ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อเรื่อง มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ผู้แต่ง พระยาศรีสุนทรโวหารประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ภาษาเลขหมู่ 495.918 ศ276มสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2508ลักษณะวัสดุ 352 หน้าหัวเรื่อง ภาษาไทย -- แบบเรียน ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกมูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ ว่าด้วยวิธีใช้ตัวอักษรพยัญชนะเสียงสูงต่ำ การผัน การประสมอักษร และตัวสะกดการรันต์ เฉพาะมูลบทบรรพกิจ สันนิษฐานว่า จะได้เค้ามาจากหนังสือจินดามณี
อู่ฝู : ค้างคาว ๕ ตัว กับความสุข ๕ ประการ
ภาพสัญลักษณ์มงคลมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมจีนมาช้านาน เราสามารถพบเห็นภาพสัญลักษณ์มงคลเหล่านี้ได้ บนเสื้อผ้า อาวุธ ข้าวของเครื่องใช้ งานศิลปกรรม หรือแม้แต่เครื่องถ้วย สัญลักษณ์มงคลจีนมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ ต้นไม้ ดอกไม้ หรือตัวอักษรจีนที่มีความหมายเป็นมงคล เป็นต้น โดยสัตว์ชนิดหนึ่งที่มักพบในสัญลักษณ์มงคลจีน คือ "ค้างคาว"
"ค้างคาว" หรือในภาษาจีนกลางเรียกว่า "เปียนฝู" (蝙蝠) เป็นหนึ่งในสัตว์มงคลที่มักจะพบอยู่บนข้าวของเครื่องใช้เสมอ เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีมีสุข เนื่องจากอักษร ฝู ในคำเรียกค้างคาวนั้นไปพ้องเสียงกับอักษร "ฝู" (福) ที่แปลว่า โชคดี รวมถึงพ้องเสียงกับชื่อเทพเจ้า "ฝู" หนึ่งในสามเทพเจ้าแห่งดวงดาวในลัทธิเต๋า "ฝู ลู่ โซ่ว" (福禄寿, ภาษาแต้จิ๋ว : ฮก ลก ซิ่ว) นอกจากนี้ ค้างคาวยังปรากฏอยู่ในตำนานอื่น ๆ ของจีนอีกด้วย เช่น ชาวจีนเชื่อว่าค้างคาวมีอายุยืนยาวมากเพราะดื่มกินแต่น้ำบริสุทธิ์จากในถ้ำเท่านั้น หรือเชื่อว่าหากได้กินค้างคาวสีขาวก็จะมีอายุยืนยาว
การสร้างภาพมงคลรูปค้างคาวมีหลายแบบ แต่ละแบบก็ให้ความหมายที่แตกต่างกันไป อาทิ ค้างคาวตัวเดียว หมายถึง ความโชคดี ค้างคาวสองตัว หมายถึง ความโชคดีทวีคูณ นอกจากนี้ ค้างคาวยังถูกใช้เป็นรูปแทนเทพเจ้าฝูในฝู ลู่ โซ่วด้วย ทว่ารูปแบบหนึ่งที่พบบ่อย คือ การทำรูปค้างคาวห้าตัวซึ่งเป็นตัวแทนของ "อู่ฝู" (五福) หรือความสุขห้าประการ คำสอนสำคัญที่ปรากฏอยู่ใน "คัมภีร์ซ่างซู" (尚书) ของลัทธิขงจื๊อ กล่าวถึงความสุขอันแท้จริงของมนุษย์ที่พึงได้รับ ประกอบด้วย
๑. ฉางโซ่ว (长寿) หมายถึง มีอายุอันยืนยาว
๒. ฟู่กุ้ย (富贵) หมายถึง มั่งคั่งร่ำรวย
๓. คังหนิง (康宁) หมายถึง สุขภาพดีปราศจากโรคภัย
๔. เห่าเต๋อ (好得) หมายถึง คุณธรรมอันประเสริฐ
๕. ซ่านจง (善终) หมายถึง การตายอย่างสงบสุข
