ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

           กรมศิลปากรขอเชิญรับชมการถ่ายทอดสด Facebook Live การเสวนาวิชาการเนื่องในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๓ – ๗ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๕ .๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีรายการเสวนาที่น่าสนใจดังนี้           - วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๖ การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง "วัฒนธรรมเสมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ"           - วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๖  การเสวนา เรื่อง "เอกสารจดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : มรดกความทรงจำแห่งโลก"           - วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๖ การเสวนา เรื่อง "การค้าทางทะเลและเส้นทางข้ามคาบสมุทรไทยในช่วงต้นประวัติศาสตร์"           - วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๖ การเสวนา เรื่อง "ประจวบคีรีขันธ์ : ร่องรอยหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาพเขียนสีในพื้นที่เขาสามร้อยยอด"           - วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖ การเสวนา เรื่อง "ข้อมูลใหม่ทางโบราณคดีที่บ้านหลวงรับาชทูต เมืองลพบุรี"           ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากรhttps://www.facebook.com/FineArtsDept


เลขทะเบียน : นพ.บ.452/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 159  (163-173) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : ลำชมพูบัตติ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.603/1                      ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 52 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 192  (392-398) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พละสังขยา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




          ย้อนรอยพระจอมเกล้าฯ ตอน พระราชมณเฑียรสถาน "พระอภิเนาว์นิเวศน์"           นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) หลักฐานชิ้นสำคัญที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย           ในปีขาล พุทธศักราช ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสร้างพระราชอุทยานขึ้นในพระบรมมหาราชวัง อันมีชื่อว่า สวนขวา ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อสวนขวา และนำเอาสิ่งก่อสร้าง และเครื่องประดับสวน นำไปอุทิศถวายแก่พระอารามสำคัญ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวยังว่างอยู่ จึงโปรดเกล้าให้สร้างพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานขึ้นเพิ่มเติมจากพระราชมณเฑียรเดิมที่มีมาแต่ครั้งสถาปนากรุงฯ ดังความในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ) ความว่า           ". . . จึงโปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยเป็นแม่กอง ให้ทำพระมหาราชมนเทียรขึ้นอีก ๕ องค์ ให้รื้อพระตำหนักเดิมมาปลูกไว้ด้วย และให้สร้างพระที่นั่งสูง มีพื้น ๕ ชั้น สำหรับทอดพระเนตรไปไกลๆ องค์ ๑ แล้วให้สร้างพระที่นั่งสำหรับไว้ขององค์ ๑ แล้วมีหอสำหรับพระสงฆ์เจริญพระปริตรหลัง ๑ สำหรับไว้พระแสงเครื่องศาสตราคมหลัง ๑ สำหรับเลี้ยงแขกเมืองหลัง ๑ ชักเขื่อนเพ็ชรล้อมรอบ สำหรับพวกพนักงานอยู่ทุกพนักงาน ชั้นนอกเขื่อนเพ็ชรเชิงเทินปราการตรงหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นองค์ ๑ และพระที่นั่งสุทธาสวรรย์เดิมก็โปรดให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่ ทำป้อมที่พระราชวังกำแพงตรงถนนบำรุงเมือง ให้ชื่อป้อมสัญจรใจวิง . . ."            เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระที่นั่งและอาคารต่างๆ ไว้อย่างคล้องจองกัน ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ต่อมาว่า            ". . . พระที่นั่งหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามชื่อพระที่นั่งไชยชุมพล พระที่นั่งสูง ๕ ชั้น ชื่อภูวดลทัศไนย พระที่นั่งสุทธาสวรรย์โปรดให้แปลงชื่อว่าพระที่นั่งสุทไธศวรรย์ ท้องพระโรงเสด็จออกให้ชื่อพระที่นั่งอนันตสมาคม พระมหามนเทียรฝ่ายในองค์ ๑ ชื่อบรมพิมาน ท้องพระโรงฝ่ายในที่เฝ้าชื่อนงคราญสโมสร พระพิมานฝ่ายใต้องค์ ๑ ชื่อจันทรทิพโยภาศ พระพิมานฝ่ายเหนือองค์ ๑ ชื่อภาณุมาศจำรูญ พระตำหนักเดิมชื่อมูลมนเทียร หอพระปริตรชื่อว่าหอเสถียรธรรมปริตร หอแสงศาสตราคมให้ชื่อว่าหอราชฤทธิรุ่งโรจน์ หอที่เลี้ยงแขกเมืองให้ชื่อว่าหอโภชนลีลาศ พระที่นั่งไว้ของประหลาดต่างๆ ชื่อพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ . . ." และพระราชทานนามหมู่พระราชมณเฑียรสถานแห่งใหม่นี้ว่า "พระอภิเนาว์นิเวศน์"           นับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๐๒ ซึ่งเป็นปีที่สร้างเสร็จพระอภิเนาว์นิเวศน์จึงมีความสำคัญ ในฐานะพระราชมณเฑียรสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกระทั่งเสด็จสวรรคต โดยในระหว่างนี้ได้ใช้สถานที่ดังกล่าวในการสำคัญๆ อาทิ การเสด็จออกรับทูตจากประเทศต่างๆ ที่เดินทางมาทำหนังสือสัญญาเจริญพระราชไมตรี เช่น ฮอลันดา, ปรัสเซีย, ฝรั่งเศส, โปรตุเกส เป็นต้น            ดังปรากฏภาพเขียนสีน้ำมันที่ประดับอยู่ภายในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท แสดงการเสด็จออกแขกเมืองของพระองค์ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม อันเป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์           ภายหลังสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระอภิเนาว์นิเวศน์ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เนื่องจากไม่ได้ใช้เป็นที่ประทับอีก ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้รื้อเสีย อันเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการสร้างพระราชนิเวศน์แห่งใหม่ นั่นคือ พระราชวังสวนดุสิต จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำเอานามท้องพระโรงของพระอภิเนาว์นิเวศน์ มาใช้เป็นนามของท้องพระโรงแห่งใหม่นั้น ปรากฏนามที่รู้จักกันจนปัจจุบันว่า "พระที่นั่งอนันตสมาคม"   เรียบเรียง : ณัฐพล ชัยมั่น อ้างอิง วัชรญาณ : พระราชพงศาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร์-รัชชกาลที่-๔/๔๐-สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์





