ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อเรื่อง จุนฺทสูกริกสุตฺต (จุนทสูกริกสูตร)
สพ.บ. 230/1 ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 46 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 60 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง อภิธมฺมตฺถสงฺคห (อภิธมฺมตฺถสงฺคห)
สพ.บ. 379/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 64 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พระอภิธรรม
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคาต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้เรื่อง : ศิลปสถาปัตยกรรมโบราณสถานพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่านเรียบเรียงโดย : นายพลพยุหะ ไชยรส นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ พระธาตุแช่แห้งถือเป็นพระธาตุที่มีความสำคัญมากที่สุดของนครน่านโดยเป็นพระธาตุที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่ทำให้เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์โดยการขุดคูน้ำคันดินล้อมรอบหรือที่เรียกว่า “เวียงพระธาตุ” โดยใช้คูน้ำเป็นอุทกเสมาแสดงขอบเขตของพื้นที่ ในตำนานพื้นเมืองน่านระบุว่าพญากานเมืองได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากกษัตริย์สุโขทัยหลังที่พระองค์เสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัยและได้นำพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุไว้ในพระธาตุที่สร้างขึ้นบนเนินดินพูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ.1899 ตามชัยภูมิที่พระธัมมปาลเถระ ได้แนะนำ ความว่า “…พระญาครานเมืองนิมนต์มาเมตตาอยู่เมืองพัวแล เมื่อนั้นพระญาร่ำเพิงดูที่ควรจุธาตุ จิ่งไหว่เจ้าไทยว่า ข้าแห่งมหาราชคุรุเจ้า จักควรจุธาตุไว้ที่ใดดีชา ขอเจ้ากูจุ่งพิจารณาดูที่ควรจุไว้เทอะ มหาเถรเจ้า (ธัมมปาลเถระ) พิจารรณาที่ ดูที่ทุกถ้วนถี่เมืองกาวก็หันพูเพียงที่ควรจุธาตุ…” ทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีหรือประวัติศาสตร์ใดในปัจจุบันที่ช่วยทำให้ทราบลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมพระธาตุแช่แห้งในสมัยราชวงศ์พูคาได้ (พุทธศตวรรษที่ 19 - 21) ต่อมาหลังจากที่ท้าวผาแสงเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์พูคาสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.2003 พระเจ้าติโลกราชได้ส่งท้าวขาก่านมาครองเมืองน่าน ท้าวขาก่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุแช่แห้งขึ้นใหม่โดยอาจได้รับแรงบันดาลใจจากพระธาตุหริภุญชัยเป็นต้นแบบ มีระเบียบการก่อสร้างพระธาตุดังนี้ฐานล่างสุดเป็นฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนลดหลั่นกันสองชั้น ชั้นที่สองประดับสถูปิกะที่มุมสี่ทิศ เหนือขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายที่มีการคาดลวดบัวลูกแก้วอกไก่สองเส้นบริเวณท้องไม้ ด้านบนฐานประดับสถูปิกะสี่ด้าน ถัดไปเป็นฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผังแปดเหลี่ยม และผังสิบสองเหลี่ยม ตามลำดับ คั่นด้วยฐานประดับกลีบบัวรองรับชุดฐานบัวในผังกลมซ้อนลดหลั่นกันอีกสามชั้น เหนือขึ้นไปเป็นบัวปากระฆังซึ่งรอบรับองค์ระฆังขนาดเล็ก ประดับด้วยรัดอกและดอกไม้สี่กลีบ ส่วนยอดเป็นบัลลังก์มีลักษณะเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ในผังย่อมุมไม้ยี่สิบ ถัดไปเป็นปล้องไฉน และปลียอ แม้จะได้รับแรงบันดาลใจจากพระธาตุหริภุญไชย