รูปค้างคาวแต่ละตัวจึงหมายถึงความสุขแต่ละประการข้างต้นนั่นเอง และในบางครั้งจะพบว่ามีการนำอู่ฝูมาประกอบร่วมกับสัญลักษณ์มงคลอื่น ๆ เช่น ลูกท้อ ผักกาด หรือประกอบตัวอักษรจีนประดิษฐ์ เช่น "ซวงสี่" (囍, มงคลคู่, ภาษาแต้จิ๋ว : ซังฮี้) เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความเป็นสิริมงคลและได้รับโชคดี และยังสะท้อนภาพคติความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวจีนที่สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จทวีปยุโรป พ.ศ. 2434. พระนคร : กรมศิลปากร, 2511. กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปทวีปยุโรป เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นราชทูตพิเศษ เสด็จไปเยี่ยมตอบแกรนด์ดุ๊ก ซาเรวิช รัชทายาทประเทศรุสเซีย โปรดให้เสด็จไปยังราชสำนักยุโรป รวม ๘ ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก เยอรมนี รุสเซีย ตุรกี กรีซ และอิตาลี
จารึกวัดจงกอ เป็น จารึกหินทราย สลักด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร ข้อความกล่าวถึง ธุลีพระบาทกมรเตงกำตวนอัญศรีชยวีรวรมันเทวะ (พระเจ้าชัยวีรวรมัน) มีพระบรมราชโองการ ให้ดำเนินการรังวัดและปักเขตที่ดิน เพื่อกัลปนาพร้อมด้วยข้าทาส ถวายแด่ #กมรเตงชคตวิมาย ระบุ มหาศักราช 930 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 1551 ซึ่งนับเป็นจารึกที่เอ่ยถึง “วิมายฺ” หรือ “พิมาย” ที่เก่าแก่ที่พบอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากเป็นจารึกที่เอ่ยถึง “วิมายฺ” ที่เก่าที่สุดแล้ว จารึกวัดจงกอ ยังกล่าวถึง บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์กัมพูชา อย่าง พระเจ้าชัยวีรวรมัน ซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 จากข้อความบนจารึกวัดจงกอเเละจารึกที่กล่าวถึงพระเจ้าชัยวีรวรมันจึงสันนิษฐานว่า พระองค์ทรงถูกแย่งชิงราชสมบัติ โดย พระเจ้าสูรยวรมันที่ 1
ภายหลังได้โยกย้าย มาตั้งถิ่นฐาน ใกล้กับเมืองพิมาย โดยประเด็นนี้ เป็น 1 ใน 3 ประเด็น ที่จารึกวัดจงกอ ช่วยเราสืบสาวราวเรื่อง ที่เกี่ยวกับ พระเจ้าชัยวีรวรมัน ได้เป็นอย่างดี ..
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน)อย.บ. 27/6ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.4 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธรูปนาคปรก
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕
จากวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประติมากรรมพระพุทธเจ้า ประทับขัดสมาธิราบ แสดงปางสมาธิ มีพุทธลักษณะคือ อุษณีษะทรงกรวย เม็ดพระศกใหญ่ พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรโปนเหลือบต่ำ พระนาสิกใหญ่ (ส่วนปลายพระนาสิกชำรุดหักหายไป) พระโอษฐ์หนา แย้มพระสรวล พระวรกายครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน มีลักษณะเป็นชายผ้าพับซ้อนทับกัน ประทับเหนือขนดนาค พระปฤษฎางค์มีพังพานนาค ๗ เศียร ปรกพระเศียร ขนาบข้างด้วยรูปสถูปและมีภาพคนแคระรองรับอยู่ใต้สถูป กึ่งกลางฐานล่างสุดเป็นรูปหน้าสิงห์
ประติมากรรมชิ้นนี้สัมพันธ์กับพุทธประวัติภายหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้หกสัปดาห์ เสด็จประทับเข้าสมาบัติเสวยวิมุติสุขใต้ต้นจิก ขณะนั้นเกิดฝนตกนาน ๗ วัน นาคตนหนึ่งนามว่า มุจลินทนาคราช ซึ่งอาศัยอยู่ ณ สระโบกขรณีใกล้ๆ กับที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ได้เลื้อยขึ้นมาจากสระและแผ่พังพานปกคลุมพระพุทธเจ้า ตามข้อความใน ปฐมสมโพธิกถา ระบุตอนนี้ไว้ว่า