          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก จังหวัดปทุมธานี ขอเชิญชวนสถานศึกษา โรงเรียน หน่วยงาน หรือองค์กรที่สนใจนำกิจกรรมและนิทรรศการสัญจรไปจัดแสดงและให้ความรู้  หรือต้องการเข้าชมพิพิธภัณฑ์และร่วมกิจกรรมสามารถประสานผ่านทาง inbox ใน Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก หรือโทรศัพท์ ๐ ๒ ๙๐๒ ๗๕๖๘  (ในเวลาราชการ จันทร์ - ศุกร์เวลา ๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.)


           กรมศิลปากรร่วมกับคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกฯ จัดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "เอกสารสมุดไทยนันโทปนันทสูตรคำหลวง สู่มรดกความทรงจำระดับโลก" ในวันอังคารที่ 5 กันยายน 2566 เวลา 08.30 - 17.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ (ขณะนี้มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมฟังสัมมนา เต็มจำนวนแล้ว)            การเสวนามีหัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ ประกอบด้วย            - นันโทปนันทสูตรคำหลวงกับความสำคัญในประวัติศาสตร์ของโลก ผู้เข้าร่วมเสวนา ได่แก่ รองศาสตราจารย์ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพร ภู่พงศ์พันธุ์ อาจารย์ ดร.อัสนี พูลรักษ์ และอาจารย์สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา             - บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับต้นฉบับนันโทปนันทสูตรคำหลวงในแง่ของวรรณกรรมข้ามพรมแดนและ ข้ามกาลเวลา ผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ รองศาสตราจารย์จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ อาจารย์ ดร.อัสนีพูลรักษ์ คุณเอมอร เชาวน์สวน และอาจารย์พอพล สุกใส เป็นผู้ดำเนินการเสวนา             - อิทธิพลของต้นฉบับสมุดไทยนันโทปนันทสูตรคำหลวงที่มีต่อวรรณกรรมและศิลปะแขนงต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู่เข่าร่วมเสวนา ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มุจรินทร์ อิทธิพงษ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิปปวิชญ์ กิ่งแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นวัต เลิศแสวงกิจ อาจารย์พอพล สุกใส และรองศาสตราจารย์ จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ เป็นผู่ดำเนินการเสวนา              - นันโทปนันทสูตรคำหลวง มองไปในอนาคต... สู่เยาวชนและมหาชนรุ่นหลัง ผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ อาจารย์พอพล สุกใส อาจารย์วิมลศิริ กลิ่นบุบผา นางสาวปฏิญญา บุญชู และอาจารย์เจษฎาพร ศรวิชัย เป็นผู่ดำเนินการเสวนา              นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเอกสารสมุดไทย เรื่อง นันโทปนันทสูตรคำหลวง และเอกสารที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ผู้สนใจร่วมฟังการสัมมนาดังกล่าว สามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand  



           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พินิศ-พิพิธ-พิภพ วังหน้าพระยาเสือ” โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท วิทยากร นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และนายยุทธนาวรากร แสงอร่าม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร  บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


         ถุงเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน          ลักษณะ : สมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีหว่านข้าวแปลงนาศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน พร้อมกับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมปทุมธานี 1 และธงเครื่องหมายประจำศูนย์ ณ บ้านนาป่า หมู่ที่ 5  ตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์  จังหวัดสุพรรณบุรี    เมื่อวันที่  31  กรกฎาคม  พุทธศักราช 2543   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/thaifarmersnational/360/model/03/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/thaifarmersnational


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชวนร่วมกิจกรรมจิบชาชมวัง ปีที่ ๓ เนื่องในกิจกรรมยลวังหน้ายามค่ำ Night at the Museum Festival 2023 ตอน จิบชาในสวน (Afternoon Tea in the Courtyard) วันศุกร์ - อาทิตย์ที่ ๑๕ - ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๕.๐๐ น. ณ สวนทิศใต้ หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            วันศุกร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๖เรื่อง “ณ ชั่วขณะ - A Glimpse of Time” จิบชาและชมนิทรรศการภาพถ่ายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) วิทยากรโดย สิปปภาส ครองบุญ ช่างภาพอิสระ            วันเสาร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๖ เรื่อง “เครื่องถ้วย ของสะสมผู้ดีสยาม - Ceramics, Siamese Old Money’s Collection” จิบชาและชมเครื่องกระเบื้องล้ำค่า ในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) วิทยากรโดย ธนพันธุ์ ขจรพันธุ์ นักวิชาการอิสระ            วันอาทิตย์ที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๖ เรื่อง “สวนไทย - Thai Garden” จิบชาและชมสวนไทย ในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) วิทยากรโดย ดร.พรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิกชำนาญการพิเศษ ---------------------------------------------------------- หมายเหตุ :  - รับจำนวนจำกัด - ชุดชาและอาหารว่าง / ๑ คน  - คนละ ๙๙ บาท (จ่ายหน้างาน) สอบถามเพิ่มเติม / สำรองที่นั่งล่วงหน้า โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ (เปิดทำการ เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น. วันพุธ - อาทิตย์)  


Messenger