หาแต่ช่างพื้นเมืองยังมีการปรับเปลี่ยนระเบียบการก่อสร้างให้แตกต่างออกไปเช่นการลดทอนลวดบัวบางส่วนออกไปและให้ความสำคัญกับฐานเขียงที่คั่นระหว่างชั้นบัวคว่ำบัวหงายในผังยกเก็จกับชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆัง โดยมีการเพิ่มความสูงและจำนวนชั้นของฐานเขียงทำให้เจดีย์มีลักษณะที่สูงเพรียว นอกจากนี้ยังมีข้อแตกต่างของชั้นฐานบัวรองรับองค์ระฆังอีกด้วย โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจเกิดจากสุนทรียศาสตร์ของช่างพื้นเมือง สำหรับการกำหนดอายุนั้นสามารถกำหนดได้จากลักษณะฐานบัวคว่ำบัวหงายที่มีลวดบัวลูกแก้วอกไก่สองเส้นคาดไว้ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในล้านนาช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 นอกจากองค์พระธาตุแล้วยังปรากฏวิหารหลวงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระยาหน่อเสถียรไชยสงคราม ราวปี พ.ศ.2138 ที่ปรากฏในปัจจุบันนั้นสร้างขึ้นในสมัยเจ้าสุมนเทวราชเป็นเจ้าผู้ครองเมืองน่าน ในปี พ.ศ.2363 วิหารหลวงมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาสร้างด้วยไม้ลดหลั่นกัน 3 ชั้น หรือเรียกว่า “ซด” ด้านหน้าวิหารเป็นผนังเรียบ ปรากฏลวดลายปูนปั้นรูปพญานาคประดับทางเข้า โดยเป็นพญานาคเกี้ยวกระหวัดหางขึ้นพันกัน 3 ชั้น เป็นสัญลักษณ์แทนไตรลักษณ์ ประกอบด้วย การเกิด การตั้งอยู่ และการดับสลาย ที่บริเวณสันหลังคาของวิหารปรากฏลวดลายปูนปั้นเป็นรูปพญานาคด้วยเช่นกัน ส่วนโครงสร้างภายในวิหารนั้นประกอบด้วย ตอนบนเป็นโครงไม้ ไม่มีฝ้าเพดาน เสารับน้ำหนักของชั้นหลังคาเป็นเสาเหลี่ยม มีบัวหัวเสาเป็นปูนปั้นรูปดอกบัวตูม ภายในวิหารประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง โดยตามตำนานพื้นเมืองน่านระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2065 ในรัชสมัยพญายอดคำฟ้า ความว่า “….ในปีเต่าสง้านั้น สักกพทได้ 884 ตัว (พ.ศ.2065) เจ้าวัดแช่แห้งชื่อธัมมเสนาแล เถรปาสุรสีลแล มหาสังฆราชาสุรสีลาสรีบุญเรืองแลสังฆะชปะสีลประหยาแล พระญายอดคำฟ้า หมื่นซ้ายธัมมประหยา ส้างพระเจ้าล้านทองแล…” พระเจ้าล้านทองมีลักษณะทางพุทธศิลป์ที่ยังคงสืบเนื่องจากพระพุทธรูปอิทธิพลศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ระยะที่ 2 หากแต่มีความเป็นพื้นถิ่นมากยิ่งขึ้น เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาเล็ก มีกรอบไรพระศก พระรัศมีเป็นเปลว พระวรกายอวบอ้วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิตกลงเสมอพระนาภี ปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ ประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัยเหนือฐานบัวคว่ำ – บัวหงาย กำหนดอายุปลายพุทธศตวรรษที่ 21 นอกจากศิลปกรรมข้างต้นแล้ว ยังปรากฏพระพุทธไสยาสน์เป็นพระนอนปูนปั้นขนาดใหญ่ พบเพียงองค์เดียวที่ปรากฏในเมืองน่าน ลักษณะพุทธศิลป์อาจได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยาโดยเฉพาะพระพักตร์ และชายจีวรที่แหลมงองุ้มลง ที่พระเขนยมีจารึกกล่าวถึงนางแสนพลัวสร้างพระพุทธรูปไสยาสน์ พ.ศ.2129 ความว่า “…จุลศกราชได้ 948 ตัว (พ.