“...ผิฉะนั้นอาตมาจะกระทำซึ่งกายป้องกันเสียซึ่งมูลมลทินอย่าให้ถูกต้องพระกรัชกาย* จึงขดเข้าซึ่งขนดกายเป็น ๗ รอบแวดวงองค์พระศาสดาจารย์ แล้วก็แผ่พังพานอันใหญ่ป้องปกเบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์** หวังประโยชน์จะมิให้เย็นและร้อนถูกต้องลมแดด แลฝนเหลือบยุงและสรรพสัปปชาติ ๆ ต่างๆ มาสัมผัสพระกรัชกาย”
เมื่อผ่านพ้นไป ๗ วัน ฝนจึงหยุดตก มุจลินทนาคราชได้คลายขนดนาคและแปลงกายเป็นมนุษย์มาอยู่เบื้องหน้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงออกจากสมาบัติทรงเปล่งคาถาว่า สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺสฯ ซึ่งมีอรรถาธิบายความว่า “บุคคลอันเห็นมรรคผลวิมุติธรรมปรากฏแล้ว ก็ยินดีในอุปธิวิเวกเป็นเอกอุดมสุขในโลก เว้นจากอาโภคพยาบาทสำรวมในการุญภาพทั่วไปในนิกรสัตว์ทั้งปวง”
นอกจากนี้รูปแบบของประติมากรรมชิ้นนี้ยังมีส่วนที่น่าสนใจ คือรูปสลักสถูปทรงหม้อน้ำทั้งสองข้าง ลักษณะสำคัญคือส่วนกลางของสถูปมีลักษณะเป็นทรงหม้อก้นกลมมีฐานรองรับ ส่วนยอดด้านบนมีฉัตรซ้อนหลายชั้น ลักษณะดังกล่าวน่าจะเป็นตัวอย่างของเจดีย์รูปแบบหนึ่งในสมัยทวารวดี (ปัจจุบันเจดีย์สมัยทวารวดีหลายแห่งเหลือเพียงส่วนฐานเท่านั้น)
พระพุทธรูปองค์นี้อัญเชิญมาจากวัดประดู่ทรงธรรม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์โปรดว่าเป็นประติมากรรมที่งามองค์หนึ่ง ดังข้อความในจดหมายของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ถึงอำมาตย์ตรี พระสมัครสโมสร มหาดไทยมณฑลอยุธยา ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...ด้วยพระพุทธรูปสมัยทวารวดีนาคปรกจำหลักในแผ่นศิลาคล้ายใบเสมา มีรูปสถูป ๒ ข้าง ใต้ขนดนาคเปนหน้าสิงห์ ๒ ข้างหน้าสิงห์มีรูปเทวดายกมือรองสถูป อยู่ที่วัดประดู่โรงธรรมซึ่งผมได้ขึ้นมาตรวจเมื่อ ๒-๓ วันนี้นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภา ตรัสว่าเปนของดี สมควรจะเชิญเอาลงไปรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ผมจึงได้จดหมายฉบับนี้มาเรียนคุณพระขอให้ช่วยจัดการเอาใส่หีบส่งลงไปทางรถไฟ...”
*กรัชกาย หมายถึง ร่างกาย
**อุตมังคสิโรตม์ หมายถึง ศีรษะ (พระเศียร)
อ้างอิง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ. ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๓๐. (รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายสนองพระมหากรุณาธิคุณในมหามงคลเฉลิมพระเกียรติวันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันอังคารที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐).
.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ ๒.๑.๑/๒๕๙. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง ขอให้ช่วยส่งพระพุทธรูปนาคปรกสมัยทวารวดี ซึ่งอยู่ที่วัดประดู่โรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (๒๗ ธ.ค. - ๖ ม.ค. ๒๔๗๔).
