ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ที่ตั้ง บ้านพลวง ตำบลบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
อายุสมัย ศิลปะขอมแบบบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖
รายละเอียด
ปราสาทบ้านพลวง เป็นปราสาทขนาดเล็ก ๑ องค์ ก่อสร้างด้วยหินทรายสีขาวบนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ ๘ เมตร ยาวประมาณ ๒๓ เมตร ปราสาทมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูทางเข้าออกด้านทิศตะวันออก ส่วนอีก ๓ ด้านทำเป็นประตูหลอก ทับหลังด้านทิศตะวันออกและทิศใต้สลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ทับหลังด้านทิศเหนือเป็นภาพพระกฤษณะปราบนาคกาลิยะ ส่วนทับหลังด้านทิศตะวันตกไม่ได้สลักภาพ
หน้าบันด้านทิศตะวันออกสลักเป็นภาพพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ หน้าบันทิศเหนือสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และหน้าบันด้านทิศใต้สลักเป็นภาพบุคคลประทับนั่งเหนือหน้ากาล บริเวณรอบปราสาทมีสระน้ำล้อมรอบเว้นทางเข้าด้านหน้า
จากลักษณะของปราสาทบ้านพลวง จะคล้ายกับปรางค์น้อยบนเขาพนมรุ้ง ประกอบกับลวดลายที่พบบนหน้าบันและทับหลัง กำหนดรูปแบบทางศิลปะได้ว่าป็นศิลปะขอมแบบบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖
ปัจจุบันปราสาทบ้านพลวงได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้ว
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๗.๐๐ -๑๘.๐๐ น.
อัตราค่าเข้าชม
ชาวไทย ๑๐ บาท
ชาวต่างชาติ ๕๐ บาท
การเดินทาง จากจังหวัดสุรินทร์ ถนนสุรินทร์ – ช่องจอม หมายเลข ๒๑๔ ระยะทาง ๓๓.๕ กิโลเมตร
ติดตามข่าวสารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
ได้ที่ https://www.facebook.com/NanNationalMuseum
ธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยาม เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอธิบายลักษณะเจ้านายประเภทต่าง ๆ โดยละเอียด และเปรียบเทียบกับลักษณะของประเทศใกล้เคียง ให้ความรู้เกี่ยวกับราชประเพณีและรัฐประศาสโนบายในสมัยรัชกาลที่ 5
กรมศิลปากรขอเชิญชวนเด็กและเยาวชน ร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖ ในวันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศ เด็กๆ ที่สนใจสามารถติดต่อเข้าร่วมกิจกรรมในหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรใกล้บ้าน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
การจัดกิจกรรมในส่วนกลาง มีดังนี้
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที ดนตรีประกอบการเล่านิทาน ,การแสดงของเด็กและเยาวชน กิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมตอบปัญหา, กิจกรรมแรลลี่, กิจกรรมเปิดโลกกว้างสู่อาเซียน กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน ระบายสี, งานประดิษฐ์จากดินฟีโม่, ชวนน้องปั้นดิน กิจกรรมสันทนาการ โยนห่วงยาง, ปิดลูกโปง, เก้าอี้ดนตรี และกิจกรรมต่างฯ อีกมากมาย สำหรับเด็กๆที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับของขวัญของรางวัลทุกคน
- สำนักการสังคีตจัดการแสดงรายการศิลปากรคอนเสิร์ตรอบพิเศษ ชุด “Children’s Day Concert” อำนวยเพลงโดย นายสถาพร นิยมทอง การแสดงจะเป็นการบรรเลงและการขับร้องจากศิลปินกรมศิลปากรร่วมกับสถานศึกษาและสถาบันการดนตรีที่มีชื่อเสียง อาทิ โรงเรียนหลักสูตรการดนตรีกรุงเทพมหานคร โรงเรียนดนตรีวีมุส โรงเรียนราชินี โรงเรียนปราโมชวิทยา รามอินทรา โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ตลอดจนเครือข่ายศิลปินจากสถานศึกษา เข้าร่วมฟังได้โดยไม่เก็บค่าบัตรเข้าชม
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และตอบคำถามรับของรางวัล การตอบปัญหาเกี่ยวกับวันเด็ก เรื่องทั่วไป เรื่องอาเซียน การเล่นเกมส์เก้าอี้ดนตรี การต่อจิกซอว์ และกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ เช่น การแข่งร้องเพลง การแข่งเต้น
