ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อเรื่อง : กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา และสุภาษิตสอนสตรีของสุนทรภู่ ผู้แต่ง : สุนทรภู่ ปีที่พิมพ์ : 2516 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : อมรการพิมพ์



เลขทะเบียน : นพ.บ.25/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า  ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 7หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          มุณฑมาลา คือ พวงมาลัยหัวกะโหลก หรือพวงมาลัยศีรษะมนุษย์ เรียกอีกว่า กปาลมาลา (Kapālamālā) หรือ รุณฑมาลา (Ruṇḍamālā) สวมใส่โดยเทพและเทพีที่มีลักษณะดุร้าย สันนิษฐานว่าอาจเป็นร่องรอยของลัทธิบูชาหัวกะโหลก (skull culture) มาแต่เดิม มีความหมายเชื่อมโยงถึงความตาย ทางประติมานวิทยาในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นลักษณะของพระศิวะ ผู้เป็นเทพแห่งการทำลายล้าง เจ้าแห่งกาลเวลาและความตาย และภาคอันดุร้ายน่ากลัวของพระแม่ (Divine Mother) ผู้เป็นศักติหรือพลังของเทพเจ้า รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของเทพและเทพีผู้โกรธเกรี้ยว ในพุทธศาสนาตันตระยานแบบทิเบต           ในบริบทของพระศิวะสร้อยพวงกะโหลกมีความหมายถึงวัฏฏะอันต่อเนื่องของการสร้างและการทำลายล้าง ปรากฏในภาคอันดุร้ายของพระศิวะ เช่น อโฆรมูรติ (Aghoramūrti) ไภรวะ (Bhairava) คชาสุรสังหาร (Gajāsurasaṅhāra) กังกาละมูรติ (Kaṅkālamūrti) มฤตยุญชยะ (Mṛtayuñjaya) มหา-สทาศิวะ (Mahā-Sadāśiva) และวีรภัทร (Vīrabhadra)           ปางดุร้ายของพระเทวี เช่น กลุ่มมหาวิทยา (Mahāvidyas) คือกลุ่มพระเทวี 10 องค์ อาทิ กาลี (Kālī) ตารา (Tārā) ไภรวี (Bhairavī) ฉินนมัสตา (Chinnamastā) ธูมาวตี (Dhūmāvatī) มาตังคี (Mātaṅgī) และเทวีอื่น ๆ เช่น จามุณฑา (Cāmuṇḍā) และกาลราตรี (Kālarātī) สวมพวงมาลัยศีรษะที่ถูกตัดขาดเป็นเครื่องหมายของศัตรูและปีศาจที่ถูกสังหารโดยพระเทวีผู้สวมใส่ สำหรับฉินนมัสตา เทวีผู้ตัดหัวตัวเอง มุณฑมาลาเป็นเครื่องหมายของชัยชนะเหนือกาลเวลาและความกลัวตาย           เทพที่มีลักษณะโกรธเกรี้ยว ดุร้าย ในพระพุทธศาสนาแบบตันตระ เพื่อข่มขวัญและทำลายสิ่งชั่วร้ายที่เป็นศัตรูต่อพุทธศาสนา สวมใส่มุณฑมาลา แสดงกำลังอำนาจในการทำลายล้าง เช่น ธรรมปาล (Dharmapāla) เหรุกะ (Heruka) อจละ (Acala) เหวัชระ (Hevajra) และ สังวร (Saṃvara) เทพสตรี เช่น ฑากินี (Ḍākinī) เอกชฏา (Ekjaṭā) คุหเยศวรี (Guhyeśvarī) มาริฉี (Mārichī) และวัชรวาราหี (Vajravārāhī) เป็นต้น ภาพที่ 1. ตำราภาพเทวรูป ฉบับหอสมุดแห่งชาติ เลขที่ 32 ภาพนารายณ์อวตาร ปางอัปสราวตาร ตามคติทางไสยศาสตร์อย่างไทย พระนารายณ์แสดงลักษณะของพระศิวะ เทพผู้ทำลาย โดยสวมมุณฑมาลาหรือพวงมาลัยหัวกะโหลก ไม่นิยมแสดงความรุนแรง สยดสยอง อย่างศิลปะอินเดีย ซึ่งเป็นต้นแบบ ภาพที่ 2. ไภรวะ ศิลปะอินเดีย จาก Mysore, Karnataka state อายุคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภาพจาก Asian Art Museum ภาพที่ 3. ภาพพิมพ์รูปพระแม่กาลี อายุคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผลิตโดยสำนักพิมพ์ Ravi Varma ของอินเดีย มีการแสดงออกอย่างรุนแรงเสมือนจริง ภาพจาก The Metropolitan Museum of Art ภาพที่ 4. มหากาล ผู้ทำลายอวิชชา ในพุทธศาสนาตันตระยานแบบทิเบต ศิลปะทิเบต คริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ภาพจาก The Metropolitan Museum of Artอ้างอิงจาก1. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism, 184. ; 2. The illustrated dictionary of Hindu iconography 3. Iconography of the Hindus, Buddhists and Jains. 4. https://en.wikipedia.org/wiki/Mundamala 