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 36/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 131/4เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 167/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : พระเจดีย์วัดทุ่งยั้ง -- วัดพระบรมธาตุ หรือวัดทุ่งยั้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ถือได้ว่าเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุมาตั้งแต่ครั้งอดีต พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นมีการบูรณะซ่อมแซมมาหลายยุคหลายสมัย ซึ่งในบางครั้งอาจมีที่มาจากการที่พระเจดีย์พังทลายหรือได้รับความเสียหาย ดังเช่นการพังทลายของพระเจดีย์ครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ปรากฏหลักฐานในเอกสารจดหมายเหตุ และทำให้เราทราบว่า ภายในพระเจดีย์บรรจุสิ่งสำคัญสิ่งใดไว้บ้าง. จากข้อมูลในเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง วัดทุ่งยั้ง เมืองพิไชย ระบุว่า เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) ได้เกิดเหตุพระเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุวัดทุ่งยั้งพังทลายลง ผลจากการพังทลายทำให้ได้พบสิ่งของที่บรรจุอยู่ในพระเจดีย์ อันประกอบด้วย พระบรมธาตุ 2 องค์ กับตลับ 7 ชั้นและโกศทองคำที่ใส่พระบรมธาตุ และพระพุทธรูปทองคำและเงินขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมทั้งสิ่งของอีกหลายรายการ เช่น เศษทองคำ เศษเงิน เหรียญเงินเฟื้องสลึง เหรียญเงินรูเปีย พลอยแหวนสีต่างๆ เครื่องเงินและเครื่องทองเหลือง . สำหรับองค์พระบรมธาตุกับตลับ 7 ชั้นและโกศทองคำนั้น ผู้ว่าราชการเมืองพิชัยได้นำไปเก็บรักษาที่เมือง ส่วนสิ่งของอื่นนอกเหนือจากนั้นได้มอบให้เจ้าอธิการแก้วเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ซึ่งในเวลาต่อมา เจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร เสนาบดีกระทรวงธรรมการในขณะนั้น ได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมติอมรพันธุ์ ราชเลขานุการในพระองค์ ความตอนหนึ่งเสนอให้เทศาภิบาลนำพระบรมธาตุที่เก็บรักษาไว้ที่เมืองพิชัย พร้อมทั้งพระธาตุสาวกและพระพุทธรูปทองคำ ส่งเข้ามากรุงเทพฯ เพื่อประดิษฐานในพระอารามหลวง โดยเจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกรให้เหตุผลว่า วัดทุ่งยั้งเป็นวัดราษฎร์ หากเก็บรักษาไว้ที่เดิมอาจเป็นอันตรายด้วยประการต่างๆ ได้ และทูลขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วย. เมื่อความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า “...สังเกตดูตามรายชื่อสิ่งของ […...] เปนของใหม่ๆ พระบรมธาตุจึงไม่เปนสิ่งซึ่งน่าจะพิศวง ฤๅเลื่อมใสว่าจะวิเศษอย่างไร แต่พระเจดีย์ทุ่งยั้งเองเปนพระเจดีย์มีชื่ออยู่ในเรื่องราวตำนาน จะมีอะไรอยู่ในนั้นฤๅไม่มีก็ตาม คงเปนพระเจดีย์สำคัญ…” และทรงมีพระราชดำริว่าควรจะบรรจุสิ่งซึ่งพบในพระเจดีย์กลับเข้าไปในพระเจดีย์ตามเดิม ดีกว่าจะนำลงมาบรรจุในเจดียสถานที่กรุงเทพฯ และทรงขอให้คิดอ่านเรี่ยรายเงินเพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อไป ฉะนั้น จากพระราชดำริดังกล่าวของพระองค์ จึงทำให้พระบรมธาตุยังคงประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ที่วัดทุ่งยั้งเพื่อให้ประชาชนได้เคารพสักการะมาจนถึงปัจจุบัน.ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง:1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ ร.5 ศ 6 วัด (ท) / 27 เรื่อง วัดทุ่งยั้ง เมืองพิไชย. [25 – 30 ธ.ค. 127].2. กรมศิลปากร. ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 17 จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโพรดักส์, 2554.#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อเรื่อง สพ.ส.33 บทสวดมนต์ต่างๆประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ ธรรมคดีลักษณะวัสดุ 84; หน้า : มีภาพประกอบหัวเรื่อง ธรรมคดี ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดใหม่พิณสุวรรณ ต.บ้านแหลม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 14 ส.ค.2538