ศ.2129) อุยาสิกานามแสนพลัวประกอบด้วยสัทธา สร้างพระพุทธปฏิมาองค์นี้ไว้….” หากเมื่อนำไปเทียบกับรัชสมัยแล้วเจ้าผู้ครองนครน่านแล้วจะตรงกับรัชสมัยของพญาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม จากข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพระธาตุแช่แห้งเป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญที่สุดในเมืองน่านได้รับการอุปถัมภก์ บูรณปฏิสังขรณ์ ในหลายรัชกาลตั้งแต่เริ่มสถาปนาพระธาตุขึ้นในช่วงพุทธศตวรษาที่ 19 – 20 และยังคงเป็นศาสนสถานคู่บ้านคู่เมืองน่านจวบจนทุกวันนี้ มีคุณค่าทั้งทางด้านศิลปะสถาปัตยกรรม และโบราณคดีอย่างสูง -------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูลจารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534)เชษฐ์ ติงสัญชลี, บทบาทของฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมของเจดีย์แบบล้านนา ในศิลปะล้านช้าง พุทธศตวรรษที่ 21-22 (กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541).สรัสวดี อ๋องสกุล, พื้นเมืองน่าน : ฉบับวัดพระเกิด (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2539)สมพงษ์ ชีวสันต์, สถาปัตยกรรมพะเยาและน่าน (เชียงใหม่ : โครงการศึกษาวิจัยศิลปสถาปัตยกรรมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2532)ศรีศักร วัลลิโภดม, ประวัติศาสตร์โบราณคดีของล้านนาประเทศ (กรุงเทพฯ : มติชน, 2545)ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะล้านนา (กรุงเทพฯ : มติชน, 2556)ศศิธร ปรุดรัมย์, พระธาตุแช่แห้ง : ที่มาและรูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาที่เมืองน่าน (กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541)สุรศักดิ์ ศรีสำอาง, เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2537
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.42/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
อฎฺฐงฺคิกมคฺค (พรอฎงฺคิกมคฺค)
ชบ.บ.83/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)
ชบ.บ.106ก/1-4ข
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.332/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132 (343-358) ผูก 9 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม คนหนึ่งตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวแพรว... ด้วยวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๔ ถือเป็นวันสายตาโลก เพจคลังกลางฯ จึงขอยกสุภาษิตของเฟร็ดเดอร์ริค แลงบริดจ์ ที่แปลโดยเจษฎาจารย์ฟร็องซัว ตูเวอแน ฮีแลร์ ครูผู้วางรากฐานการศึกษาแห่งโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งในโอกาสวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เป็นวันคล้ายวันมรณภาพของท่าน จึงขอใช้โอกาสทั้งสองนี้ เสนอชีวประวัติ ฟ. ฮีแลร์ และงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “ดวงตา” ผ่านเลนส์แต่ละมิติทางศาสนา ร่วมกับ “แว่นตาพร้อมปลอกหนัง” ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ ณ อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่านาม ฟ. ฮีแลร์ “ฟ.” (ฟอ) ในที่นี้ ไม่ได้มีที่มาจากฟร็องซัวในชื่อ หรือฟาเทอร์ที่ใช้เรียกบาทหลวง แต่เป็นอักษรย่อจากคำว่า “frère” ในภาษาฝรั่งเศส หรือที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า brother ซึ่งต่อมาภาษาไทยนำคำว่า “ภราดา” (ที่แปลว่า พี่/น้องชายในภาษาสันสกฤต) หรือ “เจษฎาจารย์” มาใช้แทน โดยภราดรฮีแลร์ (นามที่สองสมเด็จใช้เรียกในจดหมายเวร) เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ดังจะเห็นได้จากนามของท่านปรากฏอยู่ในจดหมายเวรของสองสมเด็จอย่างน้อยถึง ๒ ครั้ง ดังมีระบุอยู่เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๔๗๗ เรื่อง “การสวมหมวกในพิธีกรรมของสังฆราช” และวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๘๓ เรื่อง “จำนวนเม็ดลูกประคำสำหรับภาวนา” นอกจากนี้ หลวงพ่อฮีแลร์ (นามที่ ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล ใช้เรียกในหนังสือพระประวัติลูกเล่า) ยังถูกเชิญให้เข้าร่วมใน “วรรณคดีสโมสร” องค์กรสำคัญที่ส่งเสริมให้แต่งหนังสือถูกต้องตามหลักภาษาไทยอีกด้วย
