรศการในพระที่นั่งต่างๆ โดยมีการนำชมเป็นรอบ ทั้งภาษาไทย และ ภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และ เยอรมัน จำนวน ๓ รอบ/วัน พร้อมชมการบรรเลงดนตรีไทย – สากล จากสำนักการสังคีต ในเวลา ๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องแสดงผลรับรองการรับวัคซีนโควิด 19 อย่างน้อย ๒ เข็ม สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาอภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  380/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมะ บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคาต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


องค์ความรู้เรื่อง : อาคารปางไม้ บอมเบย์เบอร์มา แห่งป่าสาละวินเรียบเรียงโดย : นายสายกลาง  จินดาสุ                         นักโบราณคดีชำนาญการ                         กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่          มนุษย์เราจะยอมรับสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่าสำคัญ หาใช่เพียงรูปลักษณ์ ความวิจิตร หรือมูลค่าราคาของสิ่งนั้นๆ ลึกลงไปในความสำคัญ คือ ความหมายที่สิ่งนั้นมีให้แก่สังคม การเป็นเครื่องหมาย และประจักษ์พยานที่สะท้อนคุณค่า ผ่านห้วงเวลา ประสบการณ์ สั่งสมเป็นประวัติศาสตร์ในตน            อาคารไม้ยกใต้ถุนสูง หลังเล็ก กลางป่าสาละวิน ในเขตอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่นำมาบอกเล่าในวันนี้ คงเป็นอาคารกลางป่าที่มิได้สลักสำคัญอะไร  หากอาคารนี้เป็นแต่เพียงเป็นอาคารทั่วไปที่เป็นบ้านหรืออาคารตามปกติ  แต่สิ่งที่ทำให้อาคารธรรมดาหลังนี้ไม่ธรรมดา คือ อาคารกลางป่าหลังนี้เป็นประจักษ์พยานของอุตสาหกรรมป่าไม้ในพื้นที่ภาคเหนือเพียงหลังเดียวที่คงเหลือกลางผืนป่าลึก ที่ทำหน้าที่เป็นสำนักงานทำไม้ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ปางไม้” ที่พบหลักฐานในปัจจุบัน (ปัจจุบันยังคงเหลือ อาคารที่ทำการตำรวจภูธรน้ำเพียงดินหลังเดิม ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปาย ในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน  อีกหนี่งหลังที่ทำหน้าที่เป็นปางไม้ในอดีต แต่ปัจจุบันอาคารหลังนี้มีถนนเข้าถึงโดยสะดวกแล้ว)           ---------------------------------- .




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.42/1-5  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อฎฺฐงฺคิกมคฺค (พรอฎงฺคิกมคฺค)  ชบ.บ.83/1-8  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)  ชบ.บ.106ก/1-6  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.332/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132  (343-358) ผูก 11 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


                   ศิลปะอินเดีย พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕          เป็นสมบัติเดิมของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งวสันตพิมาน หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          งาช้างจำหลักรูปพระนางทุรคาสิบกรในอิริยาบถทรงยืนบนสิงห์กำลังปราบมหิษาสูรอยู่ภายในอาคาร พระกรซ้ายล่างจับผมของมหิษาสูร ส่วนพระกรที่เหลือทรงอาวุธต่าง ๆ กรอบวงโค้งด้านบนจำหลักภาพบุคคลขี่สัตว์กำลังต่อสู้กันและอาคารประดับยอดโดม ด้านซ้ายจำหลักรูปพระคเณศสี่กรประทับนั่งห้อยพระบาท พระศอทรงสร้อยลูกประคำ พระกรทั้งสี่ทรงทองพระกร นุ่งผ้าโธตียาวจรดพระบาท ข้อพระบาททรงทองพระบาท ด้านขวาจำหลักรูปสกันทกุมารสองกร (หรือขันทกุมาร) ประทับเหนือนกยูง พระศอทรงสร้อยลูกประคำ นุ่งผ้าโธตียาว ทรงรองพระบาท         เรื่องราวของพระนางทุรคาปราบมหิษาสูร มีที่มาจากเนื้อหาคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์หลายฉบับ อาทิ คัมภีร์สกันทปุระ คัมภีร์วราหปุระ คัมภีร์วามนปุราณะ และคัมภีร์มารกัณเฑยปุราณะ แต่ละฉบับมีรายละเอียดของเหตุการณ์การปราบมหิษาสูรที่แตกต่างกันออกไปแต่ใจความที่เหมือนกันคือ มหิษาสูร เป็นอสูรที่มีฤทธิ์มาก เหล่าเทวดามิอาจต่อกรได้ ฝ่ายเทพเจ้าได้ส่งพระนางทุรคาผู้มีฤทธิ์เหนือเทพทั้งปวงไปปราบอสูรโดยมอบอาวุธต่าง ๆ ให้ กระทั่งพระนางทุรคาสามารถสังหารมหิษาสูรได้ในที่สุด          ชัยชนะของพระนางทุรคาเป็นที่มาของวัน “วิชัยทศมี” (Vijayadashami) หรือดุสเซราห์ (Dussehra) ที่จัดขึ้นในวันที่สิบของเทศกาลบูชาพระนางทุรคา โดยจัดต่อเนื่องเป็นเวลาเก้าวันในช่วงเดือนตุลาคม ในพื้นที่อินเดียตอนเหนือยังถือว่า วันวิชัยทศมี เป็นวันที่พระรามสามารถสังหารทศกัณฐ์ (หรือราวัณในเรื่องรามายณะ) ภายหลังจากที่รบกันมาเป็นเวลาเก้าวัน สำหรับปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ วันวิชัยทศมีตรงกับวันที่ ๑๕ ตุลาคม   อ้างอิง อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๑. บำรุง คำเอก. “การเฉลิมฉลองเทศกาลทุรคาบูชา”. ดำรงวิชาการ ๙, ๒ (มิถุนายน-ธันวาคม ๒๕๕๓) : ๑๒๐-๑๓๔.


Messenger