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๕ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๗๐ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๕
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๔๓ สิริพระชันษา ๙ ปี
หลังจากพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้นำทุนทรัพย์สมบัติของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์ศิริประสาธน์ ไปสร้างโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร (โรงเรียนเบญจมบพิตรในอดีต)
ภาพ : อาคารเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
ชื่อผู้แต่ง พระเทพโมลี
ชื่อเรื่อง ประถมมาลา
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ -
จำนวนหน้า ๑๒๔ หน้า
หมายเหตุ สข.๐๑๑ หนังสือสมุดไทยขาว อักษรไทย ภาษาไทย เส้นหมึก
(เนื้อหา) ปฐมมาลาเป็นหนังสือแบบเรียนสมัยโบราณโดยจะใช้สำหรับผู้ที่อ่านออกแล้ว ผู้ที่จะเรียนหนังสือเล่มนี้จะต้องเรียน ประถม ก กา เสียก่อน เนื้อหาภายในเกี่ยวกับ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน แต่งโดยพระเทพโมฬี วัดราชบูรณะ ประมาณรัชกาลที่ ๓ ปฐมมาลาเป็นหนังสือแบบเรียนสมัยโบราณโดยจะใช้สำหรับผู้ที่อ่านออกแล้ว ผู้ที่จะเรียนหนังสือเล่มนี้จะต้องเรียน ประถม ก กา เสียก่อน เนื้อหาภายในเกี่ยวกับ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน แต่งโดยพระเทพโมฬี วัดราชบูรณะ ประมาณรัชกาลที่ ๓
ลักษณะและความหมายของตราสัญลักษณ์ ๑๑๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร ตราสัญลักษณ์ประกอบด้วย ตราประจำกรมศิลปากรอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยแพรแถบพื้นเขียวขลิบทอง บนแพรแถบซ้าย - ขวา มีตัวเลขปีพุทธศักราช ๒๔๕๔ และ ๒๕๖๖ เป็นปีแรกเริ่มการสถาปนาจวบจนถึงปีปัจจุบัน ด้านล่างมีข้อความ "กรมศิลปากร" ด้านบนมีตัวเลข ๑๑๒ อยู่ภายในกรอบ หมายถึง การครบรอบ ๑๑๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร
ผู้ออกแบบ : นายปัญญา โพธิ์ดี นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ
สังกัด : กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ชื่อผู้แต่ง สมุทัย นิโรธ อริยสัจจ
ชื่อเรื่อง สมุทัย นิโรธ อริยสัจจ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๙
จำนวนหน้า ๒๗๐ หน้า
อริยสัจจสอง ชื่อธรรมนี้ อาจไม่คุ้นเคยเท่ากับอริยสัจจสี่หรือจตุราริยสัจจ ถึงกระนั้น อริยสัจจสองก็เป็นจำนวนอยู่ในอริยสัจจสี่ คือ สมุทัยกับนิโรธ อันเป็นที่ 2 และที่ 3 แต่ที่ทรงแสดงไม่ตรัสเรียกว่า อริยสัจจ ตรัสเรียกว่า ธรรม ปฏิจจสมุปปาทธรรม ปัจจยาการ ทั้งนี้ จึงปรากฏตลอด 3 ปิฎก เช่น ใน ปุณโณวาทสูตร ชื่อ ปฏิจจสมุปปาทธรรม ซึ่งแปลว่าธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ปรากฏในวินัยปิฎก มหาวัคค และในสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทานวัคค ส่วนในอภิธมมปิฎก วิภังคปกรณ ปรากฏชื่อว่า ปัจจยาการ อันแปลว่า อาการแห่งปัจจัยหรือเหตุฉะนี้ เมื่อกล่าวถึงชื่อธรรมว่า สมุทัย และนิโรธ เท่ากับกล่าวธรรมอันปรากฏในไตรปิฎกที่เป็นธรรมชื่อสมุทัย อันแปลว่าเกิดและนิโรธอันแปลว่าดับ