ส่วนในมิติทางศาสนา “ดวงตา” มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับแต่ละวัฒนธรรมความเชื่ออย่างเห็นได้ชัด ดังจะเห็นได้ว่าในศาสนาฮินดูมีเทพเจ้าผู้มี “ดวงตาที่สาม” อย่างพระศิวะ หากพระเนตรเปิดขึ้นจะบันดาลให้ไฟบรรลัยกัลป์เผาผลาญโลก จึงถือพระศิวะเป็นเทพผู้ทำลาย ส่วนในทางพุทธศาสนาปรากฏในพุทธประวัติว่า โกณฑัญญะ คือพระสาวกองค์แรกที่ “ดวงตาเห็นธรรม” จากคำสอนว่าด้วยเรื่อง “พระธรรมจักรกัปวัตรสูตร” นอกจากนี้ในทางพิธีกรรม ยังมีพิธีที่เรียกว่า “เบิกพระเนตร” (การเปิดตา) เป็นคำเรียกที่ใช้ในพิธีฝังพระเนตร เขียน หรือเช็ดพระเนตรพระพุทธรูปที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว จากความเชื่อที่ว่าพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่จากปูนบ้าง โลหะบ้าง ยังไม่เป็นองค์พระโดยสมบูรณ์จนกว่าจะผ่านพิธีกรรมดังกล่าว รวมถึงในงานสถาปัตยกรรมที่เนปาล ปรากฏรูป “ดวงตาแห่งพุทธะ” รอบองค์เจดีย์สี่ทิศ จากแนวคิดที่ว่าพระธรรมแผ่ขยายไปทั่วทุกสารทิศ หรือในคริสต์ศาสนาที่มีคำว่า The all seeing eye ระบุอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิล หมายถึง ดวงตาที่มองเห็นได้ทุกอย่าง ซึ่งนัยหนึ่งก็คือ “ดวงตาพระเจ้า” นั่นเอง นอกจากนี้ ในคติของอียิปต์โบราณยังมี “ดวงตาของฮอรัส” อันเป็นสัญลักษณ์ของการปกป้องคุ้มครอง ความรอบรู้ สุขภาพดี ความมั่งคั่ง และมีพลังอำนาจมหาศาลอีกด้วย
ทั้งนี้ ในวันสายตาโลก... หากจะกล่าวถึงวิธีถนอมสายตาที่มีมายาวนาน เห็นจะเป็นการสวม “แว่นตา” ซึ่งในพจนานุกรมระบุว่าหมายถึง สิ่งที่ทำด้วยแก้วหรือวัสดุใส เป็นเครื่องสวมตาเพื่อช่วยให้แลเห็นชัดขึ้นนั่นเอง โดยแว่นตาน่าจะเข้ามาสู่สังคมไทยอย่างน้อยในสมัยรัชกาลที่ ๓ (ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔) ดังมีหลักฐานในงานจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นภาพสาวชาววังลองสวมแว่นตาจากพ่อค้าชาวต่างชาติ รวมถึงพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ขณะฉลองพระเนตร (แว่นตา)
ดังนั้น แว่นตาจึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย เป็นของจำเป็นสำหรับผู้มีปัญหาด้านสายตา กระทั่งกลายเป็นสินค้าที่มีขายอยู่ตามห้าง ดังมีตัวอย่างคือ แว่นตาพร้อมปลอกจากห้างสรรพสินค้า B.Grimm&Co. Bangkok (ห้างไทยสัญชาติเยอรมัน) ลักษณะเป็นแว่นตาขนาดเล็ก ก้านทำจากทองเหลือง บรรจุอยู่ในปลอกหนังสีน้ำตาล อนึ่ง ก่อนจากกันขอส่งท้ายด้วยสุภาษิตของ Frederick Langbridge ความว่า Two men look out the same prison bars; one sees mud and the other star. ที่สุดท้ายแล้วเมื่อสองคนยลตามช่อง... จะมองเห็นอะไรก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติ มุมมองของแต่ละคน ว่าคุณจะมองเห็นเป็นโอกาสหรือพลาดพลั้งไปในที่สุด
เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์
ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง นายช่างภาพปฏิบัติงาน
เทคนิคภาพโดย ณัฐดนัย อรุณมาศ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์
กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
ชื่อผู้แต่ง ดำรงแพทยาคุณ, พระยา (ชื่น พุทธิแพทย์)
ชื่อเรื่อง จดหมายเหตุการพยาบาล
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อุดม
ปีที่พิมพ์ ๒๔๙๖
จำนวนหน้า ๗๖ หน้า