- สำนักหอสมุดแห่งชาติ กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดคัดลายมือ การวาดภาพระบายสี เล่นเกมและกิจกรรมต่างๆ สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว ลุ้นรับของรางวัลมากมาย พร้อมทั้งบริการอาหารเครื่องดื่มและรับของรางวัล ฟรีตลอดงาน
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ กิจกรรมประกอบด้วย การแข่งขันประกวดวาดภาพระบายสี, ซุ้มกิจกรรมศิลปะ โดยคณะจารย์ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศิษย์เก่าสถาบันบัณทิตพัฒนศิลป์, การแข่งขันแรลลี่ตอบปัญหาชิงรางวัล ด้านศิลปะ กิจกรรมสันทนาการ เช่น ดนตรี ประกวดร้องเพลง เกม ฯลฯ โดยความร่วมมือกับสำนักศิลปกรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม, ฉาย DVDแนะนำ และนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ให้แก่เยาวชนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งบริการอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม
- หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงรำอวยพร การบรรเลงเพลง จากวงดนตรี “วีรพล” การแข่งขันตอบปัญหา การแสดงบนเวที ประกวดร้องเพลง การแข่งขันวาดภาพ การแข่งขันเรียงความ เกมการละเล่น พร้อมแจกของขวัญของรางวัลมากมาย
กิจกรรมในส่วนภูมิภาค อาทิ
- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย กิจกรรมประกอบด้วย การละเล่น เกมต่างๆ การตอบปัญหา การประกวดร้องเพลง และแจกของรางวัล
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดวาดภาพ ระบายสี การปั้นตุ๊กตา การประกวดร้องเพลงและการแสดงออกบนเวที ฯลฯ
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงบนเวทีโดยเยาวชนจากโรงเรียนหรือชุมชนต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ การละเล่นเกมต่างๆ บนเวที ฉายภาพยนตร์ตลอดทั้งวัน และจับฉลากชิงรางวัล
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมสันทนาการ การแสดงบนเวทีของกลุ่มเด็กนักเรียน การแสดงความสามารถ เล่นเกมตอบปัญหาชิงรางวัล รวมทั้งแจกของรางวัล อาหารและเครื่องดื่ม
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี กิจกรรมประกอบด้วย การแนะนำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย ด้วยวีดิทัศน์ การบรรยายความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของพิพิธภัณฑ์/ศัพท์น่ารู้ เกมตอบคำถามและเกมที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์/ข้าวและการทำนา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชนสุขสันต์ พิพิธภัณฑ์หรรษา” กิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ให้เยาวชนได้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ และเรียนรู้การปั้นตุ๊กตาพื้นบ้านล้านนาจากครูภูมิปัญญาล้านนา ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ ณ โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ภายในจังหวัด สุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง
ฯลฯ
นอกจากนี้กรมศิลปากรยังเปิดให้เด็กๆ เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และอุทยานประวัติศาสตร์ทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชมอีกด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สถานที่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศติดต่อ : หน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรใกล้บ้าน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน
ปิดให้บริการชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด
ไวรัส Covid-19 ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม - 25 เมษายน 2563
วันพุธที่ 8 สิงหาคม 2561 หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี และบุคลากร ได้ร่วมใจกันทำความดีด้วยหัวใจ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และได้ร่วมกันปลูก"ต้นรวงผึ้ง" ต้นไม้ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10
ผู้แต่ง : กรมศิลปากรโรงพิมพ์ : อักษรสัมพันธ์ปีที่พิมพ์ : 2507ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.31บ. 12581จบ 656เลขหมู่ : 959.3 ป 247