ชื่อผู้แต่ง        :   ศิลปากร , กรมชื่อเรื่อง         :   งานเกี่ยวกับจารึกครั้งที่พิมพ์      :   -สถานที่พิมพ์    :   กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์      :   ธีรพงษ์การพิมพ์ปีที่พิมพ์         :   ๒๕๒๕จำนวนหน้า     :   ๙๔ หน้าหมายเหตุ        :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายประสาร  บุญประคอง  ณ เมรุวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร วันที่  ๔  กันยายน  พุทธศักราช ๒๕๒๕                     หนังสือเรื่อง งานเกี่ยวกับจารึกนี้ ประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ คือ วิธีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับจารึกของกองหอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๔ กรรมวิธีการจัดสำเนาจารึก บทนำ ประวัติ และคำอ่านจารึก จานทอง สมเด็จพระมหาเถรจุทามุณ๊ อักษรไทยสุโขทัย อักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย-บาลี จ.ศ. 738 บทนำ ประวัติ และคำอ่านจารึกฐานพระพุทธรูป 3 องค์ที่วัดพญาภูและวัดช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน คำแถลง ประวัติ และคำอ่านจารึกพระพุทธรูปแผ่นทองจั๋งโก่ คอระฆังพระธาติหริกุญชัย ด้านทิศตะวันตก ด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้(1)และ(2)



เรื่องที่ 356 เนื้อหาเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ สังคีติกถา ถ้อยคำที่กล่าวถึงเรื่องสังคายนา,แถลงความเรื่องสังคายนาเรื่องที่ 357 เนื้อหาเกี่ยวกับชาดก เรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก ตอนกัณฑ์กุมาร เรื่องที่ 358 เนื้อหาเกี่ยวกับพระธรรมเทศนา เรื่องพระธาตุกถาเรื่องที่ 359 เนื้อหาเกี่ยวกับนิทาน เรื่องจันทโครพ เรื่องที่ 360 เนื้อหาเกี่ยวกับศาสตร์สอนลูก เรื่องที่ 362 เนื้อหาเกี่ยวกับพระธรรมเทศนา เรื่องสีลสารสูตร เรื่องที่ 361 เนื้อหาเกี่ยวกับศาตร์บรรทม เรื่องที่ 363 เนื้อหาเกี่ยวกับพระธรรมเทศนา เรื่องวิสุทธิมรรคเลขทะเบียน จบ.บ.356/1,3 จบ.บ.357/1 จบ.บ.358/3,5 จบ.บ.359/1 จบ.บ.360/1 จบ.บ.361/1จบ.บ.362/1