หมายเหตุ สมาคมนางพยาบาลแห่งประเทศไทย พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ หม่อมเจ้าหญิง มัณฑารพ กมลาศน์ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๙๖
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับหม่อมเจ้าหญิง มัณฑารพ กมลาศน์ ผู้ก่อตั้งสมาคมนางพยาบาลแห่งประเทศไทย ประกอบกับประวัติการศึกษา และการทำงาน การรักษาทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 46 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 73 (ต่อ) -75) ทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราชครั้งรัชกาลที่ 2 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เสด็จไปจัดราชการ ณ หัวเมืองลาวพวน ปราบเงี้ยว ตอนที่ 1 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ จำนวนหน้า : 342 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร มีทั้งหมด 3 ภาค ตั้งแต่ภาค 73 – 75 มีเรื่องราวในแต่ละภาคดังนี้ ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 73 (ต่อ) ทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราชครั้งรัชกาลที่ 2 เป็นเรื่องราว พระประวัติสังเขป พระเจ้าขัตติยราชนิคมสมมติมไหสวรรย์ พระเจ้านครศรีธรรมราช ประวัติสังเขป เจ้าพระยาศรีสุธรรมมนตรีศรีโศกราชวงศ์ (เจ้าพัฒน์) ประวัติสังเขป เจ้าพระยานคร (เจ้าน้อย) แม่ทัพใหญ่ ผู้สำเร็จราชการทัพศึกภาคใต้ ฝ่ายตะวันตก ผู้ครองนครศรีธรรมราช ไทรบุรี ตรังกานู เประ ประวัติสังเขป เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 74 เรื่องกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เสด็จไปจัดราชการ ณ หัวเมืองลาวพวน และประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 75 ปราบเงี้ยว ตอนที่ 1
ชื่อผู้แต่ง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๑๔
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๐
จำนวนหน้า ๓๔๔ หน้า
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๑๔ เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติที่รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป โดยเน้นหนักในกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ ซึ่งแผนพัฒนาฉบับที่ ๑ ระบุไว้ไม่ชัดเจนหรือมิได้กล่าวถึง ได้แก่ความพยายามของรัฐที่จะกระจายการพัฒนาให้ทั่วถึงโดยเฉพาะในเขตทุรกันดาร ห่างไกลซึ่งร้อยละ ๗๕-๘๐ ของงบพัฒนามุ่งพัฒนาในส่วนภูมิภาคชนบทโดยตรง นอกจากนี้ยังมีโครงการพิเศษ ได้แก่ โครงการพัฒนาภาคต่างๆ โครงการเร่งรัดพัฒนาชนบทและโครงการช่วยเหลือชาวนา เป็นต้น พร้อมภาพประกอบ ตารางและแผนที่
ซากเรือบ้านคลองยวน สำรวจพบที่บ้านเลขที่ ๑๑๙/๒ หมู่ที่ ๘ บ้านคลองยวน ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดย นางพรพิมล มีนุสรณ์ เจ้าของบ้านเล่าว่าได้พบซากเรือไม้ในที่ดินของตนเองระหว่างการขุดสระเพื่อกักเก็บน้ำใช้ทำสวนปาล์มและได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีโดยการก่อพื้นเทปูนมุงหลังคาคลุมซากเรือลำนี้ไว้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕นอกจากหลักฐานตัวเรือแล้ว บริเวณที่พบซากเรือก็นับว่ามีความสำคัญทางโบราณคดีด้วยเช่นกัน เนื่องจากตั้งอยู่ไม่ห่างจากคลองท่าชนะ (๓ กิโลเมตร) ซึ่งเป็นคลองที่ไหลออกสู่อ่าวไทย ณ บริเวณที่เรียกว่าแหลมโพธิ์ ต.พุมเรียง อ.ไชยาจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในพื้นที่แหลมโพธิ์บ่งชี้ว่า บริเวณนี้เป็นชุมชนเมืองท่าสำคัญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ ดังสะท้อนผ่านหลักฐานการค้านานาชาติ เช่น ลูกปัดโบราณ เครื่องถ้วยจีนและเปอร์เซียที่พบจากการตรวจสอบพบว่า บริเวณหลังบ้านของ นางพรพิมล เป็นพื้นที่สวนปาล์ม มีการขุดสระน้ำสำหรับใช้ภายในสวน ภายในมีซากของไม้เรือโบราณถูกเก็บรักษาอยู่ภายในโรงเปิดโล่งมีหลังคาคลุม ซากเรือดังกล่าวประกอบด้วยไม้ ๘๔ ชิ้น เป็นไม้กระดานขนาดยาว ไม้ที่ทำเป็นทรงแหลมสำหรับหัวเรือ และเศษไม้ที่ไม่สามารถระบุส่วนได้ไม้กระดานเรือแต่ละแผ่น มีการเจาะรูที่ด้านสันของไม้ตลอดความยาว อีกทั้งยังพบลูกประสักหรือสลักไม้สวนอยู่ในรูบางส่วน นอกจากนี้ที่แผ่นกระดานเปลือกเรือด้านในมีการทำปุ่มสันทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้านูนออกมาจากระดับพื้นกระดาน ยาวตลอดความยาวของแผ่นเปลือกเรือนอกจากไม้เรือแล้ว ในบริเวณที่เป็นที่เก็บซากเรือยังพบว่าเศษเชือกสภาพเปื่อยยุ่ยอยู่ที่พื้นและปะปนอยู่กับซากเรือ คาดว่าน่าจะเป็นเชือกที่มากับเรือ จึงได้ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปตรวจหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์สภาพของซากเรือยังอยู่ในสภาพที่แข็งแรง แต่เนื่องจากไม่ได้รับการอนุรักษ์อย่างถูกวิธีตัวเรือจึงเริ่มเสื่อมสลายผุพังไปตามกาลเวลา เมื่อวิเคราะห์จากลักษณะของซากเรือลำนี้โดยคร่าวเป็นเรือที่ต่อด้วยเทคนิค Lashed-Lug หรือ เชือกรัดสันรูเจาะ เป็นเทคนิคแบบโบราณที่มีมานานกว่า ๑,๐๐๐ ปี พบแพร่กระจายอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทะเลกองโบราณคดีใต้น้ำจึงได้ขอให้ นางพรพิมล มีนุสรณ์ มอบซากเรือโบราณให้แก่กองโบราณคดีใต้น้ำ เพื่อนำกลับไปอนุรักษ์และศึกษาวิเคราะห์ยังกองโบราณคดีใต้น้า จังหวัดจันทบุรีเจ้าหน้าที่จึงได้ทำการถ่ายรูปไม้เรือทุกชิ้นที่พบจากนั้นทยอยลำเลียงขึ้นบนรถบรรทุกเพื่อนำมาเก็บรักษาไว้ที่สำนักงาน
การวิเคราะห์ชนิดไม้และการหาค่าอายุ
หลังจากที่นำซากเรือบ้านคลองยวนกลับมาเก็บรักษาที่สำนักงานกองโบราณคดีใต้น้ำแล้ว ได้นำตัวอย่างไม้เรือส่งไปวิเคราะห์ตรวจหาชนิดของไม้ที่นำมาใช้ในการต่อเรือ ณ สํานักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ โดยส่งตัวอย่างชิ้นไม้จำนวน ๓ ชิ้น ประกอบด้วย เปลือกเรือ ๑ ชิ้น และลูกประสัก ๒ ชิ้นผลการตรวจพิสูจน์พบว่า ไม้เปลือกเรือบ้านคลองยวนนั้นทำจากไม้ในสกุลตะเคียน (Hopea sp.) แต่ไม่ทราบชนิด และลูกประสักทำจากไม้ตะแบกเลือด (Terminalia mucronata Craib & Hutch.)นอกจากการตรวจหาชนิดไม้แล้ว กองโบราณคดีใต้น้ำยังนำตัวอย่างจากตัวเรือไปหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี Accelerator Mass Spectrometry (AMS) ณ ห้องปฏิบัติการในประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยส่ง ๓ ตัวอย่าง ประกอบด้วย ไม้เปลือกเรือ เศษเชือก และลูกประสัก ซึ่งผลของค่าอายุที่ได้บ่งชี้ว่า เรือบ้านคลองยวนมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ (คริสต์ศตวรรษที่ ๙)
รูที่สันไม้กระดาน (dowel & lashing holes)
เปลือกเรือแต่ละแผ่นที่พบมีการเจาะรูที่ด้านสันของไม้กระดานยาวไปตลอดแนวของไม้เปลือกเรือและพบมีลูกประสักเสียบอยู่ในรูที่ถูกเจาะ จากการพินิจแล้วพบว่า การเจาะรูสันเปลือกเรือมีรูปแบบที่ซ้ำกันชัดเจน กล่าวคือ เจาะเพื่อใช้ยึดลูกประสัก ๔ รู สลับกับรูร้อยเชือกที่ด้านบนของกระดานทะลุกออกด้านสัน ๒ รู เป็นเช่นนี้ตลอดแนวสันเปลือกเรือ ถือเป็นลักษณะที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเรือบ้านคลองยวน ที่ไม่อาจพบได้ในการต่อเรือไม้สมัยใหม่ลูกประสักที่พบ มีลักษณะเป็นไม้ทรงกระบอกยาว ๔ เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒ ขนาด คือ ๗ และ ๑๐ มิลลิเมตร พบว่าลูกประสักที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐ มิลลิเมตร จะใช้กับส่วนไม้ที่ต่อกับหัวเรือเท่านั้น แผ่นไม้เปลือกเรือบ้านคลองยวนนั้น หนา ๓.