ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อผู้แต่ง         ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา ชื่อเรื่อง          ตำราฟ้อนรำ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๑๐ จำนวนหน้า      ๗๖ หน้า หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายยวง อังศุสิงห์ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง ๒๐ ธันวาคม ๒๕๑๐                      หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการฟ้อนรำของไทยประกอบด้วย ท่าฟ้อนรำ, เพลงฟ้อนรำ และตำรากับข้าว อาทิเช่น ทอดมันปลากราย ข้าวต้มนกกระทา เป็นต้น


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 48 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 77 (ต่อ-) 78) ประวัติศาสตร์ยูนนาน และทางไมตรีกับจีน ปราบเงี้ยว ตอนที่ 2 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์จำนวนหน้า : 284 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร มีทั้งหมด 2 ภาค ตั้งแต่ภาค 77 -78 มีเรื่องราวในแต่ละภาคดังนี้ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 77 (ต่อ) ประวัติศาสตร์ยูนนาน และทางไมตรีกับจีน และ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 78 ปราบเงี้ยว ตอนที่ 2


เรียบเรียง : เด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ขอนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีความสำคัญในจังหวัดชุมพร     แหล่งโบราณคดีเขานาพร้าว (เขาขุนกระทิง) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 ตำบลขุนกระทิง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีเขานาพร้าว (เขาขุนกระทิง) ตั้งอยู่บนเขานาพร้าวหรือเขาขุนกระทิงด้านทิศตะวันออก ภูเขาลูกนี้มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนลูกโดดวางตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเพิงผาขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยมีความยาวเพิงผาทั้งหมดประมาณ 56.5 เมตร ลึกประมาณ 3-5 เมตร  พิกัดเขาขุนกระทิง https://goo.gl/maps/viMqJq59E3HPeszd7    พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ปูนปั้น ลงรักปิดทอง ศิลปะอยุธยา ขนาด ยาว 4.60 เมตร สูง 1.80 เมตร ประทับตะแคงขวา หันพระเศียรไปทางทิศใต้ พระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออกประดิษฐานอยู่ภายในถ้ำพระ เป็นถ้ำขนาดเล็ก อยู่สูงจากพื้นราบ ประมาณ 15 เมตร ปากถ้ำอยู่ทางทิศตะวันออก    รอยพระพุทธบาทจำลอง ตั้งอยู่ใกล้กับปากถ้ำพระ มีขนาดกว้าง 87 เซนติเมตร ยาว 132 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร  สลักนูนต่ำบนแผ่นหินปูน ตรงกลางฝ่าพระบาทเป็นรูปธรรมจักรมีกงล้อ 7 กงล้อ ล้อมรอบด้วยช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก 42 ช่อง ส่วนบนเป็นรอยนิ้วพระบาท 5 นิ้ว     ภาพเขียนสี บริเวณเพิงผาพบภาพเขียนสี โดยตำแหน่งของภาพที่พบตั้งอยู่ห่างจากถ้ำด้านทิศใต้ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 30 เมตร จุดที่พบภาพเขียนสีมีลักษณะเป็นผนังหินเรียบขาว ปัจจุบันมีการก่อสร้างแท่นประดิษฐานพระพุทธรูปตั้งอยู่บริเวณด้านหน้า จากประวัติเดิมภาพเขียนสีดังกล่าวถูกพบโดยคณะสำรวจขึ้นทะเบียนโบราณสถานและโบราณวัตถุภาคใต้ กรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2521 ซึ่งภาพเขียนสีในขณะนั้นยังสามารถเห็นเป็นภาพเขียนสี สีแดงสดได้ค่อนข้างชัดเจนโดยปรากฏเป็นภาพลายเส้นเรขาคณิต แต่จากการสำรวจในปี พ.ศ.2557 ภาพเขียนสีดังกล่าวอยู่ในสภาพค่อนข้างเลือนลางอย่างมากคงเหลือเพียงภาพช่วงบนที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมปลายบนโค้งมนด้านในมีลายเส้นทแยงไขว้สลับกันคล้ายลายตาราง แต่สีที่ปรากฏค่อนข้างจางและบางส่วนขาดหายไปเป็นส่วนมาก  อ้างอิง  - หนังสือรายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ชุมพร เล่ม 2  - หนังสือโบราณสถานในจังหวัดชุมพร สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม  