 ชุมชนหนองบัว.  จันท์ยิ้ม.  2 ,  (3) :  25 ;ก.พ. - มี.ค.  2560.                                       ภายในเล่ม กล่าวถึงชุมชนหนองบัว ว่าเป็นชุมชนการค้าที่เก่าแก่อีกแห่งหนี่ง ของ จันทบุรี  เป็นตลาดที่ตั้งอยู่ริมน้ำ ที่มีบ้านเรือนไม้เก่าแก่อายุนับร้อยปีอยุ่เป็นจำนวนมาก  ริมคลองมี  ทิวทัศน์สวยงาม  คนหนองบัวส่วนใหญ่ เป็นชาวจีนที่อพยพมาจากไหหลำ  ใช้ภาษาแต้จิ๋ว  จากคำ บอกเล่า ของผู้เฒ่าผู้แก่  เล่ากันว่าบรรพบุรุษได้นั่งเรือสำเภามาจากเมืองจีน  มาลงที่ท่าแฉลบ แล้วลง เรือเล็กออกหาที่จับจองตั้งรกรากกันที่นี่   ชาวบ้านที่นี่ดั้งเดิมมีอาชีพประมงชายฝั่ง โดยการวางโพง-     พาง มีคนจีนเข้ามาอาศัยทำการค้าและปลูกผักส่งตลาดเมืองจันท์ด้วย   ชาวหนองบัวนั้นมีฝีมือทางด้านอาหารและขนมอร่อยมาช้านาน โดยเฉพาะอาหารและขนมพื้นบ้านชื่อ  แปลก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบที่หาได้ในชุมชน  เช่น ขนมติดคอ  ขนมตะลุ่ม  ขนม-ตังก๋วย  ขนมตะไลน้ำอ้อย  ไก่ต้มมะละกอ  หมึกฮิบ  ก๋วยเตี๋ยวผักน้ำกุ้ง  ชุมชนหนอง-บัว ต. หนองบัว อ. เมืองจันทบุรี ห่างจากตัวเมืองจังหวัดจันทบุรี ประมาณ 10 กม.



โครงการอบรมเผยแพร่องค์ความรู้โบราณสถานประเภทหินด้วยวิธี "อนัสติโลซีส"ระหว่างวันที่ ๓ - ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ณ แลนด์บรีซ รีสอร์ท & โฮเทล ปากช่องอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา


นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.   สาส์นสมเด็จ (ภาค 25).  พระนคร : กรมศิลปากร, 2499.                  หนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ ภาค 25 นี้ เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีโต้ตอบกันในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพเมื่อทรงวางจากภาระทางราชการการเมือง และทรงพักผ่อนอย่างเงียบ ๆ พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งสองพระองค์นี้ เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปในหมู่นักศึกษา โบราณคดี ศิลปและวรรณคดี และการปกครอง สาส์นสมเด็จนี้มีอยู่มากมายด้วยกัน ภาคนี้เป็น ภาค 25