ชื่อเรื่อง : หนังสือสอนอ่าน จิตกระวีนิพนธ์ เรื่องกาพย์ ห่อโคลง เห่เรือ
ผู้แต่ง : เสนาพิทักษ์, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุน
ปีที่พิมพ์ : ร.ศ. ๑๒๓
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : อักษรนิติ์
เลขทะเบียน : นพ.บ.25/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 6หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-อยุธยา เปิดบริการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๙ เป็นเส้นทางรถไฟรุ่นแรกของสยาม อาคารสถานีรถไฟอยุธยา (เดิมชื่อสถานีกรุงเก่า) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ เปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ ตัวอาคารเดิมสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นอาคารไม้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ จึงเปลี่ยนเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ตามพระบรมราชวินิจฉัยในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ออกแบบก่อสร้างโดยสถาปนิกกรมรถไฟชาวอิตาเลียน นายอัลลิบาเล ริกาซซิ (A.Rigassi) สถานีรถไฟอยุธยาเป็นหนึ่งในสถานีรถไฟต้นแบบของสถานีรถไฟทั่วไปรุ่นต่อมา โดยอาคารสถานีรถไฟที่มีความสำคัญมากจะได้รับการออกแบบให้มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเฉพาะตัว เช่น อาคารสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา, นครลำปาง, หัวหิน, กรุงเทพ (หัวลำโพง), กันตัง, อยุธยา, สงขลา และบ้านปิน เป็นต้น ส่วนอาคารสถานีรถไฟที่มีความสำคัญรองลงมาจะเป็นอาคารไม้หรือคอนกรีตแบบมาตรฐานชั้นเดียวขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับชานชาลาและทางรถไฟ อาคารสถานีรถไฟอยุธยา เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว มีโครงสร้างกำแพงรับน้ำหนักผสมเสาคานคอนกรีตเสริมเหล็กในรูปแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิค (Classicism) ที่มีการลดทอนรายละเอียดบางอย่าง แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางขนานกับทางรถไฟ ผังอาคารแบ่งเป็น ๒ ส่วน คืออาคารสถานีและส่วนชานชาลา มีทางเข้า-ออกอยู่ทางด้านทิศตะวันตก (ด้านหน้า) โดยก่อระเบียงตลอดความยาวมีมุขยื่นออกมาเล็กน้อย โครงสร้างเป็นมุขหลังคาแบน รับด้วยเสาคอนกรีตเสาขนาดใหญ่ ส่วนด้านทิศตะวันออกของอาคารเป็นส่วนชานชาลาที่ติดกับรางรถไฟ มีหลังคายื่นออกไปจากอาคารสถานีเพื่อใช้เป็นที่พักผู้โดยสาร ภายในอาคารสถานีเป็นห้องโถง เพดานสูง แบ่งพื้นที่การใช้งานเป็นส่วนจำหน่ายตั๋วโดยสาร และที่พักผู้โดยสาร มีฝ้าเพดานทำจากไม้ ส่วนที่ต่อจากฝ้าเพดานลงมารับกับส่วนบนของผนังอาคาร ทำเป็นทรงโค้งปิดช่องว่าง มีไม้ยึดเป็นระยะ ๆ บรรยากาศภายในสถานีเน้นความโปร่งและเรียบง่าย โดยปราศจากเสาภายใน แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโครงสร้างหลังคาแบบโครงถัก (Truss) พื้นที่ภายในตัวอาคารด้านทิศเหนือใช้เป็นพื้นที่สำนักงานทั้งหมด ได้แก่ ห้องประชุม ห้องรับรอง ห้องนายสถานี ห้องผู้ช่วยนายสถานี และสถานีตำรวจรถไฟอยุธยา บริเวณที่เห็นโครงสร้างภายในได้ชัดเจนคือ ห้องประชุม โครงสร้างด้านนอกและด้านในมีลักษณะเป็นซุ้มโค้งทรงครึ่งวงกลม (arch) รองรับด้วยเสาทรงสี่เหลี่ยมขนาดกลางจำนวน ๒ ต้น และเสาติดผนังอีก ๒ ต้น สำหรับถ่ายเทน้ำหนักของอาคาร ส่วนหลังคาเป็นหลังคาปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องลอน จากการที่ส่วนอาคารสถานีและส่วนชานชาลามีหลังคาคลุมของตัวเอง อาคารนี้จึงมีหลังคาปั้นหยาแฝดและกลายเป็นเอกลักษณ์ร่วมของสถานีรถไฟต่างจังหวัดอื่น ๆ อีกด้วย เรียบเรียง: นางสาวอลิสา ขาวพลับ นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ที่มาข้อมูล: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัยรัชกาลที่ ๔ - พ.ศ. ๒๔๘๐. กรุงเทพฯ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๓. ภาพถ่ายเก่าจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