๕ – ๔ เซนติเมตร กว้าง ๒๗ เซนติเมตร (ส่วนที่กว้างที่สุด) ฝั่งกราบขวามี ๕ แผ่น ส่วนกราบซ้ายมี ๓ แผ่น (เท่าที่เหลือ) เมื่อพิจารณาจากกระดานเปลือกเรือแผ่นที่ ๕ ของกราบขวาพบว่า ที่ด้านสันของเปลือกเรือยังมีการเจาะรูรับลูกประสักอยู่ สิ่งนี้บ่งชี้ว่ากระดานเปลือกเรือแผ่นที่ ๕ ยังไม่ใช่แผ่นสุดท้าย ที่ส่วนปลายของไม้เปลือกเรือแต่ละแผ่นจะมีการทำให้เป็นรูปทรงแหลม เพื่อให้สามารถเข้าไม้ได้อย่างพอดีกับไม้หัวและท้ายเรือไม้เปลือกเรือของเรือบ้านคลองยวนไม่ได้สมบูรณ์ตลอดลำเรือ ส่วนที่คาดว่าจะเป็นท้ายเรือได้ขาดหายไปจึงไม่อาจสรุปได้ว่าไม้เปลือกเรือแต่ละชั้นจะเป็นไม้แผ่นเดียวยาวตลอดลำเรือหรือไม่ แต่จากข้อมูลของเรือประเภทเดียวกันที่พบในต่างประเทศ เช่น แหล่งเรือ Punjurhajo บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซียนั้น พบเปลือกเรือเป็นไม้แผ่นเดียวยาวตลอดลำเรือ จึงพอสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมีลักษณะเหมือนกัน
สันรูเจาะ (lug)
เปลือกเรือแต่ละแผ่น ทำขึ้นด้วยการถากไม้ให้เป็นแผ่นกระดานและรูปทรงตามที่ช่างต้องการเพื่อให้เข้ากับรูปทรงของเรือ และจะเว้นสันรูเจาะ หรือ lug ไว้ตลอดความยาวของเรือ เป็นลักษณะอันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเรือประเภทนี้ โดยสันรูเจาะเหล่านี้มีไว้สำหรับรองรับกงเรือที่จะถูกนำมาเสริมในภายหลัง มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใกล้เคียงกัน คือ ยกสูงกว่าส่วนเรียบของแผ่นกระดานประมาณ ๑.๕ – ๒ เซนติเมตร ยาว ๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาน ๒๐ เซนติเมตร ในส่วนที่กว้างที่สุด และจะค่อย ๆ แคบลงเรื่อย ๆ ไปทางหัวและท้ายเรือ สันที่แคบที่สุดกว้างเพียง ๔ เซนติเมตร แต่ละสันจะเว้นระยะห่างกันประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ยกเว้นบริเวณกึ่งกลางลำเรือบนกระดานกระดูกงูและเปลือกเรือแผ่นที่ ๑ และ ๒ ของทั้งสองกราบจะเว้นช่วงห่างมากกว่าส่วนอื่น คือ ห่างประมาณ ๑๒๐ เซนติเมตร
ไม้กระดานกระดูกงู (keel plank)
ไม้ส่วนที่เป็นแกนกลางของเรือบ้านคลองยวนหรือที่มักเรียกกันว่ากระดูกงูนั้น มีลักษณะเป็นกระดูกงูที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนเปลือกเรือไปด้วยหรือที่เรียกว่า keel plank ซึ่งกระดูกงูแบบนี้เป็นลักษณะเฉพาะของเรือที่ต่อแบบต่อเปลือกก่อนแล้วนำกงมาเสริมทีหลัง หรือ shell-basedเมื่อวางกระดูกงูบนพื้นราบพบว่าปลายกระดานกระดกขึ้นสูงจากพื้นประมาณ ๕๐ เซนติเมตร พิจารณาจากลักษณะแล้วคาดว่าเรือบ้านคลองยวนเป็นเรือที่มีหัวและท้ายเชิดขึ้นและท้องเรือแอ่นส่วนสันรูเจาะบนกระดูกงูมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างไปจากสันรูเจาะบนกระดานแผ่นอื่น กล่าวคือ ระหว่างสันรูเจาะแต่ละสันจะมีสันแคบ ๆ กว้างประมาณ ๑๐ – ๑๒ เซนติเมตร เชื่อมต่อไปตลอดความยาวของกระดูกงู ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าช่างจงใจทำสันแคบ ๆ นี้ไว้เพื่ออะไร เบื้องต้นสันนิษฐานว่าอาจทำไว้เพื่อเสริมความแข็งแรงตามแนวยาวของเรือ
หัวเรือและท้ายเรือ (wing-end)