         โบราณสถานวัดหินตั้ง เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยดำเนินการศึกษาวิจัยทางโบราณคดีภายใต้ “โครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานวัดไผ่ยายลิ้ม (ตอ.๑๘) – วัดหินตั้ง (น.๒๐) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓” โดยโครงการนี้จะทำการศึกษาวิจัยทางโบราณคดี โบราณสถานทั้งหมดจำนวน ๕ แห่ง ประกอบไปด้วย โบราณสถานวัดไผ่ยายลิ้ม (ตอ.๑๘) , โบราณสถานวัดหินตั้ง (น.๒๐) , โบราณสถานร้าง ต.๓ , โบราณสถานร้าง ต.๖ (วัดตระพังนาค) และโบราณสถานร้าง ต.๘           โบราณสถานวัดหินตั้งหรือโบราณสถานร้าง น.๒๐ (*น = ทิศเหนือ) ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ห่างจากประตูศาลหลวงทางทิศเหนือประมาณ ๓ กิโลเมตร โดยอยู่ริมฝั่งลำคลองแม่ลำพันด้านฝั่งตะวันออก ข้อมูลจากหนังสือทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2561 ซึ่งได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลได้อธิบายลักษณะของโบราณสถานวัดหินตั้งก่อนการเข้าดำเนินการขุดค้น ขุดแต่งศึกษาวิจัยทางโบราณคดีในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ว่าประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างดังต่อไปนี้ ๑. ฐานเจดีย์ ก่ออิฐ ถูกขุดทำลายเหลือเพียงแนวฐาน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๒ เมตร ๒. ฐานวิหาร มีสภาพเป็นเนินดินและเห็นแนวอิฐ ตั้งอยู่ด้านหน้าหรือตะวันออกของฐานเจดีย์ ๓. กำแพงแก้วล้อมรอบโบราณสถานทั้งหมด ทำจากแท่งศิลาแลงขนาดใหญ่ ตั้งเป็นแนวรอบอยู่ในพื้นที่ด้านกว้างประมาณ ๓๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐ เมตร ๔. คูน้ำ กว้างประมาณ ๑๕ เมตร ล้อมรอบโบราณสถานอยู่ในพื้นที่กว้าง ๓๕ เมตร ยาว ๕๕ เมตร ปัจจุบันคูน้ำบางส่วนตื้นเขินและเสื่อมสภาพ           นอกจากนี้วัดหินตั้งนี้ได้พบศิลาจารึกหลักที่ ๙๕ (ศิลาจารึกวัดหินตั้ง) อักษรภาษาไทย สมัยสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นเรื่องราวการสร้างวัดหินตั้งและการสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ โดยพระมหาธรรมราชาผู้ปู่ ปัจจุบันศิลาจารึกวัดหินตั้งถูกเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง หากท่านใดสนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร >>> https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/233?fbclid=IwAR19l84GqKtuSh-dUmMUElAm2EjskWI4Dq0j1fhYotSco8ppeU1nMK9LGUA           จากการดำเนินการขุดค้น ขุดแต่ง โบราณสถานวัดหินตั้ง ทำให้ทราบว่าเจดีย์ประธานของวัดฐานก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ในแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดกว้างด้านละประมาณ ๑๑.๓๐ เมตร แต่ด้วยการลักลอบขุดหาของตั้งแต่ครั้งอดีตทำให้ด้านบนของเจดีย์ได้ทำความเสียจนไม่สามารถสันนิษฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้ นอกจากนี้ทิศทั้งสี่ของเจดีย์ประธานมีเจดีย์บริวารประจำทิศจำนวน ๔ องค์ หรือทิศละ ๑ องค์ (องค์ด้านทิศเหนือชำรุดเป็นอย่างมากจากการลักลอบขุดปรากฏร่องรอยเหลือเพียงเล็กน้อย) ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วทำจากแท่งศิลาแลงขนาดใหญ่ ปรากฏช่องประตูเข้า-ออกทางด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก (ซึ่งการก่อสร้างกำแพงแก้วด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่นี้ปรากฏหลักฐานการสร้างในลักษณะคล้าย ๆ กันกับโบราณสถานหลายแห่งตามแนวถนนพระร่วง อาทิเช่น โบราณสถานวัดโบสถ์เมืองบางขลัง ,โบราณสถานวัดใหญ่ชัยมงคลเมืองบางขลัง รวมถึงโบราณสถานอีกหลายแห่งในเมืองศรีสัชนาลัยด้วย) ทางด้านทิศตะวันออกนอกกำแพงแก้ว ปรากฏแนวอาคารสันนิษฐานว่าเป็นวิหารผนังก่ออิฐพื้นอัดดินตามธรรมชาติ คูน้ำปัจจุบันบางส่วนตื้นเขินและเสื่อมสภาพจากการทำเกษตรกรรมทำให้ไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วคูน้ำที่ปรากฏนั้นเป็นคูน้ำที่ถูกขุดขึ้นใหม่เพื่อการเกษตรหรือคูน้ำที่มีมาแต่ครั้งโบราณกันแน่           ทั้งนี้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจะดำเนินการศึกษาวิจัยโบราณสถานวัดหินตั้งและโบราณสถานอื่น ๆ ในโครงการเดียวกันนี้ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ออกมาในรูปแบบรายงานทางวิชาการและจะมีการเผยแพร่ทางหน้าเพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยต่อไป >>> https://www.facebook.com/skt.his.park



Messenger