พระสวรรค์วรนายก : พระสงฆ์ผู้เป็นต้นแบบของการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติเนื่องในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕ จะตรงกับวันเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายกอย่างเป็นทางการ จึงขอนำเสนอเรื่องราวของ "พระสวรรค์วรนายก" พระสงฆ์ผู้เป็นต้นแบบของการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติอันนำไปสู่การก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ณ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัยในเวลาต่อมา"พระสวรรค์วรนายก" มีนามเดิมว่า ทองคำ จิตรธร เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ โดยนิวาสสถานของท่านตั้งอยู่หลังวัดสวรรคาราม (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุโขทัย แห่งที่ ๑ ซึ่งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก) ในวัยเด็กท่านบวชเรียนกับพระอาจารย์แดงที่วัดสวรรคาราม ก่อนจะย้ายไปบวชเณรและจำพรรษาที่วัดสุทัศนเทพวราราม จนกระทั่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุและได้รับฉายาว่า "โสโณ" ในภายหลังท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระปลัดของเจ้าคณะมณฑลราชบุรีและเป็นเลขานุการเจ้าคณะมณฑล ผู้คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า "พระปลัดคำ" ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๐ พระปลัดคำได้รับสมณศักดิ์เป็น "พระครูสวรรค์วรนายก" และไปจำพรรษา ณ วัดสว่างอารมณ์ เมืองสวรรคโลก [๑] แต่เนื่องจากบ้านของท่านอยู่หลังวัดสวรรคารามจึงย้ายมาจำพรรษา ณ วัดสวรรคาราม มาโดยตลอดแม้จะได้รับสมณศักดิ์เป็น "พระสวรรค์วรนายก" เจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลก [๒] (ใน พ.ศ. ๒๔๘๒ จังหวัดสวรรคโลกถูกยุบเป็นอำเภอ และยกอำเภอสุโขทัยเป็นจังหวัด พระสวรรค์วรนายกจึงมีฐานะเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยนับแต่นั้นมา) แล้วก็ตามพระสวรรค์วรนายกมีความสนใจในงานศิลปะและมีความเชี่ยวชาญในการแกะสลักไม้เป็นอย่างมากจนเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินอำเภอสวรรคโลกเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๐๑ พระสวรรค์วรนายกได้ถวายกล่องใส่บุหรี่ที่ท่านแกะจากปมไม้มะค่าแด่พระองค์ด้วย นอกจากความสามารถในเชิงช่างแล้ว ท่านยังมีความชื่นชอบในการสะสมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุโดยมักจะนำวัตถุที่ท่านไปพบรวมทั้งที่มีผู้นำมาถวายตั้งเรียงไว้รอบระเบียงกุฏิทรงฝรั่งที่ท่านดำริให้สร้างขึ้น แม้เมื่อล่วงเข้าสู่ในช่วงที่ท่านอาพาธหนักก็ยังมีความเป็นห่วงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเหล่านี้ว่าจะไม่มีใครดูแลรักษาต่อจึงได้ปรารภกับกรรมการและไวยาวัจกรของวัดให้ยกวัตถุที่ท่านสะสมไว้ทั้งหมดเป็นสมบัติของชาติและขอให้สร้างพิพิธภัณฑสถานขึ้นในบริเวณวัดสวรรคาราม เหตุนี้ กรมศิลปากรจึงสานต่อเจตนารมณ์ของพระสวรรค์วรนายกจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้น และทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนสวรรคโลกและคนไทย รวมทั้งเผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติแก่ชาวต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง สมดังที่ท่านหวังไว้เป็นเวลาถึง ๓๘ ปีมาแล้วภาพ : พระสวรรค์วรนายกนำคณะกรมศิลปากรชมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่เก็บรักษาไว้ ณ วัดสวรรคาราม เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๐๓[๑] ความปรากฏในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๒๔ หน้า ๑๒๖๘ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๑) ว่า “...ให้พระปลัดคำ วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นพระครูสวรรค์วรนายกปิฎกสุนทร ที่สังฆปาโมกข์ เจ้าคณะใหญ่ ไปอยู่วัดสว่างอารมณ์ เมืองสวรรคโลก พัดพื้นเยียรบับรูปพุ่มข้าวบิน...”[๒] ความปรากฏในประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๐ หน้า ๒๓๙๙ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๖ ว่า “...พระครูสวรรค์วรนายก วัดสวรรคาราม เจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลก เป็นพระราชาคณะมีนามว่า พระสวรรค์วรนายกธรรมสาธกวินัยวาที สังฆปาโมกข์...”