หัวและท้ายของเรือบ้านคลองยวนมีรูทรงและลักษณะที่โดดเด่นอย่างมาก ซึ่งเรือกว่า wing-end กล่าวคือ ช่างจะแกะไม้เป็นรูปทรงคล้ายตัว V และนำมาซ้อนกัน 2 ชั้น โดยแต่ละชั้นจะมีการเจาะรูเพื่อใส่ลูกประสักเตรียมไว้การเข้าไม้หัวและท้ายเรือ ช่างจะนำ wing ชั้นที่ ๑ มาวางบนกระดูกงู หัวเรือและกระดูกงูจะได้ระยะเสมอกันพอดี แขนของ wing จะต่อชนกับกระดานแผ่นที่ ๑ พอดี ด้านบนของแขนจะเว้นช่องว่างไว้เพื่อให้ไม้กระดานแผ่นที่ ๒ มาต่อชนกันส่วนโคนของแขนรูปตัว V เมื่อชั้นที่ ๑ สามารถต่อเข้ากับกระดูกงู ไม้กระดานแผ่นที่ ๑ และ ๒ ได้แล้ว จึงนำเอา wing ชั้นที่ ๒ มาวางซ้อนบนชั้นที่ ๑ แล้วนำกระดานชั้นที่ ๓ และ ๔ มาต่อแบบเดียวกับชั้นที่ ๑เป็นที่น่าสังเกตว่าหัวและท้ายเรือแบบ wing-end นั้น มีขนาดค่อนข้างใหญ่และทำจากไม้ชิ้นเดียว เป็นไปได้ว่าช่างในสมัยนั้นอาจนำไม้จากบริเวณของโคนต้นมาผ่าตามแนวขวางแล้วจึงแกะให้เป็นรูปตัว V ดังสังเกตได้จากวงปีไม้ที่มีลักษณะเป็นวงวางตัวขวางกับแนวเรือ ส่วนกลางลำต้นจะนำไปทำไม้กระดาน
หนังสือเล่มนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ โดยทรงอธิบายไว้อย่างละเอียด และได้รับการยกย่องว่า เป็นยอดของความเรียงอธิบาย จากวรรณคดีสโมสร น่าสนใจว่าแทบทุกตอน จะทรงกล่าวถึงพระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราชเสมอ ในฐานะที่ทรงเป็นผู้รอบรู้ในทางราชประเพณี ดังเรื่องสงกรานต์ ความว่า
“…ในเรื่องที่เปลี่ยนปีนี้ ตามพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงไว้ในคําประกาศแห่งหนึ่งได้นำมาลงไว้ในหนังสือวชิรญาณเล่ม ๒ ฉบับที่ ๑๓ จํานวนเดือน ๑๑ ปี ๑๒๔๗ มีข้อใจความซึ่งว่าด้วยแรกที่จะกําหนดปีนี้ โบราณคิดเห็นว่าฤดูหนาวเป็นเวลาพ้นจากมืดฝนสว่างขึ้นเปรียบเหมือนเวลาเช้า คนโบราณจึงได้คิดนับเอาฤดูหนาวเป็นต้นปี ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่างร้อนเหมือนกลางวัน จึงได้คิดว่าเป็นกลางปี ฤดูฝนเป็นเวลามืดคลุ้มโดยมาก และฝนพรำเที่ยวไปไหนไม่ใคร่ได้ จึงได้คิดเห็นว่าเป็นเหมือนกลางคืน คนทั้งปวงเป็นอันมากถือว่าเวลาเช้าเป็นต้นวัน กลางคืนเป็นปลายวันฉันใด คนโบราณก็คิดเห็นว่าฤดูเหมันต์ คือฤดูหนาวเป็นต้นปี ฤดูคิมห คือฤดูร้อนเป็นกลางปี ฤดูวัสสานะ คือฤดูฝนเป็นปลายปี เพราะเหตุนั้นจึงได้นับชื่อเดือนเป็น ๑ มาแต่เดือนอ้าย ข้อความอื่นๆ ถ้าผู้ใดอยากจะทราบ จงอ่านหนังสือวชิรญาณที่อ้างถึงมาข้างต้นนั้นเถิด ที่ยกมาว่าเดี๋ยวนี้เพื่อจะมาพิจารณาให้เห็น ว่าเหตุใดจึงไม่ตั้งปีใหม่ที่เดือนอ้าย ซึ่งแปลว่าเดือน ๑ มาตั้งปีใหม่ต่อเดือน ๕, เดือน ๖ คิดเห็นว่าความที่ตั้งเดือนอ้ายเป็นเดือน ๑ คงเป็นการถูกต้องตามกระแสพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงไว้นี้ แต่วิธีนับเดือนเช่นนี้เห็นจะมีมาก่อนที่นับศักราชเป็นเรื่องเดียวกันกับนับปี เป็นชวด ฉลู ขาล เถาะ ครั้นเมื่อมีผู้ตั้งศักราชขึ้นใช้ อาศัยเหตุที่จะเริ่มต้นตั้งศักราช เช่นพระพุทธศักราช นับตั้งแต่วันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ต้องไปตั้งสงกรานต์เอาในวันวิศาขบุรณมี ซึ่งเป็นหัวรอบเหมือนอย่างกับนับเป็นเดือน ๑ ขึ้นใหม่นั้นอย่างหนึ่ง ด้วยมีเหตุที่จะสังเกตตัดวิธีกระบวนคิดอ่านได้ง่ายเช่นกับสงกรานต์ของจุลศักราช กำหนดเอาพระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีเมษซึ่งเป็นราศีดาวที่ฤกษ์ขาดตอนไม่ขนาบคาบเกี่ยวกับราศีอื่นๆ เป็นต้นนี้อย่างหนึ่ง เพราะเหตุเหล่านี้จึงได้ทิ้งชื่อเดือนที่ ๑ เดิมเสีย ให้ไปตกอยู่กลางปีหรือปลายปีตามแต่จะเป็นไป แต่ชื่อเดือนเช่นนั้นเคยใช้เข้าใจกับซึมซาบมาแล้ว ก็ทิ้งให้เคลื่อนอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนแปลงก็ไม่มีผู้เรียกตาม…”
ภาพ : ภาพถ่ายเก่าพระนครคีรี ถ่ายจากยอดพระราชวัง มองเห็นยอดพระธาตุจอมเพชร และยอดวัดพระแก้วน้อย