ปิ่น  มุทุกันต์.  ตอบบาดหลวง.  พระนคร : โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์, 2505.         เป็นคำแถลงชี้แจงที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย และยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย จัดขึ้น ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2502 ประกอบด้วยคำแถลงชี้แจง 23 เรื่อง



เนื่องในโอกาสครบรอบ 195 ปี เหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา คุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พุทธศักราช 2370  เรารู้จัก อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ในฐานะอนุสาวรีย์บุคคลธรรมดาแห่งเเรกของประเทศไทย เเละเป็นศูนย์รวมใจของชาวจังหวัดนครราชสีมา โดยทั้ง 32 อำเภอ จะมีการจำลองอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ไปสร้างไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอของทุกอำเภอด้วย เพราะเราชาวโคราชทุกคนล้วนมีสำนึกร่วมกันว่าเราคือ "ลูกหลานย่าโม" โดย เดือนมีนาคม สำหรับชาวนครราชสีมา เป็นเดือนแห่งการระลึก วีรกรรมท่านท้าวสุรนารี หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์" ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ขณะท้าวสุรนารีเเละหญิงชาวเมืองนครราชสีมาถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เเต่ภายหลังเมื่อพักแรมที่บ้านสัมฤทธิ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย) สามารถเข้าสู้เเละรอดพ้นภัยจากข้าศึกศัตรูได้สำเร็จ จนภายหลัง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได่สถาปนาคุณหญิงโมขึ้นเป็นท้าวสุรนารี ในปี 2370   อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สร้างขึ้นในปี 2476 โดยมี  ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เเละพระเทวาภินิมมิต  ซึ่งพื้นเพเป็นชาวนครราชสีมา ร่วมกันออกแบบ อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำสูง 185 เซนติเมตร หนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองสูง 250 เซนติเมตร หน้าประตูชุมพล (ประตูเมืองนครราชสีมาด้านทิศตะวันตก) เเละทำพิธีเปิดในช่วงต้นปี 2477 เเละได้มีการซ่อมแซมส่วนฐานอนุสาวรีย์เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ในปี 2510 โดยมีสภาพดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน   กรมศิลปากร ได้กำหนดให้ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เเละประตูชุมพล พร้อมด้วยแนวกำแพงเมืองนครราชสีมาใบเสมาข้างละ 10 ใบ ที่ยืดออกจากประตูชุมพล เป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ในปี 2480 ในเขตพื้นที่เมืองเก่านครราชสีมา ยังมีโบราณสถานที่กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอีก 3 แห่ง ได้แก่ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร สถานพระนารายณ์ เเละศาลหลักเมือง ครับ   "...เป็นแสงสว่างอยู่กลางเมือง รุ่งเรืองสตรีวีรชน ใครไหว้ใครบน ได้ดังอธิษฐาน..."      


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน)อย.บ.                                           27/7ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               46 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.4 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


         มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒ ธันวาคม ๒๔๒๖ วันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์          พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ที่ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์สว่าง ประสูติเมื่อเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๔๒๖ ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ ๒ แห่งสวีเดน เพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ที่เจ้าชายออสการ์ เบอร์นาดอตต์ เคานต์แห่งวิสบอร์ก พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ ๒ เสด็จฯ เยือนประเทศไทยในปีพุทธศักราช ๒๔๒๗           ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๖ แล้วเลื่อนเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอฯ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๔๓ ทรงรับราชการในกรมทหารบกราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาเป็นราชองครักษ์ ถึงรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นนายพันตรี และเป็นราชองครักษ์ประจำ แล้วเป็นราชองครักษ์พิเศษ ครั้นพุทธศักราช ๒๔๖๓ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ถึงรัชกาลที่ ๘ ได้เป็นประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๗๗          พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๘ สิริพระชันษา ๕๒ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๘           พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบิดา   ภาพ : (จากซ้ายไปขวา) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ และหม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           36/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              40 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เรื่อง เถาะนักษัตร วันขึ้นปีใหม่ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมนับวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามระบบการนับวันเวลาแบบจันทรคติ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงเปลี่ยนให้วันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นวันที่ ๑ เมษายน เนื่องจากระบบการนับจันทรคติไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ในขณะนั้นมีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น ดังความตอนหนึ่งในลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า “...พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์ว่าประดิทินที่ใช้กันในโลก ประเทศทั้งปวงรับใช้ประดิทินสุริยคติอย่างฝรั่งมากขึ้นทุกที่ ประดิทินทางจันทรคติมีที่ใช้น้อยลง ต่อไปวันน่าโลกคงจะใช้ประดิทินสุริยคติด้วยกันหมด ควรจะเปลี่ยนประดิทินไทยไปใช้สุริยคติเสียทีเดียว...” [สะกดตามข้อความต้นฉบับ] ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๓ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ ๑ มกราคม โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา* และยังคงนับเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน คติการนับปีตามนักษัตรของไทยนั้นสันนิษฐานว่ารับอิทธิพลจากจีนที่ไทยรับผ่านวัฒนธรรมเขมร โดยปรากฏหลักฐานอย่างน้อยสมัยสุโขทัย ข้อความตอนหนึ่งในศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ กล่าวว่า “...[มหาศักราช] ๑๒๑๔ [ตรงกับ พ.ศ. ๑๘๓๕] ศกปีมะโรงพ่อขุนรามคำแหง...” รวมถึงบ้านเมืองที่ร่วมสมัยกันโดยเฉพาะดินแดนล้านนา พบการกล่าวถึงชื่อนักษัตรด้วยเช่นกัน อาทิ จารึกวัดพระยืน (ลพ. ๓๘) อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย จุลศักราช ๗๓๒ [ตรงกับ พ.ศ. ๑๙๑๓] ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๐ กล่าวว่า “...เมื่อท่านเป็นเจ้ามานั้นในปีระกา เดือนเจียง...” และจารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย (พะเยา) (ลพ.๙) อักษรฝักขาม ภาษาไทย พ.ศ. ๑๙๕๔ ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ ปรากฏคำว่า “ปีมะแม” อีกทั้งในวัฒนธรรมล้านนามีคำในภาษาตระกูลไทเกี่ยวกับ ๑๒ นักษัตร เช่น ไจ้ (ชวด) เป้า (ฉลู) ยี่ (ขาล)... ฯลฯ และพบชื่อนักษัตรเหล่านี้ได้ตามจารึกในล้านนาหลายหลัก บางครั้งพบการนับปีนักษัตรทั้งแบบอิทธิพลเขมรและวันแบบไท เช่น จารึกหลักที่ ๓๘ จารึกกฎหมายลักษณะโจร อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ กล่าวว่า “...ศกฉลูนักษัตรไพสาขปุรณมีพฤหัสบดี...” อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนปีนักษัตรในทางโหรศาสตร์นั้นจะเปลี่ยนในดิถีขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวาระเปลี่ยนปีนักษัตรตามปฏิทินโหราศาสตร์ที่นับวันแบบจันทรคติ ซึ่งเป็นวิธีคิดของศาสนาพราหมณ์จากอินเดียระบุให้วันขึ้นปีใหม่เป็นเดือน ๕ จึงทำให้โหรเริ่มนับปีนักษัตรใหม่ที่เดือน ๕ ด้วยเช่นกัน ขณะที่การบันทึกปีนักษัตรลงในใบสูติบัตร และเอกสารทะเบียนราษฎร์นั้น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะบันทึกตามปฏิทินหลวงที่นับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ และวันสุดท้ายของปีนักษัตรคือวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ สำหรับ พ.ศ. ๒๕๖๖** นี้ ตรงกับปีนักษัตร เถาะหรือกระต่าย เป็นสัตว์สัญลักษณ์ลำดับที่สี่ในบรรดาสัตว์ทั้ง ๑๒ ของรอบปีนักษัตร กระต่ายเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของพระจันทร์ ดังปรากฏในวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๑) กล่าวว่าบนพระจันทร์มีรูปกระต่าย หรือ อรรถกถา “สสปัณฑิตชาดก” มีเรื่องย่อว่า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่าย มีความตั้งใจรักษาศีลและให้ทาน ท้าวสักกะ (พระอินทร์) ได้แปลงเป็นนายพรานมาทดสอบจิตใจด้วยการขออาหาร ซึ่งพระโพธิ์สัตว์แสดงการให้ทานด้วยการกระโดดเข้ากองไฟเพื่อให้ตนเป็นอาหารแก่นายพราน แต่ไฟมิอาจทำอันตรายใดได้ นายพรานจึงบอกความจริงและสรรเสริญพระโพธิ์สัตว์พร้อมทั้งเขียนรูปกระต่ายไว้บนดวงจันทร์เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คุณความดีที่พระองค์พร้อมสละตนเป็นทานแก่สรรพสัตว์ ครั้นสมัยรัชกาลที่ ๓ บันทึกของบาทหลวงปาลเลกัวซ์ (Pallegoix) ระบุว่าคนไทยถือว่ากระต่ายเป็นสัตว์เจ้าปัญญาและเจ้าเล่ห์ นิทานหลายเรื่องล้วนกล่าวถึงกระต่ายมีลักษณะปราดเปรียวและฉลาดเหนือสัตว์อื่น รวมทั้งจุดในดวงจันทร์ก็มองว่าเป็นรูปกระต่ายด้วย ดังนั้นกระต่ายในทรรศนะของคนโบราณจึงมองว่าสัมพันธ์กับดวงจันทร์ (แม้กระทั่งสำนวนไทยยังมีคำว่า กระต่ายหมายจันทร์ ซึ่งหมายถึง ผู้ชายหมายปองผู้หญิงมีฐานะดีกว่า ) และอุปนิสัยของกระต่ายนั้นเป็นสัตว์ที่อยู่ตามพื้นดิน มีความคล่องแคล่ว ว่องไว ดังเช่น คำพรรณนาในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ แต่งขึ้นในคราวพระองค์ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปทรงนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี ความตอนหนึ่งกล่าวว่า ๏ กระต่ายหลายพงศ์พรรค์ เต้นชมจันทร์หันตัวตาม ซ่อนซุ้มชุมเหลือหลาม ยามออกเล่นเต้นชมกัน ฯ ๏ กระต่ายหลายพวกพ้อง พรรค์งาม ชมชื่นแสงจันทร์ตาม ไล่เหล้น ซ่อนซุ้มชุมเหลือหลาม หลายเหล่า ยามเมื่อออกเล่นเต้น โลดเลี้ยวชมกัน ฯ และในโคลง “สัตวาภิธาน” แต่งโดยพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ (สมัยรัชกาลที่ ๕) ระบุถึงชื่อสัตว์จำพวกต่าง ๆ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า ๏ กระต่ายออกเต้นตามพง ฟุบแฝงกอปรง กระโดดแลโลดลำภอง นอกจากนี้กระต่ายยังเป็นสัตว์เลี้ยงของราชสำนักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐาน “คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม” กล่าวว่าบริเวณตำหนักคูหาสวรรค์เป็นสวนกระต่าย ดังข้อความกล่าวว่า “...มีพระตำหนักห้าห้อง ฝาเขียนทองพื้นลงรักอยู่ในกลางสวนกระต่าย ๑ มีประตูเข้าไปพระตำหนักตึกใหญ่ ผนังนอกทาแดง ชื่อพระตำหนักโคหาสวรรค์ ๑ พระตำหนักนี้เปนที่ประทับของสมเดจพระพรรวษาใหญ่ ซึ่งเปนพระราชเทวีสมเดจพระนารายน์แต่ก่อนมา ครั้นภายหลังมาเปนพระคลังฝ่ายใน...” แม้กระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ บริเวณวัดบวรสถานสุทธาวาสในเขตฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เดิมเป็นวัดหลวงชี*** สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๒ โปรดให้ทำเป็นสวนกระต่าย ดังข้อความใน “ตำนานวังหน้า” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า “...ที่วัดหลวงชี ครั้งรัชกาลที่ ๑ ทำนองจะไม่มีหลวงชีอยู่ดังแต่ก่อน กุฏิหลวงชีร้างชำรุดทรุดโทรม จึงโปรดให้รื้อกุฏิหลวงชีเสียหมด ทำที่นั้นเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย เข้าใจว่าที่ตรงนี้แต่เดิมก็เห็นจะเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย เอาอย่างพระราชวังหลวงที่กรุงศรีอยุธยาจึงปรากฏว่ามีตำหนักอยู่ในนั้น...” *ดังนั้น พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงมีระยะเวลา ๙ เดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน-ธันวาคม **ตรงกับ ปีเบญจศก จุลศักราช ๑๓๘๕ และ รัตนโกสินทร์ศก ๒๔๒ ***หลวงชีในที่นี้หมายถึง นางชีนามว่า “นางแม้น” มารดาของนักองค์อี (ซึ่งเป็นพระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าอุไทยราชาแห่งกัมพูชา และเป็นพระสนมของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) อ้างอิง กรมศิลปากร. ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์พระมหาธรรมราชาที่ ๑ พญาลิไทย ฉบับ ตรวจสอบชำระใหม่. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๖. กรมศิลปากร. นามพรรณพฤกษา สัตวาภิธาน และ นิติสารสาธก. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๖๕. กรมศิลปากร. ปฏิทินหลวงพระราชทานกับการกำหนดปีนักษัตรของไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๖๖, จาก: https://www.finearts.go.th/literatureandhistory/view/22641-ปฏิทินหลวง พระราชทานกับการกำหนดปีนักษัตรของไทย คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๔. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังหน้า. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพฯ: แสงดาว, ๒๕๕๓. ส. พลายน้อย (นามแฝง). สิบสองนักษัตร. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๗. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สบ.๒.๑๙/๔. เอกสารส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. เรื่อง วินิจฉัย จุลศักราช รัตนโกสินทร์ศก (๑๙ พ.ย. ๒๔๖๖). บทความโดย นาย พนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 131/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 167/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger